Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อย่างไรเป็นการพิจารณาธรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สุ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2005, 3:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การพิจารณาธรรมตามนัยแห่งสติปัฏฐานสี่เป็นอย่างไร
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2005, 10:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มหาสติปัฏฐานสูตร



มหาสติปัฏฐาน หมายถึง ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธานใหญ่ สตินี้มีอารมณ์เป็นเครื่องระลึก 4 ประการ คือ



1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย

2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา

3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต

4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม



กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั้น ท่านได้แสดงบรรพ คือ ข้อกำหนดไว้ 6 ชนิด คือ



1. อานาปานบรรพ ข้อกำหนดด้วยลมหายใจเข้าออก

2. อิริยาบถบรรพ ข้อกำหนดด้วยอิริยาบถ

3. สัมปชัญญบรรพ ข้อกำหนดด้วยความรู้ชัดเจน

4. ปฏิกูลบรรพ ข้อกำหนดด้วยของน่าเกลียด

5. ธาตุบรรพ ข้อกำหนดด้วยธาตุทั้ง 4

6. นวสิวถิกาบรรพ ข้อกำหนดด้วยป่าช้าเก้า



การพิจารณากายเป็นอารมณ์ จัดเป็นกรรมฐานอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า รูปกรรมฐาน คือ การกำหนดรูปที่มองเห็นได้เป็นอารมณ์ โดยเป็นกรรมฐานเบื้องต้นแห่งสติปัฏฐานฯ

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั้น ท่านได้แสดงประเภทแห่งเวทนาไว้ 9 ประการ คือ



1. สุขเวทนา

2. ทุกขเวทนา

3. อทุกขมสุขเวทนา

4. อามิสสุขเวทนา

5. นิรามิสสุขเวทนา

6. สามิสทุกขเวทนา

7. นิรามิสทุกขสุจเวทนา

8. สามิสอทุกขมสุขเวทนา

9. นิรามิสอทุกขมสุขเวทนา



เวทนานี้ ส่วนที่ประกอบด้วยอามิส เป็นสภาพที่ควรละ ในส่วนที่ปราศจากอามิส เป็นสภาพที่ควรอบรมให้เกิดขึ้น สำเร็จได้ด้วยสติปัฏฐาน คือการพิจารณาให้รู้อยู่ทุกขณะที่เวทนานั้นๆเกิดขึ้นฯ



จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ท่านได้แสดงลักษณะของจิตให้พิจารณาโดยอาการ 16 ประการ คือ



1. สราคํ จิตฺตํ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ

2. วีตราคํ จิตฺตํ จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ

3. สโทสํ จิตฺตํ จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ

4. วีตโทสํ จิตฺตํ จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ

5. สโมหํ จิตฺตํ จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ

6. วีตโมหํ จิตฺตํ จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ

7. สงฺขิตฺตํ จิตฺตํ จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่

8. วิกฺขิตฺตํ จิตฺตํ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน

9. มหคฺคตํ จิตฺตํ จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต

10. อมหคฺคตํ จิตฺตั จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต

11. สอุตฺตรํ จิตฺตํ จิตมีธรรมยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมยิ่งกว่า

12. อนุตฺตรํ จิตฺตํ จิตไม่มีธรรมยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมยิ่งกว่า

13. สมาหิตํ จิตฺตํ จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสมาธิ

14. อสมาหิตํ จิตฺตํ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นสมาธิ

15. วิมุตฺตํ จิตฺตํ จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้นแล้ว

16. อวิมุตฺตํ จิตฺตํ จิตไม่หลุดพ้นแล้ว ก็รู้ชัดว่า จิตไม่หลุดพ้นแล้ว



ธรรม 4 ประการ คือ อวิชชา ตัณหา กรรม นามรูป ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น และจิตนั้นจักดับไปโดยสิ้นเชิง เพราะอวิชชา ตัณหา กรรม และนามรูป ดับไปโดยไม่เหลือ วิธีพิจารณาจิตนั้น คือ เมื่อจิตมีราคะ ความกำหนัดยินดีก็รู้ได้ชัดว่าจิตมีราคะ เมื่อหายจากราคะ ก็รู้ได้ชัดว่าจิตหายจากราคะแล้วฯ



ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั้น ท่านได้แสดงบรรพ คือข้อกำหนดไว้เพื่อพิจารณาธรรม 5 ข้อ คือ



1. นีวรณบรรพ ข้อกำหนดด้วยนิวรณ์ 5

2. ขันธบรรพ ข้อกำหนดด้วยขันธ์ 5

3. อายตนบรรพ ข้อกำหนดด้วยอายตนะ 12

4. โพชฌังคบรรพ ข้อกำหนดด้วยโพชฌงค์ 7

5. สัจจบรรพ ข้อกำหนดด้วยสัจจะ (อริยสัจ 4)



ผู้บำเพ็ญเพียรวิปัสสนา พิจารณาธรรมารมณ์นั้นๆ มีนีวรณบรรพเป็นต้น จนเห็นธรรมเหล่านั้น เป็นไปทั้งภายในและภายนอก โดยความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไป เพราะเหตุว่าทุกสิ่งล้วนมีอาการเกิดขึ้น เสื่อมสิ้นไปเสมอเหมือนกันทั้งหมด ทั้งในส่วนที่ชอบใจก็อยากให้คงอยู่ ในส่วนที่ไม่ชอบใจ ก็อยากจะให้เสื่อมสูญไป โดยมีสติคอยควบคุมอยู่ไม่ให้อิงอาศัยตัณหา ทิฏฐิ และไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทาน ชื่อว่าได้เห็นธรรม ฉะนั้น สติปัฏฐานทั้ง 4 นั้น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นอุบายให้ละสุภสัญญา เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นอุบายให้ละนิจจสัญญา จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นอุบายเพื่อให้ละนิจจสัญญา และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นอุบายเพื่อให้ละอัตตสัญญา



อานิสงส์แห่งการเจริญสติปัฏฐาน คือ



ผู้ใดหมั่นเพียรเจริญสติปัฏฐานทั้ง 4 ประการ ตลอด 7 ปีเป็นอย่างช้า หรืออย่างเร็ว 7 วัน ผู้นั้นย่อมหวังได้ซึ่งผลทั้งสองอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ



1. ได้เป็นพระอรหันต์ ในปัจจุบันชาติ

2. ได้เป็นพระอนาคามี ในปัจจุบันชาติ



ฉะนั้น สติปัฏฐาน 4 นี้ จึงเป็นเอกายนมรรค คือ ทางอันเอก หมายถึง ข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่นำบุคคลปฏิบัติไปสู่



1. เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย

2. เพื่อก้าวล่วงโสกะปริเทวะทั้งหลาย

3. เพื่อถึงความเไม่ติดอยู่แห่งทุกข์โทมนัส

4. เพื่อบรรลุญายธรรม

5. เพื่อทำนิพพานให้แจ้งฯ



สรุป อักษรที่ว่าด้วยภาษาและตัวหนังสือ จะเข้าใจได้ให้ละเอียดลึกซึ้ง ต้องลงมือปฏิบัติให้รู้ถึงสภาวะธรรมที่ปรากฎด้วยตัวของทุกท่านเอง



ธรรมะสวัสดี



มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง