Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นทุกข์จาก ชาติ ชรา มรณะ
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
tanawat30
บัวบาน
เข้าร่วม: 15 พ.ย. 2005
ตอบ: 256
ตอบเมื่อ: 23 พ.ย.2005, 12:19 pm
บทความนี้ก็ขอขอบคุณ คุณปุ๋ยอีกเช่นกันที่ทำให้ผมเขียนขึ้นมาได้อีกบทหนึ่ง
พุทธศาสนานั้น เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยกรรมนิยม คือเราทำอย่างไรก็ได้ผลตอบแทนอย่างนั้น แต่เนื่องจากมีเงื่อนเวลาที่บางครั้งคนที่ทำชั่ว แต่กรรมชั่วยังไม่ตามสนอง เนื่องจากผลบุญที่เขาทำมาในอดีตยังส่งผลดีกับเขาอยู่ แต่ในทำนองเดียวกัน คนที่ทำดีในชาติปัจจุบัน แต่ยังมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก ก็เป็นผลจากกรรมชั่วที่เราทำมาในอดีตกำลังส่งผลเช่นกัน
ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจหลักการข้อนี้ก็ไม่ควรจะไปทุกข์กับการตาย สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือการปฏิบัติสมาธิภาวนาควบคู่กับความคิดจากย่อหน้าที่แล้ว เราจะยิ่งเข้าใจกฎแห่งกรรมมากขึ้น เพราะกฎแห่งกรรมจะสามารถสัมผัสได้อย่างลึกซึ้งโดยการปฏิบัติสมาธิภาวนาเท่านั้น เพราะมนุษย์ที่ไม่ลงมือปฏิบัติสมาธิภาวนาจะเข้าใจกฎแห่งกรรมได้เพียงผิวเผินเท่านั้น แล้วเป็นการยากที่มนุษย์ที่ไม่ปฏิบัติสมาธิภาวนาก็ไม่สามารถเข้าใจกฎแห่งกรรมได้อย่างลึกซึ้ง
หากมนุษย์ทุกคนเข้าใจกฎแห่งกรรมได้อย่างลึกซึ้งก็คงไม่มีใครกล้าทำชั่วแน่นอน เมื่อทุกคนบนโลกทำแต่สิ่งดี ทำแต่คุณงามความดีก็จะไม่มีคนเดือดร้อน ไม่มีความวุ่นวายบนโลก แล้วโลกคงมีแต่ความสงบร่มเย็นดุจดังอยู่บนสวรรค์ทีเดียว
_________________
ไม่มีเรื่องส่วนตัวนะครับ
ลุงสุชาติ
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 24 พ.ย.2005, 1:52 pm
กิเลสตัณหาที่อาศัยอยู่ในขันธ์ ๕ เป็นทุกข์สมุทัยที่ทำให้เรามี ภพ ชาติ ชรา มรณะ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏไม่มีที่สิ้นสุด
อิคิว
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 27 พ.ย.2005, 7:42 pm
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็น ทุกข์
สภาพธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วน เกิด แก่ เจ็บ ตาย เหตุเพราะ อวิชชา สังขาร อุปทานขันธ์ จึงมี ภพ ชาติ ชรา มรณะ เหล่านี้เป็นตัวทุกข์ ทำให้เวียนว่ายตายเกิด
เพราะ วิชชา สังขารไม่เกิด อุปทานขันธ์ไม่มี ภพ ชาติ ชรา จึงหมดไป หนทางพ้นจากทุกข์คือ นิพพาน
อิคิว
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 28 พ.ย.2005, 12:13 pm
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสภาพธรรม
เมื่อฟังธรรมะแล้วจะได้รู้อย่างนี้ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นความทุกข์
ความโศกเศร้า ไม่สบายกายใจ คับแค้นใจ เป็นความทุกข์
ความประสบและพลัดพรากสิ่งที่รักที่พอใจ ความปรารถนา นั่นก็เป็นความทุกข์
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นตัวทุกข์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ขันธ์ 5 ทั้งหมดนี้เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น การที่จะคลายความยึดมั่นในขันธ์ 5ได้
ต้องรู้ลักษณะของขันธ์ทั้ง 5 ซึ่งตั้งอยู่ในตัวในกายเรา กายผู้อื่นและสัตว์ทั้งหลาย
พิจารณาธรรมเหล่านี้จนกระทั่งเห็นแจ้งในความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน
เมื่อจิตเกิดความเห็นชอบเห็นธรรมเป็นไปตามความเป็นจริงในที่สุดก็จะค่อยๆคลาย
ความยึดมั่นไปเอง
การปฏิบัติตนฝึกจิตอย่างง่ายๆทำได้ดังนี้
1.หมั่นทำทาน โดยตั้งจิตให้มีเมตตา กรุณา แผ่ไปยังสัตว์โลกให้มีความสุข พ้นจากทุกข์
2.หมั่นทำบุญกุศล ตั้งจิตว่าเรายึด พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ จะปฏิบัติตาม
คำสั่งสอน เพื่อความพ้นจากทุกข์ เพื่อสู่นิพพาน พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
3.ภาวนา คือการทำสมาธิฝึก อบรมจิตตนเอง ให้รู้แจ้งในความเป็นจริงของสภาวธรรม
4.สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น แปลเป็นกิจประจำวัน
5.แผ่เมตตาให้สัตว์โลกทั้งหลาย ที่เป็นเสมือนเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย และมีจิตเสมอ
เช่นเรา ตั้งจิตให้มีแต่ความสุข พ้นทุกข์ อย่ามีเวรซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกัน อยู่อย่าง
มีความสุข เมื่อผู้อื่นมีความสุขเราก็พลอยสุขด้วย
ธรรมอันเป็นกุศลนั้นมีมากมายที่มีให้เราปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาหาด้วยตนเอง รู้ได้ด้วย
ตนเองขอให้มีจิตตั้งมั่นในการเพียรทำตนให้พ้นจากทุกข์ให้ได้
อิคิว
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 28 พ.ย.2005, 12:15 pm
การฝึกภาวนา
การฝึกจิตภาวนา ก็คือการทำสมาธินั่นเอง เป็นการทำจิตใจให้สงบจากกิเลสกามทั้งหลาย
วิธีวิปัสสนาง่ายๆคือการรู้ลักษณะของกาย
1.พิจารณาลมหายใจให้เห็นชัดว่าเราและผู้อื่นต้องหายใจเข้าและหายใจออกอยู่เช่นนี้
เหมือนกัน ให้เห็นว่าลักษณะของกายล้วนต้องมีลมหายใจเข้าออก
2.พิจารณาอิริยาบถของกายเราและผู้อื่นให้เห็นชัดว่ากายล้วนมีอิริยาบถ นั่ง ยืน นอน เดิน อันเป็นลักษณะของกายทั้งปวง
3.พิจารณาสัมปชัญญะ ให้ทำความรู้สึกตัวในการกระทำต่างๆ คือ กิน เคี้ยว สวมเสื้อผ้า ทำงาน ดูหนังสือ สัมผัส รู้กลิ่น ให้เห็นว่ากายทั้งสิ้นล้วน เห็นรูป รู้เสียง รส กลิ่น สัมผัส รู้อารมณ์ เหมือนกันเสมอกัน
4.พิจารณาให้เห็นชัดว่ากายล้วนมีลักษณะเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
5.พิจารณาให้เห็นชัดว่ากายล้วนเป็นปฏิกูล เป็นของไม่สะอาด มี ผม เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ
6. พิจารณาให้เห็นชัดว่ากายล้วนตายเป็นซากศพ เน่าเปื่อยผุพังด้วยกันทั้งสิ้น
วิปัสสนารู้ลักษณะของเวทนา
1.พิจารณาในอารมณ์ตน เอา ความทุกข์ ความสุข ความไม่ทุกข์ไม่สุขเป็นอารมณ์ ให้รู้ชัดในอารมณ์นั้นๆ
วิปัสสนารู้ลักษณะของจิต
1.พิจารณาในจิตตน เอา ความโลภ โกรธ หลง ให้รู้ชัดในอารมณ์นั้นๆ
วิปัสสนารู้ลักษณะธรรม
1.พิจารณาธรรมที่เกิดในจิตตน เอาจิตที่เป็น กุศล อกุศล อัพยากฤติ เป็นอารมณ์นั้นๆ
ที่กล่าวมาเป็นการพิจารณาอย่างง่ายๆ การที่จะพิจารณาให้รู้ลึกยิ่งๆขึ้น ให้ศึกษาเพิ่มเติม
ด้วยตนเองเพื่อให้จิตเกิดกุศล และเจริญกุศลที่มีอยู่ให้ยิ่งๆขึ้นไป
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th