Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ศีลแปด มีเพิ่มอะไรจากศีลห้าบ้างคับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
โจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2005, 4:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศีลแปด มีเพิ่มอะไรจากศีลห้าบ้างคับ เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้นคับ อะไรคือเหตุผมเบื้องหลังของศีลที่เพิ่มมาอีก สามข้อครับ

รบกวนผู้รู้ให้ปัญญาด้วยคับ
 
ขาแจมในตำนาน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2005, 10:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีไม่ กินเยอะ ไม่ นอนเยอะ ไม่ร้องรำทำเพลงแต่ง เครื่องหอม

ทั้งหมด เป็น สิ่งที่ ทำให้ สามารถเจริญ สติ ได้ดีขึ้น ไว้สร้างความเพียร

ตา หู จมูก ลิ้น กาย นะ ศีล 5

ส่วน ใจ นะ ศีล 8 ด้วย สติ เจริญนะอย่า สงสัย ปฏิบัติจะ ได้ ดี

วิชาได้แต่ความรู้ ให้ความดีไม่ได้ (ตอบมั่วๆ อย่าคิดมาก ^^ )



ปล. ไม่ใช่ให้ เฝ้าอุโบสถ นะ เพราะมันไม่ได้ อาไร
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2005, 9:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศีล ๕ ข้อ คือ

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป

๒. อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้

๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๔. มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท



ศีล ๕ เป็นศีลของคฤหัสถ์ ที่คฤหัสถ์ทั้งชายหญิงควรรักษาเป็นปกติ เป็น

ประจำตลอดชีวิตถึงกระนั้น ศีลที่ยิ่งกว่า ศีล ๕ ขัดเกลากิเลสได้ยิ่งกว่าศีล ๕ ที่คฤหัสถ์ควรรักษาตามโอกาสเป็นครั้งคราว ก็มีอยู่ ศีลที่กล่าวนี้คือ อุโบสถศีล หรือศีลอุโบสถ ซึ่งคฤหัสถ์ชายหญิงบางท่านรักษาในวันอุโบสถ สมัยก่อนท่านกำหนดวันรักษาอุโบสถศีลไว้มากกว่าวันนี้ แต่ปัจจุบันเหลือวันรักษาอุโบสถศีลเพียงเดือนละ ๔ ครั้งในวันพระคือในวันแรม ๘ ค่ำ แรม ๑๔ ค่ำหรือ ๑๕ ค่ำ ขึ้น ๘ ค่ำและขึ้น ๑๕ ค่ำ แต่บางท่านก็ประพฤติยิ่งกว่านั้น



ศีลอุโบสถนั้นเป็น ศีลรวม หรือ ศีลพวง คือมีองค์ประกอบถึง ๘ องค์ ถ้าขาดไปองค์ใดองค์หนึ่งก็ไม่เรียกว่า ศีลอุโบสถ ตามพุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้นการล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียว ก็ถือว่าขาดศีลอุโบสถ เพราะเหลือศีลไม่ครบองค์ของอุโบสถศีล พูดง่ายๆว่าขาดศีลองค์เดียว ขาดหมดทั้ง ๘ องค์ ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลจึงต้องสำรวมระวัง กาย วาจา เป็นพิเศษ



อุโบสถศีลที่ประกอบด้วยองค์ ๘ มีดังนี้



๑. ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป

๒. อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้

๓. อพรหมจริยา เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์

๔. มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการกล่าวเท็จ

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

๖. วิกาลโภชนา เวรมณี งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

๗. นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา เวรมณี

งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล ลูบทาทัด

ทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะ

แห่งการแต่งตัว

๘. อุจจาสยนมหาสยนา เวรมณี งดเว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่



อุโบสถศีลอันมีองค์ ๘ นี้ องค์ที่ ๑-๒-๔-๕ เหมือนศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ ของศีล ๕ ที่แปลกกันคือข้อ ๓



ศีล ๕ นั้น ข้อ ๓ ให้เว้นจากการประพฤติผิดประเวณีในผู้ที่มิใช่คู่ของตน แต่ถ้าเป็นคู่ครอง

ของตนแล้วไม่ห้าม แต่ศีลข้อ ๓ ของอุโบสถศีลนั้น ให้งดเว้นจากการเสพประเวณีโดยเด็ดขาด แม้ในคู่ครองของตนเอง จึงจะชื่อว่า พรหมจริยา คือ ประพฤติอย่างพรหมส่วนที่เพิ่มเข้ามาคือ ศีลข้อ ๖-๗-๘



อุโบสถศีลนั้นก็มีองค์ของศีลเป็นเครื่องวินิจฉัยว่า การกระทำเช่นไรจึงล่วงศีลไว้เช่นเดียวกับศีล ๕ สำหรับศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ นั้น มีองค์เหมือนศีลข้อ ๑-๒-๔-๕ ของศีล ๕



http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
โจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2005, 10:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอขอบคุณ คุณขาแจมในตำนาน และ พี่ปุ๋ยมากมากครับ



กระจ่างแล้วคับ แต่ว่า



เรื่องไม่กินยามวิกาลนี่ คือเมื่อไหร่ครับ ยังไงคับ ขอตัวอย่างหน่อยคับ



เรื่องงดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล ลูบทาทัด ทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะ แห่งการแต่งตัว อันนี้เพื่ออะไรคับ เพื่อลดกิเลสใช่หรือไม่คับ



สว่วนข้อสุดท้าย ทำไมถึงไม่ให้นั่งนอนบนที่สูง อยากรู้เหตุผลเบื้องหลัง จะได้มีปัญญาครับ



ช่วยหน่อยนะคับ ขอบคุณคับ

 
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2005, 5:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามความเข้าใจของผม (อาจผิดก็ได้)

ยามวิกาลหมายถึงหลังเที่ยง

จุดมุ่งหมายเพื่อให้ลดความเป็นตัวตนของตน การบริโภคก็เพียงเพื่อให้ร่างกายคงอยู่ได้

การใดที่ไม่จำเป็นแก่ร่างกายนี้ก็ให้งดเว้นเสียเพื่อว่าจะได้ไม่ยึดถือว่าร่างกายนี้เป็นของเรา

ไม่ยึดติดในความเพลิดเพลิน สวยงาม ความสะดวกสบาย อันเป็นเหตุให้จิตเพลิดเพลินและหลงกับสิ่งที่เป็นกิเลสเบื้องต้นอันเป็นต้นทางของกิเลสอื่น ๆ อันอาจตามมาได้โดยง่าย

ลองพิจารณาดูและปฏิบัติดูนะครับว่าจะเห็นตามนี้หรือไม่
 
ขาแจมในตำนาน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2005, 8:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มาแจมเพิ่มเติม ^^



ปริโพธ 2

นั้นมี 1.กิน กับ ยารักษา

2.เสื้อผ้า กับ ที่อาศัย

เมื่อ ปริโพธ กังวลเบาบาง ก็ทำให้ สงบ และ ทำให้สามารถภาวนา ได้ดีขึ้น



ปัจจัย4 เมื่อพิจารณาแล้ว ก็ เป็น เหตุของทุกข์

ทุกข์เพราะ ยังมีหลาย มีมาก ไม่เป็นหนึ่ง ไม่มีสติรักษา ใจ



ปล. มาตอบผิดกระทู้ อย่า คิดมาก
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2005, 4:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศีลแปดเป็นศีลพรหมจรรย์



ได้แก่รักษาพรหมจรรย์ ๑ (ไม่สัมผัสกายกับสตรี) ไม่ให้ลิ้นรับรสมากเกินไป ด้วยการทานอาหารไม่ล่วงยามวิกาล ๑ ไม่ให้ตาเห็นรูปน่ารักน่าใคร่น่าพอใจ ด้วยการงดเว้นดูการละเล่น การบันเทิงฟ้อนรำ ๑ ไม่ให้จมูกได้กลิ่นที่พอใจ งดเว้นการใช้ของหอม ๑ ไม่ให้กายสัมผัสกับสิ่งอ่อนน่มน่ารักน่าพอใจ ด้วยการไม่นอนนั่งบนที่นอนอ่อนนุ่มสูงใหญ่ ๑ ไม่ให้หลงกับรูปสวยของตนเองคือใช้เครื่องประดับเช่นทัดดอกไม้(คนโบราณ) ๑ ไมให้ได้ยินเสียงอันจะนำมาซึ่งความพอใจ คืองดเว้นการฟังเพลง การร้องรำ ๑
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ย. 2005, 3:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยามวิกาล ท่านนับตั้งแต่หลังเที่ยงวัน ไปจนถึงอรุณรุ่งของวันใหม่ครับ ผู้สมาทานศีลแปด จะต้องไม่บริโภคอาหารในยามนี้ แต่สามารถดื่มน้ำ หรือ น้ำผลไม้ ได้ครับ

เหตุที่ ลดการบริโภค ในทางการแพทย์อาหารที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ มื้อเช้า รองลงมาคือ มื้อกลางวัน และอาหารที่เป็นส่วนเกินคือ มื้อเย็น เพราะไม่ต้องทำอะไรมากแล้ว แต่คนเรามักทำกลับกัน คือ มื้อเช้าทานน้อย หรือ บางทีไม่ทาน เพราะรีบ จึงทำให้ไม่ค่อยแข็งแรง และเครียดง่าย ในขณะที่มื้อเย็นฉลองกันทานกันเต็มที่ จึงทำให้เป็นโรคอ้วนง่าย และก็กามกำเริบได้ง่ายเพราะเรี่ยวแรงเหลือ จากมื้อเย็น



ข้ออื่น ท่านอื่นก็ตอบไว้สมบูรณ์แล้วครับ ผมมาเพิ่มอีกนิดเท่านั้น



 
โจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ย. 2005, 8:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กระจ่างมากเลยครัฟ ขอบคุณพี่ๆ ขาแจมในตำนาน พี่ปุ๋ย พี่สุรพงษ์ พี่โอ่ และพี่เกียรติครัฟฟฟ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง