Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ศึกษาว่าทำไมนักพรตเต๋าจึงชอบ ตกปลา ปลีกวิเวก "ว่าง"
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65
ตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2005, 9:42 am
ธรรมเป็นของฟรีสิ่งประเสริฐจากพระพุทธเจ้า ผู้ค้นพบและนำมาเผยแพร่อย่างไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ธรรมใดมีประโยชน์ก็ควรเอามาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต เราจะได้รู้ว่าทำไมจึงควรศึกษาธรรม เพราะธรรมยังประโยชน์สุขให้กับชีวิต ความศรัทธาจะมีขึ้นได้เมื่อเราทราบคุณค่าของสิ่งที่นับถือ หากไม่รู้คุณค่าเขาก็ไม่ศรัทธา ชาวพุทธผู้รักปัญญาเพื่อความรู้แจ้งจึงควรศึกษาธรรมในระดับต่างๆ
ผู้ที่เคยศึกษาประวัติศาสตร์จีนย่อมรู้จักชื่อเสียงของ นักพรตเต๋า เป็นอย่างดี เขาเหล่านี้เป็นบุคคลผู้มีปัญญาความสามารถเป็นที่ประจักษ์ปรากฎในพงศาวดาร บางคนก็ถูกล่ำลือกล่าวขานมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่มักจะเกี่ยวข้องกับบุคคลพวกนี้คือ การปลีกวิเวกหาที่สงัด การนั่งตกปลาเงียบๆ และ คำว่า"ว่าง" กิจกรรมเหล่านี้เมื่อใช้ความรู้ทางพุธพิจารณาดูแล้ว ก็จะรู้ได้ว่าเกี่ยวข้องกับสมาธิแน่นอน เพราะสมาธิทำให้เกิดปัญญาพิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆ จึงอาจพูดได้ว่าคนพวกนี้ต้องมีพลังสมาธิที่สูงมากจนสามารถผลักดันให้มีสติปัญญาสูงตามไปด้วย จนสามารถนำสมาธิและปัญญานั้นมา คิดค้น แก้ไข สถานการณ์คับขันต่างๆได้ทันท่วงที สำเร็จมีประสิทธิภาพ สมาธิที่เป็นธรรมชาติในลักษณะนี้ทางพุทธเรียกว่า กัมมะนีโย สมาธิที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามความเป็นจริง
(มีต่อครับ)
เบ๊ท่นพุทธทาส
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2005, 10:15 am
( สุญญตา ว่าง ไม่มี วิมุตติ ความหลุดพ้น บริสุทธิ์ จิตดั้งเดิม ธรรมชาติแห่งพุทธะ คำพวกนี้มีความหมายเหมือนกันหมดจากที่เคยศึกษามา มีบางคนที่บรรลุแล้วไม่กล้านำมาเปิดเผยเพราะกลัวคนเขาจะหาว่า เพี้ยน ถ้ามีอริยบุคลประเภทนี้อยู่ ก็ขอได้โปรดให้คำแนะนำชี้ทางปฏิบัติเพื่อความบรรลุบ้าง ถือว่าเป็นการทำทานบุญ ตอนนี้ผมกำลังศึกษาหนังสือที่เผยแพร่ของคุณศุภวรรณอยู่ ใคนรู้มากกว่านี้ขอคำแนะนำด้วย )
กัมมะนีโย (หรือ insight ในทางจิตวิเคราะห์) คือ สมาธิ ความพร้อมที่จะรู้อย่างเป็นธรรมชาติ การคิดพิจารณาหาคำตอบอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่สมาธิประเภทที่คิดมากจนเกิดความเครียด ( คู่มือมนุษย์ ) บางครั้งเราทุ่มเทพลังการคิดอะไรซักอย่างแต่ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ แต่พอเลิกคิดเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน หรือ ไปเที่ยวพักผ่อนให้เกิดความผ่อนคลายแก่จิตใจ จนความเครียดความกังวลใจจางหายไป คำตอบของคำถามที่ฝังใจอยู่ก็จะผุดขึ้นมาเองโดยแทบไม่ต้องไปทุ่มเทความคิดประการใด ผุดขึ้นมาอย่างเป็นธรรมชาติไม่ต้องคิดหนักจนเกิดความเครียด ลักษณะแบบนี้ผมเรียกว่า การได้คำตอบจาก กัมมะนีโย แต่เป็นในระดับที่ต่ำ ตัวอย่าง กัมมะนีโย ในระดับที่สูงกว่านี้ให้พวกท่านไปศึกษาจากหนังสือที่มีชื่อว่า ปัญญาญาณ ปิ๊งแว้บ ของ โอโช่ (ช หรือ ซ ไม่แน่ใจ)
กัมมะนีโย จะทำงานได้ดีต้องประกอบด้วย สมาธิที่สงบรำงับที่สุด เยือกเย็นที่สุด เป็นธรรมชาติและสลัดผ่อนคลายความเครียดได้ สมาธิประเภทนี้คือสมาธิที่ได้จาก สุญญตา(หรือวิมุตติ) สมาธิประเภทนี้ยิ่งลึกยิ่งสงบมาก เป็นความสงบที่ออกมาจากภายใน ดั้งนั้นการทำงานของ กัมมะนีโย ต้องประกอบด้วย
สุญญตา + สิ่งที่มีอยู่ในสมองหรือจิตใต้สำนึก ระบบวิธีคิดเช่น อริยสัจ 4 ความเชื่อมโยงแบบอิทัปฯ การมอง 2 ด้านในสิ่งเดียว เป็นต้น + ปัญหา สิ่งที่ค้นหาจดจ่อ = คำตอบที่ต้องการ
สมาธิที่จะทำให้เข้าถึง วิมุตติ ได้นั้น แบ่งเป็นระดับต่างๆ ในทางพระผมไม่รู้ว่าเขากำหนดว่าอย่างไรบ้าง รู้แต่ว่ายิ่งลึกยิ่งสงบมาก และถ้ามีความชำนาญสามารถที่จะเข้าๆ ออกๆ ได้ทุกสถานที่จะวิเศษมาก
(มีต่อ)
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65
ตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2005, 10:33 am
กัมมะนีโย จะให้คำตอบที่เป็นหัวข้อใหญ่ ใจความสำคัญ ที่เราต้องการออกมาก่อน จากนั้นรายละเอียดต่างๆจะไหลออกมาตามกระบวนการคิดของเราเอง
กัมมะนีโยจึงเหมาะกับผู้ที่ใช่สมอง คิดหาคำตอบ ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ค้นคว้าประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ กัมมะนีโยจึงอาจถือได้ว่าเป็นของชั้นเลิศสำหรับผู้รักการใช้สมอง เป็นธรรมอันประเสริฐที่ควรนำมาศึกษา ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายนักกีฬาได้รึเปล่า?
กัมมะนีโยนำมาใช้ศึกษาธรรมก็รู้ธรรม ความสำเร็จจากกัมมะนีโยจึงขึ้นอยู่กับว่า ท่านนำมันไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอะไร เท่านั้นเอง
ปัญญาทางพุทธ คือ การมองเห็น คิดเห็น ตามความเป็นจริง ไม่ถูกอารมณ์ อคติ บดบังจนเห็นผิดเป็นชอบ จนตัดสินใจผิดพลาดได้
ธรรมจึงเป็นของฟรี เป็นของดีมีประโยชน์ นำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ ควรค่าแก่การศึกษา ควรค่าแก่การเคารพบูชา เพราะว่าเราได้ทราบถึงคุณค่าของมัน คุณผู้อ่าน ผู้แวะเวียนมาเยี่ยมชม ช่วยแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง หรือ มากกว่า ถูกต้องกว่า ให้ด้วยจะขอบคุณมาก สวัสดีครับ
มือยกไหว้ธรรมแต่ใจไม่ปฏิบัติ จะถือว่าเคารพรักได้อย่างไร
องศา
บัวผลิหน่อ
เข้าร่วม: 25 ธ.ค. 2005
ตอบ: 5
ตอบเมื่อ: 25 ธ.ค.2005, 3:23 pm
สาธุ จ้า
อยากรู้บ้าง
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 27 ธ.ค.2005, 6:19 am
นักพรตเต๋านี่เป็นพระอรหันต์ไหมครับ
ขอลองตอบดู
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 27 ธ.ค.2005, 6:24 am
ขอตอบว่าเป็นผู้ยังรู้ไม่แจ้ง เหมือนโยคีก่อนพุทธกาล
ร่วมสงสัย
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 27 ธ.ค.2005, 11:33 pm
ถือว่าจิตยังไม่บริสุทธิ์ใช่ม่ะ
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65
ตอบเมื่อ: 30 ธ.ค.2005, 2:15 pm
นักพรตเต๋าคือชื่อเรียกขานบุคคลผู้รักปัญญา ศึกษาคัมภีร์ เต๋า เต๊ก เก๊ง ของท่านเล่าจื๊อ
เป็นมนุษย์อย่างเช่นพวกเรา อาศัยอยู่ในประเทศจีน
เวลาว่างคนพวกนี้ชอบศึกษาวิจัยการเมืองการปกครอง
บางคนก็ผกผันไปเล่นการเมือง
บางคนก็ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเพราะเห็นว่าวุ่นวายเกินเยียวยา อยู่สันโดษสงบดีกว่า
ปัจจุบันนี้ ไม่ทราบว่าลัทธิเต๋าเปลี่ยนแปลงไปเป็นเช่นไรบ้าง
ผู้ได้รับการยกย่องมีชื่อเสียงมาจนปัจจุบันก็ได้แก่ ท่าน เล่าจื้อ เลี่ยจื้อ จวงจื้อ เป็นต้น
หนังสือที่ท่านเหล่านี้เขียนขึ้นมีธรรมปะปนผสมอยู่ด้วย หาอ่านเจริญปัญญาได้
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th