Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ละเหตุแห่งทุกข์ได้เป็นสุขทั้งปวง จริงเหรอ...ช่วยไขปัญหาด้วยค อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เจ้าของกระทู้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 ต.ค.2005, 7:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียน คุณสุรพงษ์

อันที่จริงดิฉันไม่ใช่ จำพวก บ้าหอบฟาง ที่ชอบเครื่องประดับหรือ บ้านที่ใหญ่โต

จำพวกเครื่องประดับ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแหวนแต่งงานเครื่องทอง ของหมั้น ดิฉันขายใช้หนี้ไปตั้งแต่ ปีแรกๆ ที่แต่งงานแล้ว ฉะนั้นเครื่องประดับจึงไม่มีอะไร ขายไม่ได้จำนำ หรือจำนอง เพราะต้องมานั่งเสียดอกเบี้ย ดิฉันคิดแต่เพียงว่าถ้าไม่มีเงิน เป็นร้อยล้าน ก็ไม่ต้องใส่เครื่องประดับประเภทนี้ ส่วนรถยนต์ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ จึงยังมีอยู่ ส่วนที่ดินบางแปลงดิฉันทำเรื่องโอนทรัพย์ชำระหนี้ไปเป็นส่วนมาก ที่ดิฉันยังคิดอยู่ขณะนี้คือต้องทำอย่างไร ถึงจะมีรายได้ ให้พอใช้ส่วนที่เป็นดอกเบี้ย และชีวิตลูกน้องและกิจการที่จะต้องดำเนินต่อไป

ดิฉันเหมือน นักมวยที่ขึ้นไปชก แล้วยังไม่มีโอกาสตั้งตัว ตั้งหลัก หมัดแรกก็คือแก้ปัญหา หนี้ก้อนโตที่พ่อ-แม่ และน้องๆ ของสามีทำขึ้นไว้

ก่อนที่จะแต่งงาน ดิฉันก็เป็นเจ้าหนี้เช่นกัน ได้ดอกเบี้ยมาก็เยอะ ดิฉันก็ทราบเช่นกัน ทั้งหัวอกเจ้าหนี้ และลูกหนี้ เจ้าหนี้กลุ้มใจ กลัวไม่ได้เงินคืน

ลูกหนี้ก็กลัว จะหาเงินมาใช้คืนไม่ได้

แต่ที่ดิฉันเป็นทุกข์ขณะนี้ก็คือ หนี้ก้อนใหญ่ ที่จะต้องมานั่งแก้ปัญหา หรือจะละเลยปัญหาเหล่านี้มากกว่า เพราะดิฉันรับสภาพนี้มาหลายปีแล้ว จนบางครั้งก็ท้อ กับปัญหา....
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 20 ต.ค.2005, 3:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดีคุณเจ้าของกระทู้



คนทำกิจการของตนเอง ประกอบธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นของตนเองสร้างมาหรือได้รับมอบกิจการตกทอดมา ไม่มีใครพ้นจากสภาพการเป็นลูกหนี้ ถึงไม่กู้เครดิตดีๆหน่อยแบงค์กลับเป็นฝ่ายมาขอก็มี ไม่มีเจ้าของกิจการคนไหนไม่เคยเป็นหนี้ ไม่มีเจ้าของกิจการคนไหนนั่งและนอนอยู่อย่างบรมสุขโดยปราศจากความคิดว่าจะทำอย่างไรให้กิจการยังคงดำเนินต่อไปได้ ไม่มีเจ้าของกิจการคนไหนมีเวลาพอที่นำตัวก้าวเข้าไปสู่การปฏิบัติธรรม เว้นเสียแต่ไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว ก็จำยอมต้องละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างและหันหน้าเข้าวัดเพื่อสงบสติอารมณ์



คนทำธุรกิจนี่ อดทนอย่างเดียว ขยันอย่างเดียว ต่อสู้อย่างเดียว คือลุยอย่างเดียว ทำกลางวันมันไม่พอกินพอใช้หนี้ ก็ต้องขยันหาลู่ทางที่จะเสริมรายได้เข้ามาจุนเจือครอบครัว คุณคงเหนื่อยคนเดียวซินะ ครอบครัวอบอุ่นแต่เหมือนคิดและแก้ปัญหาอยู่คนเดียวทั้งที่ไม่ได้เป็นคนสร้างหนี้ หรือมันเกินจะแบกก็ต้องยอมรับสภาพปรับเปลี่ยนหันมาทำกิจการเล็กๆที่ไม่ต้องมีลูกน้องมากมาย หรือไม่ต้องมีลูกน้องเลยก็คงจะเบาภาระไปเยอะ



สมปรารถนาในสิ่งที่คุณปรารถนา



มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
หนูฝิ่น
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ต.ค.2005, 10:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทุกข์มีไว้ให้รู้ สมุทัยมีไว้ให้ละ
 
ผ่านมาเห็น
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ต.ค.2005, 1:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บังคับใจไม่ให้คิดเนี่ย

ยากมากน๊ะ

พูดง่าย แต่ทำยากค่ะ

ทำวันนี้ให้ดีที่สุดนะค่ะ
 
Jacop
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 02 ก.ย. 2005
ตอบ: 7

ตอบตอบเมื่อ: 20 ต.ค.2005, 11:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เกวียนคุณติดหล่มแล้วหละ

ลงจากเกวียนมาซิ ดูรึสัมภาระมากไปหรือเปล่า เอาออกจากเกวียนเสียบ้าง

เอาบ่าแบกลูกล้อแล้วเฆี่ยนควายให้เดิน

ยังขึ้นจากหล่มไม่ได้อีกหรือ เอาสัมภาระออกอีกซิ

เอาบ่าแบกลูกล้อแล้วเฆี่ยนควายให้เดินอีกครั้ง

สุดวิสัยจะนำเกวียนขึ้นจากหล่มแล้วหรือ คิดดีแล้ว สุดวิสัย หมดความสามารถแล้ว

ทิ้งสัมภาระ ทิ้งเกวียนแม้ควายที่ลากเกวียน

กลับบ้านซะ

เมื่อเราเกิดมา มีควาย-มีเกวียนมาด้วยหรือ,มีสัมภาระมาด้วยหรือ แม้ผ้าพันกายยังไม่มีเลย

แสวงหาหรือหยุดแสวงหา สุข/ทุกข์ แสวงหาอะไร

จิต/เจตสิก/อนุสัย/กิเลส/บาป-บุญ/วิบาก// รู้จักอะไรบ้าง เอามาเป็นกุญแจไขเข้าไปพบกันซิ

หุ่นยนต์ทำด้วยไม้ เป็นของว่างเปล่า ไม่มีชีวะ ไม่มีดำริ แต่เดินก็ได้ หยุดก็ได้ เหมือนของ

มีดำริ มีความพยายามด้วยอำนาจการประกอบกันแห่งไม้กับเชือก ฉันใด

แม้นาม-รูป(จิตและกาย) บัณฑิตย์พึงเห็นว่าว่างเปล่าจากตัวตน ไม่มีชีวะ ไม่มีความดำริ

แต่ทว่า เดินก็ได้หยุดก็ได้ ปรากฏเหมื่อนสิ่งมีความดำริ มีความพยายามด้วยอำนาจ

การประกอบกันและกันเข้าฉันนั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 21 ต.ค.2005, 8:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียนคุณเจ้าของกระทู้

ในฐานะเจ้าหนี้คนหนึ่งแต่คงไมีใช่เจ้าหนี้ของคุณ ผมเชื่ออำนาจของธรรมคุณลองปฏิบัติดังนี้นะครับ

1 คุณและครอบครัว จะเริ่มต้นรักษาศีล ตั้งใจทำงานโดยไม่หวังว่าจะหลุดหนี้ แต่เมื่อครบแต่ละเดือน หลังจากตรวจงบดุลดูแล้ว มีเงินเหลือก็ชำระเจ้าหนี้ให้มากที่สุด

2 หลักการทำงานให้ยึดความซื่อสัตย์ให้มากที่สุด คุณธรรมทั้งหลายแหล่ปฏิบัติให้เต็มที่การใช้จ่ายให้เพียงแค่ดำรงชีพอยู่ได้



ผมเชื่อว่าภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีจากนี้ จะมีปรากฎการ์ณ ที่ดีเกิดขึ้นแก่คุณอย่างแน่นอน

"อย่าเอาชีวิตเราเป็นจุดศูนย์กลางของโลก ชีวิตเราเป็นเพียงแค่จุดเล็ก ๆ ในช่วงเวลาเล็ก ๆ ของโลกนี้เท่านั้น"
 
แสงสว่างให้คุณ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ต.ค.2005, 1:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

มีหลายคนเป็นเช่นคุณ

หลายคนมีสติ และหลายคนไม่มีสติ

ปัญหามีไว้แก้ ค่อยๆแก้ไปอย่างมีสติและทำให้ดีที่สุดนะค่ะ

ล้อเกีวยน ที่ขึ้นสนิม ถ้ามันหมุน....

ก็ถึงที่หมายได้เหมือนกันค่ะ
 
มัคคนายก
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ย.2005, 12:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถึงเจ้าของกระทู้.......................คุณผู้รับช่วงของปัญหา

ความสุขของมนุษย์ผู้ครองเรือน

1. อัตถิสุข คือความสุขจากการมีทรัพย์ ภูมิใจ อิ่มใจ ว่าหาทรัพย์มาได้ด้วยความขยั่นหมั่นเพียร และโดยชอบธรรม

2. โภคสุข คือสุขที่ได้ใช้จ่ายทรัพย์ของตนที่หาได้มานั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงผู้ควรเลี้ยง

และบำเพ็ญประโยชน์

3. อนณสุข คือสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้

4. อนวัชชสุข คือความสุขที่ตนประพฤติสุจริต 3 (กาย 3 วาจา 4 มโน 3)



วิเคราะห์ว่าทุกข์ของคุณผู้ครองเรือน เกิดจากความเป็นหนี้ที่บอกว่าตนไม่ได้เป็นผู้ก่อ แต่คุณก็ต้องยอมรับด้วยนะว่า เป็นผู้ร่วมสนับสนุนหรือยอมรับความเป็นหนี้มาตั้งแต่เข้ามาร่วมเป็นสมาชิกในครอบครัวของสามี เช่น คุณอยู่ในฐานะผู้กู้กับธนาคาร น้องสามีเป็นเจ้าของที่ดินคำประกันหนี้ (เข้าใจว่าจะต้องมีมูลหนี้อีกนับสิบประเภท ขอยกตัวอย่างไว้เท่านี้ก่อนเพื่อจะตอบตามประเด็น) หนี้สินปัจจุบันร่วมร้อยล้านบาท และถูกร้องดำเนินคดีหลายคดีแล้ว คำถามที่จะต้องตอบคุณเอง

1. กิจการมีรายได้โดยคำนวณว่า ในรอบปีจะจ่ายหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในลักษณะการผ่อนผันได้กี่ราย แต่ละรายเป็นเงินเท่าไร ที่ผ่อนมาแล้วเป็นxxxส่วนกี่เปอร์เซ็นต่อราย (ถ้าไม่นับดอกเบี้ยที่จ่ายไป ให้คิดไว้ในใจว่า ดอกเบี้ยคือเงินต้น) ให้เกลี่ยเจ้าหนี้ในxxxส่วนที่เสมอกันเท่าที่ทำได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ประเภทต้องส่งสินค้าให้แก่คุณ ซึ่งจำเป็นต้องนำสินค้านั้นมาใช้หมุนเวียน

2. เจ้าหนี้ของคุณแยกออกเป็น 2 จำพวก คือ เจ้าหนี้ประเภทไม่ยอมความ ไม่ผ่อนผัน ฟ้องลูกเดียว ให้แต่งทนายความสู้คดีไว้ก่อน เจรจาในชั้นศาลแล้ว จึงค่อยผ่อน ถ้าไม่ยอม จัดกลุ่มว่า คดีถึงที่สุดใช้เวลาอีกมากน้อยเท่าไร

เจ้าหนี้ประเภทยินยอมให้ผ่อนผัน เจรจาขอลดต้น ลดดอกเบี้ย ขยับช่วงจัดตารางกำหนดการจ่ายหนี้ ต้องไม่ใช่ทุกเดือน แต่ให้ขอเป็น 2-3 เดือนต่อครั้ง แล้วทำบันทึกข้อตกลงนี้ไว้ ระบุยอดเงินที่จะขอผ่อนด้วย

3. เจ้าหนี้สถาบันการเงิน เจรจาปรับโครงสร้างหนี้ หากไม่สำเร็จเขาก็จะฟ้องคุณคราวนี้กระทบกับแผนการผ่อนชำระกับเจ้าหนี้รายอื่น ๆ ด้วยแน่

หากกรณีตามข้อ 3. เป็นเหตุการณ์จะเกิดขึ้นกับคุณ คุณควรเตรียมตัวเตรียมใจพร้อมกับครอบครัวของสามี คุยกันทั้งครอบครัวจะเป็นการดี เพราะโดยหลักการแล้ว เมื่อฟ้องคดีแพ่ง แล้วหลักทรัพย์ไม่คุ้มกับการชำระหนี้ ธนาคารฟ้องลูกหนี้และผู้ค้ำประกันล้มละลายตามมาอีกคดี หมายถึงคุณในฐานะลูกหนี้ (หุ้นส่วนผู้จัดการ หจก.) ไม่มีสิทธิประกอบกิจการงานและ หจก.ต้องเลิกกิจการไปตามกฎหมาย คุณกับสามี จะทำมาหากินอะไร เงินทั้งหมดในบัญชีชื่อคุณและสามี จะถูกอายัดหมด ว้า......มันทุกข์ของคนจริง ๆ

เอาหละ เมื่อวิเคราะห์เหตุของทุกข์อันเป็นปัญหา คุณมาทำความเข้าใจถึงวิธีการดับทุกข์อันเป็นปัญหา และกระบวนการขั้นตอนการดับทุกข์หรือปัญหาของคุณ

1. ทุกคนยอมรับหรือไม่ว่า ทำงานภายใน 10 ปี แล้วชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้หรือไม่ ถ้าไม่มีหนทางว่าเป็นไปไม่ได้เลย ก็ให้ทำใจและให้ร่วมมือไว้วางใจซึ่งกันและกัน ก้มหน้าก้มตา ทำต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด (หมายถึงเจ้าหนี้มายึดทรัพย์และขายทอดตลาดแล้ว)

2. จัดให้มีการประชุมภายในครอบครัวของสามี ทุกเดือน อย่าให้ขาด สร้างความสามัคคีกันไว้

3. ธรรมะ ท่านว่า " โภควิภาค 4 " หรือ นโยบายของรัฐบาล คือ ใช้ 3 ส่วน ออม 1 ส่วน อธิบายคือ 3 ส่วนนั้น คือใช้จ่ายเลี้ยงตน ครอบครัว ใช้ในกิจการงาน ใช้หนี้ สำหรับอีก 1 ส่วน คือ เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น ฉะนั้น 1 ส่วนที่เหลือ ทุกคนในครอบครัวให้แบ่งจัดสรรไปก่อน แล้วไปฝากกับพ่อแม่ของคุณแทน ญาติพี่น้องของสามีก็ให้เขาไปหาคนที่ไว้วางใจรับฝากแทน เพราะเหตุการณ์ข้างหน้าคุณและครอบครัวต้องถูกยึดทรัพย์ แต่ถ้าไม่เป็นไปตามการคาดเดา เงินออมนี้จะได้เก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น คุณและครอบครัวมีโอกาสเริ่มต้นชีวิตใหม่ ตามประสาผู้ครองเรือนต่อไปได้

4. หนี้คุณไม่ได้เป็นผู้ก่อ คุณเจรจาแล้ว ขอความเมตตากรุณาก็แล้ว สุดท้ายก็ไม่ได้ คุณควรจะต้องไปขออโหสิกรรมต่อเขา จะได้ไม่ผูกเวรกรรมต่อกัน ถ้าเขาอโหสิก็โชคดีไป

ขอให้ได้รับความสุขกายสุขใจตามควรแก่อัตภาพ



อ่านกระทู้ปัญหาของคุณ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง