Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 แจก 50 เล่ม หนังสือคู่มือการปฏิบัติธรรม แบบพองหนอยุบหนอ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
วิวัฒน์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2005, 8:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำนำ



หนังสือคู่มือโยคีเล่มนี้ อาตมภาพเรียบเรียงขึ้น เพื่อให้ความสะดวกญาติโยมที่มาเข้ากรรมฐาน จะได้มีหนังสือเพื่อกล่าวขอกรรมฐานและขอศีล และรู้วิธีการเจริญสติปัฏฐาน ๔ (ขั้นพื้นฐาน) ตลอดจนเข้าใจขั้นตอนของการเข้าและลากรรมฐาน ซึ่งจะช่วยให้โยคีสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และเหมาะสม ต่อไป



อาตมภาพหวังว่า หนังสือเล่มนี้คงจะอำนวยความสะดวกในการขึ้นและลากรรมฐาน และให้แนวทางการเจริญสติปัฏฐาน ๔ พอสมควร ขออนุโมทนาบุญ คุณสมพิศ แซ่ก่ำ พร้อมบุตร-ธิดา ที่รับเป็นเจ้าภาพในการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ เพื่อแจกเป็นธรรมทานแด่ โยคีผู้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทุกๆ ท่าน



หากมีสิ่งใดบกพร่องผิดพลาดในการเรียบเรียงครั้งนี้ หวังในความเมตตาจากท่านผู้รู้ได้ท้วงติงมาเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องในการจัดพิมพ์ครั้งต่อไป



ด้วยเมตตาธรรม

พระมหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต

วัดภัททันตะอาสภาราม

118/1 บ้านหนองปรือ ต.หนองไผ่แก้ว

อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 20220

โทร. 0-1713-0764, 0-3829-2361



วิธีขอกรรมฐาน



ให้ผู้ปฏิบัติธรรม กราบพระอาจารย์พร้อมกัน ๓ ครั้ง แล้วถวายดอกไม้ธูปเทียนแด่พระวิปัสสนาจารย์ กล่าวคำขอขมา และคำสมาทานศีลพร้อมกันว่า........



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)



ระตะนัตตะเย ปะมาเทนะ, ทะวาระตะเยนะ กะตัง,

สัพพัง อะปะราธัง, ขะมะถุ โน ภันเต,

อาจะริเย ปะมาเทนะ, ทะวาระตะเยนะ กะตัง,

สัพพัง อะปะราธัง, ขะมะถุ โน ภันเต,



กรรมชั่วอันใดที่เป็นบาปอกุศล, อันข้าพเจ้าได้ประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิน, ในคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์, ในครูบาอาจารย์, ด้วยกาย วาจา ใจ, ทั้งต่อหน้าและลับหลัง, จำได้หรือจำไม่ได้ก็ดี, ทั้งที่มีเจตนาหรือหาเจตนามิได้, เพื่อไม่ให้เป็นบาปเป็น

เวรเป็นกรรมต่อไปอีกฯ



พระว่า อะหัง โว ขะมามิ ตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง.

โยคีรับว่า ขะมามะ ภันเต.



ต่อไปให้สมาทานศีล ๘ พร้อมกันดังนี้...

มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.



หมายเหตุ ถ้าโยคีคนเดียว ให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง เปลี่ยนยาจามะ เป็น ยาจามิ

(ต่อไปให้ว่าเป็นวรรคๆ ไป)



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ว่า ๓ จบ )



พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.



(พระว่า) ติสะระณะคะมะณัง ปะริปุณณัง.

(โยคีรับพร้อมกันว่า) อามะ ภันเต.



๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท, คือเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นฆ่า)

๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท, คือเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นลัก)

๓. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท, คือเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์คือร่วมประเวณี)

๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเว้นจากการพูดเท็จ)

๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขา

ปะทัง สะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเว้นจากการดื่มน้ำเมา

และสิ่งเสพติดทุกชนิด)

๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล)

๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ, มาลาคันธะวิเลปะนะ, ธาระนะ มัณฑะนะ วิภูสะณัฏฐานา, เวระมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง, ประโคมดนตรี ดูการละเล่นต่างๆ, ตลอดจนลูบไล้ทัดทรงประดับ

ตบแต่งร่างกาย, ด้วยเครื่องหอม เครื่องย้อมเครื่องทาทุกชนิด)

๘. อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเว้นจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่, ภายในยัดด้วยนุ่นและสำลี)



(พระว่า) อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ.

(โยคีรับว่า) อามะ ภันเต.

เสร็จแล้วกล่าวคำขอพระกรรมฐานต่อไป.....



คำสมาทานกรรมฐาน



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( ว่า 3 จบ )



๑. อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ.

ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า, ข้าพระองค์ขอมอบกายถวายชีวิต ต่อพระรัตนตรัย, คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์



๒. อิมาหัง อาจะริยะ อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ.

ข้าแต่พระอาจารย์ผู้เจริญ, ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตัวต่อพระอาจารย์ เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน



๓. นิพพานัสสะ เม ภันเต สัจฉิกะระณัตถายะ กัมมัฏฐานัง เทหิ.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้ซึ่งกรรมฐานแก่ข้าพเจ้า, เพื่อทำให้แจ้งซึ่งมรรคผล นิพพานฯ



๔. เยเนวะ ยันติ นิพพานัง, พุทธา เตสัญจะ สาวะกา เอกายะเนนะ มัคเคนะ, สะติปัฏฐานะสัญญินา.

พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยะสาวก, ได้ดำเนินไปสู่พระนิพพานด้วยหนทางเส้นนี้, อันเป็นทางสายเอก, ซึ่งนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลายรู้ทั่วกันแล้วว่า, ได้แก่สติปัฏฐาน ๔ ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะอธิษฐานปฏิญาณตนต่อพระรัตนตรัย, และต่อครูบาอาจารย์ว่า, ตั้งแต่นี้ต่อไป ข้าพเจ้าจะตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติจริงๆ, เท่าที่ตนสามารถ เท่าที่ตนมีโอกาสจะ ปฏิติได้, เพื่อให้ได้บรรลุมรรคผล นิพพาน ในปัจจุบันด้วยเทอญ



๕. อัทธุวัง เม ชีวิตัง, ธุวัง เม มะระณัง, อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง, มะระณะปะริโยสานัง เม ชีวิตัง, ชีวิตะ เมวะ อะนิยะตัง, มะระณัง นิยะตัง.

ชีวิตของเราเป็นของไม่ยั่งยืน, ความตายเป็นของยั่งยืน, เราจะต้องตายแน่, เพราะว่าชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด, ชีวิตเป็นของไม่แน่นอนแท้, เป็นโชคอันดีเป็นลาภอันประเสริฐ, ที่เราได้มาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน, ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา



๖. อะหัง สุขิโต โหมิ, นิททุกโข โหมิ, อะเวโร โหมิ, อัพพะยาปัชโฌ โหมิ, สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ. ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข, ปราศจากความทุกข์, ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความเบียดเบียนซึ่งกันและกัน, ไม่มีความลำบาก ไม่มีความเดือดร้อน, ขอให้มีความสุขรักษาตนอยู่เถิด



๗. สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ, นิททุกขา โหนตุ, อะนีฆา โหนตุ, สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ.

ขอให้สัตว์ทั้งหลายทุกตัวตน จงเป็นผู้มีความสุข, ปราศจากความทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย, ไม่มีความเบียดเบียนซึ่งกันและกัน, ไม่มีความลำบากไม่มีความเดือดร้อน, ขอให้มีความ สุข รักษาตนอยู่เถิด.



๘. อิมายะ ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา, ระตะนัตตะยัง ปูเชมิ.

ข้าพเจ้าขอบูชาพระรัตนตรัย, ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนี้, และด้วยสัจจะวาจาที่ได้กล่าวอ้างมานี้, ขอให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จผลสมความปรารถนา ในเวลาอันไม่ช้าด้วยเทอญ.



เสร็จแล้วกราบลง ๓ ครั้ง

------------------



หลักการปฏิบัติโดยย่อ

---------------------------------------

๑. วางความรู้เก่า / ไม่นำมาปนกัน

๒. ทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติใหม่ / และปฏิบัติตามนั้น

๓. วางใจในขณะปฏิบัติ / ไม่หวังอะไร

๔. เก็บสายตา/ไม่มองนั่นมองนี่ /กำหนดและรู้อาการ

๕. เคลื่อนไหวร่างกายช้าๆ / เหมือนคนป่วยหนัก

๖. กำหนดให้ทันปัจจุบัน / คำบริกรรมและจิตที่เข้าไปรู้ อาการต้องพร้อมกัน

๗. ปฏิบัติให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นนอนถึงเข้านอน

๘. งดการพูดคุย และการใช้โทรศัพท์โดย เด็ดขาด

๙. เชื่อฟังและปฏิบัติตามที่ครูอาจารย์ และคณะวิทยากรแนะนำโดยเคร่งครัด,



ระเบียบการปฏิบัติธรรม

• รักษาศีล ๘ (ยกเว้นผู้ที่ป่วยอาจรักษาเพียงศีล ๕ ได้)

• งดการพูดคุย ทักทาย หรือส่งอารมณ์กันเอง

• งดการอ่าน เขียน หนังสือ ที่ไม่จำเป็น หรือฟังวิทยุ (อนุญาตให้จดบันทึกระหว่างการฟังธรรมได้)

• งดการใช้โทรศัพท์ และไม่ติดต่อกับใครๆ (ให้ฝากโทรศัพท์ไว้กับเจ้าหน้าที่)

• ห้ามสูบบุหรี่ และ สิ่งเสพติดทุกชนิด

• ไม่ออกนอกบริเวณอาคารถานที่ๆ กำหนดให้

• เวลาเปิดหรือปิดประตู อย่าให้มีเสียงดังรบกวนผู้อื่น

• ในระหว่างกำลังปฏิบัติธรรมอยู่ ห้ามออกมารับญาติ (ถ้าไม่มีญาติมาเยี่ยมจะดีมาก)

• รักษาความสงบ และลงปฏิบัติตามตารางปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

• ไม่นำวิธีการปฏิบัติแบบอื่นมาใช้ระหว่างการปฏิบัติธรรมหลักสูตรนี้

• ต้องส่งอารมณ์ตามตาราง วันและเวลาที่กำหนดให้

• ปฏิบัติตามคำสอนของพระวิปัสสนาจารย์โดยเคร่งครัด

• หากมีปัญหา ให้ปรึกษาพี่เลี้ยง หรือพระวิปัสสนาจารย์



ตารางเวลาปฏิบัติธรรม

เวลา ภาคเช้า

๐๓.๓๐ น. - ๐๔.๐๐ น. ตื่นนอน /กำหนดอิริยาบถย่อย /ทำกิจส่วนตัว

๐๔.๐๐ น. - ๐๖.๐๐ น. เดินจงกรม-นั่งสมาธิ

๐๗.๐๐ น. - ๐๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า/กำหนดอิริยาบถย่อย

๐๘.๐๐ น. - ๑๐.๓๐ น. เดินจงกรม-นั่งสมาธิ /ส่งอารมณ์

๑๑.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน /กำหนดอิริยาบถย่อย

เวลา ภาคบ่าย

๑๓.๐๐ น. - ๑๗.๐๐ น. เดินจงกรม-นั่งสมาธิ / ส่งอารมณ์

๑๗.๐๐ น. - ๑๘.๐๐ น. อาบน้ำ / กำหนดอิริยาบถย่อย

เวลา ภาคกลางคืน

๑๘.๐๐ น. - ๒๒.๐๐ น. เดินจงกรม-สมาธิ/ส่งอารมณ์

๒๒.๐๐ น. – ๐๓.๓๐ น. กำหนดนอน /หลับพักผ่อน



หมายเหตุ กรุณามาและกลับให้ตรงเวลา



หลักการเจริญสติปัฏฐานโดยย่อ

-------------

วิธียืนกำหนด

การยืนกำหนด เป็นการฝึกปฏิบัติแนวสติปัฏฐาน ในหมวดว่าด้วยอิริยาบถ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า ฐิโต วา ฐิโตมฺxxxติ ปชานาติ แปลว่า เมื่อยืนอยู่ ก็มีสติกำหนดรู้ตัวว่ายืนอยู่ ดังนี้

คำกำหนด : ยืนหนอๆๆ



วิธีปฏิบัติ :

๑. ยืนตัวตรง ศีรษะตรง เท้าทั้งสองห่างกันเล็กน้อย

๒. สายตาทอดลงพื้น ห่างจากปลายเท้าประมาณ ๔ ศอก (หรี่ตาลงครึ่งหนึ่ง หรือจะหลับตาก็ได้)

ต่อไปให้กำหนดเก็บมือ

๓. ขณะที่ยกมือซ้ายไขว้ไว้ด้านหลัง กำหนดว่า ยกหนอๆๆ

ไปหนอๆๆ ขณะหลังมือซ้ายถูกบั้นเอว กำหนดว่า ถูกหนอ

๔. ขณะที่ยกมือขวาไปไขว้ไว้ด้านหลัง กำหนดว่า ยกหนอๆๆ

ไปหนอๆๆ ขณะมือขวาถูกฝ่ามือซ้ายกำหนดว่า ถูกหนอ ขณะมือซ้ายจับข้อมือขวา กำหนดว่า จับหนอ ๕. ถ้าจะเอามือไว้ด้านหน้า กำหนดว่า ยกหนอ, มาหนอ, ถูกหนอ, ยกหนอ, มาหนอ, ถูกหนอ, จับหนอ, ทั้งซ้ายและขวาให้กำหนดอาการเคลื่อนไหวเหมือนกัน

๖. เอาสติกำหนดรู้ที่อาการยืน (คืออาการตั้งตรงของร่าง กายทั้งหมด ไม่จดจ่ออยู่จุดใดจุดหนึ่ง) กำหนดว่า ยืนนอๆๆ

(ดูตัวอย่างรูปที่ ๑ )



รูปที่ ๑ การยืนกำหนด



วิธีกำหนดเดินจงกรม ๑ ระยะ

คำกำหนด : ขวาย่างหนอ, ซ้ายย่างหนอ



วิธีปฏิบัติ :

๑. เอาสติตั้งไว้ที่อาการตั้งตรงของร่างกาย กำหนดว่า

ยืนหนอๆๆ

๒. กำหนดว่า ขวา พร้อมยกเท้าขวาขึ้นช้าๆ สูงประมาณ ๑ นิ้ว (คำบริกรรมกับอาการยกเท้าต้องพร้อมกัน)

๓. กำหนดว่า ย่าง พร้อมกับค่อยๆเคลื่อนเท้าไปข้างหน้า จนส้นเท้าขวาเลยปลายเท้าซ้าย ประมาณ๑ นิ้ว แล้วหย่อนฝ่าเท้าลงสู่พื้น

๔. ขณะที่หย่อนฝ่าเท้าลงแล้วแตะถูกพื้น กำหนดว่า หนอ สิ้นสุดอาการเดิน (ให้วางเท้าลงพร้อมกัน ไม่เอาส้นเท้า หรือปลายเท้าลงก่อน)

๕. เท้าซ้ายก็ให้กำหนดเช่นเดียวกับเท้าขวา กำหนดว่า ซ้ายย่างหนอ (ให้มีสติรู้ว่า…นี่ขวากำลังย่าง หรือนี่ซ้ายกำลังย่าง)

๖. คำกำหนด และสติที่รู้อาการเคลื่อนไปของเท้า ต้องให้ไปพร้อมกัน ไม่ก่อนไม่หลังกว่ากัน โดยกำหนดรู้อาการเคลื่อน ไหวของเท้าจากเบื้องหลังไปสู่เบื้องหน้า

๗. ขณะเดินจงกรมให้ระวังสายตา ไม่มองนั่นมองนี่ ให้เก็บสายตา จะเดินได้สมาธิดี

๘. ระวัง ? ไม่ยกเท้าสูง ไม่ก้าวขายาว ไม่กระดกเท้าไปข้างหลัง ไม่เอาปลายเท้า หรือ ส้นเท้าลงก่อน ไม่มองดูเท้า

๙. ไม่มองดูรูปร่างสัณฐานของเท้า แต่ให้ส่งความรู้สึกไปที่เท้า รับรู้อาการเคลื่อนไหวของเท้า ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการเดิน

๑๐. ให้เดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิทุกครั้ง จะทำให้การนั่งได้ดี ไม่ง่วง อินทรีย์เสมอกัน

๑๑. ขณะเดินจงกรมอยู่ ถ้ามีอารมณ์อื่นแทรกเข้ามา และเป็นอารมณ์ที่ชัดเจน เช่น ความคิด, เสียง ให้หยุดเดิน ก่อนแล้ว ตั้งสติกำหนดอารมณ์นั้นๆ ว่า คิดหนอๆๆ หรือ ได้ยินหนอ ๆๆ จนความคิด หรือเสียงนั้นๆ เบาไป หายไป จึงกลับมากำหนดรู้ที่อาการเดินต่อไป ไม่ควรเดินไปด้วยกำหนดอารมณ์อื่นไปด้วยจะ เป็น ๒ อารมณ์ หรือกำหนดเพียง ๓ ครั้ง ( ดูตัวอย่างรูปที่ ๒ )



รูปที่ ๒ วิธีกำหนดเดินจงกรม ๑ ระยะ

วิธีกำหนดกลับตัว

เมื่อเดินไปจนสุดทางเดินแล้วให้กำหนดกลับตัวดังนี้

๑. ขณะยืนอยู่ สติรู้อยู่ที่อาการยืน (คืออาการตั้งตรงของร่างกาย) กำหนดว่า ยืนหนอ ๓ ครั้ง

๒. ตั้งสติไว้ที่เท้าข้างขวา ขณะกำหนดว่า กลับ ให้ยกเท้าขวาขึ้นนิดหนึ่ง แล้วหมุนไปทางขวามือ (คำว่า ขณะ คือคำนึกในใจกับอาการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เริ่มต้นและสิ้นสุดพร้อมกัน ไม่ก่อนหรือหลังกว่ากัน)

๓. ขณะกำหนดว่า หนอ ให้ค่อยๆวางปลายเท้าลงแนบกับพื้น

๔. ขณะกำหนดว่า กลับ ให้ยกเท้าซ้ายขึ้นนิดหนึ่งแล้วหมุนไปทางเท้าขวา

๕. ขณะกำหนดว่า หนอ ให้ค่อยๆวางเท้าซ้ายลงกับพื้นเคียงเท้าขวา ให้ทำอย่างนี้จนตรงทางเดิน

๖. เมื่อกลับจนตรงทางเดินแล้ว ให้กำหนดว่า ยืนหนอๆๆ ๓ ครั้ง จึงกำหนด ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เดินกลับทางเดิมต่อไป

๗. ขณะกลับตัว สติให้รู้อยู่ที่อาการหมุนกลับของเท้า หรืออยู่ที่ร่างกายที่กำลังหมุนกลับอยู่ แล้วแต่อาการใดชัดเจนก็ให้กำหนดรู้อาการนั้น

๘. การกำหนดกลับ จะกลับกี่ครั้งก็ได้ แต่อย่างน้อยไม่ควร ต่ำกว่า ๔ คู่ ( ๘ ครั้ง) จิตถึงจะเป็นสมาธิเร็ว

๙. ถ้ารู้สึกถึงต้นจิต (อาการอยาก) เช่น อยากจะเดิน หรืออยากจะกลับ ให้กำหนดต้นจิตก่อน โดยกำหนดว่า อยากเดินหนอ ๆๆ หรือ อยากกลับหนอๆๆ แล้วค่อยเดิน หรือกลับตัว ( ดูตัวอย่างรูปที่ ๓ )



รูปที่ ๓ วิธีกำหนดกลับตัว

วิธีกำหนดขณะลงนั่งสมาธิ

เมื่อเดินจงกรมไปจนครบเวลาที่กำหนดไว้แล้ว ให้เดินไปสู่ที่ปูอาสนะ ด้วยการเดินกำหนดระยะเหมือนเดิม และก่อนที่จะนั่งสมาธิให้กำหนดปล่อยแขนก่อนดังนี้

๑. ขณะยืนอยู่ สติกำหนดรู้ที่อาการยืน กำหนดว่า ยืนหนอๆๆ

๒. กำหนดว่า เคลื่อนหนอๆๆ พร้อมกับค่อยๆยกมือขวาออกจากข้อมือซ้าย (แล้วแต่ด้านที่จับกันไว้)

๓. กำหนดว่า เคลื่อนหนอๆๆ พร้อมกับปล่อยมือซ้ายลงข้างลำตัวช้าๆ สติกำหนดรู้อาการเคลื่อนลงของมือตลอดสาย

๔. มือขวาก็กำหนดเช่นเดียวกับมือซ้าย โดยกำหนดว่า......

เคลื่อนหนอๆๆ ลงหนอๆๆ ตามอาการ

๕. กำหนดรู้จิตที่อยากจะนั่ง กำหนดว่า อยากนั่งหนอๆๆ

๖. ขณะย่อตัวลง " ลงหนอๆๆ

๗ ขณะที่เข่าถูกพื้น " ถูกหนอ

๘. ขณะที่สะโพกถูกส้นเท้า “ ถูกหนอ

๙. ขณะที่นั่งเรียบร้อยแล้ว " นั่งหนอๆๆ

๑๐. ขณะยกมือขวามาวางบนหัวเข่าขวา " ยก/ มา/ ลงหนอ/ถูกหนอ

๑๑. ขณะยกมือซ้ายมาวางบนหัวเข่าซ้าย " ยกหนอ, มาหนอ, ลงหนอ, ถูกหนอ



วิธีกำหนดขณะจะนั่งขัดสมาธิ

๑. ขณะนั่งอยู่ กำหนดว่า นั่งหนอๆๆ

๒. ขณะยกตะโพกขึ้น “ ยกหนอๆๆ

๔. ขณะนั่งทับลงไป “ ลงหนอๆๆ

๕. ขณะขยับดึงเท้าออกมา กำหนดว่า ขยับ,ดึงหนอๆๆ

ขณะยกมือขวา-ซ้ายมาไว้บนหัวเข่า “ ยกหนอ, มาหนอ, ลงหนอ, ถูกหนอ

๖. ขณะยืดตัวขึ้นตั้งตัวตรง “ ยืดหนอๆ,ตั้งหนอ

๗. ขณะหลับตา “ หลับ (ตา) หนอ

๘. ขณะยกมือซ้ายมาไว้บนตัก “ พลิกหนอ, มาหนอ, ลงหนอ, ถูกหนอ

๙ ขณะยกมือขวามาไว้บนตัก “ พลิกหนอ, มาหนอ, ลงหนอ, ถูกหนอ



ข้อควรระวังในการเดินจงกรม

๑. ขณะกำหนดว่า ขวา ต้องยกเท้าขวา และขณะกำหนดว่า ย่าง เท้าต้องเคลื่อนไปข้างหน้า ขณะกำหนดว่า หนอ ฝ่าเท้าต้องลงถูกพื้นพร้อมกันทั้งส้นเท้าและปลายเท้า เรียกว่ากำหนด ได้ปัจจุบัน

๒. อย่าหลับตาเดิน ให้หรี่ตาลงครึ่งหนึ่ง ส่วนสายตาให้ทอดลงพื้นประมาณ ๔ ศอก (ไม่เพ่งดูพื้น ให้ดูเฉยๆ แบบสบายๆ)

๓. ขณะเดินอยู่ ต้องไม่สอดส่ายสายตามองดูไปรอบๆตัว ให้สนใจเฉพาะแต่อาการเคลื่อนไหวของเท้าเท่านั้น

๔. อย่ายกเท้าสูง อย่าก้าวเท้ายาว อย่าเดินเร็ว อย่าเกร็งตัว ให้เดินสบายๆเหมือนเดินทั่วไป แต่ให้ช้าๆ และ มีสติ

๕. อย่าก้มดูเท้า ให้ส่งแต่ความรู้สึกไปจับที่อาการเคลื่อนไหวของเท้าแต่ละขั้นตอนของการก้าวเท้าอย่างละเอียด ให้รู้ ต้น กลาง ปลาย

๖. ถ้าง่วง ให้เดิน ๑ ระยะ เร็ว ถ้าปกติให้เดินช้าๆ เหมือนคนป่วย เพื่อสติจะได้ตามดูอาการของกายได้ทัน

๗. ให้ตามรู้อาการของเท้าทุกระยะ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดการเคลื่อนไหว ต้น กลาง ปลาย เป็นตอนๆ ไป ไม่ต้องพูดออกเสียงให้ว่าในใจ

๘. ถ้าหากต้องการเปลี่ยนแขน ให้หยุดเดิน แล้วกำหนดต้นจิตก่อนว่า อยากเปลี่ยนหนอ ๓ ครั้ง แล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยน ให้กำหนดรู้ตามอาการเคลื่อนไหวทุกอย่าง อย่าให้ขาดสติ

๙. ขณะเดินอยู่ ถ้าเผลอจิตคิดไปข้างนอก, เหลือบตาไปมองข้างนอก ได้ยินเสียง, ได้กลิ่น เป็นต้น ให้หยุดยืนเท้าชิดกัน ตั้งสติกำหนดไปที่อารมณ์นั้นๆว่า คิดหนอ, เห็นหนอ, ได้ยินหนอ, ได้กลิ่นหนอ, ฯลฯ ให้กำหนดจนกว่าอารมณ์นั้นๆ จะหายไป แล้วกลับมาเดินจงกรมต่อไป อย่าเดินไปด้วยกำหนดไปด้วย จะเป็นสองอารมณ์



ท่าเดินที่ถูกต้อง และไม่ถูกต้อง



วิธีนั่งกำหนด

ท่านั่งสมาธิ ๓ แบบ

๑. ท่านั่งแบบเรียงขา คือนั่งพับเข่าซ้ายงอเข้ามาข้างใน ให้ฝ่าเท้าซ้ายชิดกับขาขวาด้านใน แล้วพับเข่าขวางอเข้ามา ให้ส้นเท้าขวาแตะกับสันหน้าแข้งซ้าย (ดูรูปตัวอย่างที่ ๑)

รูปที่ ๑ ท่านั่งแบบเรียงขา



๒. ท่านั่งแบบทับขา คือ ให้นั่งเหมือนแบบที่ ๑ แต่ให้ยกเท้าขวาวางบนน่องซ้าย (ดูรูปตัวอย่างที่ ๒)

รูปที่ ๒ ท่านั่งแบบทับขา



๓. ท่านั่งแบบขัดสมาธิเพชร คือ นั่งเอาขาขัดกันทั้งสองข้าง เป็นท่านั่งที่มั่นคงมาก แต่จะมีเวทนามาก โยคีใหม่ไม่ควรนั่ง ท่านี้ สำหรับโยคีเก่า ถ้าจะลองนั่งดูก็จะได้ประสบการณ์อีกแบบหนึ่ง (ดูรูปตัวอย่างที่ ๓)

รูปที่ ๓ ท่านั่งแบบขัดสมาธิเพชร



วิธีหาพองยุบ (สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมใหม่)

รูปที่ ๔ ท่านั่งหาพองยุบ โดยเอามือแตะที่หน้าท้อง



ผู้ปฏิบัติธรรมใหม่ ถ้าหาพองยุบไม่เจอให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้...

๑. ต้องนั่งตัวตรง หลังตรง หายใจตามปกติ ไม่ตะเบ็งท้อง

๒. ใช้ฝ่ามือทาบที่หน้าท้องกดเล็กน้อย หลับตา ส่งความ รู้สึกไปที่หน้าท้อง จะรู้สึกถึงอาการเคลื่อนไหวขึ้นลงของท้องได้ชัดเจน

๓. ในตอนแรกนี้ ให้รู้ว่านี่คืออาการพอง นี่คืออาการยุบก็พอ ยังไม่ต้องใส่คำบริกรรม จับความรู้สึกตรงนี้ให้ได้ก่อน

๔. เมื่ออาการพองยุบชัดดีแล้ว จึงใส่คำกำหนดตามอาการ ถ้าใส่หนอยังไม่ทัน อาการยุบหรือพองขึ้นมาก่อนก็ยังไม่ต้องใส่ กำหนดเพียง พอง…ยุบ…ก็พอ ถ้าอาการพองยุบยาวเป็นปกติแล้ว ต้องใส่หนอทุกครั้ง เพื่อเพิ่มกำลังสมาธิและเป็นการคั่นรูปนามให้ชัดเจนขึ้น

๕. ถ้ายังหาพองยุบไม่เจอ ให้เปลี่ยนฐานไปกำหนด นั่งหนอ ถูกหนอ แทนพองยุบก็ใช้ได้ หรือในขณะนั้นอารมณ์ไหนชัดเจน ก็ตั้งสติกำหนดอารมณ์นั้น ก็ใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นอาการพองยุบเสมอไป เมื่อกำหนดนั่งหนอถูกหนอไปนานๆ สมาธิ มากขึ้น อาการพองยุบก็จะปรากฏขึ้นมาชัดเจนเองเวลานั้นค่อยมากำหนด พองยุบ

๖. ถ้าพองยุบปกติ ให้กำหนดว่า พองหนอยุบหนอ ถ้าพองยุบค่อนข้างเร็ว ให้กำหนดว่า พอง.. ยุบ ๆ ถ้าเร็วมากจนกำหนดไม่ทัน ให้กำหนดว่า รู้หนอๆๆ ถ้าพองยุบไม่มีให้กำหนด นั่งหนอ-ถูกหนอ แทน



วิธีกำหนดนั่ง ๒ ระยะ

รูปที่ ๕ วิธีนั่งกำหนด ๒ ระยะ



คำกำหนด : (๑) พองหนอ (๒) ยุบหนอ

วิธีปฏิบัติ :

๑. นั่งขัดสมาธิตามแบบที่ตนชอบ ตั้งตัวตรง หลังตรง ศีรษะตรง

๒. หลับตา มือขวาทับมือซ้ายวางซ้อนกันไว้ที่หน้าตัก

๓. ส่งสติไปที่หน้าท้อง ตรงใจกลางสะดือ

๔. ขณะท้องพองขึ้น สติกำหนดรู้อาการพอง กำหนดว่า พอง ไปจนสุดพองแล้วกำหนดว่า หนอ ให้พร้อมกับท้องสุดพอง โดยกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของท้อง จากภายในพองออกสู่ภายนอก

๕. ขณะท้องยุบลง สติกำหนดรู้อาการยุบของท้องกำหนด ว่า ยุบ ไปจนสุดยุบ แล้วกำหนดว่า หนอ ให้พร้อมกับท้องสุดยุบ โดยกำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของท้อง จากภายนอกยุบเข้าข้างใน

๖. อาการที่ท้องพองขึ้นหรือยุบลง และคำบริกรรมกับใจที่รู้อาการ พองยุบนั้น ต้องให้พร้อมกัน ไม่ก่อนไม่หลังกว่ากัน

๗. อย่าหายใจแรง อย่าตะเบ่งท้อง อย่ากั้นลมหายใจ อย่า ตามดูลมหายใจ ให้หายใจตามปกติ และเป็นธรรมชาติ

๘. นั่งหนอ สติรู้อาการนั่ง (คืออาการคู้งอของขาและการตั้งตรงของลำตัว) ถูกหนอ สติรู้อาการถูกต้องสัมผัส ที่ก้นย้อยด้านขวา หรือที่ฝ่ามือที่วางซ้อนกัน หรือที่ไหนก็ได้ที่รู้สึกถูกชัดเจน

๙. ในขณะนั่งกำหนดรู้อาการพองยุบอยู่ ถ้ามีอารมณ์อื่นๆที่ชัดเจนแทรกเข้ามา เช่น คิด, ปวด, ง่วง, ได้ยิน, เห็นภาพนิมิต, สงสัย, เบื่อ, เป็นต้น ให้หยุดกำหนดพองยุบไว้ก่อน แล้วตั้งสติกำหนดอารมณ์ที่มาใหม่ตามอาการที่รู้สึก เช่น คิดหนอๆๆ, ปวดหนอๆๆ, ง่วงหนอๆๆ, ได้ยินหนอๆๆ, เห็นหนอๆๆ, จนอารมณ์นั้นๆ ดับไป จางไป (อย่ากำหนดเพียง ๓ ครั้ง) แล้วค่อยกลับมากำหนดอาการพองยุบ หรือนั่งถูกต่อไป



วิธีนั่งกำหนด ๒ ระยะ (นั่งหนอถูกหนอ)

รูปที่ ๖ วิธีนั่งกำหนด ๒ ระยะ นั่งหนอถูกหนอ ( ใช้แทนพองยุบ )



คำกำหนด : (๑) นั่งหนอ (๒) ถูกหนอ (ที่ก้นย้อยด้านขวา)

วิธีปฏิบัติ :

๑. นั่งขัดสมาธิตามแบบที่ตนชอบ

๒. กำหนดว่า นั่งหนอ พร้อมทำความรู้สึกตัวว่า ตนกำลังนั่งอยู่ คือรู้ในอาการที่ตัวนั่งอยู่นั้น

๓. ขณะกำหนดรูปนั่ง ไม่ให้ตามดูรูปพรรณสัณฐาน เช่น ศีรษะ คอ หรือขา ส่วนใดส่วนหนึ่ง ให้กำหนดรู้อาการนั่งเท่านั้น

๔. กำหนดว่า ถูกหนอ พร้อมส่งความรู้สึกถูกต้องไปที่ก้นย้อยด้านขวา (หรือตรงที่กายสัมผัสชัดเจนส่วนใดส่วนหนึ่ง)

๕. ไม่ต้องสนใจลมหายใจหรืออาการพองยุบ เพราะนั่งหนอถูกหนอ ไม่เกี่ยวกับลมหายใจ หรืออาการพองยุบ

๖. นั่งหนอ ถูกหนอ จะใช้ต่อเมื่ออาการพองยุบปรากฏ

ไม่ชัดเจน หรือพองยุบไม่มี หรือต้องการย้ายอารมณ์ไม่ให้นิ่งอยู่

ที่เดียว เป็นการแก้อารมณ์การนิ่ง การเฉย การไม่อยากกำหนด และสามารถแก้อาการง่วงได้ด้วย

๗. ขณะที่กำหนด นั่งหนอถูกหนอ คำบริกรรมและความรู้ สึกในอาการนั่ง หรืออาการถูก ต้องไปพร้อมกัน ไม่ท่องแต่ปากเท่านั้น ต้องรู้สึกในอาการนั้นๆด้วย

๘. ต้องกำหนดให้ได้จังหวะพอดี ไม่เร็วเกินไป ไม่ช้าเกินไป ให้เป็นธรรมชาติ

๙. สำหรับผู้ที่เคยทำอานาปานสติ คือ (กำหนดลมหายใจ

พุทโธ ๆๆๆ มาก่อน) ถ้ากำหนดพองยุบไม่ได้ ให้กำหนด นั่งหนอถูกหนอ ไปก่อน เมื่ออาการพองยุบชัดเจนแล้ว ค่อยกลับมากำหนดพองยุบทีหลัง

๑๐. ต้องกำหนดและรู้อาการนั่ง อาการถูกไปด้วย อย่าบริกรรมเฉยๆ โดยไม่รู้อาการ



วิธีกำหนดออกจากสมาธิ

เมื่อโยคีนั่งสมาธิมาครบกำหนดเวลาที่ตั้งใจไว้แล้ว เมื่อจะออกจากสมาธิ ควรกำหนดการออกให้ละเอียด เพื่อให้สติ สมาธิ ต่อเนื่อง มีวิธีกำหนดโดยย่อดังนี้...



๑. ขณะได้ยินเสียงนาฬิกา กำหนดว่า ได้ยินหนอๆๆ

๖. ขณะยกมือไปวางบนเข่า " ยก /ไป /วางหนอ

๒. ขณะอยากลืมตาขึ้น " อยากลืมหนอๆๆ

๓. ขณะลืมตาขึ้น " ลืมหนอ

๔. ขณะเห็นภาพ " เห็นหนอๆๆ

๕. ขณะกระพริบตา " กระพริบหนอๆๆ

๗. ขณะอยากขยับเท้า " อยากขยับหนอๆๆ

๘. ขณะขยับร่างกาย " ขยับหนอๆๆ

๗. ขณะอยากลุกขึ้น " อยากลุกหนอๆๆ

๘. ขณะลุกขึ้นยืน " ลุกหนอๆๆ

๙. ขณะเดินเข้าห้องน้ำ /เดินไปสู่ที่จงกรม " ขวาย่าง /ซ้ายย่าง-หนอ



ข้อควรระวังในขณะนั่งสมาธิ

๑. อย่านั่งตัวงอ อย่านั่งพิงผนัง/กำแพง จะทำให้วิริยะหย่อน ถีนะมิทธะนิวรณ์ ความง่วงเข้าง่าย

