Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กัมมะนีโย ของดีมีประโยชน์หลังได้สุญญตามาแล้ว อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 18 ธ.ค.2005, 9:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากที่ได้ศึกษามา กัมมะนีโย หรือ insight จะทำงานได้ดี หลังจากได้สุญญตามาแล้ว

(คำที่ใช้ในความหมายสุญญตา ได้แก่ วิมุตติ สุญญตา ว่าง ไม่มี จิตบริสุทธิ์ ไม่มีการปรุงแต่ง จิตดั้งเดิม ธรรมชาติแห่งพุทธะ เป็นต้น) ดังนั้น



สุญญตา(ยิ่งลึกยิ่งดี) + ข้อมูลที่มีหรือข้อมูลของสิ่งที่ได้ศึกษามา(ยิ่งมากยิ่งดี)+เรื่องที่กำลังสนใจอยู่ จะทำให้ กัมมะนีโยทำงานได้ดีขึ้น



จิตจะเป็นอิสระได้มากถ้าเข้าใกล้สุญญตาหรือละสิ่งที่ยึดมั่นได้มากแล้ว มันจะคล้ายทำหน้าที่เลือกสรร ตัดสินใจ หาคำตอบ ออกมาเอง (เหมือนไม่ต้องคิด) ยิ่งจิตอิสระเท่าไหร่ยิ่งดี



ผมขอเรียกว่า การคิดด้วยความว่าง ครับ



ธรรมมีประโยชน์ นำมาบอกกล่าวเล่าสู่กันฟัง ใครมีความเห็นต่างจากนี้เชิญวิจารณ์ได้



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 18 ธ.ค.2005, 12:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แถมนิดนึงเนอะ



ผู้ที่อ่านประโยคต่อไปนี้แล้วรู้สึก.......แบบนี้หรืออาจมากกว่านี้ แสดงว่าท่านใกล้เขตสุญญตาแล้ว

สิ่งเหล่าใดท่านคิดว่ามีค่า สิ่งเหล่านั้นไม่ต่างจากผงคลีดิน

สิ่งเหล่าใดท่านคิดว่าไร้ค่า สิ่งเหล่านั้นไม่ต่างจากผงคลีดิน

( ประโยคนี้ผุดขึ้นมาเองไม่ได้คิด ส่วนที่เหลือผมเติมเข้าไปเอง ) หรือ



เมื่อรู้ดังนี้แล้วว่า รูป จึงเป็นสิ่งไม่จีรัง ไม่มีตัวตนให้จิตยึดถือได้อย่างยั่งยืน ไม่มีตัวตนให้จิตยึดถือได้ดั่งใจหมาย บังคับไม่ได้ดั่งใจต้องการเสมอ

รูปเป็นเหตุให้เกิดเวทนา เมื่อรูปไม่เที่ยง เวทนาย่อมไม่เที่ยงตามไปด้วย เวทนาจึงเป็นสิ่งไม่จีรัง ไม่มีตัวตนให้จิตยึดถือได้อย่างยั่งยืน ไม่มีตัวตนให้จิตยึดถือได้ดั่งใจหมาย บังคับไม่ได้ดั่งใจต้องการเสมอ

เวทนาเป็นเหตุให้เกิดสัญญา เมื่อเวทนาไม่เที่ยง สัญญาย่อมไม่เที่ยงตามไปด้วย สัญญาจึงเป็นสิ่งไม่จีรัง ไม่มีตัวตนให้จิตยึดถือได้อย่างยั่งยืน ไม่มีตัวตนให้จิตยึดถือได้ดั่งใจหมาย บังคับไม่ได้ดั่งใจต้องการเสมอ

สัญญาเป็นเหตุให้เกิดสังขาร เมื่อสัญญาไม่เที่ยง สังขารย่อมไม่เที่ยงตามไปด้วย สังขารจึงเป็นสิ่งไม่จีรัง ไม่มีตัวตนให้จิตยึดถือได้อย่างยั่งยืน ไม่มีตัวตนให้จิตยึดถือได้ดั่งใจหมาย บังคับไม่ได้ดั่งใจต้องการเสมอ

สังขารเป็นเหตุให้เกิดวิญญาณ เมื่อสังขารไม่เที่ยง วิญญาณย่อมไม่เที่ยงตามไปด้วย สุขทกข์จึงเป็นสิ่งไม่จีรัง สุขทุกข์ไม่มีตัวตนให้จิตยึดถือได้อย่างยั่งยืน สุขทุกข์ไม่มีตัวตนให้จิตยึดถือได้ดั่งใจหมาย บังคับไม่ได้ดั่งใจต้องการเสมอ สุขทุกข์ทางโลกจึงเป็นของวุ่นวายเกินไปไม่ควรนำมายึดถือแม้แต่น้อยเลย เป็นเพียงความรู้สึกชั่วครู่ข้ามคืน ไม่มีตัวตนให้ยึดถือได้อย่างแท้จริงนิรันดร์

รูปส่งผลให้เกิดเวทนา เวทนาส่งผลให้เกิดสัญญา สัญญาส่งผลให้เกิดสังขาร สังขารส่งผลให้เกิดวิญญาณ (สุขทุกข์) เมื่อรู้ว่ารูปไม่เที่ยงแล้วดังนี้ จิตจึงควรคลายความยึดมั่นในรูปด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน ไม่ให้สุขที่มากไร้ประโยชน์ ทุกข์ที่เราไม่ต้องการ มาครอบงำจิตใจให้เกิดความเศร้าหมอง



หากยังไม่มีความรู้สึก........แบบนี้แนะนำให้เข้าไปอ่าน กระทู้ของพวก อรหันต์เดินดิน อรหันต์ดิบ อรหันต์สุก กันเองนะครับ



ผู้ที่สนใจตีความคัมภีร์ เต๋า เต๊ก เก๊ง ท่านควรจะใช้สูตรนี้



ทศพิศราชธรรม + ธรรมระดับสุญญตา(ระดับเล็กน้อยก็ได้ครับ) + ความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ ยิ่งของประเทศจีนยิ่งดี



ของแบบนี้ตีความต่างมุมมองครับ แต่ดูๆไปแล้วจะคล้าย ทศพิศราชธรรมมาก ใครรู้อย่างไรก็นำมาบอกกันบ้างนะครับ



ธรรมนำมาใช้เป็นพื้นฐานการดำรงชีวิตได้ กัมมะนีโย ก็ดี วิมุตติ(สุญญตา) ก็ดี จะส่งผลต่อระบบความคิดมาก ทุกท่านลองนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตกันเองนะครับ

( หากรู้สึก......แบบนี้แล้ว ลองไปอ่าน สูตรของเว่ยหลาง เสริมความรู้เอานะครับ )

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 19 ธ.ค.2005, 9:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมไม่รู้ศัพท์ทางพระนะครับ รู้แต่ว่ายิ่งเข้าสุญญตาแล้วจะยิ่งผ่อนคลาย และยิ่งสงบ อย่างมาก ส่งผลต่อระบบการคิด ครับ ตัวอย่างเช่น บางครั้ง คำตอบก็ออกมาเวลาที่เราผ่อนคลายยามพักผ่อน เป็นต้น กัมมะนีโย จึงเหมาะแก่ผู้ชอบใช้ความคิด(ใช้สมอง) ค้นหา ค้นคว้า หาคำตอบ ประดิษฐ์ อะไรใหม่ๆ หากคุณเป็นคนประเภทนี้ ควรทดลองนำไปใช้ดู และควรมีหนังสือเล่มเล็กๆติดกับตัวไว้จดเวลามีความคิด(ไอเดีย)ใหม่ๆออกมา

ขอพิมพ์หลักการใช้กัมมะนีโยใหม่นะครับ



สุญญตา(ยิ่งลึกยิ่งดี) + สิ่งที่มีอยู่ในสัญญา(ข้อมูลประสบการณ์ทั้งหมดที่มีอยู่ใน จิตใต้สำนึก สมองเป็นต้น) + ปัญหา สิ่งที่จดจ่อ = คำตอบที่ต้องการ



ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมเยียน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เง็ง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ธ.ค.2005, 4:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แปลกดีแฮะ กัมมะนีโย นี้ไม่เคยได้ยิน ไม่รู้แปลว่าไรอ่ะ
 
เข่ามาดู
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ธ.ค.2005, 9:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ม่ะรุเหมือนกันว่าแปลว่าอะไร ข้อความที่โพสนี้ก็ไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร ใครรู้ช่วยตอบที
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 20 ธ.ค.2005, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อานิสงส์ของการฝึกจิตข้อหนึ่ง คือ สภาพที่พระองค์เรียกกว่า กัมมะนีโย หรือ ควรแก่งาน ควรแก่งานอะไร ควรแก่งาน คือการแสวงหาความจริงของชีวิต ถ้าเราสามารถทำให้เกิดอุปจารสมาธิได้อย่างมั่นคง ลักษณะของสมาธิ 3 อย่าง เกิดได้ครบถ้วน คือ



ปริสุทโธ คือ ความสะอาดบริสุทธิ์



สมาหิโต คือ ความตั้งมั่นของจิต



กัมมะนีโย คือ ความคล่องแคล่ว ว่องไว ควรแก่การงาน



ลักษณะ 3 อย่างนี้ ถ้ามีในจิตใจ ก็จะเกิดวิปัสสนาต่อไป เพื่อสำเร็จประโยชน์สูงสุดของการปฏิบัติธรรมในชาตินี้






อานาปานสติ : วิถีแห่งความสุข ๒ โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ


http://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=d_book&No=581
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เบ๊ท่านพุทธทาส
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ธ.ค. 2005
ตอบ: 65

ตอบตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2005, 9:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณที่ให้ข้อมูล
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง