ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
พุทธภูมิ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ต.ค.2005, 9:08 am |
  |
พุทธภูมิ บารมี และ การสร้าง
สวัสดีครับ
เรื่องพุทธภูมินี้จะเป็นอะไรที่พิเศษไปนะครับ
จริงๆก็มีจุดหมายเข้าสู่พระนิพพานกัน
ทางเดินคล้ายๆกัน แต่เดินนานไปหน่อยครับ
เริ่มจากบารมีโดยรวมมี 10 ทัศ
ขยายไปให้ชัดอีกเป็น 30 ทัศ
จนเป็นขั้นละอียดทั้งหมด 90 ทัศ
โดยรวมมี ๑๐ ทัศ คือ
ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา
โดยชัดมี เพิ่มอีก 30 ทัศ คือ
ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา ทั่วไป 10 ทัศ
ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา อย่างกลาง อย่างกลางทำด้วยความลำบากยากยิ่ง 10 ทัศ
ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา อย่างแท้จริง เสมอด้วยชีวิตเรา10 ทัศ
โดยละเอียด 90 ทัศ คือ
ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา อย่างทั่วไป
เป็นของภายนอก ที่ไม่รักไม่หวง 10 ทัศ
เป็นของภายนอก มีความรักหวงแหนสิ่งนั้น 10 ทัศ
เป็นของภายนอก ถ้าขาดสิ่งนั้นอาจทำให้ยากลำบาก 10 ทัศ
ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา อย่างกลางทำด้วยความลำบากยากยิ่ง
เป็นของจำเป็นกับชีวิต มีสิ่งอื่นทดแทนได้ 10 ทัศ
เป็นของจำเป็นกับชีวิต มีความรักความหวงแหนสิ่งนั้น 10 ทัศ
เป็นของจำเป็นกับชีวิต ถ้าขาดสิ่งนั้นแล้วชีวิตยากลำบาก 10 ทัศ
ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา อย่างแท้จริง เสมอด้วยชีวิตเรา
ด้วยแรงงาน 10 ทัศ
ด้วยร่างกาย 10 ทัศ
ด้วยชีวิต 10 ทัศ
การสะสมบารมีแต่ละอย่างแต่ละองค์มากน้อยไม่เหมือน เป็นเหตุให้มีพระพุทธเจ้ามี 3 แบบ
พระพุทธเจ้าต่างกันที่ อายุ และ ความเพียร
อายุ คือ อายุในสมัยที่เป็นพระพุทธเจ้ายืนยาวต่างกัน มีการให้ทานบารมีมากอายุจึงมาก
ความเพียร คือ ความเพียรมากน้อยในการบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้า และ การบรรลุธรรมของผู้ได้ฟังธรรมะของพระพุทธองค์
สิ่งที่เกี่ยวข้อง 4 อย่าง
1.บริวาร
2.ความรู้ทั่วไป
3.อิทธิฤทธิ์
4.ปฏิสัมภิทาญาณ หรือ ความรอบรู้ในกองสังขาร
การบำเพ็ญของพุทธภูมิก็เช่นเดียวกับการเข้าพระนิพพาน คือ ลงมือทำ
สิ่งที่ผู้ปราถนาพุทธภูมิต้องทำคือดูแลช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางเข้าสู่พระนิพพาน
ความรู้ต่างๆเหล่านี้หากเกิดประโยชน์ ขอบูชาหลวงปู่ เกษม อาจิณสีโล
และบุญนี้จงถึงนายเวรข้า ด้วยอำนาจพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
____________________________________
ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม รู้จักวิธีปฎิบัติต่อตนเองและสิ่งทั้งหลาย ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้นความคิดฟุ้งซ่านของใจ ให้อยู่ในเหตุผลอันเป็นทางแห่งความสงบสุข ใจที่ยังไม่ได้รับการอบรมจากภาวนา จึงเปรียบเหมือนสัตว์ ที่ยังมิได้รับการฝึกหัด จึงยังมิได้รับประโยชน์จากมันเท่าที่ควร
(ยังมีต่อในคำแนะนำตัวครับ ......)
หลวงปู่ มั่น ภูริทัตตเถระ
ด้วยธาตุทั้งสี่ที่มีอยู่ ผู้ข้าขอน้อมน้อมแด่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
ด้วยบุญที่ได้กระทำมาแล้ว และ จะพึงกระทำต่อไปอีก
จงเป็นปัจจัยให้บรรลุสัมพัญญูโพธิญาน ในอนาคตเบื้องหน้านั้นเทอญ
จากคุณ : todsapol [ ตอบ: 26 ก.ย. 48 15:29 ] แนะนำตัวล่าสุด 12 ต.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 617 | ฝากข้อความ |โฮมเพจ |
เก็บความคิดเห็นที่ 1 : (หมูหยอง) แจ้งลบ | อ้างอิง |
มีคำถามครับ
ในชาดก 10 ชาติสุดท้ายก่อนที่จะมาตรัสรู้
ในแต่ละชาติท่านทราบหรือไม่ว่าตนเองปรารถนาพุทธภูมิ?
____________________________________
"ภิกษุทั้งหลายเครื่องจองจำเหล่านั้นไม่นับว่าเป็นเรือนจำที่แท้จริง ส่วนเครื่องผูกคือกิเลสตณหาในทรัพย์สมบัติ บุตรและภรรยา ถือเป็นเรือนจำที่แท้จริง มั่นคงยิ่งกว่า ตัดได้ยากกว่า โบราณบัณฑิตได้ตัดเรือนจำนี้ได้แล้วออกบวช"
จากคุณ : หมูหยอง [ ตอบ: 26 ก.ย. 48 18:12 ] แนะนำตัวล่าสุด 20 มี.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 1020 | ฝากข้อความ |
เก็บความคิดเห็นที่ 2 : (todsapol) แจ้งลบ | อ้างอิง |
ตามความรู้ที่ได้มา พระพุทธองค์ทรงทราบว่าตนเองปราถนาพุทธภูมิชัด ตั้งแต่ชาติที่เกิดเป็นสุวรรณสามเป็นต้นมาครับ
จากนั้นก็ชัดมาเรื่อย ชัดมาเรื่อย จนรู้ว่าชาตินี้(เกิดเป็นสิทธัตถะราชกุมาร)บรรลุแน่ จึงได้ประกาศ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย จะไม่มีใครยิ่งใหญ่เกินกว่าเรา
____________________________________
ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม รู้จักวิธีปฎิบัติต่อตนเองและสิ่งทั้งหลาย ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้นความคิดฟุ้งซ่านของใจ ให้อยู่ในเหตุผลอันเป็นทางแห่งความสงบสุข ใจที่ยังไม่ได้รับการอบรมจากภาวนา จึงเปรียบเหมือนสัตว์ ที่ยังมิได้รับการฝึกหัด จึงยังมิได้รับประโยชน์จากมันเท่าที่ควร
(ยังมีต่อในคำแนะนำตัวครับ ......)
หลวงปู่ มั่น ภูริทัตตเถระ
ด้วยธาตุทั้งสี่ที่มีอยู่ ผู้ข้าขอน้อมน้อมแด่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
ด้วยบุญที่ได้กระทำมาแล้ว และ จะพึงกระทำต่อไปอีก
จงเป็นปัจจัยให้บรรลุสัมพัญญูโพธิญาน ในอนาคตเบื้องหน้านั้นเทอญ
จากคุณ : todsapol [ ตอบ: 27 ก.ย. 48 00:11 ] แนะนำตัวล่าสุด 12 ต.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 617 | ฝากข้อความ |โฮมเพจ |
เก็บความคิดเห็นที่ 3 : (todsapol) แจ้งลบ | อ้างอิง |
บารมีสิบทัศ อาวุธแห่งจิตใจ
หลายๆปัญหารุมล้อมเข้ามา จนไม่อยากอยู่รับรู้ปัญหานั้นอีกแล้ว
นี้คือความรู้สึกที่มีหลังเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งช่วงเกิดปัญหาคือช่วงที่เราเจอสถานการณ์จริง
จึงเป็นโอกาสที่เราจะได้ใช้อาวุธเราจริงๆ ไม่ใช่แค่ฝึกมาแล้วเก็บเท่านั้น
บารมีสิบเกี่ยวกับชีวิตเรายังไง
ท่านจะเห็นว่าผู้ที่มีบารมียอมมีคนเกรงใจ
ท่านที่มีบารมีย่อมแก้ปัญหาง่าย
ท่านที่มีบารมีย่อมมีผู้คอยช่วยเหลืออยู่
ไม่ว่าจะตกทุกข์ได้ยากแค่ไหนก็จะเห็นว่า สามารถผ่านไปได้ด้วยดี
มีความสำเร็จในชีวิต
บารมีนั้น มีทั้งเก่า และ บารมีใหม่
บารมีเก่าคือสิ่งที่เคยสร้างไว้แล้ว
บารมีใหม่คือสร้างกันในปัจจุบัน
คำบาลี คำไทยไทย
ขันติ การข่มใจต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นทั้ง ทางกาย ทางวาจา ทางใจ
วิริยะ หมั่นทำ ไม่ย่อท้อในการทำ
อุเบกขา นิ่งเฉยต่อต่างๆ
เนกขัมมะ หลีกออกจากเหตุที่ก่อเกิดโทษภัย
อธิษฐาน ความตั้งใจ หรือ การกำหนดที่หมาย
ศีล ข้อประพฤติปฏิบัติที่สกัดกั้นต้นเหตุของโทษภัย
สัจจะ ตามความเป็นจริง
ปัญญา ความรอบรู้เข้าใจตามความเป็นจริง
เมตตา ความเข้าใจความรู้สึกจนเกิดความสงสาร
ทาน การสละให้
บารมีทั้งสิบอาจจะไม่วางลำดับอย่างในพระไตรปิฎก
ด้วยการใช้งานจริงจะมีการเกื้อกูลกันอยู่ในแต่ละข้อ ไม่แยกขาดกัน ไม่ใช้งานเดี่ยวๆ
บารมีทั้งสิบไม่จำเป็นต้องบำเพ็ญเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า
ไม่จำเป็นต้องสร้างบารมีไปใช้ชาติอื่น
บารมีทั้งสิบทุกคนสามารถสร้างได้ และ นำมาใช้ได้ในชาตินี้
มันคืออาวุธแห่งจิตใจ มันคือเครื่องกางกั้นอุปสรรคของชีวิต
มันคือเครื่องอำนวยความสะดวกไปสู่ความสำเร็จ
____________________________________
ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม รู้จักวิธีปฎิบัติต่อตนเองและสิ่งทั้งหลาย ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้นความคิดฟุ้งซ่านของใจ ให้อยู่ในเหตุผลอันเป็นทางแห่งความสงบสุข ใจที่ยังไม่ได้รับการอบรมจากภาวนา จึงเปรียบเหมือนสัตว์ ที่ยังมิได้รับการฝึกหัด จึงยังมิได้รับประโยชน์จากมันเท่าที่ควร
(ยังมีต่อในคำแนะนำตัวครับ ......)
หลวงปู่ มั่น ภูริทัตตเถระ
ด้วยธาตุทั้งสี่ที่มีอยู่ ผู้ข้าขอน้อมน้อมแด่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
ด้วยบุญที่ได้กระทำมาแล้ว และ จะพึงกระทำต่อไปอีก
จงเป็นปัจจัยให้บรรลุสัมพัญญูโพธิญาน ในอนาคตเบื้องหน้านั้นเทอญ
จากคุณ : todsapol [ ตอบ: 27 ก.ย. 48 13:52 ] แนะนำตัวล่าสุด 12 ต.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 617 | ฝากข้อความ |โฮมเพจ |
เก็บความคิดเห็นที่ 4 : (อัจฉรา) แจ้งลบ | อ้างอิง |
ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมินั้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้ยอมเสียสละเพื่อผู้อื่นอย่างมาก ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ทั้ง ๆ รู้ว่าหนทางข้างหน้ามีอะไรรออยู่ตลอดเส้นทางที่เดินไปก็ยังตัดสินใจที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย นั่นเหมาะแล้วกับการที่ได้รับการยอมรับและสรรเสริญจากทุกภพทุกภูมิ สมกับได้ชื่อว่าเป็นผู้เตรียมพร้อมเพื่อเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า ผู้เป็นที่พึงอันสูงสุด
สาธุ สาธุ สาธุ
จากคุณ : อัจฉรา [ ตอบ: 28 ก.ย. 48 08:34 ] แนะนำตัวล่าสุด 25 พ.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 180 | ฝากข้อความ |
เก็บความคิดเห็นที่ 5 : (todsapol) แจ้งลบ | อ้างอิง |
ศีล ๕ ธรรมที่เอื้อต่อการรักษาศีล
1.เว้นจากการฆ่าสัตว์ (เมตตา) ความเข้าใจความรู้สึกจนเกิดความสงสาร
2.เว้นจากการลักทรัพย์ (ทาน) การสละให้
3.เว้นจากการผิดกาม (เนกขัมมะ) หลีกออกจากเหตุที่ก่อเกิดโทษภัย
4.เว้นจากการพูดจาหลอกลวง (สัจจะ) ตามความเป็นจริง
5.เว้นจากการนำของมึนเมาเข้าสู่ร่างกาย (สติสัมปะชัญญะ) ระลึกรู้ ความรู้สึกตัว
เหตุใดข้อ ๕ จึงสำคัญ
การระลึกรู้ มีความรู้สึกตัวอยู่ก่อให้เกิดปัญญาในการรู้ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกมีการรู้ตามความเป็นจริง
จึงพูดตามความเป็นจริง
มีการรู้ตามความเป็นจริงว่าสิ่งใดเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโทษ จึงหลีกจากต้นเหตุนั้นซะ เห็นส่วนเว้าส่วนโค้งเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์ จึงหลีกสำรวมให้ดวงตาไม่ไปเจอกับส่วนเว้าส่วนโค้ง
มีการรู้ตามความเป็นจริงว่าเราเอาของเขามาแล้วเขาเดือดร้อน จึงไม่เอา
มีการรู้ตามความเป็นจริงว่าถ้าเป็นเราเองเราก็รักชีวิตไม่ยอมให้ใครมาทำร้ายเราแน่นอน
ใจเขามาอยู่ในใจเราจึงเกิดความสงสารขึ้น
การรักษาศีลทำไมจึงเกิดปัญญา
ผู้ที่รักษาศีล ย่อมเหมือนผู้ที่รักษาป้อมประตูค่ายหอรบ ไม่ยอมให้ข้าศึกผ่านเข้ามาได้
ย่อมเหมือนผู้รักษาป้องกันเงินร้อยล้าน ไม่ให้สูญหายไป จักใช้ความคิดในการรักษาจักคิดให้คงอยู่แข็งแกร่งจักคิดให้ได้เงินเพิ่ม เมื่อคิดบ่อยๆเข้าจึงเกิดรู้ว่าจะต้องทำอย่างไร เมื่อรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรจึงเกิดการรักษาที่ง่าย ด้วยมีปัญญาในการรักษาไว้
ศีล คือ ฐาน จะทำสิ่งใดเมื่อมีศีลอยู่ย่อมเกิดความสุขความเจริญไม่มีเรื่องทุกข์ใจเข้ามาใกล้
เพราะถูกสกัดกั้นเหตุไว้แล้ว คือ ศีล
____________________________________
ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม รู้จักวิธีปฎิบัติต่อตนเองและสิ่งทั้งหลาย ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้นความคิดฟุ้งซ่านของใจ ให้อยู่ในเหตุผลอันเป็นทางแห่งความสงบสุข ใจที่ยังไม่ได้รับการอบรมจากภาวนา จึงเปรียบเหมือนสัตว์ ที่ยังมิได้รับการฝึกหัด จึงยังมิได้รับประโยชน์จากมันเท่าที่ควร
(ยังมีต่อในคำแนะนำตัวครับ ......)
หลวงปู่ มั่น ภูริทัตตเถระ
ด้วยธาตุทั้งสี่ที่มีอยู่ ผู้ข้าขอน้อมน้อมแด่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
ด้วยบุญที่ได้กระทำมาแล้ว และ จะพึงกระทำต่อไปอีก
จงเป็นปัจจัยให้บรรลุสัมพัญญูโพธิญาน ในอนาคตเบื้องหน้านั้นเทอญ
จากคุณ : todsapol [ ตอบ: 28 ก.ย. 48 12:21 ] แนะนำตัวล่าสุด 12 ต.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 617 | ฝากข้อความ |โฮมเพจ |
เก็บความคิดเห็นที่ 6 : (คนกวน) แจ้งลบ | อ้างอิง |
หวัดดีจ้ะ...........
จากคุณ : คนกวน [ ตอบ: 28 ก.ย. 48 17:16 ] ยังไม่แนะนำตัว | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 586 | ฝากข้อความ |
เก็บความคิดเห็นที่ 7 : (กลอง) แจ้งลบ | อ้างอิง |
อนุโมทนาด้วยครับ
____________________________________
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติออกไปจาก ใจ คือมหาฐาน นี้ทั้งสิ้น
เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้จัก มโน แจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมมติทั้งหลายในโลกนี้ต้องออกไปจากมโนทั้งสิ้น
จากคุณ : กลอง [ ตอบ: 28 ก.ย. 48 22:01 ] แนะนำตัวล่าสุด 01 เม.ย. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 1170 | ฝากข้อความ |โฮมเพจ | MSN |
เก็บความคิดเห็นที่ 8 : (todsapol) แจ้งลบ | อ้างอิง |
อ้าว....พี่คนกวนมาทักทายกันแล้วก็เงียบไป น่าสงสัยครับน่าสงสัย
สาธุ ครับคุณกลอง
----------------------------
ศีล หรือ ข้อประพฤติปฏิบัติ มี ๓ ระดับ
ระดับแรก ทางกาย ข้อประพฤตินั้นป้องกันไม่ให้ ใช้กายลงมือทำไม่ดี
ระดับที่สอง ทางวาจา ข้อประพฤตินั้นป้องกันไม่ให้ ใช้วาจาเบียดเบียน
ระดับที่สาม ทางใจ ข้อประพฤตินั้นป้องกันไม่ให้ ใจคิดไม่ดี
ศีลเป็นฐานของสติ ด้วยการระวังรักษา ระลึกถึงศีลตลอดเวลา
ระมัดระวังไตร่ตรองในการไปเกี่ยวด้วยกาย จึงมีสติสำรวมในกาย
ระมัดระวังไตร่ตรองในการไปเกี่ยวด้วยคำพูด จึงมีสติสำรวมในวาจา
ระมัดระวังไตร่ตรองในการไปเกี่ยวด้วยใจ จึงมีสติสำรวมในใจ
อย่างหยาบ ไม่ลงมือทำ แต่ใจคิดทำ ปากเอ่ยทำร้ายอยู่ แต่ยังมีสติรู้ที่จะไม่ลงมือทำ
อย่างกลาง ไม่ลงมือทำ ไม่เอ่ยวาจาที่ผิด แต่ใจยังคิดทำผิดอยู่ ยังมีสติที่จะไม่เกี่ยวด้วยกายและวาจา แต่อดที่จะคิดไม่ได้
อย่างแนบแน่น ไม่ลงมือทำ ไม่ใช้วาจาทำร้าย ใจไม่คิดร้าย มีสติรู้ตั้งแต่ใจเริ่มคิดและหักใจข่มใจได้ ไม่พลาดไปสู่การจงใจทำผิด
จึงมี ศีลในกาย ศีลในวาจา และ ศีลในใจ
การรักษาต้องไล่ระดับมาจาก อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างระเอียด
เหมือนการปลูกข้าวต้องค่อยเติบโต จากเมล็ด เป็นต้นกล้า สู่ต้นข้าว จนออกร่วง จึงเก็บเกี่ยวผลที่ทำมา
จากใจรักษาศีล ไปสู่ ศีลรักษาใจ
เมื่อศีลรักษาใจแล้วย่อมไม่ครั่นคร้าม ต่ออันตราย ต่อผู้คน ต่อสิ่งที่ทำอยู่
จะฝึกสิ่งใดต่อก็ย่อมง่ายขึ้น และ ทำด้วยความมั่นใจ
จึงเป็นผู้สง่าด้วยเดชแห่งศีล
____________________________________
ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม รู้จักวิธีปฎิบัติต่อตนเองและสิ่งทั้งหลาย ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้นความคิดฟุ้งซ่านของใจ ให้อยู่ในเหตุผลอันเป็นทางแห่งความสงบสุข ใจที่ยังไม่ได้รับการอบรมจากภาวนา จึงเปรียบเหมือนสัตว์ ที่ยังมิได้รับการฝึกหัด จึงยังมิได้รับประโยชน์จากมันเท่าที่ควร
(ยังมีต่อในคำแนะนำตัวครับ ......)
หลวงปู่ มั่น ภูริทัตตเถระ
ด้วยธาตุทั้งสี่ที่มีอยู่ ผู้ข้าขอน้อมน้อมแด่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
ด้วยบุญที่ได้กระทำมาแล้ว และ จะพึงกระทำต่อไปอีก
จงเป็นปัจจัยให้บรรลุสัมพัญญูโพธิญาน ในอนาคตเบื้องหน้านั้นเทอญ
|
|
|
|
|
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
|