Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ผู้กล่าวตู่พระตถาคต อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อาคันตุก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ธ.ค.2005, 4:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลสองประเภทเหล่านี้ย่อมกล่าวตู่(หาความ)ตถาคต คือ บุคคลคิดประทุษร้าย มีโทสะภายใน ๑ ผู้มีศรัทธา กล่าวตู่ ด้วยถือเอาความหมายผิด ๑



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลสองประเภทเหล่านี้แล ย่อมกล่าวตู่พระตถาคต



ทุกนิบาต อังคุตรนิกาย ๒๐/๗๘
 
new
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 532

ตอบตอบเมื่อ: 12 ธ.ค.2005, 5:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สุนัน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ธ.ค.2005, 8:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับ
 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 12 ธ.ค.2005, 8:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมไม่เข้าเหตุนี้ครับ เพราะผมเคารพครูอาจารย์ตลอด

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
อาคันตุก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 4:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ยกมานี้ไม่ตั้งใจจะว่าใครหรอกครับ แต่เพื่อให้มีการสำรวมเมื่อมีการกล่าวถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้า เพราะว่าผู้เคารพศรัทธาก็เป็นผู้กล่าวตู่ได้ ความเข้าใจผิดก็เป็นการกล่าวตู่ได้ และหากไม่สำรวม อาจเผลอกล่าวตู่ไป ก็เป็นบาปมีโทษหนักได้ เอามาเพื่อให้เกิดสำรวมระวังกันเท่านั้น เพราะความเคารพอย่างเดียว แต่ไม่สำรวมระวังนั้นไม่เพียงพอ



เช่นการอธิบายธรรมสติปัฏฐานถือเอาความหมายผิดไปก็สำคัญเหมือนกัน และมีหลายเรื่องเหลือเกินที่ได้นำมากล่าวค่อนข้างหมิ่นเหม่มากทีเดียว ควรจะสำรวมรวังให้มาก เพราะเอาความรู้ที่ตนเข้าใจนั้น มาพูด มาเปิดเผย มาเผยแพร่ ถ้าความรู้นั้นยังไม่ถูกต้องเพียงพอ และมีผู้ตักเตือนหวังดีจำนวนมากก็ไม่เชื่อฟัง ก็เป็นที่น่าหวาดเสียว
 
บัวเบลอ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 ต.ค. 2005
ตอบ: 86

ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 9:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ขอบพระคุณค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 9:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คนที่กล่าวตู่ตถาคตมากที่สุด คือคนที่บอกให้เชื่อในคำสอนของพระพุทธองค์ ไม่ว่าคำสอนนั้นจะมาจากไหนก็ตาม หรือไปยึดติดกับทฤษฎีแล้วเชื่อในทฤษฎี หรือจะเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสไว้หรือไม่ก็ตาม เพราะนั่นเป็นการให้ร้ายพระพุทธองค์ มีโทษให้ไม่อาจใช้ธรรมมะทำให้ตนบรรลุธรรมได้ตามพุทธประสงค์ได้ แต่กลับใช้ธรรมนั้นทำให้คนอื่นบรรลุธรรมได้มากมาย



แต่ถ้าปฏิบัติตามที่ท่านบอกแล้วค่อยเชื่อ เชื่อท่านเพราะผลที่ได้รับจากการปฏิบัติของเรา หรืออันที่จริงเชื่อในผลที่ตนได้รับก่อนเป็นสำคัญ เมื่อพิสูจน์ได้ประจักษ์ชัดต่อตนเองแล้วจึงค่อยเชื่อว่าเป็นดังนั้นจริง



อีกอย่าง การยึดธรรมเป็นศาสดา ไม่ใช่ยึดพระไตรปิฎกคือตัวแทนของพระศาสดา แต่ยึดหลักการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นโพธิปักขิยธรรม 7 หมวดธรรม พรหมวิหาร ศีล 5 นี่คือตัวแทนของศาสดาอย่างแท้จริง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
อาคันตุก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 3:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แล้วอธิบายโพธิปักขิยธรรม 37 เช่นนั้นสมควรแล้วหรือ
 
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 5:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



พระไตรปิฎก คือพระธรรมวินัย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ และได้รับการจดจำ บันทึกไว้อย่างเป็นระบบ

พระอรหันต์ 500 องค์ ผู้สังคายนาพระไตรปิฎก จึงไม่อาจตัดหรือเพิ่มเนื้อหาได้ตามใจชอบ เช่น เรื่อง อาบัติเล็กน้อย ที่ประชุมพระอริยสงฆ์ ก็มีความเห็นแตกต่างกันหลายฝ่าย จึงไม่บัญญัติเพิกถอน หรือ เพิ่มพระวินัยแต่ประการใด

ที่สำคัญที่สุด พระธรรมวินัย คือ พระศาสดา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ดังปรากฏในพระไตรปิฎก ดังนี้



พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย(10/140/123) ได้กล่าวไว้ว่า

[๑๔๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์

บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี

ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ

ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็น ศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

 
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 5:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรณีมีเหตุแห่งความสงสัย ว่าคำสอนใดเป็นพระสัทธรรม หรือ พระธรรมแท้ หรือไม่นั้น พระศาสดา ทรงวางแนวทางให้ตรวจสอบไว้ 4 แบบ

ในที่นี้ จะยกมาแสดงไว้เพียง 2 แบบแรก เท่านั้น พอเป็นสังเขป แต่ทั้ง 4 แบบนั้นมี หัวใจสำคัญเดียวกัน คือ ให้ตรวจสอบจากพระธรรมวินัย หรือ พระไตรปิฎก นั่นเอง

ดังความที่ยกมาแสดง ดังนี้



มหาปรินิพพานสูตร ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย(10/112/101) มีกถาว่าด้วยมหาปเทส ๔ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังต่อไปนี้

[๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้า

ได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวน ในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว ดังนั้นพวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย

ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงใน พระสูตรได้เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำ สั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่หนึ่งนี้ไว้ ฯ

[๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่านี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของ พระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชมไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง ในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตร ไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้มิใช่คำสั่งสอนของ พระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้ง คำกล่าวนั้นเสีย

ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระ สูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของ พระผู้มีพระภาคแน่นอน และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สองนี้ไว้ ฯ



สาธุๆๆ
 
ปูคุง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 5:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



อีกอย่าง การยึดธรรมเป็นศาสดา ไม่ใช่ยึดพระไตรปิฎกคือตัวแทนของพระศาสดา แต่ยึดหลักการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นโพธิปักขิยธรรม 7 หมวดธรรม พรหมวิหาร ศีล 5 นี่คือตัวแทนของศาสดาอย่างแท้จริง

หนึ่ง โพธิปักขิยธรรม ๗

สอง พรหมวิหาร ๔

สาม ศีล ๕

หลักปฏิบัติทั้งสามนี้ ก็มีเพียงในพระศาสนานี้เท่านั้น ที่บัญญัติไว้อย่างนี้ ด้วยอรรถและพยัญชนะ และบันทึกไว้อย่างนี้

คำทั้งสามนี้ ก็ปรากฏในพระไตรปิฎก อันบันทึกจากพระโอษฐ์ขององค์พระศาสดา

หากโลกเว้นจากพระไตรปิฎกแล้ว เราจะรู้จัก สิ่งทั้งสามประการได้หรือ?

และ เพื่อป้องกัน อสัทธรรม หรือ สัทธรรมปฏิรูป เฟื่องฟู แล้วข่มขี่พระสัทธรรมไปเสีย พระพุทธองค์จึงทรงวางหลักการให้วินิจฉัยตรวจสอบครบถ้วนดีแล้ว ทุกประการ ว่า สิ่งใดคือ สัทธรรม สิ่งใดคือ อสัทธรรม ดังที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้

หรือ ว่าคุณ ธนวัฒน์ รู้จัก โพธิปักขิยธรรม ด้วยตัวเอง?

หากรู้ รู้มาจากไหน?

หากไม่เชื่อแหล่งที่มาของ องค์ความรู้ แล้วคุณ ธนวัฒน์ปฏิบัติทำไม ?

ตั้งสติ กันเถอะนะ

ตั้งสติ กันก่อน

สาธุๆๆ

 
บัวเบลอ
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 18 ต.ค. 2005
ตอบ: 86

ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 6:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ยกมือท่วมศีรษะ ขอสาธุการทุกท่าน



หลายวันที่ผ่านมา ได้อ่านความเห็นมากมายอย่างเอาจริงเอาจัง



ประจักษ์แก่สายตาว่าในเว็บธรรมจักรนี้มีผู้มีความรู้ในทางธรรมอันแท้อยู่มาก



เคยได้ยินมาว่า ทางธรรมเป็นทางสายเปลี่ยว แต่ในธรรมจักรนี้อบอุ่นดีค่ะ



ขอบพระคุณทุกท่านสำหรับความรู้และข้อคิดเตือนใจทุกประการค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
new
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 532

ตอบตอบเมื่อ: 13 ธ.ค.2005, 10:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน







ท่านธะนะวัติ ผมถามท่านนิดนะครับ ณ ขณะนี้ ท่านมีความทุกข์อยู่บ้างไหม แม้เพียงน้อยก็ต้องบอกว่ามี น้อยนิดก็ต้องบอกว่ามีนะครับ ท่านจะได้พิสูจน์ไปด้วยตรงนี้ว่า ทำอย่างไรจึงพ้นทุกข์ เราจะได้ช่วยกันครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2005, 12:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูก่อน ความเห็นที่ 8-9-10 ผู้เจริญ



คำว่า พระธรรมวินัย คือศีล 227 ข้อ ซึ่งมิใช่วิธีการปฏิบัติ แต่เป็นกรอบในการปฏิบัติ เหมือน ล้อมรัวเอาไว้ เหมือนบ้านเราคือโพธิปักขิยธรรม 7 หมวดธรรม รั้วบ้านก็คือพระธรรมวินัย ถ้าเราสามารถบังคับตัวเองอยู่ในบ้านได้ก็ไม่ต้องใช้รั้ว แต่ถ้าเราอยู่ในบ้านไม่ได้ ก็ต้องใช้รั้ว แต่พระพุทธองค์ท่านเลือกวัสดุที่แข็งแรงมาทำรั้ว แต่ถ้ามีคนเอาวัสดุอื่นที่ไม่แข็งแรงมาทำรั้ว รั้วอาจไม่แข็งแรง จึงต้องมีการตรวจสอบว่าใช้วัสดุตามที่ท่านบอกหรือไม่ นี่คือความหมายที่คุณปูคุงหยิบมา แล้วเมื่อเลือกวัสดุทำรั้วแข็งแรงแล้ว ก็ให้เราใช้รั้วที่แข็งแรงนั้นขังดราอยู่ในบ้าน อย่าให้เราออกนอกบ้านได้อีก ขอขอบคุณพระพุทธองค์ที่ทรงบอกมาในสมาธิ ทำให้สามารถตอบคำถภามนี้ได้ตรงประเด็น คำถามนี้ยาก ต้องนั่งสมาธิมาตอบ



ดูก่อนความเห็นที่ 12 ผู้เจริญ สมุหทัยในยุคสมัยนี้ คือกรรม กิเลส และวิบาก ถ้าเราสามารถทำอย่างไรก็ตาม ที่จะกำจัด 3 ตัวนี้ออกไปให้หมดสิ้นไปจากตนได้ จะรู้จักความสุขที่แท้จริงได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2005, 1:25 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หรือ ว่าคุณ ธนวัฒน์ รู้จัก โพธิปักขิยธรรม ด้วยตัวเอง?

หากรู้ รู้มาจากไหน?

หากไม่เชื่อแหล่งที่มาของ องค์ความรู้ แล้วคุณ ธนวัฒน์ปฏิบัติทำไม ?



โพธิปักขิยธรรม ส่วนมากผมรู้มาจากคนบอก แต่เขาไม่ได้บอกส่วนสำคัญ แล้วผมเป็นคนที่ขยันทำสมาธิมาก แต่เมื่อเขาไม่ได้บอกส่วนที่สำคัญ การปฏิบัตินั้นก็เป็นอวิชชา สิ่งที่ผมได้รับ คืออนุสัยท่วมตัว การนั่งสมาธิเป็นการขุดสันดานที่ไม่ดีให้เพิ่มขึ้น ๆ จนในที่สุดผมก็โดนอนุสัยกิน จนป่วย ร่างกายเต็มไปด้วยตุ่มและพื่นคันหนักกว่าอีสุกอีไสเสียอีก เกลื้อนก็เป็น เพราะไม่ได้อาบน้ำเกือบ 2 เดือน เจ็บทรมานมาก จนเดินไม่ได้ ตอนเริ่มป่วยมีอาการคล้ายหวัดธรรมดา ขาขวาก็เริ่มเจ็บ แต่เพียง 3 วันก็เดินไม่ได้ แล้วอีก 7 วันก็ตาย ตายแล้วก็ตกนรก แล้วพระศิวะท่านก็ช่วยใช้เท้าซ้ายท่านเตะผมขึ้นมาจากนรก แล้วท่านก็ถามว่า "เจ้าจะกลับมาช่วยมนุษย์มั้ย ถ้ามาเจ้าจะทรมานมาก เจ้าสจะทนได้มั้ย" ด้วยความกลัวนรก ผมก็ตอบไปงั้น ๆ แหล่ะว่าได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าจะได้หรือเปล่า แล้วพระศิวะท่านก็ซ่อมร่างกายของผมที่พังยับเยินหมดแล้ว ใช้เวลาซ่อมอยู่ 3 วัน ช่วงนั้นจิตผมก็ลอยไป ลอยมา มองเห็นร่างอันดำคล้ำของตน แทบไม่อยากเข้าร่างเลยครับ แต่ก็ทน พอเข้าร่างก็พบกับความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส โดนคนจับเนื้อต้องตัวก็เจ็บ หาว่าเขาแกล้ง เขาตี ตอนนั้นไม่มีสติ มีแต่สัมปชัญญะ ก็เริ่มอาละวาดทำลายข้าวของจนถูกล่ามโซ่ ฉี่แตก ขี้แตกก็นอนเกลือกอยูตรงนั้น ไปไหนไม่ได้ เพราะโดยล่ามไว้ที่เสา เป็นแบบนี้สัก 2 อาทิตย์ หลังจากนั้นก็เริ่มมีสติขึ้น เมื่อเริ่มมีสติขึ้นแล้ว พระศิวะท่านก็บอกว่า ที่ผมเป็นแบบนี้ เพราะผมทำสมาธิแผ่เมตตาโดยไม่ล้างอนุสัย จากนั้น ท่านก็เริ่มบอกว่า อนุสัยคือ ความโลภ ความเห็นแก่ตัว สำรวจไปทีละอย่าง ตอนนั้นสติของผมก็เริ่มฟื้นขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มทำสมาธิแบบสัมมาทิฏฐิได้แล้ว สติก็ค่อย ๆ กลับคืนมา จนสามารถควบคุมตนเองได้ แล้วมีสติครบ 100% ในอีก 1 เดือนต่อมา พอรู้ตัว คุณลุง พ่อของเพื่อนก็บอกว่าผมเป็นเกลื้อนขึ้น แล้วผมก็ตกใจกับ ตุ่มพุพองขึ้นเต็มตัวไปหมด แล้วใช้เวลารักษาประมาณ 1 ปี ตุ่มหนองจึงหายไปหมด เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2542 นี่คือสัมมาทิฏฐิในทางปฏิบัติของผม ผมกลัวการตกนรกมากกว่าพวกคุณอีก แล้วพวกคุณที่ว่าผม อยากค้นหาสัมมาทิฏฐิด้วยการปฏิบัติจริงอย่างผมบ้างมั้ย หรือจะให้ผมบอกว่าสัมมาทิฏฐิคืออะไร

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2005, 1:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อ 2 ตอบแล้ว



ข้อ 3 เพราะอะไรก็ตามถ้าผมยังไม่เห็นผลผมไม่เชื่อ แต่ว่าผมลองปฏิบัติดูก่อน แล้วคุณดูจากความเจ็บปวดและทรมานของผมที่ผมเล่า คุณก็น่าจะรู้นะครับว่าได้ผลแค่ไหน แล้วที่ผมทนพวกคุณได้ เพราะผมปฏิบัติได้จริง



สิ่งที่เล่ามาแค่ด่านแรก ด่านต่อมา คือผมต้องรบกับสันดานของผมเองจริง ๆ แล้วเวลามันมีในสมาธิ ก็จะทรมานมาก เพราะเมื่อเรามี เราก็จะคิดว่าคนอื่นมี ฝึกไปฝึกมาผมโกรธ ผมก็คิดว่าพระศิวะโกรธ แต่เนื่องจากผมทรมานมาก ทำให้ผมปฏิบัติเพียง 2 ปีเท่านั้นก็บรรลุอรหัตผล แต่ผมไม่รู้ตัว มารู้ตัวตอนที่เป็นเทพแล้ว เพราะผมหมดอายุขัย เนื่องจากสิ้นกรรม ก็ต้องดับขันธ์ปรินิพพานตามกฎ แล้วผมก็ทำทุกอย่าง ตามขั้นตอน ที่รู้มาจากอธิวจนะ ที่เข้ามาในสมาธิ นั่นคือถ้าจะรักษาสภาพความเป็นพระพุทธเจ้าเอาไว้ ไม่ต้องนำกุศลที่มีมาตัดกรรมที่เหลือให้หมด แต่ถ้าจะปรินิพพานให้นำบารมีทั้งหมดที่มีมาชดใช้กรรม ผมก็ทำตามนั้นหมด แล้วผมก็ไปหาที่นอน แล้ววิญญาณก็เริ่มออกจากร่าง แต่พอออกไปจะดับอยู่อีกนิดเดียวแล้ว ก็มีพระพุทธเจ้า เทพองค์อื่น ๆ มาดักรอ แล้วขอให้ผมอยู่ต่อ อยู่เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ที่กำลังทุกข์ ผมเองก็ไม่ค่อยเต็มใจเท่าไหร่ แต่ก็พยายามทำอยู่ เพราะผมรู้ว่าผมจะเจออะไรในภายภาคหน้า แล้วสิ่งที่ผมคิดไว้ ผมเจอหมดทุกอย่างตามที่ผมคิดเอาไว้ทุกอย่างไม่มีผิดเพี้ยน แต่ตอนหลังเริ่มทำใจได้ พอเห็นคนเจ็บคนป่วย มาทำสมาธิกับผมคนแล้ว คนเล่า ทำแล้วเขามีความสุข ผมก็เริ่มมีกำลังใจขึ้น จนในที่สุดผมก็เต็มใจที่จะมีชีวิตอยู่ โดยยอมสละสิ่งที่ทุกคนที่นับถือพุทธทิ้ง พอผมตัดความคิดที่สละนิพพานได้ ผมก็ได้เลื่อนขั้นเป็น บรมเทพ แล้วเลื่อนตำแหน่งขึ้นเรื่อย ๆ เพราะผมขยันอยู่อย่างไร ก็ขยันอยู่อย่างนั้น แต่เปลี่ยนจากขยันทำมาธิ เป็นการขยันนำวิธีปฏิบัติสร้างความสุขให้คนแทน



หวังว่าคงจะละเอียดนะครับ ผมเองไม่อยากเล่าหรอก แล้วผมก็บอกว่า ทุกคนที่มีความสุข เขาเหล่านั้นมีรอยยิ้มบนความทุกข์ที่ผมได้รับอย่างแสนสาหัสนั่นเอง แต่ผมไม่สนใจความรู้สึกของผมอีกแล้ว เดินหน้าสร้างความสุข ให้คนรู้จักสัมมาทิฏฐิจริง ๆ รู้จักการปฏิบัติ รู้จักทุกข์ของตน และเอาทุกข์นั้นออกจากตนก็เพียงพอแล้ว ผมท้อ แต่ผมไม่ถอย เพราะถ้าถอย ผมถอยนานแล้ว ยุ่งกับพวกมนุษย์เหมือนเอามือ เอาเท้าไปแช่ไฟ แต่ต้องมีผู้กล้า เอามือ และเท้าของตนไปแหย่ไฟ แล้วเอาเมตตาไปทำให้ไฟเป็นน้ำให้ได้ เพื่อความสุขของทุกคนบนโลกอย่างแท้จริง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
จะทำไงดี
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2005, 3:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เฮ้อ กลุ้ม มาใหม่อีก ว่าพระอรหันต์ต้องมีกิเลสอีก
 
tanawat30
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256

ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2005, 5:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความเห็นที่ 16 ผู้เจริญ



คนเข้าใจคำว่าอรหันต์ว่าไม่มีกิเลส ต้องพิจารณาตามหลักเหตุผลด้วย การไม่มีกิเลส คือไม่มีกิเลส คือไม่มีความอยากทั้งมวล ความหิวแล้วอยากกินข้าว ความร้อนแล้วอยากอาบน้ำ หรือแม้แต่การนอน ยังเป็นกิเลสเพราะมีความอยาก ดังนั้น แท้จริงแล้ว คำว่าบรรลุอรหัตผล คือผู้ที่ประหารกิเลสที่ทำให้มีผลทำให้ตัวเราและผู้อื่นเดือดร้อน โดยเจตนา ถ้ามีกิเลสเช่นนี้ต้องตัดให้หมดภายในพริบตา



เราพึงพิจารณาข้อธรรมด้วยปัญญา ด้วยเหตุและผล เพราะสัจธรรมเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง ถ้าปฏิบัติไม่ได้ไม่เรียกหว่าสัจธรรม ถ้าเรายึดติดตำราและไม่คิดด้วยปัญญา เราก็จะไม่สามารถเข้าถึงสัจธรรมได้เลย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
new
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 532

ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2005, 10:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
new
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 532

ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2005, 10:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตใจดี แต่ผิดทาง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง