ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
jeab19
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 14 ต.ค. 2005
ตอบ: 1
|
ตอบเมื่อ:
14 ต.ค.2005, 12:48 pm |
  |
ให้ธรรมะแก้ปัญหากฎแห่งกรรมโดยการนั่งสมาธิกรรมฐานได้หรือไม่?  |
|
|
|
   |
 |
max
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ต.ค.2005, 1:26 pm |
  |
พระพุทธองค์ทรงอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างผู้ที่อบรมตน กับผู้ที่ไม่อบรมตนว่า ผู้ที่อบรมตนเมื่อได้รับวิบากร้าย ย่อมได้รับความลำบากน้อยกว่าผู้ที่ไม่อบรมตน บุคคลบางคน ไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ทำบาปกรรมแม้เพียงเล็กน้อย บาปกรรมนั้นก็สามารถส่งผลให้เขาตกนรกได้ ส่วนบุคคลบางคน อบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา ทำบาปกรรมเล็กน้อยเช่นเดียวกัน บาปกรรมนั้นย่อมส่งผลทันตาเห็น แต่เขาก็ไม่เดือดร้อนมากนัก ที่ตรัสเช่นนี้ก็เพราะ บุคคลที่ไม่อบรมตน ย่อมมีบารมีน้อย เปรียบเสมือนคนจน ทั้งเนื้อทั้งตัวมีเงินอยู่เพียงร้อยบาท ถูกโจรขโมยเงินไปร้อยบาท ย่อมได้รับความเดือดร้อนมากมาย ถึงอดตายได้ ส่วนบุคคลที่อบรมตน ย่อมมีบารมีมาก เปรียบเสมือนคนรวยมีทรัพย์มาก ถูกโจรขโมยเงินไปร้อยบาท ย่อมไม่เดือดร้อนมากนัก  |
|
|
|
|
 |
max
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ต.ค.2005, 1:32 pm |
  |
การปฏิบัติธรรมคืออะไร ?
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า "การปฏิบัติธรรม" มาจนชินหู หลายคนก็คงเคยลงมือปฏิบัติธรรมมาบ้างแล้ว ผมเคยถามนักปฏิบัติหลายท่านจึงจุดประสงค์และวิธีการปฏิบัติก็ได้รับคำตอบแตกต่างกัน พูดถึงจุดประสงค์ บ้างก็ว่าทำเพื่อให้จิตสงบ ให้มีความสุข บ้างก็ทำเพื่อให้หายกลุ้มใจ บ้างก็ทำเพราะอยากจะมีฤทธิ์ เช่น ไปเที่ยวนรกสวรรค์ได้ บ้างก็ปรารถนาจะได้มรรคผลนิพพาน บ้างก็ทำเพราะรู้ว่าเป็นบุญ บ้างก็ทำเพราะกลัวน้อยหน้าคนอื่น เมื่อถามถึงวิธีการปฏิบัติ บ้างก็ว่าการปฏิบัติธรรมคือการนั่งหลับตาทำจิตให้สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า นั่งสมาธิ บ้างก็ว่าคือการเจริญสติ บ้างก็ว่าคือการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ แต่ละคนก็เข้าใจแตกต่างกันออกไป ส่วนตัวผมเองเห็นว่า การปฏิบัติธรรมก็คือการปฏิบัติเพื่อให้ได้มรรคผลนิพพาน การทำอะไรก็ตามที่เป็นไปเพื่อให้ได้มรรคผลนิพพานล้วนเป็นการปฏิบัติธรรมทั้งสิ้น
ในพุทธศาสนาแบ่งการปฏิบัติธรรมออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือวิปัสสนากรรมฐานและสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึงวิธีปฏิบัติให้เกิดปัญญา คือ รู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยโดยตรงที่ทำให้ได้มรรคผลนิพพาน ส่วน สมถกรรมฐาน หมายถึง วิธีทำให้จิตสงบไม่ฟุ้งซ่าน สมถกรรมฐานไม่ใช่เหตุปัจจัยโดยตรงที่ทำให้ได้มรรคผลนิพพาน แต่เป็นวิธีที่ช่วยลดอุปสรรคในการปฏิบัติธรรม ทำให้การปฏิบัติได้ผลเร็วขึ้น ลักษณะของการปฏิบัติธรรมแต่ละวิธีมีดังนี้ http://come.to/makphol
|
|
|
|
|
 |
ขาแจมในตำนาน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ต.ค.2005, 7:58 pm |
  |
ให้ธรรมะแก้ปัญหากฎแห่งกรรมโดยการนั่งสมาธิกรรมฐานได้หรือไม่?
แก้ไม่ได้ครับ ถ้าจะแก้ได้ต้อง สติปัฎฐาน 4 แต่ที่ เป็นกรรมพื้น ต้องใช้ครับแต่ไม่ทุกข์
ปล. การนั่งสมาธิกรรมฐาน ได้ก็มี แต่ บารมีต้องมากจิงๆ |
|
|
|
|
 |
Jr_m
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 17 ต.ค. 2005
ตอบ: 7
|
ตอบเมื่อ:
17 ต.ค.2005, 2:40 pm |
  |
พูดกันมามาก ฟังมาเยอะ เรื่อง "กฏแห่งกรรม" อะไรคือกฏแห่งกรรม กรรม มีกฏ ด้วยหรือ ผมว่าเรื่องกรรม เรื่องเวร นี่ มันไม่ต้องอาศัยกฏอะไรเลย การที่อ้างถึงกฏแห่งกรรมผมว่าเป็นการยกประโยชน์ของการไม่รู้จริงให้เป็นเรื่องของกรรมเวรมากกว่า....การศึกษาธรรมะ บางทีผมว่าต้องศึกษาลึกลงไปถึงเรื่องการสื่อสาร กันทางภาษาด้วย นามธรรม ในความเป็นจริงทางธรรมชาติ บางครี้ง ก็ไม่สามารถอธิบายสื่อสารกันด้วยภาษา ด้วยตัวอักษรได้กระจ่างชัด อย่างคำว่า "กรรม"....มั่งมีศรีสุข ทุกข์ยากดีเลว....ยกประโยชน์ให้เป็นเรื่องของกรรมหมด คนโบราณนี่ฉลาดนะครับ รู้จักวิธีปลอบใจกันง่ายๆ ด้วยคำคำเดียว คือ "กรรม" นี่เอง ยากดีมีจน ทุกข์ระทมอะไร ก็ปลอบใจกันยกให้เป็นเรื่องของ "กรรม+กรรมเก่า" คนก็หายทุกข์หายเศร้าไปได้เหมือนกัน..
... ทีนี้ลองมองดูในทางภาษาซิครับ....กรรม - (ไทย) กรฺมมะ (สังสกฤต) กัมมะ (มคาธี-บาลี) หมายถึง "การกระทำ" กระทำอะไร คุณทำอะไร ก็ได้อย่างที่ทำ ทำดีได้ดี ทำรวยได้รวย ไม่ใช่บ่นว่า ทำดี ไม่เห็นรวยซะที ทำดี กับทำรวย ต่างกันนะครับ ทำรวย ไม่ต้องดี ก็รวยได้ ลองสังเกตดูบ้างไหมครับ คนทำดี มักไม่ค่อยรวย เพราะแจกหมด ทำบุญ ทำทานหมด เพราะทำดี
.....กรรม ในทางภาษาอย่างที่บอก คือการ กระทำ ไม่ต้องทำชาตินี้ไปเอาดีชาติหน้าหรอกครับ นั่นคือคำปลอบโยน ที่คนโบราณเค้าพูดปลอบใจกัน อย่าเอามาสอนเลยครับ ว่าที่เราประสบกันทุกวันนี้เกิดจาก กรรมเก่า....กรรมใหม่....ถ้าทำดีชาตินี้ แล้วไปรับ ดี ชาติหน้า อย่าทำเลยครับ ทำรวย อย่างเดียวดีกว่า กรรม ไม่มีกฏมีเกณฑ์อะไรหรอก ตีความ เรื่องภาษาให้ดี แล้วพิจารณให้ดี เอาคำสอนของพระพุทธองค์แท้ๆ มาพิจารณาให้ดี มองให้ลึก แล้วขยายความ พิจารณาด้วยตัวเอง แล้วจะเห็นแล้วจะเข้าใจ อย่าหลงทาง ยึดมั่นในหลักคำสอนของพระพุทธองค์อย่าหลงทาง โดยเฉพาะบัญญัติสิบประการ ใน "กาลามสูตร" ข้อสุดท้ายที่ตรัสว่า....อย่าเชื่อแม้แต่ครูผุ้สอน....ท่านไม่ได้สอนให้กระด้างกระเดื่องต่อครูบาอาจารย์ แต่ นั่น หมายความว่า ให้พิจารณา เหตุ และ ผล ด้วยตัวเอง
....ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว ทำรวย ได้รวย ทำรวย ไม่ต้องอาศัย ความดี.....ทั้งหมดคือ "กรรม".....กรรม = การกระทำ ทำวันนี้ ได้วันนี้ ทำเดี๋ยวนี้ ได้เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องรอขาติหน้า เสียเวลาเปล่า |
|
|
|
    |
 |
หนูฝิ่น
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 ต.ค.2005, 2:32 pm |
  |
เคยได้ยินมาเยอะ แต่ตามความเห็นของตัวเองคิดว่ากรรมที่เราทำไปแล้วเราจะกลับไปแก้ไม่ได้หรอก แต่การทำกรรมฐาน - สมถะก็ตามวิปัสสนาก็ตาม เป็นการทำกุศลกรรม
เมื่อกุศลกรรมอันเราทำให้มากแล้ว และไม่ทำอกุศลเพิ่มอีก บางครั้งอกุศลกรรมเก่าบางอย่างก็ตามไม่ทันเหมือนกัน เหมือนเกลือ 1 ช้อนโต๊ะในแก้ว ก็ย่อมมีความเค็มมากกว่าเกลือ 1 ช้อนโต๊ะในตุ่ม ฉันใดก็ฉันนั้น |
|
|
|
|
 |
ลุงเผือก
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 ต.ค.2005, 10:58 pm |
  |
มีปัญหาอะไรละ ยังไม่รู้เลยจะช่วยได้ไง
เดาเอาก็แล้วกัน "ไม่ค่อยมีตังค์ใช้ใช่มั๊ยล่า"
ขยัน อดทน อดกลั้น อดออม และอดกิน(ล้อเล่น)
เอ๊ะ! หรือจะอกหักหว่า
ถ้างั้นให้ กำหนดนิมิตไปเรื่อยๆก็แล้วกันว่า"หัวมันตั้งอยู่บนเครื่องชั่ง"
ปฏิบัติสมาธิให้จิตสงบ ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ
เลือกใช้พระธรรมให้ถูกกับวัย,เพศ,อาชีพและฐานะของตนมาแก้ไขปัญหา
ค่อยๆ ทำไป อย่าโลภทั้งทางโลกและทางธรรม
 |
|
|
|
|
 |
|