Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สมาธิ วิปัสสนา ฌาณ กรรมฐาน ต่างกันอย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
anny
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2005, 1:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากทราบความหมายของแต่ละคำต่างกันอย่างไร แล้วรู้ได้อย่างไร ว่าเราฝึกได้ขั้นไหนแล้ว และการได้หูทิพย์ ตาทิพย์ อ่านจิต ระลึกชาติ ทั้งของเราและคนอื่น เห็นอวัยวะภายในทั้งหมดทั้งของเราและคนอื่น รู้กรรมของแต่ละคน แก้กรรมแต่ละคนได้ กระทั้งรู้ว่าเขามีวิญญาณใครตาม ทำแท้งกี่ครั้ง บนไว้ที่ไหนบ้างแก้อย่างไร รู้อาการตายของมนุษย์ได้ ไปสวรรค์นรก แสดงว่ากำลังได้ฌาณ อะไร อธิบายด้วยนะคะ ไม่ทราบจริงๆ
 
anny
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2005, 2:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าไม่รบกวนมากนักช่วยตอบในเมลล์ด้วยนะคะ เพราะไม่ค่อยได้เล่นเนท ที่scnanzy@yahoo.comขอบคุณค่ะ

และมีพี่ที่เขาฝึกสมาธิด้วยกันสามารถ สั่งห้ามปืนไม่ให้ยิงออกได้ เรื่องจริงนะ แต่ช่วงนี้เขาปวดหัวบ่อยๆ ไม่มีสาเหตุ จะแก้ยังๆงค่ะ บอกด้วยนะคะ จะขอบคุณอย่างสูงค่ะ
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2005, 8:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เปรียบเทียบ สมถะ – วิปัสสนา





นมตฺถุ รตนตฺตยสฺส ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ขอความผาสุข ความเจริญในธรรม จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทั้งหลาย







ต่อไปนี้จะได้ปารภธรรม ตามหลักคำสอนในทางพุทธศาสนา อันเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติกรรมฐาน คำว่ากรรมฐานก็หมายถึงที่ตั้งของการกระทำ หรือว่าการกระทำที่เดินทางจิตใจ ซึ่งรวมแล้วก็มี ๒ อย่างด้วยกันคือ ๑. สมถกรรมฐาน ๒. วิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้นถ้าหากว่า เรียกคำว่ากรรมฐาน ก็หมายถึงรวมความหมายถึงสมถะและวิปัสสนาได้ทั้ง ๒ อย่าง แต่ถ้าหากว่าจะบอกเจาะจงลงไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ต้องเรียกให้ชัดลงไปว่า เจริญสมถกรรมฐาน หรือเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าบอกเพียงว่าปฏิบัติกรรมฐาน ความหมายก็จะคลุมไปทั้งหมด สมถะและวิปัสสนา





การเจริญสมถะ ก็คือการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งความสงบ วิปปัสสนานั้นปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งปัญญา ความสงบนั้นคนละอย่างกันแต่ก็เป็นธรรมชาติเป็นของจริงเหมือนกัน ความสงบก็เป็นลักษณะที่จิตมีสมาธิเข้าถึงความสงบ คือจิตนั้นตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว นิ่งแนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียว ก็เป็นสมาธิ เป็นความสงบ การทำความเจริญทางจิตให้เข้าถึงซึ่งสมาธิ โดยเฉพาะสมาธิก็มีระดับสูงขึ้นอัปปนาสมาธิ สมาธิมี ๓ ระดับคือ



๑. ขณิกสมาธิ ความสงบเล็กน้อย



๒. อุปจารสมาธิ เป็นความสงบที่เฉียดองค์ฌาน



๓. อัปปนาสมาธิ ก็เป็นความสงบที่แนบแน่นในอารมณ์เรียกว่าเข้าถึงฌานได้ฌาน





ขณะที่ฌานเกิดนั้นจิตจะต้องเป็นอัปปนาสมาธิลักษณะของอัปปนาสมาธิก็คือนิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว จะไม่ไหวไปรับรู้อารมณ์อื่น จิตมีอารมณ์เป็นบัญญัตินิมิต มีนิมิตเป็นอารมณ์อยู่ ก็อยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ไม่สามารถจะคิดนึกไปอย่างอื่น หรือว่าไปรับเสียง รับสี รับรส รับสัมผัส ไม่รับ เรียกว่าดับความรู้สึกทางประสาททั้ง ๕ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ไม่รับรู้เลย แม้ทางใจก็รู้เฉพาะอารมณ์เดียว คือนิมิตกรรมฐานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการจะไปคิดไปนึกไปรับเรื่องราวต่าง ๆ นี่ก็เป็นผลของการเจริญสมถะ





การเจริญสมถกรรมฐานนั้นมีผลคือความสงบ คือสมาธิให้เข้าถึงซึ่งฌานจิต ได้ฌานในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ เรียกว่า ปฐฌาน ทุติยฌาน จตุถฌาน ปัญจมฌาน ฌานก็จะมีองค์ฌานอยู่ ๕ คือมีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา วิตกหมายถึงยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ในขณะที่ได้ฌานนั้นก็คือสู่อารมณ์ที่เป็นนิมิตอยู่ วิจารก็เคล้าคลึงไปในอารมณ์ ปิติก็อิ่มในอารมณ์ สุขก็สบาย เอกัคคตา ก็ตั้งมั่นในอารมณ์



ผู้ที่ได้เข้าถึง ปฐมฌานนั้นจะต้องมีองค์ฌานเกิดขึ้นในจิต ซึ่งก็เป็นอาการในจิตมันเองหรือว่าเป็นเจตสิกต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่รวมกันอยู่ เรียกว่าตั้งมั่นในอารมณ์เดียว พอฌานที่ ๒ ก็เหลือเพียงวิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ไม่มีวิตก พอฌานที่ ๓ ก็ไม่มีวิจารมีแต่ปิติ สุข เอกัคคตา พอฌานที่ ๔ ก็ไม่มีปิติ มีแต่สุขกับเอกัคคตา พอฌานที่ ๕ ก็องค์ฌาน ๒ เหมือนกันแต่เปลี่ยนจากสุขเป็นอุเบกขา คือความวางเฉย ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว สุดยอดของการเจริญรูปฌานได้แค่นั้น ได้แค่อุเบกขา เอกัคคตา ได้แค่ปัญจมฌาน





ถ้าจะทำต่อขึ้นไปก็จะเป็นอรูปฌาน อารมณ์นั้นก็จะเพิกไปจากนิมิต จากกสิณจากอารมณ์ที่เพ่งอยู่นั้น เป็น อากาสานัญจายตนฌาน อรูปฌานที่ ๑ เพ่งอากาศว่างจากกสิณนั้นเป็นอารมณ์ เรียกว่ามีกสิณุคาติมากาสบัญญัติ เป็นอารมณ์ พอขึ้นอรูปฌานที่ ๒ ก็จะเป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ก็เพ่งนัตถิกภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ พอขึ้รอรูปฌานที่ ๒ ก็เป็นวิญญาณัญจายตนฌาน ก็หันมาเอาอากาสานัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ พอขึ้นอรูปฌานที่ ๓ ก็คือ อากิญจัญญายตนฌาน ก็เพ่ง นัตถิกภาวบัญญัติ เป็นอารมณ์คือความไม่มีอะไร



ความว่างเปล่าความไม่มีอะไรซึ่งเป็นบัญญัติชนิดหนึ่งเหมือนกัน ตรงนี้บางครั้งผุ้ที่ปฏิบัติถึงระดับนี้บางทีหลงไปว่าเป็นพระนิพพานแล้วได้ยินได้ฟังว่านิพพานเป็นลักษณะที่ดับที่ว่างจากตัวตน พอไปรับนัตถิกภาวบัญญัติความไม่มีอะไรทั้งหxxx็เลยนึกว่านี่คือถึงนิพพานแล้ว แต่ความจริงยังเป็นบัญญัติชนิดหนึ่งความไม่มีอะไร พออรูปฌานที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ก็กลับมาเพ่งอากิญจัญญายตนฌานเป็นอารมณ์ ก็สุดยอดได้แค่นั้น เรียกว่าได้ฌานสมาบัติ ๙ นับจากปัญจกนัย ถ้านับโดยจตุกกนัยก็เรียกว่า ฌานสมาบัติ ๘ จตุกกนัยก็หมายถึงว่านับรูปฌานแค่ ๔ คือคนที่ได้ถึงฌานที่ ๔ ก็จะมีอุเบกขากับเอกัคคตา



นั้นก็หมายถึงว่าการปฏิบัติของแต่ละท่านนั้นมีสติปัญญาต่างกัน บางคนปัญญาน้อยก็จะละองค์ฌานไปทีละอย่าง แต่แรกได้ปฐมฌานก็มีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา พอขึ้นฌานที่ ๒ ก็ละวิตกเหลือองค์ฌาน ๔ แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาก็จะละทีเดียว ๒ ขึ้นฌานที่ ๒ ละวิตกวิจารไปเลยพอฌานที่ ๒ เหลือ ปิติ สุข เอกัคคตา ฌานที่ ๓ ก็เหลือสุข เอกัคคตา พอฌานที่ ๔ ก็เหลืออุเบกขา เอกัคคตา



อันนี้สำหรับผู้มีปัญญามาก เพราะฉะนั้นอย่างนี้ผู้ที่มีปัญญามากก็ละทีละ ๒ เรียกว่า จตุตถฌานก็เหลืออุเบกขา เอกัคคตา นี่นับโดยจตุกกนัย ถ้าปัญจกนัยก็ละทีละอย่างเป็นรูปฌาน ๕ เป็นปัญจฌาน ฉะนั้นสมาบัติ ๘ นี่นับโดยจตุกกนัยผู้มีปัญญามาก ถ้าฌานสมาบัติ ๙ ก็เรียกว่าผู้มีปัญญาน้อยละไปทีละอย่าง อย่างนี้คือผลของการเจริญสมถะฌานต่าง ๆ ส่วนอีกอย่างเรียกว่าอภิญญา อภิญญาก็เป็นความรู้พิเศษ นี้ก็เกิดจากสมถกรรมฐาน



อภิญญาจริง ๆ นั้นมี ๖ อย่าง แต่เกิดจากการเจริญสมถะ ๕ อย่าง เกิดจากวิปัสสนาอย่างหนึ่งคือ



๑. อิทธิวิธี ได้แก่การแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหริย์ต่าง ๆ เช่น เนรมิตคนให้เป็นหลายคน แปลงกาย เหาะเหินเดินอากาศ เดินบนน้ำ แทรกลงไปในดิน อะไรต่าง ๆ นี่ก็เป็น อิทธิวิธี



๒. ทิพพจักษุคือตาทิพย์ที่สามารถจะเห็นสิ่งลี้ลับที่ไกลที่มีอะไรปกปิดไว้



๓. ทิพพโสต หูทิพย์ ฟังเสียงไกล เสียงทิพย์



๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณระลึกชาติได้



๕. ปรจิตวิชานนอภิญญา รูวาระจิตของผู้อื่นได้



อันนี้เป็นอภิญญาเกิดจากการเจริญสมถกรรมฐาน คือคนที่ได้ฌาน พอถึงปัญจมาฌาน ถ้าอดีตเคยเจริญฌานมาก่อน เคยมีอภิญญามาก่อน พอได้ถึงปัญจมฌานแล้วก็อภิญญาจะเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะหลายอย่างตามวาสนาบารมีที่ตัวเองสะสมเหตุปัจจัยนั้น ๆ ไว้ ถ้าหากคนไม่เคยมาก่อนหรือว่าเคยแต่ว่ามันห่างไกลภพชาติหนึ่ง ยาวนานมาแล้วก็จะไม่เกิดอภิญญา ได้แต่ฌาน ถ้าจะให้เกิดก็ต้องมาฝึกใหม่คือต้องทำอรูปฌานได้ด้วย ได้ฌานสมาบัติ ๘ หรือฌานสมาบัติ ๙ มาฝึกเข้าฌานออกฌานให้เป็นผู้ชำนาญ ได้วสี เมื่อมีความชำนาญแล้วอภิญญาก็เกิดขึ้นได้ ฉะนั้นฌานก็ดี อภิญญาก็ดีนี้เกิดจากการเจริญสมถกรรมฐาน



ส่วนอภิญญาข้อที่ ๖ อาสวักขยญาณ คือญาณที่ตัดกิเลสละกิเลสได้ อันนี้ต้องเกิดขึ้นจากการเจริญวิปัสสนา เหมือนพระพุทธเจ้าที่คืนวันตรัสรู้ปฐมฌานพระพุทธองค์ก็บบรลุปุพเพนิวาสานุสติ รู้อดีตชาติ แล้วก็จุตูปปาตญาณ รู้การเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลาย แล้วก็ปัจฉิมญาณก็เกิดอาสวักขยญาณ ตรงนี้เป็นผลของการเจริญวิปัสสนา ตอนแรกนั้นยังเป็นสมถะ ได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณหรือว่าจุตูปปาตญาณ ตอนนั้นยังเป็นผลของการเจริญสมถะ พอในปัจฉิมญาณนี้ก็เจริญวิปัสสนาแล้วก็เกิดอาสวักขยญาณตัดกิเลสได้




อ่านต่อ...


http://www.mahaeyong.org/Dharma/Compare.htm
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger

ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2005, 8:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ห้ามลูกปืนได้ แต่ห้ามปวดหัวไม่ได้ ไม่น่าเชื่อเลย
 
เขม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2005, 9:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำกรรมฐานเพื่อความพ้นทุกข์หรือทำเอาทุกข์ใส่หัว

ทำไมถึงต้องการฤทธิ์กันจัง

 
ไก่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2005, 4:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามความเห็นที่3 การยิงปืนไม่ออก ผมไม่ทราบ แต่เรื่องการปวดหัว เขาเรียกว่าเป็นอนิจจัง

ถ้าปวดไม่หาย ลองทันใจซักเม็ด เอ๋ยไม่ใช่ ลองกําหนดดู ความปวดนั้นก็จะหายไปเอง เพราะ

ทุกสิ่งล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไปเป็นธรรมดา ถ้าหากท่านเชื่อเรื่องกรรมเก่า ท่านก็ควร

แผ่เมตตาทุกครั้งที่ท่าน ทําบุญ หรือ หลังจากปฎิบัติกรรมฐานแล้ว เรื่องนี้คุณสนธิ ลิ้มทองกุล

เคยปฎิบัติมาแล้ว ได้ผลดี ผมเคยมีประสพการณ์เรื่องพวกนี้อยู่บ้าง ถ้าท่านต้องทราบ ก็mail

เข้ามาถามผมได้ เพราะพระอาจารย์ผมสอนไว้ว่า ควรให้ธรรมะแก่ผู้ต้องการเท่านั้น
 
anny
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2005, 9:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นก้อขอขอบคุณนะคะที่ช่วยตอบคำถามให้ที่ว่าทำไมปวดหัวโดยไม่มีสาเหตุทั้งที่สามารถห้ามปืนได้ คือตอนนี้อาการปวดหายไปแล้วละคะ มารู้ภายหลังคือลองใช้สมาธิตรวจดู มีสาเหตุจากกรรมเก่าในอดีตชาติคือ เคยเป็นนักรบชาติอดีต เคยทรมานเขาไว้ด้วยการใช้ปลายเหล็กแหลมทิ่งแทงหัวเขาให้เขารับผิด ตออนนี้เข้าใจที่รับกรรมมากขึ้น แล้วลองแผ่เมตตาให้หนักขึ้น ตอนนี้หายแล้วค่ะ ขอบคุณที่แนะนำค่ะ เมลล์มาคุยกันได้นะคะ
 
a
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ต.ค.2005, 1:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

vvvv
 
coo
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2006, 12:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากรู้ความหมาย และวิธีทดสอบอารมณ์ว่าเรากำลังฝึกสามธิได้ระดับไหนแล้ว

 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 23 ม.ค. 2006, 1:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดี คุณcoo



การที่จะอ่านและรู้ความหมายได้ลึกซึ้งก็ต้องผ่านสภาวะธรรมอันละเอียดที่บัญญัติไว้เป็นภาษาและตัวอักษร การสอบอารมณ์ว่าฝึกสมาธิได้ระดับไหน ครูบาอาจารย์ท่านก็คงถามถึงการปฏิบัติที่แต่ละคนผ่านสภาวะอย่างไรบ้าง แต่ไม่ใช่จำตำราไปตอบ จำตำราไปตอบมันจะวกไปวนมา คือสภาวะมันไม่ได้ สำคัญไม่ได้อยู่ตรงว่าถึงขั้นไหน อยู่ที่ว่าปฏิบัติแล้วปัญญาพิจารณาเป็นอย่างไร กิเลสเบาบางลงหรือไม่ เท่านั้น



เจริญในธรรม



มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง