|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
นพดล
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
10 ส.ค. 2005, 1:43 pm |
  |
ิผมนั่งสมาธิทุกคืน อาจจะวันละ 5 - 30 นาที ตามกำลังครับ พอถึงเวลาผมก็นอนเป็นปกติครับ
ซึ่งบางทีก็ฝันก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติครับ แต่ในช่วงระยะหลังๆ ผมเหมือนจะฝันครับ แต่ไม่ใช่ฝัน คือว่าผมมีสติอยู่ครับ ผมเห็นภาพเหมือนกับเขาฉายหนังให้ผมดูประมาณนั้น (หลับตาอยู่) แต่ถ้าหากผมเอาสติออกภาพเหล่านั้นก็จะหายไป
สิ่งที่ผมเห็น เขาเรียกว่าอะไรครับ หรือว่าเขายังคงเรียกว่าความฝัน |
|
|
|
|
 |
.... ...
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
11 ส.ค. 2005, 11:39 am |
  |
ลืมตา จึงเห็นได้....
หลับตา จะเห็นอะไรได้ จะเรียกว่าอะไรก็ได้
ไม่ว่าลืมตาเห็น หรือหลับตาเห็น
ล้วนไม่จีรังยั่งยืน ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
รู้ได้ จึงละได้ จึงสงบแล้ว...
|
|
|
|
|
 |
เขม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2005, 3:02 pm |
  |
คุณว่ามีสติกำหนดอยู่
แต่ว่า ตอนนั้นนะสติไม่เต็มที่คือ เบลอๆ
จึงเหมือนฝันไป
ภาพนั้นก็คือสิ่งที่คุณสั่งสมไว้ในความรู้สึกในสมอง
ลองสังเกตุใหม่
ไม่มีอะไรน่ากลัวหรอก
|
|
|
|
|
 |
มารศาสนา
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 18 พ.ค. 2005
ตอบ: 18
|
ตอบเมื่อ:
12 ส.ค. 2005, 6:48 pm |
  |
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอีกวิธีหนึ่งยังมีอยู่คือ ภิกษุเดินอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่าเดินอยู่ ยืนอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า ยืนอยู่ นั่งอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า นั่งอยู่ นอนอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า นอนอยู่ ก็หรือว่า กายของเธอตั้งอยู่โดยอาการใด อาการใด ย่อมรู้ชัดว่ากายนั้น โดยอาการนั้น อาการนั้น
-----------------------------------------------------------
จากกระทู้ การกำหนดรู้ภาวนาแบบยุบหนอพองหนอ
ผมได้คัดลอก อรรถกถา ในหมวดอิริยาบถ ดังนี้ http://larndham.net/index.php?showtopic=13860&st=107
ในเวลาที่เดินอยู่(นั่งอยู่) ประการที่ควรรู้ในอิริยาบถเดิน มี ๓ ประการคือ
๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
อรรถาธิบายไว้ดังนี้
ตอน 1 http://larndham.net/index.php?showtopic=13860&st=122
ตอน 2 http://larndham.net/index.php?showtopic=13860&st=135
ตอน 3 http://larndham.net/index.php?showtopic=13860&st=135
-------------------------------------------------------------------
อรรถาธิบายตอน 3 บางส่วน
อนึ่ง พระโยคีบางท่าน เพราะไม่เข้าใจเกี่ยวกับลักษณะหรือการทำงานของสติสัมปชัญญะ ในเวลาที่กำหนดนามรูป จึงไม่สามารถแยกแยะได้ว่าในเวลานี้ไม่มีทั้งสติสัมปชัญญะ หรือว่ามีสติอย่างเดียว ไม่มีสัมปชัญญะ เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ไม่สามารเจริญสติสัมปชัญญะกำหนดรูปเดินได้อย่างถูกต้อง
เป็นความจริงว่า มีสภาวธรรมหลายอย่าง ที่คล้ายสติสัมปชัญญะ คือวิตกมีลักษณะคล้ายสติ เพราะวิตกเป็นธรรมชาติที่คิดนึก ดำริอารมณ์ เหมือนอย่างที่สติระลึกถึงอารมณ์ มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์นั้น ๆ เป็นลักษณะ เหมือนอย่างที่สติมีความเข้าไปตั้งไว้ที่อารมณ์ เป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น พระโยคีบางท่านผู้ไม่สามารถแยกความต่างกันระหว่างวิตกกับสติได้อย่างชัดเจน ในเวลาที่เดินอยู่ จิตนึกถึงอารมณ์ คือบัญญัติว่ารูปเดิน นึกถึงชื่อว่า รูปเดิน ด้วยกำลังของวิตกนั่นเทียว บริกรรมอยู่ในใจว่า รูปเดิน รูปเดิน ไม่ซัดส่ายหรือฟุ้งซ่านนึกถึงอารมณ์อื่น ก็เข้าใจว่า ในเวลานั้น ตนนั้นเป็นผู้มีสติ หรือทำสติให้เกิดขึ้นได้แล้ว ความจริง เขาจะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็หาไม่ เพราะสักว่าเป็นการนึกถึงบัญญัติ นึกถึงชื่อ บริกรรมไปว่า รูปเดิน เท่านั้น มิได้สัมผัสตัวสภาวธรรมที่เป็นรูปเดินอย่างแท้จริงเลย การนึกถึงบัญญัติ นึกถึงชื่อ บริกรรมว่า รูปเดิน ไปอย่างนี้ หาชื่อว่ามีสติไม่ พูดง่าย ๆ ว่า ถ้าหากว่ามีแต่การนึกอยู่ในใจ บริกรรมไปว่า รูปเดิน รูปเดิน ไม่มีความรู้สึกเข้าไปตั้งไว้คือออกไปที่อาการท่าทางที่ก้าวไปนั้นจริง ๆ แล้วไซร้ ในเวลานั้นไม่ชื่อว่ามีสติ เพราะว่า วาระนี้ ประสงค์สติที่เป็นสติปัฏฐาน อันมีความเข้าไปตั้งอยู่ที่อาการเดินนั้นเท่านั้น จริงอย่างนั้นผู้ปฏิบัติบางคน เพราะตุที่มีแต่การนึกถึงบัญญัติ นึกถึงชื่อแล้วบริกรรมไปว่า รูปเดิน อยู่ที่ใจ อย่างนี้นั่นเอง พอถูกอาจารย์สอบอารมณ์กรรมฐาน ถามว่า รูปเดินอยู่ที่ไหน ? ก็ตอบว่า อยู่ที่ใจ แทนที่จะอยู่ที่อาการหรือท่าทางที่ก้าวไปนั้น ทั้ง ๆ ที่ในเวลาที่ไม่ปฏิบัติ เมื่อจะสำคัญว่าเราเดิน ก็หาสำคัญที่ใจไม่ ที่แท้แล้ว ก็สำคัญผิดที่อาการท่าทางนั่นเทียว
อนึ่ง เพราะเหตุที่ไม่มีสติอย่างนี้ นั่นเอง ความรู้ว่าเป็นรูปเดินของเขา จึงเป็นความรู้ของสัญญา บริกรรมไปตามสัญญาเท่านั้น ไม่ใช่ความรู้ของสัมปชัญญะ เพราะเรียนรู้แล้วจำได้ด้วยสัญญามาก่อนว่า อาการอย่างนี้ท่าทางอย่างนี้เรียกว่า รูปเดิน แม้ว่าได้รู้อยู่บ่อย ๆ ก็เกี่ยวกับว่า ตนคอยบริกรรมเอาเท่านั้น ไม่ใช่เพราะเกิดปัญญา ดุจเดียวกับคนที่เจริญกสิน นึกถึงดวงกสินมีปฐวีกสินเป็นต้น บริกรรมไปว่า ปฐวี ปฐวี, ดิน ดิน เป็นต้น ฉะนั้นอย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่มีทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะ
คัดลอกมาจากลานธรรม อีกทีหนึ่งครับ
มารศาสนา
|
|
|
|
   |
 |
จิ๋กโก๋ อารามDog
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
13 ส.ค. 2005, 1:52 am |
  |
อันนี้เป็นแค่อีกความเห็นหนึ่งเท่านั้น นะครับ ไม่มีเจตนาจจะหลบลู่ ความเห็นที่ท่านแสดงไว้แล้วนะครับ แบบว่าเป็นอิสระอีกมุมหนึ่ง่อะครับ คือ อยากให้อ่าน กะทู้อันนี้ด้วยนะครับ เห็นว่า มี ป ย มากๆhttp://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=d_dhamma&No=2178
"ลืมตาจึงเห็น" ที่คุณชื่อสี่จุดนามกุลสามจุด บอกไว้อ่ะครับ ผมเห็นมีหลายคน ตาก็ปกติดีๆน่ะ แต่ดันเดินถนนตกท่อ กทม. หลายคนขับรถชนคนข้ามถนน ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับ การลือตาจึงเหนป่าวนะครับ อักอันนึงนะครับ คุณจุดๆ "รู้ได้จึงละได้จีงสงบแล้ว " ผมมีเพื่อนหลายคน เป็นalcoholic drug addiction ติดบุหรี่ด้วย เค้าบอกว่ารู้ว่ามันทำลายสุขภาพ อยากเลิก แต่ละ ไม่ได้ อ่ะครับ ปัญหาสังคม ทุกวันนี้นะครับ ประมานวา รู้ไปโหม้ด แต่ละไม่ได้ ^๐_๐^
ศีลห้า นี่นะ ท่องได้กันตั้งแต่ ม ต้น แต่ ไม่ทำกัน อ่ะครับ ยังงี้ รู้แล้ว ได้ไรเหรอครับ?
คุณเขม แนะนำดีนะครับ อบอุ่น และ ปลอบโยน " ม่มีไร น่าเกลัว หรอก" โอ๊ยๆ ปลอบแต่ไม่โยน กัลวตก ครับ อยากมีกัลฯมิต อย่างคุณเขม สักโหลสองโหล ธรรมะน่าจะไปไดไกล
คุณมารศาสนา ช่างเต็มไปด้วยสาระน่ารู้ จังเลย นะครับ งานนี้น่ะ!!! |
|
|
|
|
 |
a
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2005, 11:16 am |
  |
สมาธิจะต้องไม่เห็นครับ แสดงว่าคนไม่ได้มีสติเป็นสมาธิทำให้เกิดภาพซึ่งคุณคิดขึ้นเอง
สมาธิมีสองแบบครั้ง สัมมาสมาธิ กับ มิจฉาสมาธิ |
|
|
|
|
 |
.... ...
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 ส.ค. 2005, 11:20 am |
  |
เพียงเพราะต่างก็เชื่อใน "สิ่งที่ตาเห็น"
แต่ละเลยการ "เมียงมอง" อย่างพินิจแยบคาย
โดยใช้ "ปัญญาจักษุ" อันสุขุม
เราจึงติดอยู่ใน "ภาพลวงตา" อันเป็นมายาคติ
พลอยทำให้หลงลืม "ความจริง"
ที่เป็นจริงอีกด้านหนึ่งไปอย่างน่าเสียดาย
จงมองด้วย "ตา"
แล้วปล่อยให้ "ปัญญา" เป็นผู้วินิจฉัย
สิ่งที่ตาเห็นกับสิ่งที่ปัญญาประจักษ์
ไม่แน่ว่าจะสอดคล้องกันเสมอไป
เพียงได้เรียนรู้ รับรู้ แล้วไม่ปฎิบัติ
รู้แล้ว จึงละไม่ได้ จึงไม่สงบ....
ตามที่ท่านจิ๊กโก๋ฯกล่าวได้ถูกต้องอย่างยิ่ง
|
|
|
|
|
 |
แปลก
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
28 ส.ค. 2005, 1:15 pm |
  |
ผู้ที่ไม่เคยเห็นย่อมไม่รู้อะไร ผู้เห็นย่อมรู้ในสิ่งนั้น และย่อมเข้าใจในสิ่งที่เห็นนั้นในกาลต่อไปได้เอง และเป็นสิ่งที่ตำราไม่ได้พูดถึงไว้เท่านั้น แต่ควรจะทำอย่างไรเมื่อเห้นภาพเหล่านั้น จงนึกว่าเมื่อเราเดินไปบนถนนเจอคนยากจนและขอทานเรา เรามีทรัพย์พอจะให้ได้เราปฏิบัติอย่างไรจึงสมควร |
|
|
|
|
 |
anny
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ย. 2005, 3:32 am |
  |
เคยปฏิบัติ เช่นท่านแล้วได้อย่างนี้แหละ จะขออธิบายนะคือ การได้สมาธฺ ไม่จะเป็ฯต้องแค่นั่ง หลับตา จึงจะได้สมาธิ พุทธกิริยามีหลายอาการ การนั้งก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ นอนอก็ได้ คือ ตราบใดที่ท่านยังคงตั้งจิตเป็นสมาธิ จิตนิ่งสงบ ปราศจากความคิด เหมือนว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย ไม่ว่ากิริยาใดก็คือสมาธิทั้งสิ้น แต่ที่ให้นั่ง เพราะเป็นกิริยา ที่ปฏิบัติได้นิ่งที่สุด ไม่รับรู้สิ่งรอบข้างใดๆ และการที่ท่านหลับฝัน นั่นคือ จิตที่ท่านภาวนาก่อนหลับ คือจิตดิ่งในสมาธิก่อนถึงอากรหลับ เหมือนหลับแต่รับรู้ ลองพิจารณาความฝันนั้นนะว่ามีลักษณะอย่างไร เป็นจริงแค่ไหน สอนอะรเรา เราได้ธรรมอะไร จากความฝันนั้น ซึ่งบางท่านการที่จิตขณะใกล้หลับ นิ่งดิ่งที่สุด จะเกิดนิมิต เหมือนฝันแต่ก้อเหมือนมีสติด้วย บางครั้งจำได้ บางครั้งลืม ไห้ลองพิจารณาดู ความหมาย เช่นข้าพเจ้าเองเคยฝันเห็นภาพตึกเวอร์ลเทรด ก่อนถล่มล่วงหน้าประมาณอาทิตย์หนึ่ง ฝันก่อนเกิดซึนามิ อาทิตย์หนึ่ง เมื่อลองพิจารณาดู จะคล้ายกับมีสัมผัสที่6 แต่ความจริงจิตเราเริ่มเป็นสมาธิ สามารถเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าได้และต่อมาจะชัดขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในขณะใดๆก้อตามทั้งนั้งสมาธิ นอนสมาธิ แต่หลายคนเข้าใจว่าการฝึกสมาธิมีเพียงแค่นั้งจริงๆแล้ว มีหลายอย่าง แต่ที่ไม่อยากให้ฝึกสมาธิท่านอน เพราะจิตจะหลับไปเลยมากกว่าที่จิตจะยังทรงอยู่ในสมาธิ สงสัยถามต่อได้นะคะเมลลล์scnanzy@yahoo.comเพราะไม่ค่อยเล่นเน็ทจะเช็คเมลล์มากกว่า อันนี้ปฏิบัติเอง และได้มากกว่าที่อธิบายไว้นะคะ ผ่านมาแล้วจึงเข้าใจค่ะ อธิบายคร่าวๆแค่นี้ก่อนนะคะ มีเวลาจะอธิบายยาวกว่านี้ |
|
|
|
|
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |