Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ทำไมคนที่รู้สึกผิดชอบชั่วดีกว่า เวลาเสียตัว จึงเสียใจมากก อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สงสัย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2005, 2:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพราะเหตุใดการที่เรามีพื้นฐานความรู้สึกผิดชอบชั่วดี แตว่าหากเกิดพลาดพลั้งในเรื่องอย่างว่า จึงเศร้าโศกเสียใจมาก ๆ แต่กลับกันกับ หนุ่มสาวตะวันตก หรือ ตะวันออก(บางประเทศ)ที่เห็นเรื่องอย่างว่านี้เป็นเกมส์ที่สนุกสนาน ไม่ได้ติดใจทุกข์เศร้าแต่อย่างใด เห็นเป็นเรื่องธรรมดาตามยุคสมัย แฟชั่นที่เปลี่ยนไป จึงวางใจเมื่อพลั้งเผลอในเรื่องอย่างว่าได้ง่ายกว่ากันละครับ
 
เดือนแจ่ม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2005, 9:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สำนึกของความอายชั่วกลัวบาปต่างกัน พวกหนึ่งรับรู้ อีกพวกไม่เคยรับรู้
 
เจ้าของกระทุ้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2005, 9:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แล้วอย่างนี้จะกล่าวได้ไหมว่า ความรู้สึกผิดชอบชั่วดียิ่งมีอยู่ในตัวเรามาก หากเกิดพลาดขึ้นมา(เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน) ก็ย่อมปล่อยวางได้ยากกว่า เช่นกัน



 
poivang
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2005, 2:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าหากว่ามีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจริง เขาก็จะพยายามไม่ให้พลาดไปในทางที่ไม่ดี

แต่ก็ไม่ใช่คนที่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีมาก แล้วเมื่อเกิดการผิดพลาดขึ้นมา จะต้องปล่อยวางได้ยาก



การปล่อยวางได้ยากนั้นมาจาก การเฝ้าครุ่นคิด ยึดติดทำให้ไม่สบายใจ โกรธ หรือกลัว ฯลฯ กับเหตุการณ์หรือสิ่งที่ได้ผิดพลาดไป

ถ้าเราคิดว่าสิ่งที่ผิดพลาดนั้น มาจากการขาดสติของตน มาจากอารมณ์ที่ควบคุมไม่ได้

หรือบางทีอาจเป็นกรรมเก่าตามสนอง บางคนก็คิดเสียว่าเป็นครูเป็นบทเรียนไป แล้วพยายามทำอะไรอย่างอื่นที่ชอบ ที่คลายทุกข์ ที่ทำให้ใจเบิกบาน เมื่อวันเวลาผ่านๆไปก็อาจลืมๆสิ่งเหล่านั้นได้ และวันเวลาที่ผ่านไปก็ช่วยให้คลายความทุกข์ความเจ็บปวดลงได้ไม่มากก็น้อย ช่วยรักษาแผลใจได้
 
.... ...
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2005, 12:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความคิด....อยู่ที่ใครเป็นคนคิด...

ความเชื่อ....อยู่ที่ใครเป็นคนเชื่อ...

เหตุผล....อยู่ที่ใครเป็นคนกำหนด...

ยิ่งเปรียบเทียบยิ่งสับสน....ใครสับสน...

 
poivang
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2005, 11:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ..........ตั้งปริศนาขึ้นมาลอยๆ

ไม่ช่วยขยายความให้ผู้อื่นได้เข้าใจด้วยล่ะ? คนที่เขาไม่เข้าใจก็มี

แล้วตรงประเด็นที่จะตอบให้ตรงคำถามในกระทู้นี้หรือเปล่า?

ตอบให้กระจ่างแจ้งหน่อย ไม่ต้องเล่นเป็นปริศนาก็ได้นี่นา จะได้เข้าใจง่ายๆ
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2005, 7:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมช่วยต่อปริศนาให้เล่นๆ ก็ได้ครับ

ความคิด อยู่ที่ กิเลส เป็นผู้สอนให้คิด สอนให้คิดโลภ คิดโกรธ คิดหลง

ความเชื่อ อยู่ที่ หัวหน้ากิเลสความหลง ชื่อ อวิชชา (ความไม่รู้จริง) สอนให้เชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ต่อชีวิต (มิจฉาทิฐฐิ ความเห็นผิด)

เหตุผล อยู่ที่ใครกำหนด เหตุผลที่คิดๆ กันขึ้นมาเอง เช่น แต่งหน้าด้วยสีแบบนั้นจะดูสวย ย่อมถูกหลอกด้วยกิเลสคือความหลง เป็นผู้กำหนด แต่เหตุผลที่เป็นสัจธรรม เช่น เมื่อเกิด ต้องแก่ เมื่อแก่ต้องตาย รูปที่สวยแท้จริงไม่มี มีแต่สวยด้วยคุณธรรม อย่างนี้ ไม่มีใครกำหนด มันเป็นสัจธรรม แต่มีผู้ไปค้นพบได้ โดยการหxxxิเลส เช่น พระพุทธเจ้า

ยิ่งเปรียบเทียบ ยิ่งสับสน คือ กิเลสความหลง หลอกให้สับสน แล้วเวียนวนในสังสารวัฏไม่สิ้นสุด เมื่อเลิกสับสน หันมาพัฒนาคุณภาพใจ ละโลภ โกรธ หลง ก็จะหลุดพ้นได้



 
เจ้าของกระทุ้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2005, 9:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าผมจะสรุปอย่างนี้ได้ไหม คนตะวันตกมีเรื่องอย่างว่าแล้วไม่ทุกข์ กลับสนุกสนาน

คนเอเชีย(ไม่นับรวมจิตวิญญาณ เปรตกระหายใคร่ในราคาะมาเกิดนะ) หากมีเรื่องอย่างว่าแล้วเป็นทุกข์เห็นเป็นเรื่องน่าอับอาย

เพราะมันอยู่ที่จารีตประเพณี การอบรมสั่งสอน
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2005, 11:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใช่ครับ อยู่ที่จารีตประเพณี การอบรมสั่งสอน ซึ่งประเพณีที่ว่านี้ ก็คือ การเชื่อที่เชื่อกันเป็นกลุ่มใหญ่ และเชื่อต่อๆ กันมานาน แต่ความเชื่อนั้น มีทั้งความเชื่อที่เป็นสัจธรรม และความเชื่อที่ถูกกิเลสสายหลง หลอกให้เข้าใจผิดกันมานาน เมื่อไปทำผิดตามก็ต้องไปอบาย ห่างไกลนิพพานครับ

เช่น ความเชื่อที่ว่า ฆ่าสัตว์บูชายัญ เป็นกุศลใหญ่ในสมัยก่อน

ความเชื่อที่ว่า การเสพกามแบบสวิงกิ้ง ของชาวตะวันตกไม่มีอะไรเสียหาย

ความเชื่อที่ว่า น้ำเมา ดื่มทุกวันแบบไม่ให้เมาเละเทะ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ฯลฯ

ประเพณีความเชื่อแบบที่ว่า นี้แหละครับ ที่จะพาชีวิตไปอบาย ห่างไกลนิพพาน
 
.... ...
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2005, 7:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอขอบพระคุณมากครับ และอนุโมทนาสาธุ แด่ คุณเกียรติ คุณ poivang และคุณเจ้าของกระทู้ ครับ



สาธุ...
 
poivang
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2005, 11:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณ คุณเกียรติจริงๆ ขอชมหน่อยนะคะว่ามีปัญญาในการไขปิศนาธรรมดีจริง

ครั้งแรกที่อ่านปริศนาของคุณ.......แล้วตีความไม่ได้ งง ค่ะ คิดไม่ออก

 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2005, 11:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอยกคุณความดีนี้ให้ครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนผมมาครับ เพราะผมทราบดีว่า มนุษย์ทุกคนตั้งแต่วันแรกเกิดมา ไม่มีความรู้สิ่งใดๆ เลย แต่ที่มีความรู้ต่างๆ มาได้ในปัจจุบัน เพราะได้รับการสั่งสอนถ่ายทอดมาจากครูบาอาจารย์ทั้งสิ้น ผู้ที่รู้ได้ด้วยตัวเอง มีเพียงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

ดังนั้น ก็จะขอดำเนินตามที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนมา ช่วยบอกกล่าวธรรมะของพระพุทธเจ้าไปให้กว้างไกลที่สุดเท่าที่มีโอกาสน่ะครับ
 
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2005, 12:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชอบความคิดเห็นที่4 ครับ เขียนได้ดีมากเป็นปริศนาธรรมทางพุทธนิกายเซ็น ใช่ไหมครับ



เรื่องต่าง ๆ ในโลกมันก็ขึ้นอยู่ที่ใครเป็นผู้คิด ใครเป็นผู้กำหนด ใครเป็นคนตัดสิน



ความเชื่อ มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเชื่อใคร แต่ที่ดีต้องพิสูจน์ความจริงในความเชื่อนั้นด้วย จึงจะเรียกว่าไม่งมงาย



เหตุผล แต่ละคนก็มีเหตุผล มีความจำเป็นในชีวิตที่แต่กต่างกัน



แล้วถ้าเราเป็นคนไปเปรี่ยบเทียบคนนั้นทำไมเป็นอย่างนี้ คนนี้ทำไมเป็นอย่างนั้น แต่ละคนก็มีความคิด ความเชื่อ มีเหตุผล เป็นของตัวเองทั้งนั้น คนที่เอาคนไปเปรียบเทียบกัน ก็คงจะเป็นคนที่สับสนเสียเอง



คนดีเท่านั้นถึงจะทำกรรมที่เรียกว่าชั่วได้ ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันจำมาจากในหนังสือ
 
หายสงสัย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2005, 12:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เคยสงสัยแบบเจ้าของกระทู้มาตั้งนานแล้ว เพิ่งจะเกิดปัญญาเข้าใจอะไรต่างๆได้ดีขึ้น เพราะคห.ที่ 8 นี่เอง ต้องขอขอบคุณ คุณเกียรติ จริงๆที่ช่วยให้ความกระจ่าง
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง