Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
พระแม่ของแผ่นดิน...หลวงพ่อจรัญ พิมพ์แจกเผยแผ่เป็นธรรมทาน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2005, 12:14 am
ดิฉันได้รับหนังสือเล่มนี้จากหลวงน้าชูเกียรติ (วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี)ที่เคารพยิ่ง
เมื่อปีที่แล้ว
ดิฉันจึงขอเลือกบางบทบางตอนเพื่อมาให้ญาติธรรมได้อ่านกันนะคะ
*** การอบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสพระราชธิดา
คัดบางตอนจากเรื่อง สมเด็จแม่กับการศึกษา
พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
* เรื่องเก่าๆที่ฟังมา *
สมเด็จแม่พระราชสมภพในปีที่มีการปกครอง (พ.ศ. ๒๔๗๕)
เจ้านายต่างๆรวมทั้งเด็จตาก็ต้องออกจากราชการ
ต่อมาได้ไปรับราชการในต่างประเทศ ในตอนต้นสมเด็จแม่
จึงทรงอยู่ในความดูแลของเจ้าทวด (เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์-
ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์) และคุณทวด (ท้าววนิดาพิจารณี)
เมื่อเด็จตากลับมาจึงได้กลับไปอยุ่วังเทเวศร์ ในตอนนั้น
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒)
สมเด็จแม่ทรงเล่าว่า ฐานะไม่ค่อยดีนัก
เพราะเด็จตามิได้ทรงมีรายได้มาก คุณยายจึงวางแผนชีวิตไว้ว่า
ลูกๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกผู้หญิงจะต้องมีงานอาชีพที่เลี้ยงตัวได้
อาชีพที่คุณยายเห็นว่าดี คือ การเป็นครูสอนเปียนโน
นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่สมเด็จแม่ย้ายโรงเรียนจากโรงเรียนราชินี
ไปอยู่โรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ ซึ่งมีครูสอนเปียนโน
และยังสะดวกในการไปมาเพราะอยู่ใกล้บ้าน นั่งรถรางหรือ
แม้เดินไปโรงเรียนก็ได้ เมื่อตอนเล็กๆ สมเด็จแม่ทรงทำงานในบ้าน
ช่วยคุณยายทำงานในสวน เก็บดอกไม้ให้คนเอาไปขาย
เป็นการฝึกนิสัยให้ขยันขันแข็ง และรับผิดชอบต่อหน้าที่
(ตอนข้าพเจ้าเด็กๆ สมเด็จแม่ก็ให้ข้าพเจ้าทำงานในสวน
เช่น ขุดหญ้าแห้วหมูออกจากสนาม จนทำให้ข้าพเจ้าคิดว่า
เมื่อโตขึ้นมีบ้านเป็นของตัวเองจะทำสนามหญ้าแห้วหมู
จะได้ไม่ต้องขุดหญ้าแห้วหมูทิ้ง)
ถึงแม้ว่าจะต้องประหยัดเรื่องอื่นๆ เช่นเรื่องเสื้อผ้าเครื่องใช้
สิ่งหนึ่งที่คุณยายไม่เคยตระหนี่ถี่เหนียวเลย คือ เรื่องอาหาร
คุณยายต้องดูแลลูกๆรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
ถูกสุขลักษณะ .
ตอนสงคราม สมเด็จแม่เล่าว่า มีรายได้จากค่าเช่าห้องแถว
พอคิดจะขึ้นค่าเช่าบ้างเพราะครอบครัวก็มีรายจ่ายมาก
เด็จตาก็ต้องเปลี่ยนพระทัย เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่ทุกคน
ลำบาก เราก็ต้องกิน เขาก็ต้องกิน แบ่งๆ กันดีกว่า
ความใจกว้างลัอารีอารอบของเด็จตากับคุณยาย
ทำให้มีคนมาติดต่อ และมีคนอาศัยอยู่ในบ้านมาก
บุคคลเหล่านี้ ทำให้ชีวิตในยามเยาว์ของสมเด็จแม่
สนุกสนานและอบอุ่น อาจจะมีส่วนที่ทำให้
สมเด็จแม่มีพระทัยกว้าง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อารมณ์ดี
มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ข้าพเจ้าและน้องก็พลอยได้รู้จัก
คนต่างๆที่เกี่ยวข้อง
อาจารย์และซิสเตอร์ที่โรงเรียเซนต์ฟรังฯ ต่างพูดว่า
สมเด็จแม่เป็นนักเรียนที่ดี ขยัน และเชื่อฟังครู
* เมื่อข้าพเจ้ายังเล็กๆ *
เมื่อข้าพเจ้ายังเล็กๆ มิได้มีรูปร่างใหญ่โตแข็งแรง
เหมือนในปัจจุบันนี้ และค่อนข้างจะขี้โรค
ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จึงเป็นคนที่ทำให้ท่าน
เหน็ดเหนื่อยเป็นพิเศษ ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นปีที่จำเป็น
ต้องเสด็จเยี่ยราษฎรเป็นทางการให้ทั่วประเทศ
เริ่มต้นที่ภาคอีสาน ตอนนั้นข้าพเจ้าอายุ ๖ เดือน
นอกจากภาคอีสานแล้วก็ได้เสด็จเยี่ยมทุกจังหวัด
ทุกภาค การเดินทางก็มิใช่สะดวกสบายเหมือนทุกวันนี้
มีบางที่ซึ่งมีถนนขรุขระ นานและลำบาก
เวลาไหนที่พอจะมีเวลา ไม่มีพระราชกิจ
สมเด็จแม่ทรงใช้เวลาไปในการอบรใพวกเราเสมอ
การอบรมมีมาตรการหลายอย่างที่ได้ผล เช่น...
- เมื่อข้าพเจ้าอาละวาด ก็เสด็จมาอาละวาดให้ข้าพเจ้าดู
จนข้าพเจ้างงตะลึง และก็ทรงถามว่าทำแบบนี้ดีหรือไม่
ถ้าเห็นว่าไม่ดีก้ไม่ควรทำ ข้อนี้ได้ผล เพราะโตขึ้นมา
ข้าพเจ้าไม่เคยอาละวาดเอะอะหรือกระแทกกระทั้น
อะไรเลย ไม่ว่าจะโกรธแค่ไหน
- ตอนที่ข้าพเจ้าใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพมาจากเพื่อน (ที่โตกว่า)
ก็ทรงเรียกมาชี้แจงว่าการพูดแบบนี้ใครๆ ก็พูดได้
ไม่ยากอะไร แต่ที่เขาไม่พูดกัน เพราะเป็นสิ่งที
นำความเสื่อมเสียมาสู่ผู้พูดเอง ทำให้ถูกดูถูกและ
เกลียดชัง ต้องการความเจริญก็ไม่ควรพูด
- ตัวอย่างอีกข้อของการสอนให้รู้จักตัดสินใจด้วยตัวเอง
คือตอนที่เรียนเปียนโน ข้าพเจ้าชอบแต่เพลงเพราะๆ
แต่ขี้เกียจฝึกซ้อม จึงเล่นไม่ได้สักทีต้องคอยคุมคอยดุกัน
วิธีที่สมเด็จแม่ทรงจัดการกับข้าพเจ้าได้ผลคือ แทนที่
จะกำหนดเวลาซ้อม กลับกำหนดจำนวนบรรทัด (โน้ต)
ที่จะต้องเล่นให้ได้ภายในวันหนึ่ง
จะใช้เวลาซ้อมนานเท่าไร
ข้าพเจ้าต้องรู้จักแบ่งเวลาเอง
สรุปว่าเรื่องการรับผิดชอบตนเอง และความรับผิดชอบ
ในหน้าที่เป็นเรื่องทรงเน้นมาก เมื่อมีหน้าที่อะไร
ก็ต้องทำอย่างเต็มใจ เช่น เมื่อตอนเด็กๆ ก็โปรดเกล้า
ให้ตามเสด็จงานบางงาน เมื่อโตขึ้นก็มีมากขึ้นตามลำดับ
ทรงสอนให้รุ้จักอดทน และภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือพี่น้อง
ร่วมชาติที่ด้อยโอกาส และมีความละอายใจ ถ้าไม่สามารถ
ปฏิบัติตามหน้าที่ได้
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2005, 12:16 am
(ต่อ)
*ทรงสอนหนังสือ *
เป็นที่รู้กันว่าสมเด็จแม่โปรดการเป็นครูตั้งแต่ทรงพระเยาว์
โดยเล่นเป็นครูนักเรียน เรียกเด็กๆ ในบ้านมาสอนหนังสือ
ตั้งแต่เล็กๆ ก็ได้เป็นนักเรียนของท่านเหมือนกัน
ภาษาอังกฤษ
ข้าพเจ้าเป็นคนที่เรียนภาษาอังกฤษแย่มากตั้งแต่เด็กๆ
ไม่ตั้งใจเรียนและหลบเลี่ยงบ่อยๆ เมื่อถูกจับได้
และถูกฟ้องก็ไม่ได้โดนกริ้ว แต่ก้ต้องเรียนพิเศษเพิ่มเติม
ที่สำคัญที่สุด คือ ทรงสอนเอง ให้อ่านหนังสือ และ
จดศัพท์ที่ไม่ทราบลงสมุด
ภาษาไทย
ข้าพเจ้าเป็นคนชอบภาษาไทย อ่านหนังสือไทยได้ค่อนข้างเร็ว
ข้าพเจ้ายังเรียนภาษาไทยได้ดี
ส่วนเรื่องภาษาไทยกับสมเด็จแม่นั้น เมื่อข้าพเจ้าอายุได้ ๖-๗ ขวบ
สมเด็จแม่ทรงสอนให้อ่านหนังสือวรรณคดีต่างๆ จำได้ว่าที่ง่าย
และสนุกเหมาะสำหรับการเริ่มต้นก็คือ เรื่องพระอภัยมณี
ต่อด้วยเรื่องอื่นๆ ได้แก่เรื่องอิเหนา รามเกียรติ์ เป็นต้น
เรื่องอิเหนาเป็นเรื่องที่โปรดมาก ทรงให้ข้าพเจ้าอ่าน
คัดบทกลอนต่างๆ ให้ทำให้ข้าพเจ้าจำได้หลายตอน
สมเด็จแม่ทรงจำเก่ง บทเพลงแปลกๆ ก็ทรงจำได้
ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ บทกลอนที่ทรงเล่าว่าเด็จตาท่องให้ฟัง
ก็มาสอนเราต่ออีก
พุทธศาสนา
ทรงสอนให้สวดมนต์ ใช้ภาษาไทยธรรมดา
(อยากให้ทำอะไรก็ให้ท่องทุกวันๆ)
อ่านหนังสือทางพุทธศาสนา
พระองค์เองทรงอ่านหนังสือพุทธศาสนาใส่เทปไว้
ได้แก่เรื่องกองทัพธรรม เรื่องพระอานนท์พระพุทธอนุชา
เปิดให้ข้าพเจ้าฟังตอนไม่สบาย
คนที่เจ็บป่วยหลายคนก็ได้รับพระราชทานด้วย
การเห็นคุณค่าของสิ่งของ
นอกจากเราจะทำอะไรให้เป็นประโยชน์เช่นที่ได้กล่าวมาแล้ว
จะต้องทำสวน (ถอนหญ้าแห้วหมู)
ท่องภาษาอังกฤษ (ข้อนี้เป็นประดยชน์กับตนเอง)
เท่าที่จำได้ยังมีการเก็บหอยอีกอย่างหนึ่ง
ตอนเสด็จหัวหิน มีพวกชาวบ้านที่มีอาชีพเก็บเปลือกหอย
ตัวเล็กๆ เช่น หอยทับทิมมาขายในตลาด
ก็ทรงให้พวกเราเก็บ เพื่อจะได้ทราบว่ากว่าพวกชาวบ้าน
จะเก็บเปลือกหอยขายได้นั้น จะต้องเหนื่อยมากแค่ไหน
ข้าพเจ้าเห็นสมุดบันทึกวางอยู่ ไม่ทรงเห็นว่าใช้
นึกอยากได้ก็ไปทูลขอพระราชทาน
สมเด็จแม่ไม่ได้พระราชทานทันที
แต่รับสั่งถามว่า
เมื่อได้สมุดนั้นไปแล้ว จะนำไปทำประโยชน์อย่างไร
สมกับที่ขอหรือหาซื้อมาหรือไม่
สรุปได้ว่าทรงสอนให้เห็นคุณค่าของการทำงาน
ไม่ให้เห็นว่าสิ่งของต่างๆ ได้มาโดยง่าย
และเรื่องการรู้จัก ทำโครงการ
ในการที่จะใช้สิ่งของต่างๆ เป็นต้น
การทำมาหากิน
เรื่องนี้เป็นของดี แต่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเช่นกัน
ระหว่างปิดภาคเรียน ข้าพเจ้าคิดจะหางานทำ
ก็เลยร่วมกับพรรคพวกกวนท๊อฟฟี่ขาย (มีป้าจันเป็นวิทยากร)
ทำเสร็จก็เอาไปขายพวกนางสนองพระโอษฐ์
นางกำนัลสมเด็จแม่นั่นเอง ครูป้อมรับประทานแล้วอร่อย
เลยไปชวนสมเด็จแม่เสวยบ้าง จริงๆแล้วท่านก็ว่าอร่อย
แต่ต้องไต่สวนถึงที่มา ปรากฎว่า
เจ้าของกิจการทอฟฟี่ เลยถูก รัฐบาล
ตักเตือนว่า จะค้าขายอะไรก็ต้องระวัง
การเอาความเป็นเจ้าฟ้าบังคับใครๆ ให้ซื้อของของตัว
แล้วเอาเงินเข้ากระเป๋า (ไม่ใช่เป็นการกุศล) นั้น
เป็นสิ่งห้ามเด็ดขาด
ข้อสังเกตพวกนี้ท่านสอนมายี่สิบกว่าปีแล้ว ยังเป็นเรื่องที่
สมควรนำมาพิจารณาจนทุกวันนี้
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2005, 12:17 am
(ต่อ)
* ทรงอ่านหนังสือพระราชทาน *
เวลามีเวลาว่างสมเด็จแม่จะทรงซื้อหนังสือมาอ่านแล้วเล่าพระราชทาน
ตั้งแต่หนังสือนิทานสำหรับเด็ก เรื่องประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์
ประวัติบุคคลสำคัญ เรื่องศิลปวัฒนธรรมทั้งไทยและสากล
แม้แต่ข่าวหนังสือพิมพ์ บทวิจารณ์ข่าวต่างๆ
เมื่อเล่าพระราชทานแล้ว บางทีก็พระราชทานหนังสือ
ให้ไปอ่านเองต่อ บางเรื่องสนุกและชอบอ่านมาจนทุกวันนี้
"สมเด็จแม่ทรงอ่านหนังสือมาก มีทุกประเภท
ไปไหนก็ต้องไปหาซื้อไว้ และทรงใช้หนังสือนั้น
เป็นประโยชน์มากสุด จนทุกวันนี้ ท่านก็ยังทรงอ่านมาก"
เวลายุ่งๆ เราไม่มีเวลาอ่านหนังสือ แต่ไม่ทราบท่านทำอย่างไร
ของท่านจึงมีเวลา ท่านซื้อหนังสือของท่านเอง
ทรงซื้อพระราชทานให้ข้าพเจ้าอ่าน จนโตก็ยังทำ
ทรงแนะนำทั้งการอ่านในใจและอ่านดังๆ
มีรับสั่งว่าจะช่วยให้ภาษาพูดของเราดีขึ้น
ทรงสนับสนุนให้ตั้งสมุดสะสมหนังสือ
สมเด็จแม่โปรดให้เราอ่านหนังสือมากกว่า
ดูโทรทัศน์ มีเหตุผลว่า ดูโทรทัศน์
(ซึ่งตอนนั้นมีเพียงสองสามช่อง)
เหมือนกับการถูกสะกดจิตให้ต้องดูและ
ฟังรายการที่ผู้จัดเพียงคนสองคนจัดขึ้น
ในขณะที่หนังสือมีให้เลือกหลากหลาย
ถึงกระนั้นก็ไม่ได้ห้ามการดูโทรทัศน์
ไปเสียทีเดียว
แต่ต้องมีกำหนดดูได้เฉพาะวันเสาร์
วันอาทิตย์ตอนบ่าย ถึงเวลาบ่ายสี่บ่ายห้าโมง
พอแดดอ่อนลงบ้าง ก็ต้องออกไปวิ่งเล่น
ออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกาย
ให้แข็งแรง และได้อากาสบริสุทธิ์
พักสายตาจาการจ้องอะไรนานๆ
เวลานั่งดูโทรทัศน์จะนั่งจ้องตาเป๋งเฉยๆ ก็ไม่ได้
จะต้องทำงานที่เป็นประดยชน์ไปพลางๆ ด้วย
เช่น เขียนรูป ถักไหมพรม ปักผ้า
เมื่อโตขึ้น เวลาปล่อยดูโทรทัศน์ก็มีมากขึ้น
จนถึงกับไม่ว่าเลย อยากทำอะไรก็แล้วแต่ใจ
นอกจากจะว่าอย่างอดไม่ได้ตามนิสัยแม่ทั่วๆไป
คิดเอาเองว่าทีหลังที่ท่านไม่ว่าเรื่องดูโทรทัศน์
เพราะข้าพเจ้าโตขึ้น รู้จักแยกแยะว่าอะไรควรเชื่อ
อะไรไม่ควร รายการโทรทัศน์ก็มีหลากหลายขึ้น
วีดิโอเทปก็มี ถือเป็นสื่อการเรียนสมัยใหม่
ที่มีประสิทธิภาพ
นอกจากการอ่านหนังสือแล้ว
สื่อการศึกษาที่ทรงสนับสนุน คือ
การไปที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปพิพิธภัณฑ์
* เรื่องการจัดการศึกษาของข้าพเจ้า *
ข้าพเจ้าเรียนโรงเรียนจิตรลดาตั้งแต่อนุบาล
จนจบชั้นมัธยม เหตุที่ต้องเรียนอยู่ในนี้ออกไปไหนไม่ได้
เดาเอาว่าเป็นเพราะครูที่อยู่ในวังเป็นผู้ที่ทรงรู้จักดี
และแน่ใจว่าเข้มงวด รู้เท่าทันเล่ห์กลของพวกข้าพเจ้า
การเรียนการสอนที่โรงเรียนนั้น
ทรงปล่อยให้ครูมีอำนาจสิทธิขาดในการอบรม
สอนวิชาการแก่ข้าพเจ้า ไม่ทรงเข้าไปแทรกแซง
เกี่ยวข้องมากไปกว่าการเป็นผู้ปกครองธรรมดา
เช่น เรื่องการบ้านก็ให้รับผิดชอบเอง ทำไปเอง
ถ้าเหลวไหลละเลยการทำการบ้านหรือทำผิด
ก็ให้ครูเป็นผู้จัดการแก้ไข อธิบาย และทำโทษ
ข้าพเจ้ามีอุปนิสัยชอบเฮโลไปกับเพื่อน
ครูก็ชอบเขียนในสมุดพกว่า
เป็นคนที่ไม่มีความเป็นผู้นำ ไม่รู้จักคิดเอง
ชอบตามเพื่อนอยู่ตลอดเวลา
ลักษณะนิสัยนี้ คงเป็นที่กังวลของสมเด็จแม่อยู่บ้าง
จึงทรงตักเตือนในเรื่องต้องเป็นตัวของตัวเอง
จะทำอะไรต้องเลือกที่ดีที่เหมาะสมกับตัวเอง
คนหมู่มากก็ไม่ใช่ว่าตัดสินใจอะไรถูกต้องเสมอไป
การคล้อยตามคน จะต้องคล้อยตามความคิดที่ดี
ไม่ใช่คล้อยตามเพราะกลัวเกรงอำนาจ
ของบุคคลต้นคิดหรือชอบกับผู้คิด
ชีวิตที่เราต้องพบคนหลายๆ ประเภท
เพื่อนเหล่านี้สอนอะไรหลายอย่างให้แก่ขาพเจ้า
มีเพื่อนร่วมเรียนด้วย การเรียนก็ไม่น่าเบื่อ
ได้ไต่ถาท พยายามปรับปรุงตัวให้เก่ง
ให้เหมือนเพื่อนที่เก่ง
รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อดทน ต่อเพื่อนที่ช้ากว่าเรา
สังเกตดูว่าการจัดการศึกษา
ท่านต้องการให้เรามีความสมดุลในการเรียนรู้
ทั้งหลักวิชาการและหลักปฏิบัติ มีคุณธรรม
มีจิตใจเมตตากรุณา เป็นพลเมืองดี มีศิลปะ
และมีร่างกายที่แข็งแรง
มานึกดูเมื่อโตแล้วก็เกิดความรู้สึกเสียดายว่า
เราได้โอกาสดีที่สุดอย่างนี้แล้ว แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจ
เลยรู้อะไรจริงตามที่สมเด็จแม่ตั้งพระทัย
แต่ความที่ได้อยู่ในแวดวงของนักปราชญ์ผู้รู้
ก็ให้คุณค่าและแระสบการณ์ที่ดี
เป็นแนวทางให้แก่ชีวิตสืบไป
ใครอ่านมาถึงตรงนี้
ก็อาจจะว่าข้าพเจ้าเอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่อยู่เรื่อย
ตอนวันเฉลิมพระชนมพรรษาทูลหม่อมพ่อก็เล่าอย่างนี้
(ในหนังสือจิตรลดาจัดพิมพ์)
พอถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จแม่
ก็เอาเรื่องเดิมมาเล่าอีกเปลี่ยนพระนามเอาเท่านั้น
จะเอาองค์ไหนกันแน่
ความจริงเป็นเรื่องที่แยกยาก
เพราะการเลี้ยงลูกหรือการปฏิบัติงานก็เป็นเรื่อง
ที่ต้องช่วยเหลือกัน
ช่วยกันคิด อย่างในบรรดาพี่น้องข้าพเจ้าสี่คน
ก็รักสามัคคีกันดี
การที่ให้พี่น้องรักกันนั้นเป็นเรื่องที่พ่อแม่พยายามอย่างที่สุด
จากหนังสือ พุทโธโลยี พระแม่ของแผ่นดิน
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
สายลม
บัวเงิน
เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
ตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2005, 3:59 pm
สาธุครับ คุณลูกโป่ง
minelayer
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2005, 10:49 pm
เป็นเรื่องที่ดีมากเลยนะค่ะ
ขอบคุณมากนะค่ะ
ที่มีเรื่องดีๆ ก็นำมาแบ่งให้เพื่อนๆได้อ่าน
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th