Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
กรรม ๑๒ ประเภท
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
กฎแห่งกรรม
ผู้ตั้ง
ข้อความ
poivang
บัวตูม
เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224
ตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2005, 1:43 pm
การเผยแผ่ธรรมทานนี้เป็นการประกอบบุญ-กุศล สนับสนุนให้คนมีสัมมาทิฐิ
ผลบุญกุศลใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานนี้ ขอน้อมถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานนี้ทุกท่านเทอญฯ
(คัดมาจากพระไตรปิฎก)
กรรม ๑๒ ระเภท
กรรมประเภทต่างๆ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกกรรม
ไว้ ๑๒ อย่าง คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ๑ อโหสิกรรม ๑
อุปปัชชเวทนียกรรม ๑ อปรปริยายเวทนียกรรม ๑ ครุกกรรม ๑
พหุลกรรม ๑ ยทาสันนกรรม ๑ กฏัตตาวาปนกรรม ๑ ชนกกรรม ๑
อุปัตถัมภกกรรม ๑ อุปปีฬกกรรม ๑ อุปฆาตกกรรม ๑.
โดยแยกเกี่ยวกับการให้ผลของกรรมเหล่านั้นดังนี้
๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม นั้น ให้ผลในอัตภาพนี้ (ชาตินี้) เท่านั้น
๒. อโหสิกรรม
คือ ถึงความเป็นกรรมที่ไม่มีผลกรรมนั้น
๓. อุปปัชชเวทนียกรรม
อุปปัชชเวทนียกรรมนั้น อำนวยผลในอัตภาพ (ชาติ) ต่อไป แต่ในบรรดากุศล
อกุศลทั้งสองฝ่ายนี้ อุปปัชชเวทนียกรรม ในฝ่ายที่เป็นกุศล พึงทราบด้วยสามารถแห่งสมาบัติ ๘ ในฝ่ายที่เป็นอกุศล พึงทราบด้วยสามารถแห่งอนันตริยกรรม ๕
บรรดากรรมทั้งสองฝ่ายนั้น ผู้ที่ได้สมาบัติ ๘ จะเกิดในพรหมโลก ด้วยสมาบัติอย่างหนึ่ง. ฝ่ายผู้กระทำอนันตริยกรรม ๕ จะบังเกิดในนรกด้วยกรรมอย่างหนึ่ง. สมาบัติที่เหลือ และกรรม (ที่เหลือ) จะถึงความเป็นอโหสิกรรมไปหมด คือ เป็นกรรม ที่ไม่มีวิบาก.
๔. อปรปริยายเวทนียกรรม
ชื่อว่าอปรปริยายเวทนียกรรม.นั้นได้โอกาสเมื่อใดในอนาคตกาลเมื่อนั้นจะให้ผลเมื่อความเป็นไปแห่งสังสารวัฏฏะยังมีอยู่ กรรมนั้นจะชื่อว่าเป็นอโหสิกรรมย่อมไม่มี.
กรรมทั้งหมดนั้นแสดงด้วย (เรื่อง) พรานสุนัข.
เปรียบเหมือนสุนัขที่นายพรานเนื้อปล่อยไป เพราะเห็นเนื้อ จึงวิ่งตามเนื้อไป ทันเข้าในที่ใดก็จะกัดเอาในที่นั้นแหละ ฉันใด กรรมนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้โอกาสในที่ใด ก็จะอำนวยผล ในที่นั้นทันที. ขึ้นชื่อว่าสัตว์ จะรอดพ้นไปจากกรรมนั้น เป็นไม่มี.
๕. ชนกกรรม
กรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิอย่างเดียว หรือกรรมที่นำให้เกิด ไม่ให้เกิดปวัตติกาล (ขณะปัจจุบัน) กรรมอื่นย่อมให้เกิดวิบาก ในปวัตติกาล ชื่อว่า ชนกกรรม อุปมา เสมือนหนึ่งว่า มารดาให้กำเนิดอย่างเดียว ส่วนพี่เลี้ยง นางนมประคบประหงมฉันใด ชนกกรรมก็เช่นนั้นเหมือนกัน ให้เกิดปฏิสนธิเหมือนมารดา (ส่วน) กรรมที่มาประจวบเข้าใน ปวัตติกาล เหมือนพี่เลี้ยงนางนม.
๖. อุปัตถัมภกรรม
ธรรมดาอุปัตถัมภกรรม มีได้ทั้งในกุศล ทั้งในอกุศล เพราะว่า บางคนกระทำกุศลกรรมแล้วเกิดในสุคติภพเขาดำรงอยู่ในสุคติภพนั้นแล้วบำเพ็ญกุศลบ่อยๆ สนับสนุนกรรมนั้นย่อมท่องเที่ยวไปในสุคติภพนั่นแหละตลอดเวลาหลายพันปี. บางคนกระทำอกุศลกรรมแล้วเกิดในทุคติภพ เขาดำรงอยู่ในทุคตินั้น กระทำอกุศลกรรมบ่อยๆ สนับสนุนกรรมนั้นแล้ว จะท่องเที่ยวไปในทุคติภพนั้นแหละ สิ้นเวลาหลายพันปี. อีกนัยหนึ่งควรทราบดังนี้ ทั้งกุศลกรรม ทั้งอกุศลกรรม ชื่อว่าเป็นชนกกรรม. ชนกกรรมนั้นให้เกิดวิบากขันธ์ทั้งที่เป็นรูปและอรูป ทั้งในปฏิสนธิกาล ทั้งในปวัตติกาล.
ส่วนอุปัตถัมภกกรรม ไม่สามารถให้เกิดวิบากได้ แต่จะสนับสนุนสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะวิบาก ที่ไม่เกิดปฏิสนธิที่กรรมอื่นให้ผลแล้ว ย่อมเป็นไปตลอดกาลนาน.
๗. อุปปีฬกกรรม
กรรมที่เบียดเบียน บีบคั้นสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นในเพราะวิบากที่ให้เกิดปฏิสนธิ ที่กรรมอื่นให้ผลแล้ว จะไม่ให้ (สุขหรือทุกข์นั้น) เป็นไปตลอดกาลนาน ชื่อว่าอุปปีฬกกรรม.
ในอุปปีฬกกรรมนั้น มีนัยดังต่อไปนี้. เมื่อกุศลกรรมกำลังให้ผลอกุศลกรรมจะเป็นอุปปีฬกกรรมไม่ให้ (โอกาส) กุศลกรรมนั้นให้ผล. แม้เมื่ออกุศลกรรมนั้นกำลังให้ผลอยู่ กุศลกรรมจะเป็นอุปปีฬกกรรมไม่ให้(โอกาส) อกุศลกรรมนั้นให้ผล. ต้นไม้ กอไม้ หรือเถาวัลย์ ที่กำลังเจริญงอกงามใครคนใดคนหนึ่งเอาไม้มาทุบ หรือเอาศาสตรามาตัด เมื่อเป็นเช่นนั้นต้นไม้กอไม้หรือเถาวัลย์นั้นจะต้องไม่เจริญงอกงามขึ้นฉันใด กุศลกรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกำลังให้ผล (แต่ถูก) อกุศลกรรมเบียดเบียน หรือว่าอกุศลกรรมกำลังให้ผล (แต่ถูก) กุศลกรรมบีบคั้นจะไม่สามารถให้ผลได้. ในสองอย่างนั้น อกุศลกรรม (ชื่อว่า) เบียดเบียนกุศลกรรม กุศลกรรม (ชื่อว่า) เบียดเบียนอกุศลกรรม.
ตัวอย่าง เรื่องเพชฌฆาต ชื่อตาวกาฬกะ
เล่ากันว่า ในกรุงราชคฤห์ นายตาวกาฬกะ กระทำโจรฆาตกรรม (ประหารชีวิตโจร) มาเป็นเวลา ๕๐ ปี. ลำดับนั้น ราชบุรุษทั้งหลายได้กราบทูลเขาต่อพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพนายตาวกาฬกะแก่แล้วไม่สามารถจะประหารชีวิตโจรไดพระราชา รับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงปลดเขาออกจากตำแหน่งนั้น. อำมาตย์ทั้งหลายปลดเขาออกแล้ว แต่งตั้งคนอื่นแทน. ฝ่ายนายตาวกาฬกะ ตลอดเวลาที่ทำงานนั้น (เป็นเพชฌฆาต)ไม่เคยนุ่งผ้าใหม่ ไม่ได้ทัดทรงของหอมและดอกไม้ ไม่ได้บริโภคข้าวปายาส ไม่ได้รับการอบอาบ. เขาคิดว่า เราอยู่โดยเพศของผู้เศร้าหมองมานานแล้ว จึงสั่งภรรยาให้หุงข้าวปายาส ให้นำเครื่องสัมภาระสำหรับอาบไปยังท่าน้ำดำเกล้า และนุ่งผ้าใหม่ ลูบไล้ของหอม ทัดดอกไม้ กำลังเดินมาบ้าน เห็นพระสารีบุตรเถระ ดีใจว่า เราจะได้พ้นจากกรรมที่เศร้าหมอง และได้พบพระผู้เป็นเจ้าของเราด้วย จึงนำพระเถระไปยังเรือน แล้วอังคาส(ประเคน) ด้วยข้าวปายาสที่ปรุงด้วยเนยใส เนยข้น และผงน้ำตาลกรวด. พระเถระได้อนุโมทนาของเขา. เขาได้ฟังอนุโมทนาแล้ว กลับได้อนุโลมิกขันติ ตามส่ง พระเถระแล้วเดินกลับในระหว่างทางถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิด ให้ถึงความสิ้นชีวิต แล้วไปเกิดในดาวดึงส์พิภพ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามพระตถาคตว่า พระพุทธเจ้าข้า วันนี้เอง นายโจรฆาตอันพระสารีบุตรเถระช่วยนำออกจากกรรมที่เศร้าหมองถึงแก่กรรมแล้วในวันนี้เหมือนกัน เขาเกิดในที่ไหนหนอ.
พ. ในดาวดึงส์พิภพ ภิกษุทั้งหลาย.
ภิ. พระพุทธเจ้าข้า นายโจรฆาตฆ่าคนมาเป็นเวลานาน และพระองค์ก็ตรัสสอนไว้อย่างนี้ บาปกรรมไม่มีผลหรือ อย่างไรหนอ.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากล่าวเช่นนั้น นายโจรฆาตได้กัลยาณมิตรผู้มีกำลังเป็นอุปนิสัยปัจจัยถวายบิณฑบาตแก่พระธรรมเสนาบดีฟังอนุโมทนากถาแล้ว
กลับได้อนุโลมขันติ จึงได้บังเกิดในที่นั้น.นายโจรฆาต ได้ฟังคำเป็นสุภาษิตในเมืองแล้วได้อนุโลมขันติบันเทิงใจ ไปเกิดในไตรเทพ.
๘. อุปฆาตกกรรม
ส่วนอุปฆาตกกรรม ที่เป็นกุศลบ้าง ที่เป็นอกุศลบ้าง มีอยู่เอง จะตัดรอนกรรมอื่น ที่มีกำลังเพลากว่า ห้ามวิบากของกรรมนั้นไว้แล้วทำโอกาสแก่วิบากของตน. ก็เมื่อกรรมทำ (ให้) โอกาสอย่างนี้แล้ว กรรมนั้นเรียกว่า เผล็ดผลแล้ว. อุปฆาตกกรรมนี้นั่นแหละ มีชื่อว่าอุปัจเฉทกกรรมบ้าง.
ในอุปัจเฉทกกรรมนั้น มีนัยดังต่อไปนี้ ในเวลาที่กุศลกรรมให้ผลอกุศลกรรมอย่างหนึ่งจะตั้งขึ้นตัดรอนกรรมนั้นให้ตกไป ถึงในเวลาที่อกุศลกรรมให้ผล กุศลกรรมอย่างหนึ่งก็จะตั้งขึ้น ตัดรอนกรรมนั้นแล้วให้ตกไป. นี้ชื่อว่า อุปัจเฉทกกรรม.
๙. ครุกกรรม
ส่วนในบรรดากรรมหนักและกรรมไม่หนักทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลกรรมใดหนัก กรรมนั้นชื่อว่า ครุกกรรม. ครุกกรรมนี้นั้น ในฝ่ายกุศลพึงทราบว่าได้แก่ มหัคคตกรรม ในฝ่ายอกุศล พึงทราบว่าได้แก่ อนันตริยกรรม ๕.
เมื่อครุกกรรมนั้นมีอยู่ กุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่เหลือจะไม่สามารถให้ผลได้.
ครุกกรรมแม้ทั้งสองอย่างนั้นแหละจะให้ปฏิสนธิ.
อุปมาเสมือนหนึ่งว่า ก้อนกรวดหรือก้อนเหล็ก แม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่โยนลงห้วงน้ำ ย่อมไม่สามารถจะลอยขึ้นเหนือน้ำได้ จะจมลงใต้น้ำอย่างเดียว ฉันใด ในกุศลกรรมก็ดี อกุศลกรรมก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กรรมฝ่ายใดหนัก เขาจะถือเอากรรมฝ่ายนั้นแหละไป.
๑๐. พหุลกรรม (อาจิณกรรม)
ส่วนในกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลาย กรรมใดมาก กรรมนั้นชื่อว่า พหุลกรรม. พหุลกรรมนั้นพึงทราบด้วยอำนาจ อาเสวนะที่ได้แล้วตลอดกาลนาน
อีกอย่างหนึ่ง ในฝ่ายกุศลกรรมกรรมใดที่มีกำลังสร้างโสมนัสให้ ในฝ่ายอกุศลกรรมสร้างความเดือดร้อนให้ กรรมนั้นชื่อว่า พหุลกรรม. อุปมาเสมือนหนึ่งว่า เมื่อนักมวยปล้ำ ๒ คนขึ้นเวที คนใดมีกำลังมาก คนนั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม (แพ้) ไปฉันใด พหุลกรรมนี้นั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะทับถมกรรมพวกนี้ที่มีกำลังน้อย (ชนะ) ไป.
กรรมใดมากโดยการเสพจนคุ้นหรือมีกำลังโดยอำนาจ กรรมนั้นจะให้ผล เหมือนกรรมของพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย ฉะนั้น.
ตัวอย่างเรื่องพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย เล่ากันมาว่า พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยนั้น รบพ่ายแพ้ในจูฬังคณิยยุทธ์ ทรงควบม้าหนีไป. มหาดเล็กชื่อว่า ติสสะอำมาตย์ของพระองค์ ตามเสด็จไปได้คนเดียวเท่านั้น. ท้าวเธอเสด็จเข้าสู่ดงแห่งหนึ่งประทับนั่งแล้ว เมื่อถูกความหิวเบียดเบียน จึงรับสั่งว่า พี่ติสสะ เราสองคนหิวเหลือเกิน จะทำอย่างไร?
มีอาหารพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้นำพระกระยาหารใส่ขันทองใบหนึ่ง ซ่อนไว้ในระหว่างผ้าสาฎกมาด้วยพระเจ้าข้า.
ถ้าอย่างนั้นจงนำมา.
เขาจึงนำพระกระยาหารออกมาวางตรงพระพักตร์พระราชา.ท้าวเธอทรงเห็นแล้วตรัสว่า จงแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ซิพ่อคุณ.
เขาทูลถามว่า พวกเรามี ๓ คน เหตุไฉน พระองค์จึงให้จัดเป็น ๔ ส่วน.
พี่ติสสะ เวลาที่เรานึกถึงตัวเราไม่เคยบริโภคอาหาร ที่ยังไม่ได้ถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าก่อนเลย ถึงวันนี้ เราก็จักไม่ยอมบริโภค โดยยังไม่ได้ถวายอาหารแก่พระผู้เป็นเจ้า.
เขาจึงจัดแบ่งอาหารออกเป็น ๔ ส่วน.
พระราชาทรงรับสั่งว่า ท่านจงประกาศเวลา. ในป่าร้าง เราจักได้พระคุณเจ้าที่ไหน พระพุทธเจ้าข้า.
ข้อนี้ไม่ใช่หน้าที่ของท่านถ้าศรัทธาของเรายังมี เราจักได้พระคุณเจ้าเอง ท่านจงวางใจ แล้วประกาศเวลาเถิด.
เขาจึงประกาศถึง ๓ ครั้งว่า ได้เวลาอาหารแล้ว ขอรับพระคุณเจ้าได้เวลาอาหารแล้ว ขอรับพระคุณเจ้า.
ลำดับนั้น พระโพธิยมาลกมหาติสสเถระ ได้ยินเสียงนั้นด้วย
ทิพพโสตธาตุรำพึงว่า เสียงนี้ที่ไหน? จึงรู้ว่า วันนี้พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย แพ้สงครามเสด็จเข้าสู่ดงดิบ ประทับนั่งแล้ว ให้แบ่งข้าวขันเดียวออกเป็น ๔ ส่วน ทรงรำพึงว่าเราจักบริโภคเพียงส่วนเดียวจึงให้ประกาศเวลา (ภัตร)คิดว่าวันนี้เราควรทำกาสงเคราะห์พระราชา แล้วมาโดยมโนคติ ได้ยืนอยู่ตรงพระพักตร์พระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นแล้ว ทรงมีพระทัยเลื่อมใส รับสั่งว่า เห็นไหมเล่าพี่ติสสะ ดังนี้ ไหว้พระเถระแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้บาตร
พระเถระนำบาตรออกแล้ว
พระราชาทรงเทอาหารส่วนของพระเถระ พร้อมส่วนของพระองค์ลงในบาตรแล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญขึ้นชื่อว่าความลำบากด้วยอาหาร จงอย่ามีในกาลไหนๆ ทรงรับไว้แล้วประทับยืนอยู่.
ฝ่ายติสสะอมาตย์ คิดว่า เมื่อพระลูกเจ้าของเราทอดพระเนตรอยู่ เราจักไม่สามารถบริโภคได้ จึงได้เทส่วนของตนลงไปในบาตรพระเถระเหมือนกัน. ถึงม้าคิดว่า ถึงเราก็ควรถวายส่วนของเราแก่พระเถระ.
พระราชาทอดพระเนตรดูม้าแล้วทรงทราบว่า ถึงม้านี้ก็ประสงค์จะใส่ส่วนของตนลงในบาตรของพระเถระเหมือนกัน จึงได้เทส่วนม้านั้นลงในบาตรนั้นเหมือนกัน ไหว้แล้วส่งพระเถระไป
พระเถระถือเอาภัตรนั้นไป แล้วได้ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ตั้งแต่ต้นโดยแบ่งปั้นเป็นคำๆ .
แม้พระราชาทรงพระดำริว่า พวกเราหิวเหลือเกินแล้ว จะพึงเป็นการดีมาก ถ้าหากพระเถระจะส่งอาหารที่เหลือมาให้.
พระเถระรู้พระราชดำริของพระราชาแล้วจึงทำภัตรที่เหลือให้พอเพียงแก่คนเหล่านั้น จะดำรงชีวิตอยู่ได้จึงโยนบาตรไปในอากาศ. บาตรมาวางอยู่ที่พระหัตถ์ของของพระราชาแล้ว. แม้อาหารก็พอที่คนทั้ง ๓ จะดำรงชีพอยู่ได้.
ลำดับนั้น พระราชาทรงล้างบาตรแล้ว ทรงดำริว่า เราจักไม่ส่งบาตรเปล่าไป จึงทรงเปลื้องพระภูษาชุบน้ำแล้ววางผ้าไว้ในบาตร ทรงอธิษฐานว่า ขอบาตรจงประดิษฐานอยู่ในมือแห่งพระผู้เป็นเจ้าของเราแล้วทรงโยนบาตรไปในอากาศ. บาตรไปประดิษฐาน อยู่ในมือพระเถระแล้ว.
ในเวลาต่อมา เมื่อพระราชาให้ทรงสร้างมหาเจดีย์ สูง ๑๒๐ ศอก บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่ ๘ แห่งพระตถาคตเจ้าไว้ เมื่อพระเจดีย์ยังไม่ทันเสร็จ ก็ได้เวลาใกล้สวรรคต.
ลำดับนั้น เมื่อพระภิกษุสงฆ์สาธยายโดยนิกายทั้ง ๕ ถวายพระองค์ผู้บรรทมอยู่ข้างด้านทิศใต้แห่งมหาเจดีย์ รถ ๖ คัน จากเทวโลก ๖ ชั้น จอดเรียงรายอยู่ในอากาศ เบื้องพระพักตร์ของพระราชา.
พระราชาทรงรับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงนำสมุดบันทึกการทำบุญมา แล้วรับสั่งให้อ่านสมุดนั้นมาแต่ต้น. ครั้นไม่มีกรรมอะไรที่จะให้พระองค์ประทับพระทัย. จึงตรัสสั่งว่า จงอ่านต่อไปอีก.
คนอ่าน อ่านต่อไปว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ผู้ปราชัยในจุลลังคณิยยุทธสงคราม เสด็จเข้าดงประทับนั่ง ถวายภักษาแก่ท่านพระโพธิมาลกมหาติสสเถระ โดยทรงแบ่งพระกระยาหารขันเดียวออกเป็น ๔ ส่วน.
พระราชารับสั่งให้หยุดอ่าน แล้วซักถามภิกษุสงฆ์ว่า พระคุณเจ้าข้า เทวโลกชั้นไหนเป็นรมณียสถาน.
ภิกษุสงฆ์ถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ดุสิตพิภพ เป็นที่ประทับของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์.
พระราชาสวรรคตแล้ว ประทับนั่งบนราชรถที่มาแล้วจากดุสิตพิภพนั่นแหละ ได้เสด็จถึงดุสิตพิภพแล้ว.
นี้เป็นเรื่อง (แสดงให้เห็น) ในการให้วิบากของกรรมที่มีกำลัง.
๑๑. ยทาสันนกรรม (อาสันนกรรม)
ส่วนในบรรดากุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลาย กรรมใดสามารถ เพื่อจะให้ระลึกถึงในเวลาใกล้ตาย กรรมนั้น ชื่อว่า ยทาสันนกรรม. (อาสันนกรรม)
ยทาสันนกรรม (อาสันนกรรม) นั่นแหละ เมื่อกุศลกรรม และอกุศลกรรมเหล่าอื่น ถึงจะมีอยู่ก็ให้ผล (ก่อน) เพราะอยู่ใกล้มรณกาล
เหมือนเมื่อเปิดประตูคอก ที่มีฝูงโคเต็มคอก บรรดาโคฝึก และโคมีกำลัง ถึงจะอยู่ในส่วนอื่น (ไกลปากคอก) โคตัวใดอยู่ใกล้ประตูคอก โดยที่สุด จะเป็นโคแก่ถอยกำลังก็ตาม โคตัวนั้นก็ย่อมออกได้ก่อนอยู่นั่นเอง ฉะนั้น. ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง
ตัวอย่าง เรื่องคนเฝ้าประตูชาวทมิฬ
เล่ากันมาว่า ในบ้านมธุอังคณะ มีนายประตูชาวทมิฬคนหนึ่งถือเอาเบ็ดไปแต่เช้า ตกปลาได้แล้วแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งเอาแลกข้าวสาร ส่วนหนึ่งแลกนม ส่วนหนึ่งต้มแกงกิน. โดยทำนองนี้ เขาทำปาณาติบาตอยู่ถึง ๕๐ ปี ต่อมาแก่ตัวลง ล้มหมอนนอนเสื่อ.
ในขณะนั้น พระจุลลปิณฑปาติกติสสเถระ ชาวคิรีวิหาร รำพึงว่า
คนผู้นี้ เมื่อเรายังเห็นอยู่อย่าพินาศเสียเลย แล้วไปยืนอยู่ที่ประตูเรือนของเขา.
ขณะนั้นภริยาของเขาจึงบอกว่า นี่ ! พระเถระมาโปรดแล้ว
เขาตอบว่า ตลอดเวลา ๕๐ ปี เราไม่เคยไปสำนักของพระเถระเลย คุณความดีอะไรของเรา ท่านจึงต้องมา เธอจงไปนิมนต์ให้ท่านไปเสียเถิด
นางบอกพระเถระว่า นิมนต์ไปโปรดสัตว์ข้างหน้าเถิดเจ้าข้า
พระเถระถามว่า อุบาสกมีพฤติการทางร่างกายอย่างไร.
นางตอบว่า อ่อนแรงแล้ว เจ้าข้า.
พระเถระเข้าไปยังเรือนให้สติ แล้วกล่าวว่า โยมรับศีล (ไหม).
เขาตอบว่า รับขอรับพระคุณเจ้า นิมนต์ให้ศีลเถิด.
พระเถระให้สรณะ ๓ แล้ว เริ่มจะให้ศีล ๕.
ในขณะที่อุบาสกนั้นว่า ปญฺจสีลานิ นั่นแหละ ลิ้นแข็งเสียแล้ว.
พระเถระคิดว่า เท่านี้ก็พอควร แล้วออกไป.
ส่วนเขาตายแล้วไปเกิดในภพจาตุมหาราชิกะ. ก็ในขณะที่เขาเกิดนั่นแหละ รำลึกว่า เราทำกรรมอะไรหนอ จึงได้สมบัตินี้ รู้ว่าได้เพราะอาศัยพระเถระ จึงมาจากเทวโลก
ไหว้พระเถระแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง
เมื่อพระเถระถามว่า นั่นใคร
ตอบว่า กระผม (คือ) คนเฝ้าประตูชาวทมิฬครับพระคุณเจ้า.
พระเถระถามว่า ท่านไปเกิดที่ไหน
ตอบว่า ผมเกิดที่ชั้นจาตุมหาราชิกภพ ครับพระคุณเจ้า
ถ้าหากพระคุณเจ้าได้ให้ศีล๕แล้วไซร้ ผมคงได้เกิดในชั้นสูงขึ้นไป ผมจักทำอย่างไร
พระเถระตอบว่า ดูก่อน (เทพ) บุตร ท่านไม่สามารถจะรับเอาได้เอง เทพบุตรไหว้พระเถระแล้ว กลับไปยังเทวโลก. นี้เป็นเรื่อง (ตัวอย่าง) ในกุศลกรรมก่อน.
ตัวอย่าง เรื่องมหาวาตกาลอุบาสก
ก็ในระหว่างแม่น้ำคงคา ได้มีอุบาสกชื่อว่า มหาวาตกาละ. เขาสาธยายอาการ ๓๒ เพื่อมุ่งโสดาปัตติมรรคถึง ๓๐ ปี ถึงทิฎฐิวิปลาสว่า เราสาธยายอาการ ๓๒ อยู่อย่างนี้ ก็ไม่อาจให้เกิดแม้เพียงโอภาสได้ชะรอยพระพุทธศาสนาจักไม่เป็นศาสนาเครื่องนำสัตว์ออกจากภพ (เป็นแน่) กระทำกาลกิริยาแล้วได้ไปเกิดเป็นลูกจระเข้ยาว ๙ อุสภะ ที่แม่น้ำมหาคงคา.
คราวหนึ่ง เกวียนบรรทุกเสาหิน ๖๐ เล่ม เดินทางไปตามท่ากัจฉปะ. จระเข้นั้นฮุบกินทั้งโคทั้งหินเหล่านั้นจนหมดสิ้น. นี้เป็นเรื่อง (ตัวอย่าง) ในอกุศลกรรม.
๑๒. กฏัตตาวาปนกรรม
กฏัตตาวาปนกรรมนั้น อำนวยวิบากได้ในกาลบางครั้ง เหมือนท่อนไม้ที่คนบ้าขว้างไป จะตกไปในที่ๆ ไม่มีจุดหมายฉะนั้น.
เป็นอันท่านจำแนกกรรม ๑๒ อย่าง ตามสุตตันติกปริยาย.
สายลม
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
ตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2005, 8:09 pm
สาธุด้วยครับ
poivang
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2005, 2:28 pm
เจริญในธรรมนะคะ
ภัส_ธรรมจักร
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 30 ส.ค. 2005
ตอบ: 11
ตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2005, 5:59 pm
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
สาธุนะค่ะ ขอให้การเผยแผ่ธรรมจงประสบความสำเร็จ มนุษย์ทั้งหลายต่างได้รับ
ประโยชน์และบรรลุธรรมกันถ้วนหน้า
นะโมกวนซืออิมผูสัก นะโมออนีถ่อฮุก นะโมไต่สี่จี่ผู่สัก
poivang
บัวตูม
เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224
ตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2005, 1:18 pm
ขอให้เจริญในธรรมนะคะคุณภัส_ธรรมจักร
suvitjak
บัวบาน
เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen
ตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2008, 12:10 pm
ขอบคุณมากครับ
_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
บัวหิมะ
บัวเงิน
เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273
ตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 2:00 pm
_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
กฎแห่งกรรม
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th