๒. อย่าหายใจแรง อย่ากั้นลมหายใจ อย่าตะเบ็งท้อง จะทำให้ท่านเหนื่อย และเกิดความเบื่อหน่ายในเวลาต่อมา

๓. อย่านั่งนานเกินเวลาที่อาจารย์กำหนดให้ เดินกับนั่งต้องรักษาเวลาให้เท่ากัน เพื่อให้สมาธิอินทรีย์ กับ วิริยะอินทรีย์เสมอกัน

๔. อย่าลืมตา อย่าเคลื่อนไหวร่างกาย ถ้าจำเป็นต้องเคลื่อน ไหว ให้กำหนดต้นจิตก่อน และกำหนดรู้อาการที่เคลื่อนไหวนั้นทุกขั้นตอน

๕. อาการพองยุบ เป็นอารมณ์ของการนั่งกำหนดก็จริง แต่ไม่ใช่เป็นอารมณ์เดียวที่โยคีต้องกำหนด ถ้าพองยุบไม่มี ให้กำหนดนั่งหนอ ถูกหนอ แทน หรืออารมณ์ไหนปรากฏชัดเจน ให้ไปกำหนดอารมณ์นั้น ไม่ต้องคอยแต่พองยุบเท่านั้น

๖. อย่าส่งจิตไปหาอารมณ์ ควรให้อารมณ์วิ่งมาหาจิตเอง ค่อยกำหนดตาม อย่าเลือกกำหนดแต่อารมณ์ที่ตัวชอบ

๗. อย่ากำหนดที่ลมหายใจเข้าออก หรือกำหนดที่คำพูด แต่ให้ตั้งสติกำหนดรู้ ที่อาการเคลื่อนไหวของหน้าท้องเท่านั้น

๘. อย่ากำหนดอยู่เพียงอารมณ์เดียว เมื่อมีอารมณ์อื่นชัดเจนแทรกเข้ามา ต้องเข้าไปกำหนดรู้เสมอ จิตจะได้ตื่นไว มีสติรู้อยู่ตลอด

๙. ถ้าอาการพองยุบเร็ว จนกำหนดไม่ทัน ให้กำหนดว่า รู้หนอ คือรู้ในอาการเร็วนั้น ให้กำหนดพอดีๆ ไม่เร็วหรือช้าเกินไป



ท่านั่งที่ถูกต้อง และไม่ถูกต้อง

วิธีนอนกำหนด

๑. ท่านอนแบบสีหะไสยาสน์

รูปที่ ๑ ท่านอนแบบสีหะไสยาสน์

๒. ท่านอนแบบธรรมดา (นอนหงาย)

รูปที่ ๒ ท่านอนแบบธรรมดา



วิธีปฏิบัติ :

ก่อนนอนให้กำหนดอาการเคลื่อนไหวของกาย มือและเท้าช้าๆ ตั้งแต่เดินไปที่นอน จนนอนลง โดยมีวิธีกำหนดโดยย่อดังนี้

๑. ขณะอยากนอน กำหนดว่า อยากนอนหนอๆๆ

๒. ขณะเอนตัวลง “ เอนหนอๆๆ

๓. ขณะหลังถูกพื้น “ ถูกหนอ

๔. ขณะยกเท้าขึ้น “ ยกหนอๆๆ

๕. ขณะวางเท้าลง กำหนดว่า วางหนอๆ

๖. ขณะยกมือมาวางบนอก " ยก/ มา/ วางหนอ

๗. ขณะกำหนดอาการนอน “ นอนหนอๆๆ

๘. ขณะกำหนดอาการพองยุบ " พองหนอ ยุบหนอ



เมื่อโยคีนอนเสร็จแล้ว หากไม่มีอะไรกำหนดเป็นพิเศษ ให้กำหนดพองหนอ ยุบหนอ หรือ อาการนอน ( ถ้าโยคีนอนกำหนดพองยุบแล้ว เกิดนอนไม่หลับ ให้กำหนดรู้อาการนอนเบาๆว่า นอนหนอๆๆ ก็จะหลับได้)หากมีเวทนาเกิดขึ้น ให้รีบกำหนดเวทนานั้นทันที หากเกิดความคิดแทรกเข้ามาก็ให้กำหนดความคิดนั้น เมื่ออยากจะตะแคงไปข้างใดข้างหนึ่ง ก็ให้กำหนดจิตที่อยากทำนั้นก่อนว่า อยากตะแคงหนอๆๆ แล้วจึงขยับตัวพลิกตัวนอนตะแคง เสร็จแล้วก็กลับมากำหนดที่พองยุบตามเดิม หากรู้สึกอยากหลับจริงๆ ให้กำหนดว่า อยากหลับหนอๆ เมื่อร่างกายเพลียมาก เราก็จะหลับลงในขณะที่กำลังกำหนดอยู่นั่นแหละ ส่วนในขณะรู้สึกตัวที่ตื่นขึ้น ให้กำหนดว่า ตื่นหนอๆ ขณะอยากลืมตา กำหนดว่า อยากลืมหนอๆ ขณะลืมตา กำหนดว่า ลืมหนอๆ ขณะเห็น กำหนดว่า เห็นหนอ ขณะอยากลุกขึ้น กำหนดว่า อยากลุกหนอๆ แล้วกำหนดอาการลุกขึ้น, อาการเดินไปห้องน้ำ, อาการทำกิจส่วนตัวทุกๆ อย่าง อย่าให้ขาด



วิธีกำหนดอิริยาบถย่อย

วิธีกำหนดกราบพระ

๑. ขณะนั่งอยู่ กำหนดว่า นั่งหนอๆๆ

๒. ขณะอยากกราบ “ อยากกราบหนอๆๆ

๓. ขณะหลับตา “ หลับ (ตา) หนอ

๔ ขณะยกฝ่าขวาขึ้น “ ยกหนอๆๆ

๕ ขณะหัวแม่มือขวาถูกอก " ถูกหนอ

๖ ขณะยกฝ่าซ้ายขึ้น " ยกหนอๆๆ

๗ ขณะฝ่ามือซ้ายถูกฝ่ามือขวา " ถูกหนอ

๘. ขณะยกมือขึ้นสู่หน้าผาก “ ขึ้นหนอๆๆ

๙. ขณะมือถูกหน้าผาก “ ถูกหนอ

๑๐. ขณะก้มลงกราบ (หัวแม่มือแนบติดหน้าผาก) " ก้มหนอๆๆ

๑๑. ขณะสันฝ่ามือถูกพื้น " ถูกหนอ

๑๒. ขณะแยกฝ่ามือขวาออก “ เคลื่อนหนอๆๆ

๑๓. ขณะแยกฝ่ามือซ้ายออก “ เคลื่อนหนอๆๆ

๑๔. ขณะคว่ำฝ่ามือขวาลง กำหนดว่า คว่ำหนอๆๆ

๑๕. ขณะคว่ำฝ่ามือซ้ายลง “ คว่ำหนอๆๆ

๑๖. ขณะก้มศีรษะลง “ ลงหนอๆๆ

๑๗. ขณะหน้าผากถูกพื้น “ ถูกหนอ

๑๘. ขณะยกศีรษะขึ้น (ขึ้นประมาณฝ่ามือ) “ เงยหนอๆๆ

๑๙. ขณะพลิกมือขวาขึ้น “ พลิกหนอๆๆ

๒๐. ขณะเคลื่อนมือขวามาทางซ้าย “ เคลื่อนหนอๆๆ

๒๑. ขณะพลิกมือซ้ายขึ้น “ พลิกหนอๆๆ

๒๒. ขณะเคลื่อนมือซ้ายมาทางขวา “ เคลื่อนหนอๆๆ

๒๓. ขณะฝ่ามือถูกกัน “ ถูกหนอ

๒๔. ขณะมือถูกหน้าผาก “ ถูกหนอ

๒๕. ขณะยกมือ-ศีรษะขึ้น " ขึ้นหนอๆๆ

๒๖. ขณะลำตัวตั้งตรง " ตรงหนอๆๆ

แล้วกราบตั้งแต่อันดับ ๘-๒๖ อีก ๒ ครั้ง จบแล้วเป็นอันดับที่ ๒๗-๔๐

๒๗. ขณะลดมือลงมาที่หน้าอก กำหนดว่า ลงหนอ ๆ,

๒๘. ขณะฝ่ามือถูกหน้าอก กำหนดว่า ถูกหนอ

๒๙. ขณะที่น้อมศีรษะลง ” ลงหนอๆๆ

๓๐. ขณะยกมือขึ้นจบที่ระหว่างคิ้ว ” ขึ้นหนอๆๆ

๓๑. ขณะหัวแม่มือถูกหน้าผาก ” ถูกหนอ

๓๒. ขณะน้อมศีรษะลง ” ลงหนอๆๆ

๓๓. ขณะเงยศีรษะขึ้น ” ขึ้นหนอๆๆ

๓๔. ขณะลำตัวตั้งตรง " ตรงหนอๆๆ

๓๕. ขณะลดมือลงมาที่หน้าอก " ลงหนอๆๆ,

๓๖. ขณะฝ่ามือถูกหน้าอก " ถูกหนอ

๓๗. ขณะปล่อยฝ่ามือขวาลง “ ลงหนอๆๆ

๓๘. ขณะมือขวาถูกเข่าขวา “ ถูกหนอ

๓๙. ขณะปล่อยฝ่ามือซ้ายลง ” ลงหนอๆๆ

๔๐. ขณะมือซ้ายถูกเข่าซ้าย ” ถูกหนอ

๔๑. ขณะลืมตาขึ้น ” ลืมหนอๆๆ



หมายเหตุ : ขณะกราบควรจะหลับตากราบสมาธิจะดีมาก ควรกำหนดกราบช้าๆ โดยใส่หนอมากๆ แต่ละอาการประมาณ ๕-๑๐ ครั้งจะดี แต่ถ้ารู้สึกเครียดก็ควรจะลดจำนวนครั้งลงมาได้ ก่อนเดินจงกรม และนั่งสมาธิทุกครั้ง ควรกราบพระก่อน.



วิธีกำหนดรับประทานอาหาร

ต่อไปนี้จะแสดงวิธีกำหนดขณะฉันอาหารพอเป็นตัวอย่าง เมื่อจัดอาหารใส่จานและนั่งเอามือวางบนหัวเข่าแล้วให้เริ่มต้นกำหนด ดังนี้....



ขณะเห็นอาหาร กำหนดว่า เห็นหนอๆๆ ขณะรู้สึกอยากรับประทาน กำหนดว่า อยากรับประทานหนอๆๆ ขณะเอื้อมมือไปจับช้อนกำหนดว่า ไปหนอๆๆ ขณะมือถูกช้อนกำหนดว่า ถูกหนอ ขณะรู้สึกเย็น แข็ง กำหนดตามอาการว่า เย็นหนอๆๆ แข็งหนอๆๆ ขณะจับกำหนดว่า จับหนอๆๆ ขณะไปตักอาหารกำหนดว่า ไปหนอๆๆ ขณะช้อนถูกอาหารกำหนดว่า ถูกหนอ ขณะตักกำหนดว่า ตักหนอๆๆ ขณะยกอาหารมากำหนดว่า มาหนอๆๆ ขณะเทอาหารใส่ข้าวกำหนดว่า เทหนอๆ ขณะคนอาหารกับข้าวกำหนดว่า คนหนอๆๆ ขณะตักอาหารกับข้าวกำหนดว่า ตักหนอๆๆ ขณะยกขึ้นกำหนดว่า ยกหนอๆๆ ขณะนำมา กำหนดว่า มาหนอๆๆ ขณะอ้าปากกำหนดว่า อ้าหนอๆๆ ขณะใส่ช้อนเข้าปากกำหนดว่า ใส่หนอๆๆ ถ้ารู้ถึงรสอาหาร กำหนดว่า รสหนอๆๆ ขณะปิดปากกำหนดว่า ปิดหนอๆๆ ขณะดึงช้อนออกกำหนดว่า ดึงหนอๆๆ ขณะมือลงกำหนดว่า ลงหนอๆๆ จนช้อนถูกจานข้าว แล้วจึงเริ่มเคี้ยว ขณะเคี้ยวอาหารกำหนดว่า เคี้ยวหนอๆๆๆ โดยเอาสติรู้ที่อาการเคลื่อนไหวของขากรรไกรที่กำลังเคี้ยวอยู่ (ควรหลับตาเคี้ยว) ขณะกลืนอาหารกำหนดว่า กลืนหนอๆๆ แล้วเริ่มกำหนดตักใหม่ ให้กำหนดอย่างนี้ไปจนอิ่ม ขณะรู้สึกอิ่มกำหนด อิ่มหนอๆๆ



เมื่ออิ่มแล้วให้กำหนดการดื่มน้ำว่า... ยกหนอ, ไปหนอ,

จับหนอ, (จับขวดน้ำ) มาหนอ, เทหนอ, (ใส่แก้ว) วางหนอ, ไปหนอ, จับหนอ, ยกหนอ, มาหนอ, ถูกหนอ, ดูดหนอ, อมหนอ, กลืนหนอๆๆ, วางหนอ เป็นต้น

ขณะรับประทานอาหาร โยคีต้องเก็บสายตา มองเฉพาะจานอาหารของตนเองเท่านั้น ขณะเคี้ยวถ้าหลับตาได้จะดี ไม่เสียสมาธิ และก่อนรับประทานอาหาร ต้องเตรียมของใช้ทุกอย่างให้พร้อม (น้ำดื่ม กระดาษทิชชู เป็นต้น)



วิธีลากรรมฐาน

เมื่อโยคีอยู่ปฏิบัติธรรมครบกำหนดแล้ว ต้องการจะลากลับบ้านให้ปฏิบัติดังนี้....ให้กราบพระอาจารย์พร้อมกัน ๓ ครั้ง แล้วถวายดอกไม้ธูปเทียนแด่พระวิปัสสนาจารย์ กล่าวคำขอขมา และคำสมาทานศีลพร้อมกันว่า........



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)



ระตะนัตตะเย ปะมาเทนะ, ทะวาระตะเยนะ กะตัง,

สัพพัง อะปะราธัง, ขะมะถุ โน ภันเต,

อาจะริเย ปะมาเทนะ, ทะวาระตะเยนะ กะตัง,

สัพพัง อะปะราธัง, ขะมะถุ โน ภันเต,

กรรมชั่วอันใดที่เป็นบาปอกุศล, อันข้าพเจ้าได้ประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิน, ในคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์, ในครูบา อาจารย์, ด้วยกาย วาจา ใจ, ทั้งต่อหน้าและลับหลัง, จำได้หรือจำไม่ได้ก็ดี, ทั้งที่มีเจตนาหรือหาเจตนามิได้, เพื่อไม่ให้เป็นบาปเป็น

เวรเป็นกรรมต่อไปอีกฯ



พระว่า อะหัง โว ขะมามิ ตุมเหหิปิ เม ขะมิตัพพัง.

โยคีรับว่า ขะมามะ ภันเต.



คำขอศีล 5

มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ.

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ

สีลานิ ยาจามะ.

ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ

สีลานิ ยาจามะ.

หมายเหตุ ถ้าโยคีคนเดียว ให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง เปลี่ยน ยาจามะ เป็น ยาจามิ



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ. ( ๓ จบ )

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระฌัง คัจฉามิ.

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ.

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ.

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ.



(พระว่า) ติสะระณะคะมะณัง ปะริปุณณัง.

(โยคีรับว่า) อามะ ภันเต.



๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท, คือเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นฆ่า)

๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท, คือเว้นจากการลักทรัพย์

ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นลัก)

๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท, คือเว้นจากการประพฤติผิด

ในสามีหรือภรรยาของผู้อื่น)

๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเว้นจากการพูดเท็จ)

๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขา

ปะทัง สะมาทิยามิ.

(ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเว้นจากการดื่มน้ำเมา

และสิ่งเสพติดทุกชนิด)

พระกล่าว อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ.

โยคีรับว่า อามะ ภันเต.



 
นิวัฒน์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2005, 8:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต้องขออภัยด้วยที่รูปประกาบการบรรยายไม่สามารถใส่ลงไปได้ หนังสือจริงจะมีภาพประกอบด้วย อ่านแล้วไปปฏิบัติเองได้เลย



หนังสือมีเหลืออยู่ประมาณ ๕๐ เล่ม ถ้าใครต้องการ เขียนชื่อ-ที่อยู่ให้ชัดเจน ที่กรอบแสดงความคิดเห็น จะส่งไปให้เร็วที่สุด

 
วรุณ บุญมาศิริ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2005, 9:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาด้วยครับ



คุณ วรุณ บุญมาศิริ

51/675 หมู่บ้านชมฟ้า ถ. รังสิตนครนายก

ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12130



ขอรับหนังสือ: หนังสือคู่มือการปฏิบัติธรรม แบบพองหนอยุบหนอ 1 เล่มครับ

 
taie
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2005
ตอบ: 22

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2005, 1:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ขออนุโมทนาบุญครับ ขอรับหนังสือด้วยนะครับ กรุณาจัดส่งให้ที่

สมบูรณ์ ตันติประยุกต์

18 ซ.ตลาดบ้านสมเด็จ

ถ.สมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน

กรุงเทพฯ 10600

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สุดา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2005, 2:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญ และขอหนังสือไว้ศึกษาด้วยค่ะกรุณาส่งไปที่

น.ส.สุดา เงาประเสริฐวงศ์

170 ซอยอารีย์สัมพันธ์3

ถนนพหลโยธิน

แขวงสามเสนใน เขตพญาไท

กรุงเทพฯ 10400

ขอบคุณค่ะ
 
วรพจน์ วงศ์พันธ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2005, 3:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอรับหนังสือ 1 เล่มครับ

กรุณาส่ง

วรพจน์ วงศ์พันธ์

57 บ้านประดิพัทธ์ ห้อง 317 ซอยประดิพัทธ์ 25

ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท

กทม.10400

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
 
รัตชลัน
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2005, 4:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญ ขอรับ 1 เล่มคะ กรุณาส่งมาที่



รัตชลัน จันทร์เลิศฟ้า

26/40 ม.ธนากร 1 ซ.1 ถ.เทอดพระเกียรติ์ ต.วัดชลอ

อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130



ขอบคุณคะ
 
koshkorn
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2005, 12:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญ และขอหนังสือไว้ศึกษาด้วยค่ะกรุณาส่งไปที่

กชกร จิราณรงค์

12/23 หมู่ 4 ทุ่งมังกร ซ. 7 ฉิมพลี ตลิ่งชัน กทม. 10170



 
ธนวิชญ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2005, 3:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอรับ 1 เล่มครับ

ธนวิชญ์ ไชยทองดี

สำนักงานประปาเขต 6 ขอนแก่น ถ.หลังศูนย์ราชการ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

อนุโมทนาบุญครับ
 
chusak-s
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2005, 4:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญ ขอรับหนังสือ 1 เล่ม

คุณชูศักดิ์ สุทธิสว่างวงศ์

11/105 ซ.สิทธิชัย ถ.กรุงเทพ-นนทบุรี

บางซื่อ กทม.10800
 
ปั้น
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2005, 8:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญด้วยครับ



ขอสักเล่มนะครับ



นายธนกร เต่งตระกูล

23/60 ฟารีดาแมนชั่น ห้อง 209 เสรีไทยซอย 4 ถนนเสรีไทย แขวงคลองกุ่ม

เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10240





สาธุ
 
saiphin
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2005, 11:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญ และขอหนังสือไว้ศึกษาด้วยค่ะกรุณาส่งไปที่



สายพิณ จิราณรงค์

20/27 หมู่8 ต.หนองค้างพลู เขต หนองแขม กทม.

 
สอาด พิมพกันต์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2005, 6:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญ ขอรับหนังสือ 1 เล่ม

นายสอาด พิมพกันต์

243/112 ม.ไทยสมุทร ถ.มิตรภาพ

ต.ในเมือง อ.เมือง

จ.ขอนแก่น

40000
 
วิวัฒน์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2005, 8:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมจะส่งหนังสือให้วันจันทร์หน้านะครับ กรุณารอหน่อย
 
charoonsak
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 13 ส.ค. 2005
ตอบ: 24

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2005, 11:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญ ขอรับ 1 เล่มคะ กรุณาส่งมาที่

คุณ จรูญศักดิ์ รุ่งโรจน์รัตน์

11/48 ม.9 ถ.สายบางแวก

ต.บางแวก อ.ภาษีเจริญ

กทม. 10160

ขอบคุณครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แก้ว
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2005, 2:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาค่ะ



ขอรับหนังสือ 1 เล่มค่ะ



ณัทภัทรกร จุลรัตน์

60/107 ม.เสนานิเวศน์ 2 ซ.เสนานิคม 1

พหลโยธิน จรเข้บัว ลาดพร้าว กรุงเทพ ฯ 10230



ขอบคุณค่ะ
 
yam
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2005, 9:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญ คนละ 1 เล่ม

1.วิภาดา ไวทยาคม บ้านพัก 256/16 ซ.เวชยันต์ ถ.รอบเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

2.ปรินดา บัวเผื่อน บ้านพัก 256/16 ซ.เวชยันต์ ถ.รอบเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000

 
din
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2005, 12:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนา 1 เล่มครับ



ชฎิล รักษาสัตย์

101/8 ถนนปิ่นเกล้า บางกอกน้อย อรุณอัมรินทร์ กท 10700
 
prapa
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2005, 12:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดิฉันก็ขออนุโมทนาด้วย 1 เล่มเหมือนกันค่ะ



ประภาพร เจียรพันธุ์

119/307 ม.8 ต.บางกระสอ อ.เมือง นนทบุรี 11000



ขอขอบพระคุณมากค่ะ
 
yeng
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2005, 12:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนา และขอรับหนังสือด้วยค่ะ



วราภรณ์ อมรเดโช

10 ซ.อรุณศิริจันทร์

ถ.สุขุมวิท ต.ปากน้ำ

อ.เมือง สมุทรปราการ 10270
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง