Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นั่งสมาธิแล้วตัวแข็งกังวลทำงัยต่อดี อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เวบอื่น
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2006, 3:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เนื้อความ : (ภัสสร)
อ้างอิง |


คือตอนนี้พยายามฝึกสติปัฏฐานสี่อยู่กำหนดอิริยาบถย่อยบ่อยๆแต่ไม่ต่อเนื่องเพราะเริ่มฝึกก็เผลอเสีย 70% (แหะๆ) แต่มีปัญหาตอนนั่งสมาธิพอกำหนดพองยุบไปได้ระยะหนึ่งร่างกายเริ่มหนักและแข็งๆก็กำหนดว่าหนักหนอแข็งหนอแล้วจิตมันก็คิดขึ้นมาสงสัยว่าสมาธิมากเกินสติหรือเปล่าก็เลยพยายามกำหนดใหญ่เลยแต่ก็ยังไม่หายและก็สงสัยแบบนี้สลับไปมาใจมักจะชอบพะวงว่าอย่าให้สมาธิมากเกินสติเลยวนเวียนอยู่แต่เตือนตัวเองแบบนี้ผิดหรือเปล่าคะควรจะแก้อย่างไรดีเพราะร่างกายจะแข็งทุกรอบที่นั่งสมาธิน่ะค่ะ..พอดีอ่านกระทู้ท่านอื่นที่ฝึกอยู่และมีความก้าวหน้าว่าในระหว่างวันตอนไม่ได้นั่งสมาธิท่านจะดึงจิตมาที่พองยุบทุกครั้งที่เผลอดิฉันไม่เข้าใจ(โง่จริงๆ)ว่าการกำหนดคือการอยู่กับปัจจุบันแล้วถ้าปัจจุบันของดิฉันมันมีแต่คิดบ้างทำงานบ้างสุขบ้างทุกข์บ้างใจไม่เคยมากำหนดพองยุบเลยในระหว่างวันถือว่าทำถูกหรือผิดคะ (สงสัยมากๆ)และจริงๆแล้วระหว่างวันเมื่อไม่ได้นั่งสมาธิควรจะดึงจิตมาที่พองยุบเพื่อหางานให้จิตทำใช่หรือไม่คะ
จากคุณ : ภัสสร [ ตอบ: 03 ก.พ. 49 12:14 ] แนะนำตัวล่าสุด 07 พ.ย. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 7 | ฝากข้อความ |
 
copyma
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2006, 5:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๒. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน

การทำความเสมอภาคกันแห่งอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น ชื่อว่า การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน เพราะว่าถ้าสัทธินทรีย์ของเธอกล้า อินทรีย์นอกนั้นอ่อนไซร้ ทีนั้น วิริยินทรีย์ ก็ไม่อาจจะทำปัคคหกิจ ( กิจคือการยกจิตไว้ ) สตินทรีย์ ไม่อาจทำอุปัฏฐานกิจ ( กิจคือ การดูแลจิต ) สมาธินทรีย์ ไม่อาจทำอวิกเขปกิจ ( กิจคือทำจิตไม่ให้ซัดส่าย ) ปัญญินทรีย์ ไม่อาจทำทัสสนกิจ ( กิจคือการเห็นตามความเป็นจริง )
http://www.geocities.com/SouthBeach/Terrace/4587/visuthi1-2p101-110.htm
 
เขม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.พ.2006, 10:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เนื้อความ : (ภัสสร)
อ้างอิง |


อยากทราบว่าเวลาอารมณ์อกุศลต่างๆเกิดขึ้นอาจารย์ให้กำหนดจนกว่าจะหายแต่นานมากๆไม่หาย ต้องคิดหาเหตุผลข้อธรรมะต่างๆมาพิจารณาให้หายไป ส่วนมากจะหายเพราะการคิดธรรมะ ไม่หายเพราะกำหนดอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่ หรือไม่ต้องคิดแต่กำหนดอย่างเดียวจนกว่าจะหายไปเองคะ
จากคุณ : ภัสสร [ ตอบ: 01 ก.พ. 49 23:10 ] แนะนำตัวล่าสุด 07 พ.ย. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 7 | ฝากข้อความ |
.....................................................................................................

นั่งสมาธิตัวแข็งแล้วกังวลทำยังไงต่อดี

เนื้อความ : (ภัสสร)
อ้างอิง |


คือตอนนี้พยายามฝึกสติปัฏฐานสี่อยู่กำหนดอิริยาบถย่อยบ่อยๆแต่ไม่ต่อเนื่องเพราะเริ่มฝึกก็เผลอเสีย 70% (แหะๆ) แต่มีปัญหาตอนนั่งสมาธิพอกำหนดพองยุบไปได้ระยะหนึ่งร่างกายเริ่มหนักและแข็งๆก็กำหนดว่าหนักหนอแข็งหนอแล้ว จิตมันก็คิดขึ้นมาสงสัยว่าสมาธิมากเกินสติหรือเปล่า ก็เลยพยายามกำหนดใหญ่เลย แต่ก็ยังไม่หายและก็สงสัยแบบนี้สลับไปมา ใจมักจะชอบพะวงว่าอย่าให้สมาธิมากเกินสติ เลยวนเวียนอยู่ แต่เตือนตัวเองแบบนี้ผิดหรือเปล่าคะ ควรจะแก้อย่างไรดี เพราะร่างกายจะแข็งทุกรอบที่นั่งสมาธิน่ะค่ะ ..พอดีอ่านกระทู้ท่านอื่นที่ฝึกอยู่และมีความก้าวหน้าว่า ในระหว่างวันตอนไม่ได้นั่งสมาธิ ท่านจะดึงจิตมาที่พองยุบทุกครั้งที่เผลอ ดิฉันไม่เข้าใจ (โง่จริงๆ) ว่าการกำหนดคือการอยู่กับปัจจุบัน แล้วถ้าปัจจุบันของดิฉันมันมีแต่คิดบ้างทำงานบ้างสุขบ้างทุกข์บ้าง ใจไม่เคยมากำหนดพองยุบเลยในระหว่างวัน ถือว่าทำถูกหรือผิดคะ (สงสัยมากๆ) และจริงๆแล้วระหว่างวัน เมื่อไม่ได้นั่งสมาธิควรจะดึงจิตมาที่พองยุบเพื่อหางานให้จิตทำใช่หรือไม่คะ
จากคุณ : ภัสสร [ ตอบ: 03 ก.พ. 49 12:14 ] แนะนำตัวล่าสุด 07 พ.ย. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 7 | ฝากข้อความ |
..............................................................................

ผู้นี้ขยันกำหนดอารมณ์พอสมควร เมื่อมีความขยัน (วิริยะ) เพียรกำหนดอย่างนี้ ก็ได้ผลจริง....
-กระทู้แรก วันที่ 1 ก.พ. มีปัญหาอย่างที่เห็น มีผู้ให้คำตอบตามแนวปริยัติไปแล้ว (ธัมมวิจยะ) หลุด คือหายกังวลได้วันหนึ่งคือวันที่ 2 ก.พ. วันที่ 3 ก.พ. มีปัญหาจากการปฏิบัติอีก คือ “นั่งสมาธิตัวแข็งแล้วกังวลทำยังไงต่อดี”
-ปัญหาซึ่งเกิดจากการปฏิบัติ คือ จากบริกรรมอารมณ์นั้น จะใช้ปริยัติล้วน ๆ แก้ (แนะนำ) ก็จะเป็นแบบนี้แหละ คือมันไม่ลึกไปถึงความรู้สึกของผู้ปฏิบัติซึ่งกำลังประสพอยู่ในขณะนั้นได้ ซึ่งเขาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของตนด้วยตนเองไม่ได้ในขณะปฏิบัติอยู่ หลุดตรงนี้ก็ไปติดตรงโน้น

ที่จริงอาจารย์ที่ให้อารมณ์กรรมฐาน ขาดการติดตามสอบความรู้สึกของโยคี ทิ้งให้ติดขัดขัดข้องในอารมณ์ที่ว่า “ ฯลฯ อาจารย์ให้กำหนดจนกว่าจะหายแต่นานมาก ๆ ไม่หาย....”
(ตรงนี่สอนพลาด) สำหรับผู้เริ่มทำนั้นกำหนดไม่หายได้ง่าย ๆ หรอก
-เพราะอะไร ?
-เพราะสติสมาธิยังไม่แข็งพอ คือมีพลังไม่พอ (ถ้ามีพลังพอแค่รู้สึกก็หายหรือดับลงแล้ว)
แรก ๆ ทำ อ. แนะนำเพียงแค่ว่า เมื่อความคิด คิดฟุ้งออกไปภายนอกอารมณ์ที่กำหนด ให้ไปกำหนดรู้อารมณ์นั้น ๆ 3-4 ครั้ง หายไม่หายก็ปล่อย แล้วกลับไปกำหนดอารมณ์หลักคือพอง-ยุบ ตามเดิม (อารมณ์หลัก)

“ฯลฯ ต้องคิดหาเหตุผลข้อธรรมะต่างๆมาพิจารณาให้หายไป ส่วนมากจะหายเพราะการคิดธรรมะ....”
เป็นธรรมดา จิตมันคิดอารมณ์ได้ครั้งละเรื่องเดียว เมื่อนั่งขบคิดหาเหตุผลคิดไปคิดมา ความคิดเดิม (อกุศลเป็นต้น) ก็ดับ เพราะได้ความคิดใหม่เป็นอารมณ์แล้ว...มันจึงหายอย่างที่ตนเองเข้าใจ แต่ภาวนามยปัญญาไม่เกิด

วันที่ 3 ก.พ. ก็เกิดปัญหาใหม่มาอีกคือ “ ฯลฯ แต่มีปัญหาตอนนั่งสมาธิพอกำหนดพองยุบไปได้ระยะหนึ่งร่างกายเริ่มหนักและแข็งๆก็กำหนดว่าหนักหนอแข็งหนอแล้ว....”
ตรงนี้ถูกต้อง คือ กำหนดรู้อารมณ์ปัจจุบัน คือกายหนักและรู้สึกแข็งๆ แต่...ไม่ทันปัจจุบันอีก “...จิตมันก็คิดขึ้นมาสงสัยว่าสมาธิมากเกินสติหรือเปล่าก็เลยพยายามกำหนดใหญ่เลยแต่ก็ยังไม่หายและก็สงสัยแบบนี้สลับไปมาใจมักจะชอบพะวงว่าอย่าให้สมาธิมากเกินสติเลยวนเวียนอยู่…”
ไม่ทันปัจจุบันได้แก่ความสงสัยซึ่งเกิดขึ้น (วิจิกิจฉาซึ่งเป็น 1 ในนิวรณ์ 5) เลยกลายเป็นความฟุ้งซ่านบ้างความสงสัยบ้างเกิดสลับกันไปกันมา....
ที่ถูกคือ เมื่อรู้สึกว่า “ร่างกายเริ่มหนักและแข็งๆ” กำหนดว่า หนักหนอ ๆ แข็งหนอๆ ถูกต้องแล้วเพราะเป็นอารมณ์ความรู้สึกปัจจุบัน
-แต่ที่ไม่ทันความคิดปัจจุบันคือความสงสัยซึ่งเกิดซ้อนขึ้นมา ซึ่งเราคิดไม่ถึง
-เมื่อรู้สึกสงสัยในการเช่นนั้นให้กำหนดว่า สงสัยหนอๆๆ 3-4 ครั้ง หายไม่หายปล่อยไปไม่สนใจ ดึงความรู้สึกกลับไปกำหนดพองหนอ... ยุบหนอ เท่านี้ก็เป็นอันจบกระบวนการของมัน…
-เมื่อรู้สึกตัวอีกว่า ร่างกายเริ่มหนักและแข็ง ๆ อีกแล้ว กำหนดว่า หนักหนอ ๆ แข็งหนอ ๆ เกิดความสงสัยขึ้น กำหนดว่าสงสัยหนอ ๆ คิดวนไปวนมา คิดหนอ ๆ ฟุ้งซ่านหนอ 3-4 ครั้ง หายไปหายปล่อยไป ดึงความรู้สึกตัวไปกำหนด พองหนอ ยุบหนออีก ก็เป็นอันจบกระบวนการของมันอีก...ทำแบบนี้แม้ในประเด็นอื่น ๆ

“ ฯลฯ ถ้าปัจจุบันของดิฉันมันมีแต่คิดบ้าง ทำงานบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ใจไม่เคยมากำหนดพองยุบเลยในระหว่างวัน ถือว่าทำถูกหรือผิดคะ (สงสัยมากๆ)…”
ตรงนี้แหละที่ถกเถียงกันจนเว็บ (...) เกือบล่มมาแล้ว

-ในระหว่างการใช้ชีวิตประจำวัน (ผู้เริ่มทำ) มันมีแต่คิดบ้าง ทำงานบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง....ก็ให้มีอารมณ์นี้ ๆ แหละเป็นอารมณ์ระลึกรู้ระหว่างวัน
-แต่ถ้าเมื่อนั่งทำเป็นกิจ ก็ต้องปฏิบัติอย่างที่กล่าวไว้
-ผู้ซึ่งทำการฝึกจิตจนกระทั่งมันเชื่องแล้ว จิตใจก็จะเกาะเกี่ยวกับพอง-ยุบเหมือนกันกับเค้าคนนั้น แม้ผู้นั้นเองก็เถอะนะ ถ้า..ในขณะทำงานประจำ จะหยิบจะฉวยสิ่งนั่นสิ่งนี้ เป็นต้น ก็ต้องมีสิ่งนั้นๆ เป็นอารมณ์ปัจจุบันเหมือนกัน เช่นว่า กำลังเขียนหนังสืออยู่ ดันไพล่ไปกำหนดพองหนอ ยุบหนอ อย่างนี้ถือว่าทิ้งอารมณ์ปัจจุบัน ....

“…ฯลฯ ท่านจะดึงจิตมาที่พองยุบทุกครั้งที่เผลอ….”
อย่างนี้เกิดจากความเคยชิน (จิตเชื่องแล้ว) พอเมื่อสติอ่อนมันก็จะน้อมไป ณ ที่ ที่มันเคยชิน (ไม่เสียหายแต่อย่างใด) ต่อเมื่อใดสติสัมปชัญญะมีกำลังเพิ่มอีก (สติพละ) ก็จะคุมมันอยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน ซึ่งก็แล้วแต่สิ่งที่เราทำจะเป็นอะไร (ดังตัวอย่างผู้กำลังเขียนหนังสือก็อยู่กับเขียนเป็นต้น)
หมายเหตุ สติสัมปชัญญะเกิดจากการกำหนดรู้อารมณ์ต่อเนื่องนั่นเอง เมื่อกำหนดรู้ต่อเนืองยาวนาน กิเลสมีความฟุ้งซ่านเป็นต้น ก็เจาะเข้ามาภายในไม่ได้ เรียกว่า อารมณ์ไม่รั่ว

.............................................................
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง