ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
พุทธภูมิ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
03 ก.พ.2006, 10:13 am |
  |
ทุกะ - หมวด ๒
Groups of two
(including related groups)
(๔) กรรม ๒ (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตามทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม action; deed)
๑. อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ unwholesome action; evil deed; bad deed)
๒. กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ wholesome action; good deed)
A.I.104, 263; It.25,55 องฺ. ติก. ๒๐/๔๔๕/๑๓๑,๕๕๑/๓๓๘; ขุ.อิติ.๒๕/๒๐๘/๒๔๘; ๒๔๒/๒๗๒
(*) กรรมฐาน ๒ ดู (๓๖) ภาวนา ๒.
(๕) กาม ๒ (ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนา sensuality)
๑. กิเลสกาม (กิเลสที่ทำให้ใคร่, ความอยากที่เป็นตัวกิเลส subjective sensuality)
๒. วัตถุกาม (วัตถุอันน่าใคร่, สิ่งที่น่าปรารถนา, สิ่งที่อยากได้, กามคุณ objective sensuality)
Nd12 ขุ. มหา. ๒๙/๒/๑
(๖) กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม sensual pleasures; sensual objects)
๑. รูปะ (รูป form; visible object)
๒. สัททะ (เสียง sound)
๓. คันธะ (กลิ่น smell; odor)
๔. รสะ (รส taste)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย touch; tangible object)
๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (agreeable, delightful, pleasurable) เรียกว่า กามคุณ
M.I. 85,173 ม.มู. ๑๒/๑๙๗/๑๖๘; ๓๒๗/๓๓๓.
(๗) ฌาน ๒ (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ meditation; scrutiny; examination)
๑. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ object-scrutinizing Jhana)
๒. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล characteristic-examining Jhana)
วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
ฌานที่แบ่งเป็น ๒ อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.
ดู [๘] [๙] [๑๐] ฌาน ต่าง ๆ และ [๔๗] สมาธิ ๓
AA. II. 41; PsA.281; DhsA. 167. องฺ.อ. ๑/๕๓๖; ปฏิสํ.อ. ๒๒๑; สงฺคณี.อ. ๒๗๓
(๘) ฌาน ๒ ประเภท (ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ absorption)
๑. รูปฌาน ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นรูปาวจร Jhanas of the Fine-Material Sphere)
๒. อรูปฌาน ๔ (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นอรูปาวจร Jhanas of the Immaterial Sphere)
คำว่า รูปฌาน ก็ดี อรูปฌาน ก็ดี เป็นคำสมัยหลัง เดิมเรียกเพียงว่า ฌาน และ อารุปป์.
D.III. 222; Dhs. 56. ที.ปา. ๑๑/๒๓๒/๒๓๓; อภิ.สํ. ๓๔/๑๙๒/๗๘.
(๙) ฌาน ๔ = รูปฌาน ๔ (the Four Jhanas)
๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ the First Absorption) มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒ the Second Absorption) มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓ the Third Absorption) มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔ the Fourth Absorption) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น ๕ ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ที่มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน ๔ ข้างต้นนี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ (โดยสาระก็คือ การจำแนกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง)
M.I.40 ม.มู. ๑๒/๑๐๒/๗๒
(๑๐) ฌาน ๘ = รูปฌาน ๔ + อรูปฌาน ๔ (อรูปฌาน ๔ ดู (๑๙๙) อรูป ๔)
(๑๑) ทาน ๒๑ (การให้, การเสียสละ, การบริจาค gift; giving; charity; liberality)
๑. อามิสทาน (การให้สิ่งของ material gift; carnal gift)
๒. ธรรมทาน (การให้ธรรม, การให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน gift of Truth; spiritual gift)
ใน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ อามิสทานช่วยค้ำจุนชีวิตทำให้เขามีที่พึ่งอาศัย แต่ธรรมทานช่วยให้เขารู้จักพึ่งตนเองได้ต่อไป เมื่อให้อามิสทาน พึงให้ธรรมทานด้วย.
A.I.90. องฺ.ทุก. ๒๐/๓๘๖/๑๑๔.
(๑๒) ทาน ๒๒ (การให้ gift; giving; alms-giving; offering; charity; liberality; generosity; benevolence; donation; benefaction)
๑. ปาฏิบุคลิกทาน (การให้จำเพาะบุคคล, ทานที่ให้เจาะจงตัวบุคคลหรือให้เฉพาะแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง offering to a particular person; a gift designated to a particular person)
๒. สังฆทาน (การให้แก่สงฆ์, ทานที่ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม หรือให้แก่บุคคล เช่น พระภิกษุหรือภิกษุณีอย่างเป็นกลางๆ ในฐานะเป็นตัวแทนของสงฆ์ โดยอุทิศต่อสงฆ์ ไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง offering to the Sangha; a gift dedicated to the Order or to the community of monks as a whole)
ในบาลีเดิม เรียก ปาฏิบุคลิกทาน ว่า ปาฏิปุคฺคลิกา ทกฺขิณา (ขอถวายหรือของให้ที่จำเพาะบุคคล) และเรียกสังฆทาน ว่า สงฺฆคตา ทกฺขิณา (ขอถวายหรือของให้ที่ถึงในสงฆ์)
ในทาน ๒ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญสังฆทานว่าเป็นเลิศ มีผลมากที่สุด ดังพุทธพจน์ว่า เราไม่กล่าวว่า ปาฏิบุคลิกทานมีผลมากกว่าของที่ให้แก่สงฆ์ไม่ว่าโดยปริยายใด ๆ และได้ตรัสชักชวนให้ให้สังฆทาน
M.III. 254-6; A.III. 392 ม.อุ. ๑๔/๗๑๐-๓/๔๕๙-๔๖๑; อ้างใน มงฺคล. ๒/๑๖; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๓๐/๔๓๙
(๑๓) ทิฏฐิ ๒ (ความเห็น, ความเห็นผิด view; false view)
๑. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง, ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป - eternalism)
๒. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ, ความเห็นว่าอัตตาและโลกซึ่งจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป - annihilationism)
S.III.97. สํ.ข. ๑๗/๑๗๙-๑๘๐/๑๒๐.
(๑๔) ทิฏฐิ ๓ (ความเห็น, ความเห็นผิด view; false view)
๑. อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มีเหตุ, เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย view of the inefficacy of action)
๒. อเหตุกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี, เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย view of non-causality)
๓. นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี, เห็นว่าไม่มีการกระทำหรือสภาวะที่จะกำหนดเอาเป็นหลักได้ nihilistic view; nihilism)
M.I.404. ม.ม. ๑๓/๑๐๕/๑๑๑.
(๑๕) ที่สุด หรือ อันตะ ๒ (ข้อปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ผิดพลาดไปจากทางอันถูกต้อง คือมัชฌิมาปฏิปทา the two extremes)
๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข the extreme of sensual indulgence; extreme hedonism)
๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง, การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน the extreme of self-mortification; extreme asceticism)
Vin.I.10; S.V. 420 วินย. ๔/๑๓/๑๘; สํ.ม. ๑๙/๑๖๖๔/๕๒๘.
(๑๖) ทุกข์ ๒ (สภาพที่ทนได้ยาก, ความทุกข์, ความไม่สบาย pain; suffering; discomfort)
๑. กายิกทุกข์ (ทุกข์ทางกาย bodily pain; physical suffering)
๒. เจตสิกทุกข์ (ทุกข์ทางใจ, โทมนัส mental pain; mental suffering)
ดู [๗๘] ทุกขตา ๓ ด้วย.
D.II.306; S.V.204 ที.ม. 10/295/342; สํ.ม. ๑๙/๙๔๒, ๙๔๔/๒๘๐.
(๑๗) เทศนา ๒๑ (การแสดงธรรม, การชี้แจงแสดงความ preaching; exposition)
๑. บุคคลาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างคน, แสดงโดยยกคนขึ้นอ้าง, ยกคนเป็นหลักฐานในการอธิบาย exposition in terms of persons)
๒. ธรรมาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีธรรมเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างธรรม, แสดงโดยยกหลักหรือตัวสภาวะขึ้นอ้าง exposition in terms of ideas)
เทศนา ๒ นี้ ท่านสรุปมาจากเทศนา ๔ ในคัมภีร์ที่อ้างไว้
PsA.449. ปฏิสํ.อ. ๗๗.
(๑๘) เทศนา ๒๒ (การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า, การชี้แจงแสดงความ preaching: exposition; teaching)
๑. สมมติเทศนา (เทศนาโดยสมมต, แสดงตามความหมายที่รู้ร่วมกัน หรือตกลงยอมรับกันของชาวโลก เช่นว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ เทวดา เป็นต้น conventional teaching)
๒. ปรมัตถเทศนา (เทศนาโดยปรมัตถ์, แสดงตามความหมายของสภาวธรรมแท้ ๆ เช่นว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น absolute teaching)
ผู้ฟังจะเข้าใจความ สำเร็จประโยชน์ด้วยเทศนาอย่างใด ก็ทรงแสดงอย่างนั้น
ใน ที.อ.๑/๔๓๖; สํ.อ.๒/๙๘ และ ปญฺจ.อ.๑๘๒ เป็นต้น กล่าวถึง กถา ๒ คือ สมมติกถา และ ปรมัตถกถา พึงทราบความหมายตามแนวความอย่างเดียวกันนี้
ดู [๕๐] สัจจะ ๒
AA.I.94; etc องฺ.อ. ๑/๙๙, ฯลฯ
(๑๙) ธรรม ๒๑ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ things; states; phenomena)
๑. รูปธรรม (สภาวะอันเป็นรูป, สิ่งที่มีรูป, ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด materiality; corporeality)
๒. อรูปธรรม (สภาวะมิใช่รูป, สิ่งที่ไม่มีรูป, ได้แก่นามขันธ์ 4 และนิพพาน immateriality; incorporeality)
ในบาลีที่มา ท่านเรียก รูปิโน ธมฺมา และ อรูปิโน ธมฺมา
Dhs. 193, 245 อภิ.สํ. 34/705/279; 910/355.
(๒๐) ธรรม ๒๒ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ things; states; phenomena)
๑. โลกิยธรรม (ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ ๕ ที่เป็นสาสวะทั้งหมด mundane states)
๒. โลกุตตรธรรม (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก ได้แก่มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ supramundane states) (+ โพธิปักขิยธรรม ๓๗: ขุ.ปฏิ.๖๒๐; Ps.II.166)
Dhs.193, 245. อภิ.สํ. ๓๔/๗๐๖/๒๗๙; ๙๑๑/๓๕๕.
(๒๑) ธรรม ๒๓ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ thing; states; phenomena)
๑. สังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด conditioned things; compounded things)
๒. อสังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง คือ นิพพาน the Unconditioned, i.e. Nibbana)
Dhs.193, 244. อภิ.สํ. ๓๔/๗๐๒/๒๗๘; ๙๐๗/๓๕๔.
(๒๒) ธรรม ๒๔ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ thing; states; phenomena)
๑. อุปาทินนธรรม (ธรรมที่ถูกยึด, ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิเข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบาก และรูปที่เกิดแต่กรรมทั้งหมด states grasped by craving and false view; grasped states)
๒. อนุปาทินนธรรม (ธรรมที่ไม่ถูกยึด, ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ส่วนนอกนี้ รูปที่มิใช่เกิดแต่กรรม และ โลกุตตรธรรมทั้งหมด states not grasped by craving and false view; ungrasped states)
Dhs. 211, 255 อภิ.สํ. ๓๔/๗๗๙/๓๐๕; ๙๕๕/๓๖๙.
(๒๓) ธรรมคุ้มครองโลก ๒ (ธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวาย virtues that protect the world)
๑. หิริ (ความละอาย, ละอายใจต่อการทำความชั่ว moral shame; conscience)
๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป, เกรงกลัวต่อความชั่ว moral dread)
A.I. 51; It. 36. องฺ.ทุก.๒๐/๒๕๕/๖๕5; ขุ.อิติ. ๒๕/๒๒๐/๒๕๗
(๒๔) ธรรมทำให้งาม ๒ (gracing virtues)
๑. ขันติ (ความอดทน, อดได้ทนได้เพื่อบรรลุความดีงามและความมุ่งหมายอันชอบ patience: forbearance; tolerance)
๒. โสรัจจะ (ความเสงี่ยม, อัธยาศัยงาม รักความประณีตหมดจดเรียบร้อยงดงาม modesty; meekness)
Vin.I.349; A.I.94. วินย.๕/๒๔๔/๓๓๕; องฺ.ทุก. ๒๐/๔๑๐/๑๑๘
[**] ธรรมที่พระพุทธเจ้าเห็นคุณประจักษ์ ๒ ดู (๖๔) อุปัญญาตธรรม ๒
[**] ธรรมเป็นโลกบาล ๒ ดู [๒๓] ธรรมคุ้มครองโลก ๒
(๒๕) ธรรมมีอุปการะมาก ๒ (ธรรมที่เกื้อกูลในกิจหรือในการทำความดีทุกอย่าง virtues of great assistance)
๑. สติ (ความระลึกได้, นึกได้, สำนึกอยู่ไม่เผลอ mindfulness)
๒. สัมปชัญญะ (ความรู้ชัด, รู้ชัดสิ่งที่นึกได้, ตระหนัก, เข้าใจชัดตามความเป็นจริง clear comprehension)
D.III.273; A.I.95. ที.ปา.๑๑/๓๗๘/๒๙๐; องฺ.ทุก.๒๐/๔๒๔/๑๑๙
(๒๖) ธุระ ๒ (หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา Burden; task; business; responsibility in the Dispensation)
๑. คันถธุระ (ธุระฝ่ายคัมภีร์, กิจด้านการเล่าเรียน burden of study; task of learning)
๒. วิปัสสนาธุระ (ธุระฝ่ายเจริญวิปัสสนา, กิจด้านการบำเพ็ญภาวนา หรือเจริญกรรมฐาน ซึ่งรวมทั้งสมถะด้วย เรียกรวมเข้าในวิปัสสนาโดยฐานเป็นส่วนคลุมยอด burden of insight development; task of meditation practice)
ธุระ ๒ นี้ มาในอรรถกถา
DhA.1.7 ธ.อ.๑/๗
(๒๗) นิพพาน ๒ (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ Nirvana; Nibbana)
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ Nibbana with the substratum of life remaining)
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่อุปาทิเหลือ Nibbana without any substratum of life remaining)
หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
๑. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน extinction of the defilements)
๒. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน extinction of the Aggregates) หรือ
๑. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่
๒. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว
It.38. ขุ.อิติ. ๒๕/๒๒๒/๒๕๘.
อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า
๑. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
๒. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ
A.IV.379. องฺ.นวก. ๒๓/๒๑๖/๓๙๔.
(๒๘) บัญญัติ ๒ และ ๖ (การกำหนดเรียก หรือ สิ่งที่ถูกกำหนดเรียก, การกำหนดตั้งหรือตราไว้ให้เป็นที่รู้กัน designation; term; concept)
๑. ปัญญาปิยบัญญัติ หรือ อรรถบัญญัติ (บัญญัติในแง่เป็นสิ่งอันพึงให้รู้กัน, บัญญัติที่เป็นความหมาย, บัญญัติคือความหมายอันพึงกำหนดเรียก, ตัวความหมายที่จะพึงถูกตั้งชื่อเรียก the Pannatti to be made Known or conveyed; concept)
๒. ปัญญาปนบัญญัติ หรือ นามบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ (บัญญัติในแง่เป็นเครื่องให้รู้กัน, บัญญัติที่เป็นชื่อ, บัญญัติที่เป็นศัพท์, ชื่อที่ตั้งขึ้นใช้เรียก the Pannatti that makes Known or conveys; term; designation)
ปัญญาปิยบัญญัติ เรียกเต็มว่า ปัญญาปิยัตตา บัญญัติ, ปัญญาปนบัญญัติ เรียกเต็มว่า ปัญญาปนโต บัญญัติ
ปัญญาปนบัญญัติ หรือ นามบัญญัติ แยกย่อยออกเป็น ๖ อย่าง คือ
๑. วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่มีอยู่ เช่น รูป เวทนา สมาธิ เป็นต้น designation of reality; real concept)
๒. อวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่ไม่มีอยู่ เช่น ม้า แมว รถ นายแดง เป็นต้น designation of an unreality; unreal concept)
๓. วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่มี เช่น คนดี นักฌาน ซึ่งความจริงมีแต่ดี คือภาวะที่เป็นกุศล และฌาน แต่คนไม่มี เป็นต้น designation of an unreality by means of a reality; unreal concept by means of a real concept)
๔. อวิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่มี ด้วยสิ่งที่ไม่มี เช่น เสียงหญิง ซึ่งความจริง หญิงไม่มี มีแต่เสียง เป็นต้น designation of a reality by means of an unreality; real concept by means of an unreal concept)
๕. วิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่มี ด้วยสิ่งที่มี เช่น จักขุสัมผัส โสตวิญญาณ เป็นต้น designation of a reality by means of a reality; real concept by means of a real concept)
๖. อวิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่ไม่มี เช่น ราชโอรส ลูกเศรษฐี เป็นต้น designation of an unreality by means of an unreality; unreal concept by means of an unreal concept)
Pug.A.171;COMP.198 ปญจ.อ. ๓๒; สงฺคห. ๔๙; สงฺคห.ฏีกา ๒๕๓
(๒๙) บุคคลหาได้ยาก ๒ (rare persons)
๑. บุพการี (ผู้ทำความดีหรือทำประโยชน์ให้แต่ต้นโดยไม่ต้องคอยคิดถึงผลตอบแทน one who is first to do a favor; previous benefactor)
๒. กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน, ผู้รู้จักคุณค่าแห่งการกระทำดีของผู้อื่น และแสดงออกเพื่อบูชาความดีนั้น one who is grateful and repays the done favor; grateful person)
A.I.87 องฺ.ทุก. ๒๐/๓๖๔/๑๐๘.
(๓๐) บูชา ๒ (worship; acts of worship; honoring)
๑. อามิสบูชา (บูชาด้วยสิ่งของ worship or honoring with material thing; material worship)
๒. ปฏิบัติบูชา (บูชาด้วยการปฏิบัติ worship or honoring with practice; practical worship)
ในบาลีที่มา ปฏิบัติบูชา เป็น ธรรมบูชา
A.I.93; Vbh.360. องฺ.ทุก. ๒๐/๓๙๗/๑๑๖. อภิ.วิ. ๓๕/๙๒๑/๔๘๗
(๓๒) ปธาน ๒ (ความเพียร หมายเอาความเพียรที่ทำได้ยาก hard struggles; painstaking endeavors)
๑. ความเพียรของคฤหัสถ์ ที่จะอำนวยปัจจัย ๔ (แก่บรรพชิต เป็นต้น) struggle of householders to provide the four requisites.
๒. ความเพียรของบรรพชิตที่จะไถ่ถอนกองกิเลส struggle of the homeless to renounce all substrates of rebirth.
A.I.49; Netti 159. องฺ.ทุก.๒๐/๒๔๘/๖๓.
(๓๓) ปริเยสนา ๒ (การแสวงหา search; quest)
๑. อนริยปริเยสนา (แสวงหาอย่างไม่ประเสริฐ, แสวงหาอย่างอนารยะ คือ ตนเอง เป็นผู้มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ และสังกิเลสเป็นธรรมดา ก็ยังใฝ่แสวงหาแต่สิ่งอันมีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ และสังกิเลสเป็นธรรมดา unariyan or ignoble search)
๒. อริยปริเยสนา (แสวงหาอย่างประเสริฐ, แสวงหาอย่างอารยะ คือ ตนเป็นผู้มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ และสังกิเลสเป็นธรรมดา แต่รู้จักโทษข้อบกพร่องของสิ่งที่มีสภาพเช่นนั้นแล้ว ใฝ่แสวงธรรมอันเกษม คือ นิพพาน อันไม่มีสภาพเช่นนั้น ariyan or noble search)
สองอย่างนี้ เทียบได้กับ อามิสปริเยสนา และ ธรรมปริเยสนา ที่ตรัสไว้ใน อังคุตตรนิกาย; แต่สำหรับคนสามัญ อาจารย์ภายหลังอธิบายว่า ข้อแรกหมายถึงมิจฉาอาชีวะ ข้อหลังหมายถึงสัมมาอาชีวะ ดังนี้ก็มี.
M.I.161; A.I.93. ม.มู. ๑๒/๓๑๓/๓๑๔; องฺ.ทุกฺ. ๒๐/๓๙๙/๑๑๖.
(๓๔) ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ (ทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของความดีงามทั้งปวง : sources or conditions for the arising of right view)
๑. ปรโตโมสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร : another s utterance; inducement by others; hearing or learning from others)
๒. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้น ๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย : reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection)
ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ (๑) และ (๒) นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า องค์ประกอบของการศึกษา หรือ บุพภาคของการศึกษา โดยเฉพาะข้อที่ ๑ ในที่นี้ใช้คำกว้าง ๆ แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา
ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ อย่าง คือ ปรโตโฆสะ และ อโยนิโสมนสิการ ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมานี้.
M.I.294; A.I.87. ม.มู.๑๒/๔๙๗/๕๓๙; องฺ.ทุก. ๒๐/๓๗๑/๑๑๐.
(๓๕) ปาพจน์ ๒ (วจนะอันเป็นประธาน, พุทธพจน์หลัก, คำสอนหลักใหญ่ : fundamental text; fundamental teaching)
๑. ธรรม (คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ และแนะนำหลักความดีที่ควรประพฤติ : the Doctrine)
๒. วินัย (ข้อบัญญัติที่วางไว้เป็นหลักกำกับความประพฤติให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอกัน : the Discipline)
ดู (๗๔) ไตรปิฎก ด้วย.
D.II.154. ที.ม.๑๐/๑๔๑/๑๗๘
(**] พุทธคุณ ๒ ดู (๒๙๒) พุทธคุณ ๒
[**] พุทธคุณ ๒ ดู (๒๙๓) พุทธคุณ ๓
[**] ไพบูลย์ ๒ ดู (๔๔) เวปุลละ ๒
[๓๖] ภาวนา ๒ (การเจริญ, การทำให้เกิดให้มีขึ้น, การฝึกอบรมจิตใจ : mental development)
๑. สมถภาวนา (การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ, การฝึกสมาธิ : tranquillity development)
๒. วิปัสสนาภาวนา (การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง, การเจริญปัญญา : insight development)
สองอย่างนี้ ในบาลีที่มาท่านเรียกว่า ภาเวตัพพธรรม และ วิชชาภาคิยธรรม. ในคัมภีร์สมัยหลัง บางทีเรียกว่า กรรมฐาน (อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งงานเจริญภาวนา, ที่ตั้งแห่งงานทำความเพียรฝึกอบรมจิต, วิธีฝึกอบรมจิต stations of mental exercises; mental exercise; สังคห.๕๑ ; Comp. 202)
D.III.273; A.I. 60. ที.ปา. ๑๑/๓๗๙/๒๙๐; องฺ.ทุก.๒๐/๒๗๕/๗๗.
(๓๗) ภาวนา ๔ (การเจริญ, การทำให้เป็นให้มีขึ้น, การฝึกอบรม, การพัฒนา : cultivation; training; development)
๑. กายภาวนา (การเจริญกาย, พัฒนากาย, การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ, การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ : physical development)
๒. สีลภาวนา (การเจริญศีล, พัฒนาความประพฤติ, การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน : moral development)
๓. จิตภาวนา (การเจริญจิต, พัฒนาจิต, การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคงเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทนมีสมาธิ และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น : cultivation of the heart; emotional development)
๔. ปัญญาภาวนา (การเจริญปัญญา, พัฒนาปัญญา, การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา : cultivation of wisdom; intellectual development)
ในบาลีที่มา ท่านแสดงภาวนา ๔ นี้ ในรูปที่เป็นคุณบทของบุคคล จึงเป็น ภาวิตกาย ภาวิตศีล ภาวิตจิต ภาวิตปัญญา (ผู้ได้เจริญกาย ศีล จิต และปัญญาแล้ว) บุคคลที่มีคุณสมบัติชุดนี้ครบถ้วนย่อมเป็นพระอรหันต์
A.III.106 องฺ.ปญจก. ๒๒/๗๙/๑๒๑
(๓๘) รูป ๒ (สภาวะที่แปรปรวนแตกสลายเพราะปัจจัยต่าง ๆ อันขัดแย้ง, ร่างกายและส่วนประกอบฝ่ายวัตถุพร้อมทั้งพฤติกรรมและคุณสมบัติของมัน, ส่วนที่เป็นร่างกับทั้งคุณและอาการ : corporeality; materiality; matter)
๑. มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔ (สภาวะอันปรากฏได้เป็นใหญ่ ๆ โต ๆ หรือเป็นต่าง ๆ ได้มากมาย, รูปที่มีอยู่โดยสภาวะ, รูปต้นเดิม ได้แก่ ธาตุ ๔ : primary elements)
๒. อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป ๒๔ (รูปอาศัย, รูปที่เป็นไปโดยอาศัยมหาภูต, คุณและอาการแห่งมหาภูต : derivative materiality)
M.II.262; Ps.I.183 ม.อุ. ๑๔/๘๓/๗๕; ขุ.ปฏิ.๓๑/๔๐๓/๒๗๕.
รูป ๒๘ ก็คือรูป ๒ หมวดข้างต้นนี้เอง แต่นับข้อย่อย กล่าวคือ
๑. มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔ (รูปใหญ่, รูปเดิม : primary elements; great essentials) ดู (๓๙)
๒. อุปาทายรูป ๒๔ (รูปอาศัย, รูปสืบเนื่อง : derived material qualities) ดู (๔๐)
Comp.157. สงฺคห.๓๓.
(๓๙) มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔ : the Four Primary Elements; primary matter)
๑. ปฐวีธาตุ (สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่, สภาพอันเป็นหลักที่ตั้งที่อาศัยแห่งสหชาตรูป เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็ง หรือ ธาตุดิน : element of extension; solid element; earth)
๒. อาโปธาตุ (สภาวะที่เอิบอาบหรือดูดซึม หรือซ่านไป ขยายขนาด ผนึก พูนเข้าด้วยกัน เรียกสามัญว่า ธาตุเหลว หรือ ธาตุน้ำ : element of cohesion; fluid element; water)
๓. เตโชธาตุ (สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ : element of heat or radiation; heating element; fire)
๔. วาโยธาตุ (สภาวะที่ทำให้สั่นไหวเคลื่อนที่ และค้ำจุน เรียกสามัญว่า ธาตุลม : element of vibration or motion; air element; wind)
สี่อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธาตุ ๔
D.I.214; Vism. 443; Comp. 154. ที.สี.๙/๓๔๓/๒๗๗; วิสุทธิ.๓/๑๑; สงฺคห.๓๓
(๔๐) อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป ๒๔ (derivative materiality)
ก. ปสาทรูป ๕ (รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์: sensitive material qualities)
๑. จักขุ (ตา the eye)
๒. โสต (หู the ear)
๓. ฆาน (จมูก the nose)
๔. ชิวหา ( ลิ้น the )
๕. กาย ( กาย the body)
ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป ๕ (รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์ : material qualities of sense-fields)
๖. รูปะ (รูป form)
๗. สัททะ (เสียง sound)
๘. คันธะ (กลิ่น smell)
๙. รสะ (รส taste)
๐. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย tangible objects) ข้อนี้ไม่นับเพราะเป็นอันเดียวกับมหาภูต ๓ คือ ปฐวี เตโช และ วาโย ที่กล่าวแล้วในมหาภูต
ค. ภาวรูป ๒ (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ material qualities of *)
๑๐. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง femininity)
๑๑. ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย masculinity)
ง. หทยรูป ๑ (รูปคือหทัย physical basis of mind)
๑๒. หทัยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งใจ, หัวใจ heart-base)
จ. ชีวิตรูป ๑ (รูปที่เป็นชีวิต material qualities of life)
๑๓. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต life-faculty; vitality; vital force)
ฉ. อาหารรูป ๑ (รูปคืออาหาร material quality of nutrition)
๑๔. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว, อาหารที่กิน : edible food; nutriment)
ช. ปริจเฉทรูป ๑ (รูปที่กำหนดเทศะ : material quality of delimitation)
๑๕. อากาสธาตุ (สภาวะคือช่องว่าง : space-element)
ญ. วิญญัติรูป ๒ (รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย : material intimation; gesture)
๑๖. กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยกาย : bodily intimation; gesture)
๑๗. วจีวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา : verbal intimation; speech)
ฏ. วิการรูป ๕ (รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ : material quality of plasticity or alterability)
๑๘. (รูปัสส) ลหุตา (ความเบา lightness; agility)
๑๙. (รูปัสส) มุทุตา (ความอ่อนสลวย : elasticity; malleability)
๒๐. (รูปัสส) กัมมัญญตา (ความควรแก่การงาน, ใช้การได้ : adaptability; wieldiness)
๐. วิญญัติรูป ๒ ไม่นับเพราะซ้ำในข้อ ญ.
ฏ. ลักขณรูป ๔ (รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด : material quality of salient features)
๒๑. (รูปัสส) อุปจย (ความก่อตัวหรือเติบขึ้น : growth; integration)
๒๒. (รูปัสส) สันตติ (ความสืบต่อ : continuity)
๒๓. (รูปัสส) ชรตา (ความทรุดโทรม : decay)
๒๔. (รูปัสส) อนิจจตา (ความปรวนแปรแตกสลาย : impermanence)
Dhs. 127; Vism.443; Comp.155 อภิ.สํ.๓๔/๕๐๔/๑๘๕; วิสุทธิ.๓/๑๑; สงฺคห.๓๔
(๔๑) รูป ๒ (สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ : rupa: matter; materiality)
๑. อุปาทินนกรูป (รูปที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่รูปที่เกิดจากกรรม : karmically grasped materiality; clung-to materiality; organic matter)
๒. อนุปาทินนกรูป (รูปที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่รูปที่เกิดจากกรรม : karmically grasped materiality; not-clung-to materiality; inorganic matter)
Vbh.14; Vism.450; Comp.159 อภิ.วิ.๓๕/๓๖/๑๙; วิสุทธิ.๓/๒๐; สงฺคห.๓๕.
(๔๒) ฤทธิ์ ๒ (อิทธิ คือความสำเร็จ ความรุ่งเรือง : achievement; success; prosperity)
๑. อามิสฤทธิ์ (อามิสเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางวัตถุ : achievement of carnality; material or carnal prosperity)
๒. ธรรมฤทธิ์ (ธรรมเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางธรรม : achievement of righteousness; doctrinal or spiritual prosperity)
A.I.93. องฺ.ทุก.๒๐/๔๐๓/๑๑๗.
(**) โลกบาลธรรม ๒ ดู (๒๓) ธรรมคุ้มครองโลก ๒
(๔๓) วิมุตติ ๒ (ความหลุดพ้น : deliverance; liberation; freedom)
๑. เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ : deliverance of mind; liberation by concentration)
๒. ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง : deliverance through insight; liberation through wisdom)
A.I.60 องฺ.ทุก.๒๐/๒๗๖/๗๘
(**) เวทนา ๒ ดู (๑๐๙) เวทนา ๒
(๔๔) เวปุลละ ๒ (ความไพบูลย์ abundance)
๑. อามิสเวปุลละ (อามิสไพบูลย์, ความไพบูลย์แห่งอามิส abundance of material things; material abundance)
๒. ธัมมเวปุลละ (ธรรมไพบูลย์, ความไพบูลย์แห่งธรรม abundance of virtues; doctrinal or spiritual abundance)
A.I.93. องฺ. ทุก. ๒๐/๔๐๗/๑๑๗.
(๔๕) สมาธิ ๒ (ความตั้งมั่นแห่งจิต, ภาวะที่จิตสงบนิ่งจับอยู่ที่อารมณ์อันเดียว : concentration)
๑. อุปจารสมาธิ (สมาธิเฉียด ๆ, สมาธิจวนจะแน่วแน่ : access concentration)
๒. อัปปนาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่, สมาธิแนบสนิท, สมาธิในฌาน attainment concentration)
Vism.85, 371. วิสุทธิ.๑/๑๐๕; ๒/๑๙๔
(๔๖) สมาธิ ๓ (ความตั้งมั่นแห่งจิต, ภาวะที่จิตสงบนิ่งจับอยู่ที่อารมณ์อันเดียว : concentration)
๑. ขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ momentary concentration)
๒. อุปจารสมาธิ (สมาธิจวนจะแน่วแน่ access concentration)
๓. อัปปนาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่ attainment concentration)
DhsA.117; Vism.144. สงฺคณี อ.๒๐๗; วิสุทธิ.๑/๘๔.
(๔๗) สมาธิ ๓ (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น concentration)
๑. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ concentration on the void)
๒. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ concentration on the signless)
๓. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ : concentration on the desireless or non-hankering)
ดู (๑๐๖) วิโมกข์ ๓
D.III.219; A.I.299; Ps.I.49. ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๓๑; องฺ.ติก.๒๐/๕๙๘/๓๘๕; ขุ.ปฏิ.๓๑/๙๒/๗๐.
(๔๘) สังขาร ๒ (สภาพที่ปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งขึ้น, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย : conditioned things; compounded things)
๑. อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อุปาทินนธรรม : karmically grasped phenomena)
๒. อนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมไม่ยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อนุปาทินนธรรมทั้งหมด เว้นแต่อสังขตธาตุ คือนิพพาน : karmically ungrasped phenomena)
ดู (๒๒) ธรรม ๒; (๔๑) รูป ๒; (๑๑๘) สังขาร ๓; (๑๘๒) สังขาร ๔ ด้วย
A.A.IV.50 องฺ.อ.๓/๒๒๓; วิภงฺค.อ.๕๙๖
(๔๙) สังคหะ ๒ (การสงเคราะห์ aid; giving of help or favors; act of aiding or supporting)
๑. อามิสสังคหะ (อามิสสงเคราะห์, สงเคราะห์ด้วยอามิส : supporting with requisites; material aid)
๒. ธัมมสังคหะ (ธรรมสงเคราะห์, สงเคราะห์ด้วยธรรม : aiding by teaching or showing truth; spiritual aid)
A.I.91. องฺ.ทุก. ๒๐/๓๙๓/๑๑๕.
(๕๐) สัจจะ ๒ (ความจริง : truth)
๑. สมมติสัจจะ (ความจริงโดยสมมุติ, ความจริงที่ถือตามความกำหนดตกลงกันไว้ของชาวโลก เช่นว่า คน สัตว์ โต๊ะ หนังสือ เป็นต้น : conventional truth)
๒. ปรมัตถสัจจะ (ความจริงโดยปรมัตถ์, ความจริงตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะและเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่นว่า รูป นาม เวทนา จิต เจตสิก เป็นต้น : absolute truth)
AA.I.95; KvuA.34 องฺ.อ.๑/๑๐๐; ปญฺจ.อ.๑๕๓,๑๘๒,๒๔๑; ฯลฯ
(๕๑) สาสน์ หรือ ศาสนา ๒ (คำสอน : teaching; dispensation)
๑. ปริยัติศาสนา (คำสอนฝ่ายปริยัติ, คำสอนอันจะต้องเล่าเรียนหรือจะต้องช่ำชอง ได้แก่ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ teaching to be studied or mastered; textual or scriptural teaching; dispensation as text) = (๒๙๐) นวังคสัตถุสาสน์
๒. ปฏิบัติศาสนา (คำสอนฝ่ายปฏิบัติ, คำสอนที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ สัมมาปฏิปทา อนุโลมปฏิปทา อปัจจนีกปฏิปทา (ปฏิปทาที่ไม่ขัดขวาง) อันวัตถปฏิปทา (ปฏิปทาที่เป็นไปตามความมุ่งหมาย) ธัมมานุธัมมปฏิปทา (ปฏิบัติธรรมอันถูกหลัก) กล่าวคือ การบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ (๑๒๗) ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค สติสัมปชัญญะ (๑๗๙) สติปัฏฐาน ๔ (๑๕๕) สัมมัปปธาน ๔ (๒๐๕) อิทธิบาท ๔ (๑๔๖) อินทรีย์ ๕ (๒๒๐) พละ ๕ (๒๖๖) โพชฌงค์ ๗ (๒๗๘) มรรคมีองค์ ๘ teaching to be practiced; practical teaching; dispensation as practice) ที่เป็นสำคัญในหมวดนี้ ก็คือ (๓๓๘) โพธิปักขิยธรรม ๓๗.
Nd1 143. ขุ.ม.๒๙/๒๓๒/๑๗๕.
(๕๒) สุข ๒ (ความสุข pleasure; happiness)
๑. กายิกสุข (สุขทางกาย bodily happiness)
๒. เจตสิกสุข (สุขทางใจ mental happiness)
A.I.80. องฺ.ทุก.๒๐/๓๑๕/๑๐๑.
(๕๓) สุข ๒ (ความสุข pleasure; happiness)
๑. สามิสสุข (สุขอิงอามิส, สุขอาศัยเหยื่อล่อ, สุขจากวัตถุคือกามคุณ carnal or sensual happiness)
๒. นิรามิสสุข (สุขไม่อิงอามิส, สุขไม่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ, สุขปลอดโปร่งเพราะใจสงบ หรือได้รู้แจ้งตามเป็นจริง happiness independent of material things or sensual desires; spiritual happiness)
A.I.80. องฺ.ทุก.๒๐/๓๑๓/๑๐๑.
(๕๔) สุทธิ ๒ (ความบริสุทธิ์, ความสะอาดหมดจด purity)
๑. ปริยายสุทธิ (ความบริสุทธิ์บางส่วน, หมดจดในบางแง่บางด้าน ได้แก่ ความบริสุทธิ์ของปุถุชนจนถึงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ที่ครองตนบริสุทธิ์ด้วยข้อปฏิบัติหรือธรรมที่ตนเข้าถึงบางอย่าง แต่ยังกิจในการละและเจริญซึ่งจะต้องทำต่อไปอีก partial purity)
๒. นิปปริยายสุทธิ (ความบริสุทธิ์สิ้นเชิง, หมดจดแท้จริงเต็มความหมาย ได้แกความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์ผู้เสร็จกิจในการเจริญธรรม ครองตนไร้มลทินทุกประการ : absolute purity)
AA.I.293-4 องฺ.อ.๒/๔
(**) อรหันต์ ๒ ดู (๖๑) อรหันต์ ๒
(๕๕) อริยบุคคล ๒ (บุคคลผู้ประเสริฐ, ผู้บรรลุธรรมพิเศษตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไป, ผู้เป็นอารยะในความหมายของพระพุทธศาสนา noble individuals; holy persons)
๑. เสขะ (พระเสขะ, พระผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่พระอริยบุคคล ๗ เบื้องต้นในจำนวน ๘ the learner)
๒. อเสขะ (พระอเสขะ, พระผู้ไม่ต้องศึกษา ได้แก่ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว : the adept)
A.I.62. องฺ.ทุก.๒๐/๒๘๐/๘๐.
(๕๖) อริยบุคคล ๔
๑. โสดาบัน (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, ผู้ถึงกระแส Stream-Enterer)
๒. สกทาคามี (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว Once-Returner)
๓. อนาคามี (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก Non-Returner)
๔. อรหันต์ (ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, ผู้ควร ผู้หักกำแห่งสงสารแล้ว the Worthy One)
ดู (๑๖๓) มรรค ๔; (๓๑๗) สังโยชน์ ๑๐
D.I.156. นัย ที.สี.๙/๒๕๐-๒๕๓/๑๙๙-๒๐๐.
(๕๗) อริยบุคคล ๘ แยกเป็น มรรคสมังคี (ผู้พร้อมด้วยมรรค) ๔, ผลสมังคี (ผู้พร้อมด้วยผล) ๔.
๑. โสดาบัน (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล one who has entered the stream; one established in the Fruition of Stream-Entry; Stream-Enterer)
๒. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล (พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค one who has worked for the realization of the Fruition of Stream-Entry; one established in the Path of Stream-Entry; one established in the Path of Stream-Entry)
๓. สกทาคามี (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล one who is a Once-Returner; one established in the Fruition of Once-Returning)
๔. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล (พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค one who has worked for the realization of the Fruition of Once-Returning; one established in the Path of Once-Returning)
๕ อนาคามี (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล one who is a Non-Returner; one established in the Fruition of Non-Returning)
๖. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล (พระตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค one who has worked for the realization of the Fruition of Non-Returning; one established in the Path of Non-Returning)
๗. อรหันต์ (ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล one who is an Arahant; one established in the Fruition of Arahantship)
๘. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล (พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค one who has worked for the realization of the Fruition of Arahantship; one established in the Path of Arahantship
ดู (๑๖๓-๔) มรรค ๔ ผล ๔ ด้วย.
D.III.255; A.IV. 291; Pug 73. ที.ปา. ๑๑/๓๔๒/๒๖๗; องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๔๙/๓๐๑; อภิ.ปุ.๓๖/๑๕๐/๒๓๓.
(๕๘) โสดาบัน ๓ (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, ผู้แรกถึงกระแสอันนำไปสู่พระนิพพาน แน่ต่อการตรัสรู้ข้างหน้า Stream-Enterer)
๑. เอกพีชี (ผู้มีพืชคืออัตตภาพอันเดียว คือ เกิดอีกครั้งเดียว ก็จักบรรลุอรหัต the Single-Seed)
๒. โกลังโกละ (ผู้ไปจากสกุลสู่สกุล คือ เกิดในตระกูลสูงอีก ๒-๓ ครั้ง หรือเกิดในสุคติอีก ๒-๓ ภพ ก็จักบรรลุอรหัต the Clan-to-Clan)
๓. สัตตักขัตตุงปรมะ (ผู้มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง คือ เวียนเกิดในสุคติภพอีกอย่างมากเพียง ๗ ครั้ง ก็จักบรรลุอรหัต the Seven-Times-at-Most)
A.I.233: IV.380; V.120; Pug.3,16,74 องฺ.ติก.๒๐/๕๒๘/๓๐๒; องฺ.นวก.๒๓/๒๑๖/๓๙๔; องฺ.ทสก.๒๔/๖๔/๑๒๙/; อภิ.ปุ.๓๖/๔๗-๙/๑๔๗.
(๕๙) สกทาคามี ๓,๕ (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว Once-Returner)
พระสกทาคามีนี้ ในบาลีมิได้แยกประเภทไว้ แต่ในคัมภีร์รุ่นหลังแยกประเภทไว้หลายอย่าง เช่น ในคัมภีร์ ปรมัตถโชติกา แยกไว้เป็น ๓ ประเภท คือ ผู้ได้บรรลุผลนั้น ในกามภพ ๑ ในรูปภพ ๑ ในอรูปภพ ๑
ในคัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา จำแนกไว้ ๕ ประเภท คือ ผู้บรรลุในโลกนี้แล้วปรินิพพานในโลกนี้เอง ๑ ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ปรินิพพานในเทวโลก ๑ ผู้บรรลุในเทวโลกแล้วปรินิพพานในเทวโลกนั้นเอง ๑ ผู้บรรลุในเทวโลกแล้ว เกิดในโลกนี้จึงปรินิพพาน ๑ ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ไปเกิดในเทวโลกหมดอายุแล้ว กลับมาเกิดในโลกนี้จึงปรินิพพาน ๑ และอธิบายต่อท้ายว่า พระสกทาคามีที่กล่าวถึงในบาลีหมายเอาประเภทที่ ๕ อย่างเดียว
นอกจากนี้ ที่ท่านแบ่งออกเป็น ๔ บ้าง ๑๒ บ้าง ก็มี แต่จะไม่กล่าวไว้ในที่นี้
KhA.182. ขุทฺทก.อ.๑๙๙; วิสุทฺธิ. ฏีกา ๓/๖๕๕.
(๖๐) อนาคามี ๕ (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก Non-Returner)
๑. อันตราปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว อายุยังไม่ถึงกึ่ง ก็ปรินิพพานโดยกิเลสปรินิพพาน one who attains Parinibbana within the first half life-span)
๒. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้จวนจะถึงจึงปรินิพพาน คือ อายุพ้นกึ่งแล้ว จวนจะถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน one who attains Parinibbana after the first half life-span)
๓. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยง่าย ไม่ต้องใช้ความเพียรนัก one who attains Parinibbana without exertion)
๔. สสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานโดยใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก one who attains Parinibbana with exertion)
๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็ตาม จะเกิดเลื่อนต่อขึ้นไปจนถึงอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพาน one who goes upstream bound for the highest realm; up-streamer bound for the Not-Junior Gods)
A.I. 233; IV. 14,70,380; V. 120; Pug.16 องฺ.ติก.๒๐/๕๒๘/๓๐๒; องฺ.นวก.๒๓/๒๑๖/๓๙๔; องฺ.ทสก.๒๔/๖๔/๑๒๙; อภิ.ปุ.๓๖/๕๒-๖/๑๔๘.
(๖๑) อรหันต์ ๒ (ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, ท่านผู้สมควรรับทักษิณาและการเคารพบูชาอย่างแท้จริง an Arahant; arahant; Worthy One)
๑. สุกขวิปัสสก (ผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ว คือ ท่านผู้มิได้ฌาน สำเร็จอรหัตด้วยเจริญแต่วิปัสสนาล้วน ๆ the dry-visioned; bare-insight worker)
๒. สมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน คือ ท่านผู้เจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อจนได้สำเร็จอรหัต one whose vehicle is tranquillity; the quiet-vehicled)
KhA.178,183; Vism.587,666. ขุทฺทก.อ.๒๐๐; วิสุทธิ.๓/๒๐๖,๓๑๒; วิสุทธิ.ฏีกา ๓/๓๙๘; ๕๗๙.
(๖๒) อรหันต์ ๔, ๕, ๖๐ (an Arahant; arahant; Worthy One)
๑. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน bare-insight-worker)
๒. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา ๓ one with the Threefold Knowledge)
๓. ฉฬภิญฺโ (ผู้ได้อภิญญา ๖ one with the Sixfold Superknowledge)
๔. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา one having att...the Analytic Insights)
พระอรหันต์ทั้ง ๔ ในหมวดนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประมวลแสดงไว้ในหนังสือธรรมวิภาคปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๔๑ พึงทราบคำอธิบายตามที่มาเฉพาะของคำนั้นๆ
แต่คัมภีร์ทั้งหลายนิยมจำแนกเป็น ๒ อย่าง เหมือนในหมวดก่อนบ้าง เป็น ๕ อย่างบ้าง ที่เป็น ๕ คือ
๑. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา one liberated by wisdom)
๒. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ one liberated in both ways)
๓. เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ one possessing the Threefold Knowledge)
๔. ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ one possessing the Sixfold Superknowledge)
๕. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ one having gained the Four Analytic Insights)
ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น ๒ คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน ๕ ประเภท) พระเตวิชชะ กับพระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ที่ไม่ได้โลกิยวิชชาและโลกิยอภิญญา ก็มี ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้ง ๔ ด้วยปัจจัยทั้งหลาย คือ การเล่าเรียน สดับ สอบค้น ประกอบความเพียรไว้เก่าและการบรรลุอรหัต
พระอรหันต์ทั้ง ๕ นั้น แต่ละประเภท จำแนกโดยวิโมกข์ ๓ รวมเป็น ๑๕ จำแนกออกไปอีกโดยปฏิปทา ๔ จึงรวมเป็น ๖๐ ความละเอียดในข้อนี้จะไม่แสดงไว้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ ผู้ต้องการทราบยิ่งขึ้นไป พึงดูในหนังสือนี้ฉบับใหญ่
ดู (๖๑) อรหันต์ ๒; (๑๐๕) วิชชา ๓; (๑๕๔) ปฏิสัมภิทา ๔; (๒๖๐) อภิญญา ๖.
Vism. 710. วิสุทธิ.๓/๓๗๓; วิสุทธิ.ฏีกา ๓/๖๕๗.
(๖๓) อริยบุคคล ๗ (บุคคลผู้ประเสริฐ noble individuals) เรียงจากสูงลงมา
๑. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ท่านที่ได้สัมผัสว๘ ด้วยกายและสิ้นอาสวะแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอรหันต์ผู้ได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมบัติมาก่อนที่จะได้ปัญญาวิมุตติ one liberated in both ways)
๒. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา คือ ท่านที่มิได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกายแต่สิ้นอาสวะแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอรหันต์ผู้ได้ปัญญาวิมุตติก็สำเร็จเลยทีเดียว one liberated by understanding)
๓. กายสักขี (ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย หรือ ผู้ประจักษ์กับตัว คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย และอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัต ที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ the body-witness)
๔. ทิฏฐิปปัตตะ (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ คือ ท่านที่เข้าใจอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้วและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัต ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ one attained to right view)
๕. สัทธาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา คือ ท่านทีเข้าในอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้วและอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มีศรัทธาเป็นตัวนำหน้า หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ one liberated by faith)
๖. ธัมมานุสารี (ผู้แล่นไปตามธรรม หรือผู้แล่นตามไปด้วยธรรม คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีปัญญาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ the truth-devotee)
๗. สัทธานุสารี (ผู้แล่นไปตามศรัทธา หรือผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีศรัทธาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ถ้าบรรลุผลแล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต the faith devotee)
D.III. 105,254; Vism.659. ที.ปา.๑๑/๘๐/๑๑๕; ๓๓๖/๒๖๖; องฺ.ติก.๒๐/๔๖๐/๑๔๘; ขุ.ปฏิ. ๓๑/๔๙๓-๕/๓๘๐-๓;
อภิ.ปุ.๓๖/๑๓/๑๓๙; วิสุทธิ.๓/๓๐๒; วิสุทธิ.ฏีกา ๓/๕๖๒-๕๖๘.
(๖๔) อุปัญญาตธรรม ๒ (ธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติเห็นคุณประจักษ์กับพระองค์เอง คือ พระองค์ได้ทรงอาศัยธรรม ๒ อย่างนี้ดำเนินอริยมรรคจนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ สัมมาสัมโพธิญาณ two virtues realized or ascertained by the Buddha himself)
๑. อสนฺตุฏฺฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ (ความไม่สันโดษในกุศลธรรม, ความไม่รู้อิ่มไม่รู้พอในการสร้างความดีและสิ่งที่ดี discontent in moral states; discontent with good achievements)
๒. อปฺปฏิวาณิตา ปธานสฺมึ (ความไม่ระย่อในการพากเพียร, การเพียรพยายามก้าวหน้าเรื่อยไปไม่ยอมถอยหลัง perseverance in exertion; unfaltering effort)
D.III.214; A.I.50,95; Dhs.8,234. ที.ปา.๑๑/๒๒๗/๒๒๗; องฺ.ทุก.๒๐/๒๕๑/๖๔; ๔๒๒/๑๑๙; อภิ.สํ.๓๔/๑๕/๘; ๘๗๕/๓๓๙
ทุกะ - หมวด ๒
Groups of two
(including related groups)
(๔) กรรม ๒ (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตามทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม action; deed)
๑. อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ unwholesome action; evil deed; bad deed)
๒. กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ wholesome action; good deed)
A.I.104, 263; It.25,55 องฺ. ติก. ๒๐/๔๔๕/๑๓๑,๕๕๑/๓๓๘; ขุ.อิติ.๒๕/๒๐๘/๒๔๘; ๒๔๒/๒๗๒
(*) กรรมฐาน ๒ ดู (๓๖) ภาวนา ๒.
(๕) กาม ๒ (ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนา sensuality)
๑. กิเลสกาม (กิเลสที่ทำให้ใคร่, ความอยากที่เป็นตัวกิเลส subjective sensuality)
๒. วัตถุกาม (วัตถุอันน่าใคร่, สิ่งที่น่าปรารถนา, สิ่งที่อยากได้, กามคุณ objective sensuality)
Nd12 ขุ. มหา. ๒๙/๒/๑
(๖) กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม sensual pleasures; sensual objects)
๑. รูปะ (รูป form; visible object)
๒. สัททะ (เสียง sound)
๓. คันธะ (กลิ่น smell; odor)
๔. รสะ (รส taste)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย touch; tangible object)
๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ (agreeable, delightful, pleasurable) เรียกว่า กามคุณ
M.I. 85,173 ม.มู. ๑๒/๑๙๗/๑๖๘; ๓๒๗/๓๓๓.
(๗) ฌาน ๒ (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ meditation; scrutiny; examination)
๑. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ object-scrutinizing Jhana)
๒. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล characteristic-examining Jhana)
วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
ฌานที่แบ่งเป็น ๒ อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา.
ดู [๘] [๙] [๑๐] ฌาน ต่าง ๆ และ [๔๗] สมาธิ ๓
AA. II. 41; PsA.281; DhsA. 167. องฺ.อ. ๑/๕๓๖; ปฏิสํ.อ. ๒๒๑; สงฺคณี.อ. ๒๗๓
(๘) ฌาน ๒ ประเภท (ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ absorption)
๑. รูปฌาน ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นรูปาวจร Jhanas of the Fine-Material Sphere)
๒. อรูปฌาน ๔ (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นอรูปาวจร Jhanas of the Immaterial Sphere)
คำว่า รูปฌาน ก็ดี อรูปฌาน ก็ดี เป็นคำสมัยหลัง เดิมเรียกเพียงว่า ฌาน และ อารุปป์.
D.III. 222; Dhs. 56. ที.ปา. ๑๑/๒๓๒/๒๓๓; อภิ.สํ. ๓๔/๑๙๒/๗๘.
(๙) ฌาน ๔ = รูปฌาน ๔ (the Four Jhanas)
๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ the First Absorption) มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒ the Second Absorption) มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓ the Third Absorption) มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔ the Fourth Absorption) มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น ๕ ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ที่มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน ๔ ข้างต้นนี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ (โดยสาระก็คือ การจำแนกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง)
M.I.40 ม.มู. ๑๒/๑๐๒/๗๒
(๑๐) ฌาน ๘ = รูปฌาน ๔ + อรูปฌาน ๔ (อรูปฌาน ๔ ดู (๑๙๙) อรูป ๔)
(๑๑) ทาน ๒๑ (การให้, การเสียสละ, การบริจาค gift; giving; charity; liberality)
๑. อามิสทาน (การให้สิ่งของ material gift; carnal gift)
๒. ธรรมทาน (การให้ธรรม, การให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน gift of Truth; spiritual gift)
ใน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ อามิสทานช่วยค้ำจุนชีวิตทำให้เขามีที่พึ่งอาศัย แต่ธรรมทานช่วยให้เขารู้จักพึ่งตนเองได้ต่อไป เมื่อให้อามิสทาน พึงให้ธรรมทานด้วย.
A.I.90. องฺ.ทุก. ๒๐/๓๘๖/๑๑๔.
(๑๒) ทาน ๒๒ (การให้ gift; giving; alms-giving; offering; charity; liberality; generosity; benevolence; donation; benefaction)
๑. ปาฏิบุคลิกทาน (การให้จำเพาะบุคคล, ทานที่ให้เจาะจงตัวบุคคลหรือให้เฉพาะแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง offering to a particular person; a gift designated to a particular person)
๒. สังฆทาน (การให้แก่สงฆ์, ทานที่ถวายแก่สงฆ์เป็นส่วนรวม หรือให้แก่บุคคล เช่น พระภิกษุหรือภิกษุณีอย่างเป็นกลางๆ ในฐานะเป็นตัวแทนของสงฆ์ โดยอุทิศต่อสงฆ์ ไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง offering to the Sangha; a gift dedicated to the Order or to the community of monks as a whole)
ในบาลีเดิม เรียก ปาฏิบุคลิกทาน ว่า ปาฏิปุคฺคลิกา ทกฺขิณา (ขอถวายหรือของให้ที่จำเพาะบุคคล) และเรียกสังฆทาน ว่า สงฺฆคตา ทกฺขิณา (ขอถวายหรือของให้ที่ถึงในสงฆ์)
ในทาน ๒ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญสังฆทานว่าเป็นเลิศ มีผลมากที่สุด ดังพุทธพจน์ว่า เราไม่กล่าวว่า ปาฏิบุคลิกทานมีผลมากกว่าของที่ให้แก่สงฆ์ไม่ว่าโดยปริยายใด ๆ และได้ตรัสชักชวนให้ให้สังฆทาน
M.III. 254-6; A.III. 392 ม.อุ. ๑๔/๗๑๐-๓/๔๕๙-๔๖๑; อ้างใน มงฺคล. ๒/๑๖; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๓๐/๔๓๙
(๑๓) ทิฏฐิ ๒ (ความเห็น, ความเห็นผิด view; false view)
๑. สัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง, ความเห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป - eternalism)
๒. อุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ, ความเห็นว่าอัตตาและโลกซึ่งจักพินาศขาดสูญหมดสิ้นไป - annihilationism)
S.III.97. สํ.ข. ๑๗/๑๗๙-๑๘๐/๑๒๐.
(๑๔) ทิฏฐิ ๓ (ความเห็น, ความเห็นผิด view; false view)
๑. อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มีเหตุ, เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย view of the inefficacy of action)
๒. อเหตุกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี, เห็นว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีเหตุปัจจัย view of non-causality)
๓. นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี, เห็นว่าไม่มีการกระทำหรือสภาวะที่จะกำหนดเอาเป็นหลักได้ nihilistic view; nihilism)
M.I.404. ม.ม. ๑๓/๑๐๕/๑๑๑.
(๑๕) ที่สุด หรือ อันตะ ๒ (ข้อปฏิบัติหรือการดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ผิดพลาดไปจากทางอันถูกต้อง คือมัชฌิมาปฏิปทา the two extremes)
๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุข the extreme of sensual indulgence; extreme hedonism)
๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความลำบากเดือดร้อนแก่ตนเอง, การบีบคั้นทรมานตนให้เดือดร้อน the extreme of self-mortification; extreme asceticism)
Vin.I.10; S.V. 420 วินย. ๔/๑๓/๑๘; สํ.ม. ๑๙/๑๖๖๔/๕๒๘.
(๑๖) ทุกข์ ๒ (สภาพที่ทนได้ยาก, ความทุกข์, ความไม่สบาย pain; suffering; discomfort)
๑. กายิกทุกข์ (ทุกข์ทางกาย bodily pain; physical suffering)
๒. เจตสิกทุกข์ (ทุกข์ทางใจ, โทมนัส mental pain; mental suffering)
ดู [๗๘] ทุกขตา ๓ ด้วย.
D.II.306; S.V.204 ที.ม. 10/295/342; สํ.ม. ๑๙/๙๔๒, ๙๔๔/๒๘๐.
(๑๗) เทศนา ๒๑ (การแสดงธรรม, การชี้แจงแสดงความ preaching; exposition)
๑. บุคคลาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างคน, แสดงโดยยกคนขึ้นอ้าง, ยกคนเป็นหลักฐานในการอธิบาย exposition in terms of persons)
๒. ธรรมาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีธรรมเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างธรรม, แสดงโดยยกหลักหรือตัวสภาวะขึ้นอ้าง exposition in terms of ideas)
เทศนา ๒ นี้ ท่านสรุปมาจากเทศนา ๔ ในคัมภีร์ที่อ้างไว้
PsA.449. ปฏิสํ.อ. ๗๗.
(๑๘) เทศนา ๒๒ (การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า, การชี้แจงแสดงความ preaching: exposition; teaching)
๑. สมมติเทศนา (เทศนาโดยสมมต, แสดงตามความหมายที่รู้ร่วมกัน หรือตกลงยอมรับกันของชาวโลก เช่นว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ เทวดา เป็นต้น conventional teaching)
๒. ปรมัตถเทศนา (เทศนาโดยปรมัตถ์, แสดงตามความหมายของสภาวธรรมแท้ ๆ เช่นว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น absolute teaching)
ผู้ฟังจะเข้าใจความ สำเร็จประโยชน์ด้วยเทศนาอย่างใด ก็ทรงแสดงอย่างนั้น
ใน ที.อ.๑/๔๓๖; สํ.อ.๒/๙๘ และ ปญฺจ.อ.๑๘๒ เป็นต้น กล่าวถึง กถา ๒ คือ สมมติกถา และ ปรมัตถกถา พึงทราบความหมายตามแนวความอย่างเดียวกันนี้
ดู [๕๐] สัจจะ ๒
AA.I.94; etc องฺ.อ. ๑/๙๙, ฯลฯ
(๑๙) ธรรม ๒๑ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ things; states; phenomena)
๑. รูปธรรม (สภาวะอันเป็นรูป, สิ่งที่มีรูป, ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด materiality; corporeality)
๒. อรูปธรรม (สภาวะมิใช่รูป, สิ่งที่ไม่มีรูป, ได้แก่นามขันธ์ 4 และนิพพาน immateriality; incorporeality)
ในบาลีที่มา ท่านเรียก รูปิโน ธมฺมา และ อรูปิโน ธมฺมา
Dhs. 193, 245 อภิ.สํ. 34/705/279; 910/355.
(๒๐) ธรรม ๒๒ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ things; states; phenomena)
๑. โลกิยธรรม (ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ ๕ ที่เป็นสาสวะทั้งหมด mundane states)
๒. โลกุตตรธรรม (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก ได้แก่มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ supramundane states) (+ โพธิปักขิยธรรม ๓๗: ขุ.ปฏิ.๖๒๐; Ps.II.166)
Dhs.193, 245. อภิ.สํ. ๓๔/๗๐๖/๒๗๙; ๙๑๑/๓๕๕.
(๒๑) ธรรม ๒๓ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ thing; states; phenomena)
๑. สังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด conditioned things; compounded things)
๒. อสังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง คือ นิพพาน the Unconditioned, i.e. Nibbana)
Dhs.193, 244. อภิ.สํ. ๓๔/๗๐๒/๒๗๘; ๙๐๗/๓๕๔.
(๒๒) ธรรม ๒๔ (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ thing; states; phenomena)
๑. อุปาทินนธรรม (ธรรมที่ถูกยึด, ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิเข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบาก และรูปที่เกิดแต่กรรมทั้งหมด states grasped by craving and false view; grasped states)
๒. อนุปาทินนธรรม (ธรรมที่ไม่ถูกยึด, ธรรมที่กรรมอันสัมปยุตด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง ได้แก่ นามขันธ์ ๔ ส่วนนอกนี้ รูปที่มิใช่เกิดแต่กรรม และ โลกุตตรธรรมทั้งหมด states not grasped by craving and false view; ungrasped states)
Dhs. 211, 255 อภิ.สํ. ๓๔/๗๗๙/๓๐๕; ๙๕๕/๓๖๙.
(๒๓) ธรรมคุ้มครองโลก ๒ (ธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวาย virtues that protect the world)
๑. หิริ (ความละอาย, ละอายใจต่อการทำความชั่ว moral shame; conscience)
๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป, เกรงกลัวต่อความชั่ว moral dread)
A.I. 51; It. 36. องฺ.ทุก.๒๐/๒๕๕/๖๕5; ขุ.อิติ. ๒๕/๒๒๐/๒๕๗
(๒๔) ธรรมทำให้งาม ๒ (gracing virtues)
๑. ขันติ (ความอดทน, อดได้ทนได้เพื่อบรรลุความดีงามและความมุ่งหมายอันชอบ patience: forbearance; tolerance)
๒. โสรัจจะ (ความเสงี่ยม, อัธยาศัยงาม รักความประณีตหมดจดเรียบร้อยงดงาม modesty; meekness)
Vin.I.349; A.I.94. วินย.๕/๒๔๔/๓๓๕; องฺ.ทุก. ๒๐/๔๑๐/๑๑๘
[**] ธรรมที่พระพุทธเจ้าเห็นคุณประจักษ์ ๒ ดู (๖๔) อุปัญญาตธรรม ๒
[**] ธรรมเป็นโลกบาล ๒ ดู [๒๓] ธรรมคุ้มครองโลก ๒
(๒๕) ธรรมมีอุปการะมาก ๒ (ธรรมที่เกื้อกูลในกิจหรือในการทำความดีทุกอย่าง virtues of great assistance)
๑. สติ (ความระลึกได้, นึกได้, สำนึกอยู่ไม่เผลอ mindfulness)
๒. สัมปชัญญะ (ความรู้ชัด, รู้ชัดสิ่งที่นึกได้, ตระหนัก, เข้าใจชัดตามความเป็นจริง clear comprehension)
D.III.273; A.I.95. ที.ปา.๑๑/๓๗๘/๒๙๐; องฺ.ทุก.๒๐/๔๒๔/๑๑๙
(๒๖) ธุระ ๒ (หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา Burden; task; business; responsibility in the Dispensation)
๑. คันถธุระ (ธุระฝ่ายคัมภีร์, กิจด้านการเล่าเรียน burden of study; task of learning)
๒. วิปัสสนาธุระ (ธุระฝ่ายเจริญวิปัสสนา, กิจด้านการบำเพ็ญภาวนา หรือเจริญกรรมฐาน ซึ่งรวมทั้งสมถะด้วย เรียกรวมเข้าในวิปัสสนาโดยฐานเป็นส่วนคลุมยอด burden of insight development; task of meditation practice)
ธุระ ๒ นี้ มาในอรรถกถา
DhA.1.7 ธ.อ.๑/๗
(๒๗) นิพพาน ๒ (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์ Nirvana; Nibbana)
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ Nibbana with the substratum of life remaining)
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่อุปาทิเหลือ Nibbana without any substratum of life remaining)
หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
๑. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน extinction of the defilements)
๒. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน extinction of the Aggregates) หรือ
๑. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ ๕ รับรู้สุขทุกข์อยู่
๒. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว
It.38. ขุ.อิติ. ๒๕/๒๒๒/๒๕๘.
อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า
๑. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
๒. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ
A.IV.379. องฺ.นวก. ๒๓/๒๑๖/๓๙๔.
(๒๘) บัญญัติ ๒ และ ๖ (การกำหนดเรียก หรือ สิ่งที่ถูกกำหนดเรียก, การกำหนดตั้งหรือตราไว้ให้เป็นที่รู้กัน designation; term; concept)
๑. ปัญญาปิยบัญญัติ หรือ อรรถบัญญัติ (บัญญัติในแง่เป็นสิ่งอันพึงให้รู้กัน, บัญญัติที่เป็นความหมาย, บัญญัติคือความหมายอันพึงกำหนดเรียก, ตัวความหมายที่จะพึงถูกตั้งชื่อเรียก the Pannatti to be made Known or conveyed; concept)
๒. ปัญญาปนบัญญัติ หรือ นามบัญญัติ หรือ สัททบัญญัติ (บัญญัติในแง่เป็นเครื่องให้รู้กัน, บัญญัติที่เป็นชื่อ, บัญญัติที่เป็นศัพท์, ชื่อที่ตั้งขึ้นใช้เรียก the Pannatti that makes Known or conveys; term; designation)
ปัญญาปิยบัญญัติ เรียกเต็มว่า ปัญญาปิยัตตา บัญญัติ, ปัญญาปนบัญญัติ เรียกเต็มว่า ปัญญาปนโต บัญญัติ
ปัญญาปนบัญญัติ หรือ นามบัญญัติ แยกย่อยออกเป็น ๖ อย่าง คือ
๑. วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่มีอยู่ เช่น รูป เวทนา สมาธิ เป็นต้น designation of reality; real concept)
๒. อวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่ไม่มีอยู่ เช่น ม้า แมว รถ นายแดง เป็นต้น designation of an unreality; unreal concept)
๓. วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่มี เช่น คนดี นักฌาน ซึ่งความจริงมีแต่ดี คือภาวะที่เป็นกุศล และฌาน แต่คนไม่มี เป็นต้น designation of an unreality by means of a reality; unreal concept by means of a real concept)
๔. อวิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่มี ด้วยสิ่งที่ไม่มี เช่น เสียงหญิง ซึ่งความจริง หญิงไม่มี มีแต่เสียง เป็นต้น designation of a reality by means of an unreality; real concept by means of an unreal concept)
๕. วิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่มี ด้วยสิ่งที่มี เช่น จักขุสัมผัส โสตวิญญาณ เป็นต้น designation of a reality by means of a reality; real concept by means of a real concept)
๖. อวิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่ไม่มี เช่น ราชโอรส ลูกเศรษฐี เป็นต้น designation of an unreality by means of an unreality; unreal concept by means of an unreal concept)
Pug.A.171;COMP.198 ปญจ.อ. ๓๒; สงฺคห. ๔๙; สงฺคห.ฏีกา ๒๕๓
(๒๙) บุคคลหาได้ยาก ๒ (rare persons)
๑. บุพการี (ผู้ทำความดีหรือทำประโยชน์ให้แต่ต้นโดยไม่ต้องคอยคิดถึงผลตอบแทน one who is first to do a favor; previous benefactor)
๒. กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน, ผู้รู้จักคุณค่าแห่งการกระทำดีของผู้อื่น และแสดงออกเพื่อบูชาความดีนั้น one who is grateful and repays the done favor; grateful person)
A.I.87 องฺ.ทุก. ๒๐/๓๖๔/๑๐๘.
(๓๐) บูชา ๒ (worship; acts of worship; honoring)
๑. อามิสบูชา (บูชาด้วยสิ่งของ worship or honoring with material thing; material worship)
๒. ปฏิบัติบูชา (บูชาด้วยการปฏิบัติ worship or honoring with practice; practical worship)
ในบาลีที่มา ปฏิบัติบูชา เป็น ธรรมบูชา
A.I.93; Vbh.360. องฺ.ทุก. ๒๐/๓๙๗/๑๑๖. อภิ.วิ. ๓๕/๙๒๑/๔๘๗
(๓๒) ปธาน ๒ (ความเพียร หมายเอาความเพียรที่ทำได้ยาก hard struggles; painstaking endeavors)
๑. ความเพียรของคฤหัสถ์ ที่จะอำนวยปัจจัย ๔ (แก่บรรพชิต เป็นต้น) struggle of householders to provide the four requisites.
๒. ความเพียรของบรรพชิตที่จะไถ่ถอนกองกิเลส struggle of the homeless to renounce all substrates of rebirth.
A.I.49; Netti 159. องฺ.ทุก.๒๐/๒๔๘/๖๓.
(๓๓) ปริเยสนา ๒ (การแสวงหา search; quest)
๑. อนริยปริเยสนา (แสวงหาอย่างไม่ประเสริฐ, แสวงหาอย่างอนารยะ คือ ตนเอง เป็นผู้มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ และสังกิเลสเป็นธรรมดา ก็ยังใฝ่แสวงหาแต่สิ่งอันมีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ และสังกิเลสเป็นธรรมดา unariyan or ignoble search)
๒. อริยปริเยสนา (แสวงหาอย่างประเสริฐ, แสวงหาอย่างอารยะ คือ ตนเป็นผู้มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ และสังกิเลสเป็นธรรมดา แต่รู้จักโทษข้อบกพร่องของสิ่งที่มีสภาพเช่นนั้นแล้ว ใฝ่แสวงธรรมอันเกษม คือ นิพพาน อันไม่มีสภาพเช่นนั้น ariyan or noble search)
สองอย่างนี้ เทียบได้กับ อามิสปริเยสนา และ ธรรมปริเยสนา ที่ตรัสไว้ใน อังคุตตรนิกาย; แต่สำหรับคนสามัญ อาจารย์ภายหลังอธิบายว่า ข้อแรกหมายถึงมิจฉาอาชีวะ ข้อหลังหมายถึงสัมมาอาชีวะ ดังนี้ก็มี.
M.I.161; A.I.93. ม.มู. ๑๒/๓๑๓/๓๑๔; องฺ.ทุกฺ. ๒๐/๓๙๙/๑๑๖.
(๓๔) ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ (ทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของความดีงามทั้งปวง : sources or conditions for the arising of right view)
๑. ปรโตโมสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร : another s utterance; inducement by others; hearing or learning from others)
๒. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้น ๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย : reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection)
ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ (๑) และ (๒) นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า องค์ประกอบของการศึกษา หรือ บุพภาคของการศึกษา โดยเฉพาะข้อที่ ๑ ในที่นี้ใช้คำกว้าง ๆ แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา
ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ อย่าง คือ ปรโตโฆสะ และ อโยนิโสมนสิการ ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมานี้.
M.I.294; A.I.87. ม.มู.๑๒/๔๙๗/๕๓๙; องฺ.ทุก. ๒๐/๓๗๑/๑๑๐.
(๓๕) ปาพจน์ ๒ (วจนะอันเป็นประธาน, พุทธพจน์หลัก, คำสอนหลักใหญ่ : fundamental text; fundamental teaching)
๑. ธรรม (คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ และแนะนำหลักความดีที่ควรประพฤติ : the Doctrine)
๒. วินัย (ข้อบัญญัติที่วางไว้เป็นหลักกำกับความประพฤติให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอกัน : the Discipline)
ดู (๗๔) ไตรปิฎก ด้วย.
D.II.154. ที.ม.๑๐/๑๔๑/๑๗๘
(**] พุทธคุณ ๒ ดู (๒๙๒) พุทธคุณ ๒
[**] พุทธคุณ ๒ ดู (๒๙๓) พุทธคุณ ๓
[**] ไพบูลย์ ๒ ดู (๔๔) เวปุลละ ๒
[๓๖] ภาวนา ๒ (การเจริญ, การทำให้เกิดให้มีขึ้น, การฝึกอบรมจิตใจ : mental development)
๑. สมถภาวนา (การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ, การฝึกสมาธิ : tranquillity development)
๒. วิปัสสนาภาวนา (การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง, การเจริญปัญญา : insight development)
สองอย่างนี้ ในบาลีที่มาท่านเรียกว่า ภาเวตัพพธรรม และ วิชชาภาคิยธรรม. ในคัมภีร์สมัยหลัง บางทีเรียกว่า กรรมฐาน (อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งงานเจริญภาวนา, ที่ตั้งแห่งงานทำความเพียรฝึกอบรมจิต, วิธีฝึกอบรมจิต stations of mental exercises; mental exercise; สังคห.๕๑ ; Comp. 202)
D.III.273; A.I. 60. ที.ปา. ๑๑/๓๗๙/๒๙๐; องฺ.ทุก.๒๐/๒๗๕/๗๗.
(๓๗) ภาวนา ๔ (การเจริญ, การทำให้เป็นให้มีขึ้น, การฝึกอบรม, การพัฒนา : cultivation; training; development)
๑. กายภาวนา (การเจริญกาย, พัฒนากาย, การฝึกอบรมกาย ให้รู้จักติดต่อเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายภายนอกทางอินทรีย์ทั้งห้าด้วยดี และปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้เกิดโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรมเสื่อมสูญ, การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ : physical development)
๒. สีลภาวนา (การเจริญศีล, พัฒนาความประพฤติ, การฝึกอบรมศีล ให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลแก่กัน : moral development)
๓. จิตภาวนา (การเจริญจิต, พัฒนาจิต, การฝึกอบรมจิตใจ ให้เข้มแข็งมั่นคงเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีเมตตากรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทนมีสมาธิ และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส เป็นต้น : cultivation of the heart; emotional development)
๔. ปัญญาภาวนา (การเจริญปัญญา, พัฒนาปัญญา, การฝึกอบรมปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยปัญญา : cultivation of wisdom; intellectual development)
ในบาลีที่มา ท่านแสดงภาวนา ๔ นี้ ในรูปที่เป็นคุณบทของบุคคล จึงเป็น ภาวิตกาย ภาวิตศีล ภาวิตจิต ภาวิตปัญญา (ผู้ได้เจริญกาย ศีล จิต และปัญญาแล้ว) บุคคลที่มีคุณสมบัติชุดนี้ครบถ้วนย่อมเป็นพระอรหันต์
A.III.106 องฺ.ปญจก. ๒๒/๗๙/๑๒๑
(๓๘) รูป ๒ (สภาวะที่แปรปรวนแตกสลายเพราะปัจจัยต่าง ๆ อันขัดแย้ง, ร่างกายและส่วนประกอบฝ่ายวัตถุพร้อมทั้งพฤติกรรมและคุณสมบัติของมัน, ส่วนที่เป็นร่างกับทั้งคุณและอาการ : corporeality; materiality; matter)
๑. มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔ (สภาวะอันปรากฏได้เป็นใหญ่ ๆ โต ๆ หรือเป็นต่าง ๆ ได้มากมาย, รูปที่มีอยู่โดยสภาวะ, รูปต้นเดิม ได้แก่ ธาตุ ๔ : primary elements)
๒. อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป ๒๔ (รูปอาศัย, รูปที่เป็นไปโดยอาศัยมหาภูต, คุณและอาการแห่งมหาภูต : derivative materiality)
M.II.262; Ps.I.183 ม.อุ. ๑๔/๘๓/๗๕; ขุ.ปฏิ.๓๑/๔๐๓/๒๗๕.
รูป ๒๘ ก็คือรูป ๒ หมวดข้างต้นนี้เอง แต่นับข้อย่อย กล่าวคือ
๑. มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔ (รูปใหญ่, รูปเดิม : primary elements; great essentials) ดู (๓๙)
๒. อุปาทายรูป ๒๔ (รูปอาศัย, รูปสืบเนื่อง : derived material qualities) ดู (๔๐)
Comp.157. สงฺคห.๓๓.
(๓๙) มหาภูต หรือ ภูตรูป ๔ : the Four Primary Elements; primary matter)
๑. ปฐวีธาตุ (สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่, สภาพอันเป็นหลักที่ตั้งที่อาศัยแห่งสหชาตรูป เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็ง หรือ ธาตุดิน : element of extension; solid element; earth)
๒. อาโปธาตุ (สภาวะที่เอิบอาบหรือดูดซึม หรือซ่านไป ขยายขนาด ผนึก พูนเข้าด้วยกัน เรียกสามัญว่า ธาตุเหลว หรือ ธาตุน้ำ : element of cohesion; fluid element; water)
๓. เตโชธาตุ (สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ : element of heat or radiation; heating element; fire)
๔. วาโยธาตุ (สภาวะที่ทำให้สั่นไหวเคลื่อนที่ และค้ำจุน เรียกสามัญว่า ธาตุลม : element of vibration or motion; air element; wind)
สี่อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธาตุ ๔
D.I.214; Vism. 443; Comp. 154. ที.สี.๙/๓๔๓/๒๗๗; วิสุทธิ.๓/๑๑; สงฺคห.๓๓
(๔๐) อุปาทารูป หรือ อุปาทายรูป ๒๔ (derivative materiality)
ก. ปสาทรูป ๕ (รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์: sensitive material qualities)
๑. จักขุ (ตา the eye)
๒. โสต (หู the ear)
๓. ฆาน (จมูก the nose)
๔. ชิวหา ( ลิ้น the )
๕. กาย ( กาย the body)
ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป ๕ (รูปที่เป็นอารมณ์หรือแดนรับรู้ของอินทรีย์ : material qualities of sense-fields)
๖. รูปะ (รูป form)
๗. สัททะ (เสียง sound)
๘. คันธะ (กลิ่น smell)
๙. รสะ (รส taste)
๐. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย tangible objects) ข้อนี้ไม่นับเพราะเป็นอันเดียวกับมหาภูต ๓ คือ ปฐวี เตโช และ วาโย ที่กล่าวแล้วในมหาภูต
ค. ภาวรูป ๒ (รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ material qualities of *)
๑๐. อิตถัตตะ, อิตถินทรีย์ (ความเป็นหญิง femininity)
๑๑. ปุริสัตตะ, ปุริสินทรีย์ (ความเป็นชาย masculinity)
ง. หทยรูป ๑ (รูปคือหทัย physical basis of mind)
๑๒. หทัยวัตถุ (ที่ตั้งแห่งใจ, หัวใจ heart-base)
จ. ชีวิตรูป ๑ (รูปที่เป็นชีวิต material qualities of life)
๑๓. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต life-faculty; vitality; vital force)
ฉ. อาหารรูป ๑ (รูปคืออาหาร material quality of nutrition)
๑๔. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว, อาหารที่กิน : edible food; nutriment)
ช. ปริจเฉทรูป ๑ (รูปที่กำหนดเทศะ : material quality of delimitation)
๑๕. อากาสธาตุ (สภาวะคือช่องว่าง : space-element)
ญ. วิญญัติรูป ๒ (รูปคือการเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย : material intimation; gesture)
๑๖. กายวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยกาย : bodily intimation; gesture)
๑๗. วจีวิญญัติ (การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา : verbal intimation; speech)
ฏ. วิการรูป ๕ (รูปคืออาการที่ดัดแปลงทำให้แปลกให้พิเศษได้ : material quality of plasticity or alterability)
๑๘. (รูปัสส) ลหุตา (ความเบา lightness; agility)
๑๙. (รูปัสส) มุทุตา (ความอ่อนสลวย : elasticity; malleability)
๒๐. (รูปัสส) กัมมัญญตา (ความควรแก่การงาน, ใช้การได้ : adaptability; wieldiness)
๐. วิญญัติรูป ๒ ไม่นับเพราะซ้ำในข้อ ญ.
ฏ. ลักขณรูป ๔ (รูปคือลักษณะหรืออาการเป็นเครื่องกำหนด : material quality of salient features)
๒๑. (รูปัสส) อุปจย (ความก่อตัวหรือเติบขึ้น : growth; integration)
๒๒. (รูปัสส) สันตติ (ความสืบต่อ : continuity)
๒๓. (รูปัสส) ชรตา (ความทรุดโทรม : decay)
๒๔. (รูปัสส) อนิจจตา (ความปรวนแปรแตกสลาย : impermanence)
Dhs. 127; Vism.443; Comp.155 อภิ.สํ.๓๔/๕๐๔/๑๘๕; วิสุทธิ.๓/๑๑; สงฺคห.๓๔
(๔๑) รูป ๒ (สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ : rupa: matter; materiality)
๑. อุปาทินนกรูป (รูปที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่รูปที่เกิดจากกรรม : karmically grasped materiality; clung-to materiality; organic matter)
๒. อนุปาทินนกรูป (รูปที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่รูปที่เกิดจากกรรม : karmically grasped materiality; not-clung-to materiality; inorganic matter)
Vbh.14; Vism.450; Comp.159 อภิ.วิ.๓๕/๓๖/๑๙; วิสุทธิ.๓/๒๐; สงฺคห.๓๕.
(๔๒) ฤทธิ์ ๒ (อิทธิ คือความสำเร็จ ความรุ่งเรือง : achievement; success; prosperity)
๑. อามิสฤทธิ์ (อามิสเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางวัตถุ : achievement of carnality; material or carnal prosperity)
๒. ธรรมฤทธิ์ (ธรรมเป็นฤทธิ์, ความสำเร็จหรือความรุ่งเรืองทางธรรม : achievement of righteousness; doctrinal or spiritual prosperity)
A.I.93. องฺ.ทุก.๒๐/๔๐๓/๑๑๗.
(**) โลกบาลธรรม ๒ ดู (๒๓) ธรรมคุ้มครองโลก ๒
(๔๓) วิมุตติ ๒ (ความหลุดพ้น : deliverance; liberation; freedom)
๑. เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ : deliverance of mind; liberation by concentration)
๒. ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง : deliverance through insight; liberation through wisdom)
A.I.60 องฺ.ทุก.๒๐/๒๗๖/๗๘
(**) เวทนา ๒ ดู (๑๐๙) เวทนา ๒
(๔๔) เวปุลละ ๒ (ความไพบูลย์ abundance)
๑. อามิสเวปุลละ (อามิสไพบูลย์, ความไพบูลย์แห่งอามิส abundance of material things; material abundance)
๒. ธัมมเวปุลละ (ธรรมไพบูลย์, ความไพบูลย์แห่งธรรม abundance of virtues; doctrinal or spiritual abundance)
A.I.93. องฺ. ทุก. ๒๐/๔๐๗/๑๑๗.
(๔๕) สมาธิ ๒ (ความตั้งมั่นแห่งจิต, ภาวะที่จิตสงบนิ่งจับอยู่ที่อารมณ์อันเดียว : concentration)
๑. อุปจารสมาธิ (สมาธิเฉียด ๆ, สมาธิจวนจะแน่วแน่ : access concentration)
๒. อัปปนาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่, สมาธิแนบสนิท, สมาธิในฌาน attainment concentration)
Vism.85, 371. วิสุทธิ.๑/๑๐๕; ๒/๑๙๔
(๔๖) สมาธิ ๓ (ความตั้งมั่นแห่งจิต, ภาวะที่จิตสงบนิ่งจับอยู่ที่อารมณ์อันเดียว : concentration)
๑. ขณิกสมาธิ (สมาธิชั่วขณะ momentary concentration)
๒. อุปจารสมาธิ (สมาธิจวนจะแน่วแน่ access concentration)
๓. อัปปนาสมาธิ (สมาธิแน่วแน่ attainment concentration)
DhsA.117; Vism.144. สงฺคณี อ.๒๐๗; วิสุทธิ.๑/๘๔.
(๔๗) สมาธิ ๓ (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น concentration)
๑. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ concentration on the void)
๒. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ concentration on the signless)
๓. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ : concentration on the desireless or non-hankering)
ดู (๑๐๖) วิโมกข์ ๓
D.III.219; A.I.299; Ps.I.49. ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๓๑; องฺ.ติก.๒๐/๕๙๘/๓๘๕; ขุ.ปฏิ.๓๑/๙๒/๗๐.
(๔๘) สังขาร ๒ (สภาพที่ปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งขึ้น, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย : conditioned things; compounded things)
๑. อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อุปาทินนธรรม : karmically grasped phenomena)
๒. อนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมไม่ยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อนุปาทินนธรรมทั้งหมด เว้นแต่อส |
|
|
|
|
 |
sanitdew
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 04 ก.พ. 2006
ตอบ: 11
|
ตอบเมื่อ:
04 ก.พ.2006, 8:03 pm |
  |
ผู้ใดเห้นธรรมผู้นั้นเห็น เรา สิ่งที่พระตถาคตตรัสไว้
ผู้ใด ถือได้ว่ามีศีล บุคคลนั้น ย่อมบำเพ็ญสมาะเพื่อประคองปัญญา
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้นั้นถือได้ว่าเป็นผู้มีปัญญาเช่นกัน
บุคคลผุ้มีปัญญาย่อมพิจารณามากว่าผู้ด้อยปัญญา ใช่ไหม
ผู้มีปัญญาจริงมิอาจเชื่อสิ่งใดอย่างทันท่วงทีโดยไม่พิจารราเสียก่อน
กาลามสูตร |
|
_________________ วันนี้ไม่รุ้ เมื่อวานนี้ไม่รู้ พรุ่งนี้รู้ไปใย |
|
    |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
|