ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
นัทธี จริโมภาส
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 17 ส.ค. 2005
ตอบ: 21
|
ตอบเมื่อ:
18 ส.ค. 2005, 12:35 pm |
  |
เรียนญาติธรรม ทุกท่านครับ ผมขอเรียนถามข้อปฏิบัติในทางธรรม ครับ เราจะปฏิบัติ เช่นใดให้สามารถนำ ตัวปัญญา มาใช้ควบคู่กับ ในการดำเนินชีวิตให้ดีที่สุด ในแนวทางของ การทำให้เป็น ปัจจุบันธรรมมากที่สุดครับ |
|
|
|
   |
 |
ปุ๋ย
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
|
ตอบเมื่อ:
19 ส.ค. 2005, 12:03 am |
  |
กราบสวัสดีคุณนัทธี จริโมภาส
"ปัญญา" จะเกิดได้ก็ต้องอาศัยการศึกษาธรรมะและลงมือปฏิบัติธรรมให้ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ หากไม่ปฏิบัติแล้วปัญญาย่อมเกิดไม่ได้ แต่สุดท้ายแล้วเรื่องของเรื่องกลับเป็นเรื่องของการที่มนุษย์เราไม่รู้จักธรรมชาติของจิตใจตนเอง จึงปฏิบัติผิดต่อจิตใจ มนุษย์ไม่รู้ว่าจิตมีธรรมชาติ ถ้าเราสามารถรักษาจิตให้ผ่องแผ้วอยู่ตามธรรมชาติของจิต ไม่ทุรนทุรายร่านอยากในอารมณ์ต่างๆแล้ว ความสงบสุขย่อมปรากฎขึ้น ณ จิตนั้นเป็นธรรมดา
ปฏิบัติแล้ว อะไรๆที่เป็นผลพลอยได้ก็ไม่สำคัญเท่ากับปัญญาที่ละเอียดๆลึกซึ้งในการพิจารณาไม่ว่าเรื่องใด บางท่านได้อภิญญา แต่อภิญญาจะมีประโยชน์ในทางสร้างสรรค์อย่างไร ที่หลงอยู่ก็หารู้ไม่ว่า ได้ก่อกรรมกับมนุษย์และจิตวิญญาณต่างๆไว้อย่างแสนสาหัส กรรมที่ไม่เจตนา ก็ส่งผลอย่างแสนสาหัสเช่นกัน
คงไม่ต้องให้เป็นปัญญาที่พิสดารอะไรมาก เมื่อไหร่ที่รู้ว่า ธรรมะคือหน้าที่ หน้าที่คือธรรมะ นั่นแหละ ปัญญามันเกิด ทีนี้จะใช้ควบคู่ในการดำเนินชีวิตให้ดีที่สุด ปัจจุบันธรรมมากที่สุด ก็เพียงแค่เป็นมนุษย์ที่ดี ลูกที่ดี สามีภรรยาที่ดี พ่อแม่ที่ดี ทหารที่ดี ตำรวจที่ดี พลเมืองที่ดี เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายที่ดี เป็นเรื่องธรรมดาที่เป็นธรรมชาติๆเลย
ลอง "หยุด" คิดนึกปรุงแต่ง(สังขาร)เรื่องในอดีต ปัจจุบัน อนาคตเสียสักระยะหนึ่ง วางจิตให้เป็นกลาง ให้โปร่งเบาอยู่ตามธรรมชาติ ทั้งคำพูดและการกระทำให้สะอาดเป็นปกติ ท่านจะทราบได้ด้วยตนเองว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาแท้ๆเลย แต่ไม่ทันกัน ตำราอ่านกันเป็นเล่มๆ แต่กลับลืมหันกลับมาอ่านจิตอ่านใจตนเองเป็นเสียส่วนมาก
ฝึกสาระพัดฝึก ฝึกสาระพัดจะพิสดาร สุดท้ายมาจบที่การมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะในทุกอิริยาบทธรรมดาๆของมนุษย์เราเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรเลย "ปัญญา อยู่กับจิตใจของท่านตลอดเวลา ปัญญาเกิดขึ้นในทุกลมหายใจเข้าออกที่ท่านมีสติอยู่" เรื่องธรรมชาติซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์ไม่เท่าทันเท่านั้นเอง
ธรรมะสวัสดี
มณี ปัทมะ ตารา  |
|
|
|
   |
 |
.... ...
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 ส.ค. 2005, 9:35 am |
  |
ปฎิบัติทางธรรม ไม่ทางใดทางหนึ่ง ย่อมก่อให้เกิดปัญญาแก่ผู้นั้นเองแล้ว
ปัญญานั้นจะเป็นสิ่งนำทางให้ผู้ปฎิบัตินั้น ดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข อย่างปัจจุบันขณะได้
ทำความรู้สึกให้อยู่กับตัวเอง อยู่กับภายในตัวเราเอง...
รู้สึกถึงร่างกายเราเอง นั่งให้รู้ ยืนให้รู้ เดินให้รู้ หายใจให้รู้...
รู้สึกถึงอาการต่างๆของร่างกาย ร้อนให้รู้ หนาวให้รู้ เจ็บให้รู้ ปวดให้รู้ เครียดให้รู้ สบายให้รู้...
รู้สึกถึงอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เมื่อรู้ตัวว่าเกิดอารมณ์ อารมณ์ใดๆก็ตาม ให้รู้สึกถึงอาการที่เกิดขึ้นภายในตัวเรา...
รู้สึกถึงความคิด ให้รู้ตัวว่ากำลังคิดอะไรอยู่ ตามให้ทันความคิดเราเอง
ให้รู้ตัวแม้ไม่ได้คิดอะไรอยู่ก็ตาม...
รับรู้ความรู้สึกนั้น เฝ้าดูความรู้สึกนั้น ติดตามให้เท่าทันความรู้สึกนั้น อย่างเฉยๆ ไม่ต้องคิด ไม่ต้องกังวลสงสัย ไม่ต้องหวัง ใดๆทั้งสิ้น รู้เท่าทันได้ก็ช่าง เผลอบ้างก็ช่าง ช่างมันบ้าง...
ขออนุโมทนาตามที่คุณปุ๋ยได้กรุณาชี้แนะไว้ข้างต้นว่า....
ฝึกสาระพัดฝึก ฝึกสาระพัดจะพิสดาร สุดท้ายมาจบที่การมีสติอยู่กับปัจจุบันขณะในทุกอิริยาบทธรรมดาๆของมนุษย์เราเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรเลย "ปัญญา อยู่กับจิตใจของท่านตลอดเวลา ปัญญาเกิดขึ้นในทุกลมหายใจเข้าออกที่ท่านมีสติอยู่" เรื่องธรรมชาติซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์ไม่เท่าทันเท่านั้นเอง
ขอขอบพระคุณ คุณนัทธีและคุณปุ๋ย
|
|
|
|
|
 |
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
19 ส.ค. 2005, 1:14 pm |
  |
1. รักษาศีลให้บริสุทธิที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งกาย วาจา ใจ
2. สมาธิ จะเจริญสติ หรือจะใช้วิธีใดก็แล้วแต่ ให้จิตไม่ฟุ้งซ่านให้มีความสงบ
3. เมื่อจิตสงบมีสมาธิ การพิจารณาข้อธรรม หรือปัญญาจะค่อย ๆ เกิดขึ้นมาเอง
ตัวผมเองก็ใช้วิธีนี้ ค่อย ๆ เข้าใจทีละนิด ทีละหน่อย คิดว่ามาถูกทางแล้วแต่คงต้องเดินทางอีกไกลเหมือนกัน เข้าใจง่าย ๆ ก็หลักเบื้องต้นที่ทราบกันนั้นแหละครับว่า ละเว้นบาปทั้งปวง (ศีล) ยังกุศลให้ถึงพร้อม(ทาน) ทำจิตให้บริสุทธิ(ภาวนา)
แต่ใครจะทำได้ละเอียดลึกซึ้งแค่ไหน ก็คงต้องแล้วแต่บุคคล ๆ ไป |
|
|
|
|
 |
คนจร
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
20 ส.ค. 2005, 1:42 pm |
  |
1 ฟัง (ธรรม พระสูตร) เป็นผูสดับมาก
2 คิด (จินตะ)ด้วยวิธีแยบคาย โยนิโสมนสิการให้เป็น
3ภาวนา
ทั้ง 3 อย่างนี้ทำให้มากเป็นบ่อเกิดปัญญาอย่างอื่นไม่ใช่ทั้งนั้น |
|
|
|
|
 |
|