Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อาชีพผู้พิพากษาเป็นมิจฉาอาชีวะจริงหรือคะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ธรรมจารี
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2005, 12:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลายคนพูดว่า อาชีพนี้ต้องห้าม ตายไปต้องตกนรกแน่ๆ เพราะไปตัดสินประหารชีวิต หรือตัดสินจำคุกผู้อื่น บางคนบอกว่า เพียงแค่เสี่ยงต่อบาปเท่านั้น ถ้าจิตมีอุปาทานในการตัดสินโทษ ก็เป็นบาป ถ้าวางใจเป็นกลาง แล้วทำไปตามหน้าที่ ก็ไม่บาป



ท่านผู้รู้มีความเห็นอย่างไรกันบ้างคะ รบกวนช่วยอธิบายและแสดงความคิดเห็นด้วยค่ะ
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2005, 11:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดีคุณธรรมจารี



คงจะกล่าวว่าอาชีพผู้พิพากษาเป็นอาชีพที่ต้องห้ามไม่ได้ เปรียบเหมือนอาชีพสุจริตที่หลากหลายอยู่ในสังคมมนุษย์ หากผู้ประกอบอาชีพนั้นๆ ไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน และความรับผิดชอบในทางที่ถูกที่ควร ทุกอาชีพก็เป็นอาชีพที่ไม่สุจริตได้



แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดข้อบังคับอันเป็นการควบคุมความประพฤติของมนุษย์เช่นเดียวกับศีลธรรมก็ตาม แต่กฎหมายกับศีลธรรมก็ยังมีข้อแตกต่างกันบางประการคือ



1.กฎหมายเป็นข้อบังคับที่กำหนดพฤติกรรมภายนอกของมนุษย์ ซึ่งหากคิดร้ายอยู่ในใจ กฎหมายก็ยังไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ศีลธรรมเป็นความรู้สึกภายในจิตใจของมนุษย์ ฉะนั้นแม้คิดไม่ชอบในใจก็ย่อมผิดศีลธรรมแล้ว



2.ศีลธรรมมีความมุ่งหมายสูงกว่ากฎหมาย เพราะศีลธรรมมุ่งหมายให้มนุษย์พร้อมบริบูรณ์ไปด้วยความดีทั้งร่างกายและจิตใจ แต่กฎหมายมุ่งหมายเพียงดำรงไว้ซึ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ซึ่งเป็นผลจากทางกายเท่านั้น



3.กฎหมายนั้น การฝ่าฝืนจะต้องได้รับผลร้ายโดยรัฐเป็นผู้กำหนดสภาพบังคับ แต่การฝ่าฝืนศีลธรรมย่อมมีผลสภาพบังคับเป็นลักษณะการกระทบกระเทือนจิตใจของผู้ฝ่าฝืน ซึ่งจะมีมากหรือน้อยนั้นแล้วแต่ความรู้สึกผิดชอบในแต่ละบุคคล



การประกอบอาชีพต่างๆก็ล้วนแต่อาศัยกฎหมายทั้งสิ้น การพิจารณาของผู้ซึ่งได้ชื่อว่ามีอาชีพเป็นผู้พิพากษา หากเห็นตามสภาพและพฤติกรรมผู้กระทำความผิดโดยอาจจะไม่รู้ว่า กฎหมายบัญญัติว่า การกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลก็จะอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล มิใช่ว่าจะตัดสินอะไรไปด้วยอุปทาน



ไม่ว่าอาชีพใด หากผู้ประกอบอาชีพนั้นๆปราศจากความรู้สึกผิด ชอบ ชั่วดีในอาชีพที่ตนทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่ ปราศจากภาวะในใจที่ไม่อยากให้ใครมากดขี่ข่มเหงตนเอง ตนเองก็ไม่ควรจะไปกดขี่ข่มเหงใครด้วยถือในอำนาจที่มีอยู่มือ ถึงอย่างไรก็ตาม ทุกคนก็หนีไม่พ้นกฎหมายธรรมชาติ ที่สอดคล้องกับความเป็นธรรม มโนธรรม และศีลธรรมของมนุษย์ มีสุภาษิตกฎหมายกล่าวไว้ว่า
" กฎหมายนอนหลับบางคราว แต่ไม่เคยตาย " (The laws sometimes sleep , never die.)



ธรรมะสวัสดี



มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2005, 11:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ใช่อาชีพต้องห้ามครับ แต่เสี่ยงต่อบาปนั้นใช่ครับ เพราะทุกๆอาชีพ จริงๆ แล้วก็เสี่ยงต่อบาปทั้งนั้นแหละครับ เช่น

อาชีพเกษตรกร มักหลีกเลี่ยง การฆ่าสัตว์ได้ยาก เช่น ไถนาไปสัตว์ที่อยู่ใต้ดินจะเป็นอย่างไร

อาชีพหมอ มีโอกาส รักษาผิดวิธี แล้วทำให้คนไข้แย่ลงได้ หรือ ถึงตายได้ ดังที่มีข่าวใหญ่ว่า รักษาผิดจนคนไข้ตาบอด ฟ้องร้องกันอยู่

อาชีพครู มีโอกาส สอนผิด ทำให้ลูกศิษย์เข้าใจผิดได้ เช่น ครูบางคน สอนว่า เกิดเป็นหมาดีกว่าเกิดเป็นคน เพราะหมาไม่ต้องมีเรื่องเดือดร้อนใจ ถ้าลูกศิษย์ไปเชื่อตามนั้นจริง ก็สร้างความหลงให้กับลูกศิษย์ขึ้นมาว่า เดรัจฉาน ดีกว่า สัตว์ประเสริฐ เป็นต้น

อาชีพนักร้อง มีโอกาส ทำให้คนหลงไหลอยู่ในเสียง

อาชีพนักการเมือง ไม่ต้องพูดถึงกันล่ะครับ ใช่มั้ย

แม้แต่อาชีพพระ ถ้าทำบาปแล้ว บาปหนักกว่าอาชีพอื่นๆ คูณเท่าทวีทีเดียว



ดังนั้น อย่าไปกังวลเรื่องอาชีพเลย ขอเพียงอาชีพนั้นไม่ใช่อาชีพที่ผิดศีลโดยตรง เช่น ค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ ค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า ค้ายาพิษ ค้ายาเสพติด โจร ขโมยทั้งหลาย ก็ให้เราทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และตั้งใจสั่งสมบุญมากๆ เพราะเราก็อาจพลาดพลั้งไปโดยไม่รู้ก็ได้ ระหว่างก็หมั่นฝึกใจ เพื่อให้เลิกจากการเวียนว่ายตายเกิดเร็วๆ จะชัวร์ที่สุดครับ



 
.... ...
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2005, 12:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในโลกภายนอก โลกแห่งสังคมมนุษย์....อาชีพสุจริตถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรมทุกอาชีพ เป็นหน้าที่ที่มีเกียรติ มีประโยชน์ทั้งสิ้น ความผิดพลาดโดยไม่เจตนาในอาชีพที่ทำย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา...



ในโลกแห่งภายใน โลกแห่งจิตใจ....ดีเลว ถูกผิด สวรรค์นรก ผู้พิพากษาหรือโจร ล้วนอยู่ที่จิต อยู่ที่ความคิด ของผู้นั้น....ฆาตกรผู้ทำผิดแต่ไม่รู้สึกผิดย่อมไม่ทุกข์ กลับคิดว่าตัวเองเป็นผู้พิพากษา ผู้พิพากษาตัดสินคดีอย่างถูกต้องตามกฎหมายแต่รู้สึกผิดจึงเป็นทุกข์ เสมือนกับเป็นฆาตกร...



สัตว์โลกเกิดมาแล้ว ย่อมดำเนินไปตามกรรม....ทุกชีวิตย่อมดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด สัตว์ใหญ่ย่อมกินสัตว์เล็ก จะเรียกว่าดีเลว ถูกผิด สวรรค์หรือนรก ก็คิดกันไป ก็เรียกกันไป...
 
เปลวเทียน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2004
ตอบ: 20

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2005, 7:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน



ร่วมด้วยช่วยเสนอด้วยคนครับ คือว่ากระผมเคยฟังการบรรยายของท่านอาจารย์ดร.สนอง

วรอุไร เท่าที่จำได้น่ะครั ที่ท่านกล่าวถึงอาชีพอันตราย 4 อาชีพ หนึ่งในนั้นคืออาชีพผู้พิพากษา

ในการบรรยายนั้นท่านกล่าวว่า มีผู้พิพากษาท่านหนึ่งได้ตายแล้วฟื้นไปพบเห็นอะไรต่าง ๆ

ในนรก ต่อมาปรากฎว่าเขานำตัวไปผิดคือมีอาชีพเดียวกันชื่อเดียวกัน พอฟื้นขึ้นมาผู้พิพากษา

ท่านนี้ได้ลาออกจากอาชีพผู้พิพากษา แล้วบวชตลอดชีวีติ

เท่าที่สัญญาจำได้แค่นี้รอท่านอื่นต่อไปนะครับ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฮ้อ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2005, 12:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แนะนำให้ไปอ่านหนังสือ "สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้" จะตอบปัญหาเรื่องกฎแห่งกรรมได้ดี หาซื้อได้ตามร้านนายอินทร์
 
ฮา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 19 ส.ค. 2005, 1:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาชีพผู้พิพากษาไม่ใช่มิจฉาชีพ แต่การสั่งลงโทษประหารไปตกนรกหรือไม่ ลองเทียบเคียงอ่านเรื่องพระเตมีย์ใบ้ ในชาดก เหตุแห่งการทำเป็นใบ้ก็เพื่อจะหนีจากการมีอำนาจในการลงทัณฑ์ทำให้ตกนรก
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง