Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ซื้ออาหารที่มีเนื้อสัตว์นำไปทำบุญถวายพระ จะบาปไหม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สงสัย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 9:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราสั่งซื้ออาหารที่มีเนื้อสัตว์ทำให้คนผลิต พ่อค้าแม่ค้า ต้องฆ่าสัตวืชนิดนั้นมาทำเป็นอาหาร สัตวืชนิดนั้นต้องตายเพราะเราสั่ง แต่เรามีเจตนาจะเอาไปทำบุญมันจะหักล้างกันได้ไหม
 
poivang
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 3:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บุญส่วนบุญ บาปส่วนบาป นำมาหักล้างกันไม่ได้

การสั่งให้ผู้อื่นฆ่าสัตว์ เพื่อนำมาทำอาหาร โดยมีเจตนาทำบุญถวายพระ แยกบุญ-บาปดังนี้

- การสั่งให้ผู้อื่นฆ่าสัตว์ เพื่อนำมาทำอาหาร เป็นบาปเพราะมีเจตนาสั่งฆ่า เช่นสั่งฆ่าปลา ฆ่าไก่ ฆ่าวัว เป็นต้น ถึงแม้จะไม่ได้ลงมือเองก็ตาม แต่เป็นผู้บงการ ถ้าไม่ได้บงการเขาก็ไม่ต้องฆ่าให้

- อาหารที่ได้มาจากการสั่งฆ่าสัตว์นั้นมีเจตนานำมาทำบุญถวายพระ เป็นบุญ





กรรมที่เราได้ทำลงไปแล้วนั้นเปรียบเหมือนเราได้ปลูกต้นไม้ชนิดไหนลงไปเราก็ย่อมได้รับผลของต้นไม้ชนิดนั้น

จะยกตัวอย่างตามความเป็นจริง ให้ดูสักตัวอย่าง เช่น

เราได้ปลูกต้นข้าว ต้นมะม่วง ต้นขนุน ต้นทุเรียน เราก็ได้ประโยชน์จากผลไม้แต่ละชนิดตามที่เราได้ปลูกไว้ ถ้าเราไปปลูกต้นตำแย ต้นอุตรพิษ ต้นหญ้า ซึ่งไม่มีประโยชน์มีโทษด้วยเราผู้ปลูกจะ กินตำแย ดมดอกอุตรพิษ หรือปลูกหญ้ารกๆไว้ประดับบ้านหรือ?



ถ้าเรานำต้นมะม่วงมาปลูก พร้อมลงตำแยไว้ด้วย ปลูกขนุนพร้อมกับปลูกต้นอุตรพิษไว้คู่กัน ผลที่ได้ก็ได้ทั้งสองอย่าง จะเอามะม่วงมาหักลบตำแยได้หรือ จะเอาขนุนมาหักลบอุตรพิษได้ไหม?เมื่อเราก็ตั้งใจปลูกไปแล้ว



ทางที่ดีเมื่อมีเจตนาเป็นกุศล ก็ย่าไปทำบาปเพื่อสร้างบุญ มีอาหารที่ไม่ต้องไปสั่งฆ่าสัตว์เอง วางขายเยอะแยะไป ซื้อมาทำบุญไม่ติดบาปแถม ดีกว่าไหม?

 
นึกไม่ออกอ่ะ[*-*]
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 11:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณป่อยวาง ตอบดีจริงๆ



อ่านคำถามนี้ แล้วทำให้เกิดคำถามที่คล้ายๆกัน ตามมาคือ

1 ยาคิลานเภสัช ที่ญาติโยมนำไปถวายพระ นั้นน่ะ กว่าจะผลิตเป็นยาแต่ละชนิดออกมา นักวิทยาศาสตร์และเภสัชกร นายแพทย์ ต้องทำการวิจัย ยาเหล่านั้น โดยใช้สัตว์ทดลอง กว่าจะนำสารเคมีชนิดนั้นๆมาผลิตเป็นยา สัตว์ทดลองเช่น หนู ลิง กบ ฯลฯ ต้องตายหมู่ทีละพันๆตัว ถามว่า นำยาเหล่านั้นไปถวายพระ บุญที่ได้มันจะคุ้มกันเหรอ?

2 การบริจาคเงินในพระพุทธศาสนา สอนไว้ว่า เวลาบริจาคเงินอุทิสถวายวัด ควรชวนหมู่เพื่อนหมู่ญาติ ร่วมกันบริจาคด้วย จะได้บารมีมาก ถ้าเพื่อนๆและญาติๆ ทำงานเป็นลูกจ้าง หรือเจ้าของร้าน ซุปเปอร์มาร์เก็ต,ร้านสะดวกซื้อ เช่น เซเว่นอีเลเว่น เค้าร่วมบริจาคเงินจากรายได้ที่เค้าหาได้มาจากการทำงานขายของในร้านดังกล่าว แต่ร้านเหล่านั้น ขายเหล้า เบียร์ ขายเนื้อสัตว์ วันๆมีคนฆ่าสัตว์ตายเป็นเบือ ส่งมาขายด้วยนี่นะ เงินที่ได้มาบริจาคกับ บุญที่ได้มันจะคุ้มเหรอ ?

3 And more.......??? ความสงสัยของคนเรา มีไม่สิ้นสุด~ ~ ~

ขอพ่วงคำถามในกระทู้นี้เลยนะ ท่านผู้มาตอบ จะได้ สะดวก เหมือนยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว
 
เจ้าของกระทู้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2005, 9:29 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แล้วอย่างนี้ถ้าซื้ออาหารที่มีเนื้อสัตว์อยู่เช่นแกงไก่แกงปลา ที่เขาวางขายอยู่ตามปกติ จะบาปไหมเพราะ ส่วนตัวรู้สึกเหมือนเราสั่งเขาอยู่กราย ๆ แม้ไม่ตรง ๆ



ส่วน คคหที่ 2 เป็นความละเอียดลึกที่ไม่ค่อยจะได้คิดกัน เข้าไปอีก ส่วนตัวผมเองก็ไม่กล้าเหมือนกันที่ถ้าหากมีทุนจะเข้าไปเปิดร้าน 7-11 เพราะเขาขายของอบายมุข เหล้า บุหรี่ ฯ
 
poivang
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2005, 11:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบคำถามเจ้าของกระทู้ก่อนล่ะกัน

การที่ซื้ออาหารที่มีเนื้อสัตว์ผสมอยู่ ที่ขายตามร้านค้าหรือตลาดนั้น ไม่เป็นบาปค่ะ



พระพุทธองค์กล่าวถึงการกินเนื้อสัตว์นั้นไม่บาป ไม่มีข้อห้ามไม่ให้กิน พระอริยสงฆ์พระป่าที่ท่านฉันเนื้อ ท่านก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ตั้งหลายองค์



การกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ทำให้เป็นบาป

๑. ต้องไม่เป็นผู้ฆ่าสัตว์นั้นเอง เพื่อทำเป็นอาหาร

๒. ต้องไม่เป็นผู้บงการสั่งฆ่าสัตว์นั้นๆเพื่อมาทำอาหาร

๓. ต้องไม่เป็นผู้เห็นชอบดูอยู่ ณที่นั้นมี่ผู้อื่นฆ่าสัตว์อยู่เพื่อนำมาทำอาหาร



ถ้าไม่รู้ไม่ดูไม่เห็นด้วยกับการฆ่าสัตว์นั้นๆมาทำเป็นอาหาร ก็ไม่บาป เพราะเนื้อสัตว์ที่ตายไปแล้วโดยเราถึงไปซื้อมากิน นั้นก็ถือสักแต่ว่าเป็นธาตุธาตุหนึ่ง อย่าไปคิดปรุงแต่งอะไรมากว่าต้องผ่านการฆ่ามาอย่างนั้นอย่างนี้....ล่ะก็จิตจะเป็นอกุศลไปตามกับผู้ฆ่า ทำให้ไม่สบายใจ ส่วนเมื่อเราได้กินเนื้อสัตว์นั้นแล้วก็ช่วยกันแผ่เมตตาให้สัตว์เหล่านั้นด้วย



ในเนื้อสัตว์ก็ยังมีกรดอมิโนบางอย่างที่พืชไม่มี แต่ถ้าทุกข์ใจและไม่สบายใจในการกินเนื้อ ก็กินมังสวิรัติหรือกินเจก็ได้นี่ แล้วอย่าลืมกินถั่วเหลืองแทนโปรตีนเนื้อสัตว์ด้วยล่ะ



ข้อหลังนั้นทำอาชีพอะไรก็ได้ที่ไม่ผิดศีล๕ข้อ เยอะแยะไป....

 
poivang
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2005, 12:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบคุณนึกไม่ออกค่ะ



ตอบข้อ๑ ยาที่ผ่านการทดลองกับสัตว์มามากมายทำให้สัตว์ตายไปหลายพันตัวเพื่อจะได้ยาที่มีคุณภาพมาใช้นั้น แล้วผู้ซื้อได้ซื้อนำยานั้นมาถวายพระนั้นไม่เป็นบาปค่ะ คุ้มค่ะ เพราะเราผู้ซื้อไม่ได้เป็นผู้นำไปทดลองกับสัตว์ สัตว์นั้นไม่ได้ตายเพราะเรา เราไม่รู้ไม่เห็นในการกระทำแห่งการทดลองนั้นๆ เรามีเจตนาดีในการนำยาไปถวายพระ จิตนั้นเป็นกุศล

คนละส่วนกับการกระทำและรู้เห็นในการฆ่าสัตว์ อย่าไปคิดมากรกสมองรกใจ จิตจะติดอกุศลได้ง่าย





ตอบข้อ๒ เงินเดือนของลูกจ้างที่เขาเต็มใจมาทำบุญ เป็นเงินในฐานะลูกจ้างตามหน้าที่ เขาไม่ได้มีเจตนาและไม่มีอำนาจในการสั่งเหล้าเบียร์มาขายในร้าน เงินค่าจ้างของเขาจึงบริสุทธิ์ และทำบุญด้วยใจบริสุทธิ์เป็นบุญ



ถ้ามีเจตนาขายสุรายาเมา ถึงจะเป็นอกุศลจิต ส่วนเงินที่ขายสุรานั้นเอาไปทำบุญก็เป็นบุญ ส่วนเจตนาขายสุรานั้นเป็นการส่งเสริมให้ผู้อื่นมัวเมาผิดศีลข้อ๕ ตัวอย่างก็คือปลูกมะม่วงไว้คู่กับตำแย เวลาเราไปสอยผลมะม่วงก็โดนใบตำแยคัน ได้มะม่วงกินด้วยคันตามตัวด้วย
 
poivang
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2005, 8:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต้องขอโทษขอแก้ไขเพิ่มเติมการตอบข้อ๒ของคุณนึกไม่ออกหน่อยค่ะว่า อย่างลูกจ้างร้าน

เซเว่นที่จำเป็นต้องขายเหล้าเบียร์ให้แก่ลูกค้าที่มาซื้อนั้นก็มีส่วนร่วมทำให้ผู้ซื้อ ผิดศีลข้อห้าด้วยความจำนนต่อหน้าที่การงาน ถ้าไม่ขายให้แก่ลูกค้ามีหวังตกงานนายจ้างไล่ออก งานยิ่งหายากอยู่( น่าเห็นใจพวกเขา )จึงต้องขายตามหน้าที่ ส่วนเขาเอาเงินเดือนไปทำบุญนั้นก็เป็นส่วนของบุญ ดีกว่าเขาไม่ทำบุญสร้างกุศลเลย



ฉะนั้นสังคมเราน่าจะช่วยกันรณรงค์รักษาศีล๕ เลิกเหล้า แต่ช่วงนี้เขาก็รณรงค์งดเหล้าช่วงเข้าพรรษากันอยู่ แต่จะให้สังคมส่วนใหญ่เลิกเหล้าโดยเด็ดขาดก็คงยากพอดู สังคมไทยเราติดอันดับดื่มเหล้ามากเป็นอันดับต้นๆของโลกทีเดียว



ส่วนขายเนื้อสัตว์นั้นถ้าไม่ได้เป็นคนฆ่าสัตว์นั้นมาขายเอง ไม่ได้สั่งให้ผู้อื่นฆ่าให้เพื่อมาขาย และไม่ได้รับรู้เห็นในการฆ่าสัตว์นั้นเพื่อมาขาย แต่มีคนอื่นมาฝากขาย ก็ไม่เป็นบาป

 
เจ้าของกระทุ้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2005, 10:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แล้วอย่างกรณีที่เกิดบังเอิญทำงานอยู่ในโรงงานยาสูบ โรงงานสุราบางยี่ขัน จะต้องลาออกไปหางานใหม่ไหมเพราะทำไปเพื่อมอมเมาคนอีก ผิดศีลอีก แต่มั่นคงเป็นของรัฐ



ส่วนอาหารมีเนื้อสัตว์นั้นผมจะพยายามเลี่ยงดีกว่าครับ
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2005, 11:41 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ช่วยตอบนะครับ สำหรับที่ถามว่า ถ้าทำงานมิจฉาวานิชชา หรือ อาชีพต้องห้าม ซึ่ง 1 ในนั้น คือ ค้ายาเสพติด โดยที่เรายังไม่รู้พิษภัยของมันมาก่อน ก็ถือว่า แก้ไขอะไรอดีตไม่ได้แล้ว แต่ปัจจุบันเมื่อทราบแล้ว ว่าเป็นสิ่งไม่ดี ควรเปลี่ยนอาชีพครับ



สำหรับสุรา บุหรี่ ที่มีความเห็นว่า เป็นความมั่นคงของรัฐนั้น ความคิดเห็นเปลี่ยนกันได้ครับ ยกตัวอย่าง สมัยก่อน รัฐเข้าใจว่า การผลิตฝิ่น และค้าขายฝิ่นเป็นความมั่นคงของรัฐ แต่เมื่อรัฐ เห็นผลเสียจากการมอมเมาประชาชนด้วยฝิ่นแล้ว ว่ามีปัญหามากมาย รัฐจึงเปลี่ยนความคิดใหม่ ยกเลิกการผลิตและขายฝิ่นครับ
 
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2005, 11:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บาปหรือไม่บาปตามความคิดของผม



การกระทำได ๆ ที่ผลของการกระทำ ทำให้เราทุกข์ใจ ไม่สบายใจการกระทำนั้นถือเป็นการทำบาป



การกระทำได ๆ ที่ผลของการกระทำ ทำให้เราสุขใจ สบายใจ การกระทำนั้นถือเป็นการทำบุญ



การกินเนื้อสัตว์ ถ้ากินแล้วรู้สึกอร่อย สบายใจ มีความสุข ก็คงไม่บาปอะไร ได้บุญด้วยซ้ำ แต่ถ้ากินแล้วคิดมาก ว่าเราเป็นต้นเหตุทำให้สัตว์นั้นตายไป สัตว์นั้นต้องเจ็บตายไปอย่างทรมาร คิดอย่างนี้รับบาปเต็ม ๆ เลิกกินไปดีกว่า เรื่องอย่างนี้อยู่ที่วิธีคิดครับ



เรื่องอื่น ๆ ก็ลองใช้วิธีนี้คิดเทียบเอานะครับ ใช้ได้ทุกเรื่อง



เอาเรื่องคนที่มีอาชีพฆ่าสัตว์ขาย เขาบาปไหม เราตอบแทนเขาไม่ได้ ถ้าเขาเห็นเป็นเรื่องธรรมดาเขาก็ไม่บาปอะไร แต่ถ้าเป็นเราไม่เคยฆ่าสัตว์แค่เห็นก็รู้สึกไม่สบายใจ อย่างนี้เรียกว่าแค่เห็นก็บาปแล้วยังไม่ต้องลงมือหรอก จะเห็นได้ว่าการกระทำเดียวกัน คนแต่ละคนยังได้รับบาปไม่เท่ากันเลย



เรื่องบุญเรื่องบาปมันก็คือเรื่องของใจ เท่านั้นเอง
 
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2005, 11:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

งดเหล้าเข้าพรรษาครับ
 
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2005, 12:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ได้จะแย้งอะไรคุณนายประแจหรอกนะครับ เพียงแต่อยากจะเสนออีกมุมมองหนึ่ง ยกตัวอย่างเรื่อง งดเหล้าเข้าพรรษา นี่แหละครับ



ถ้า บาป อยู่ที่ความคิด คิดว่า ทุกข์ใจก็บาป คิดว่าสุขใจก็ไม่บาป ดังนั้น ถ้า

1. ถ้าเราดื่มเหล้าให้มันเยอะๆ เลย กินทุกวัน แล้วคิดให้มีความสุขใจ นี่จะกลายเป็น ไม่บาป หรือเปล่า แต่สุดท้าย กลายเป็นโรคพิษสุราเรื่อรัง มีความทุกข์กายอย่างใหญ่หลวง ส่งผลมาที่ใจ ก็คือ ทุกข์ใจตามไปด้วย ใจก็จะกลับไปคิดว่า ไม่น่าเลย เราไม่น่าดื่มเยอะเลย มันก็จะงงๆ ว่า คิดให้สุขใจไปเรื่อยๆ ทุกๆ วัน ไม่บาปแน่หรือ แต่สุดท้ายทำไมทุกข์กายทุกข์ใจ(ด้วยโรคร้าย) ล่ะ บุญนั้นจะทำให้สุขใจไปตลอดมิใช่หรือ ย้อนกลับมาคิดถึงการกระทำครั้งใด ก็ต้องสุขใจทุกครั้งมิใช่หรือ



2. ถ้าเราดื่มเหล้าเมา แล้วขับรถไปชนคนตาย แล้วพยายามคิดให้สุขใจ แต่เราก็ต้องเดือดร้อนหลายอย่างมิใช่หรือ จะไปเป็นบุญได้อย่างไร
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2005, 11:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในความเห็นผม ยึดตามคำพูดของพระพุทธเจ้าน่ะครับว่า บาป คือ การกระทำใดก็ตามที่ก่อนทำ ขณะทำ หรือ หลังทำ ทำให้กิเลสโลภ โกรธ หลงขยายตัวเพิ่มขึ้น มีผลให้คุณภาพใจเสื่อมลง ส่วนบุญก็ตรงข้าม คือ การกระทำ ที่ทำให้โลภ โกรธ หลง ลดลง มีผลให้คุณภาพใจดีขึ้น เช่น การฆ่าสัตว์ เป็นบาป เพราะกิเลสความหลงขยายตัว ไม่รู้ชีวิตไม่ได้เกิดมาเพื่อทรัพย์สินเงินทอง ไม่ได้เกิดมาเพื่อเบียดเบียนกัน ถ้าหลงขยายตัว แล้วอยากได้เงิน จึงไปเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ เช่น เป็นมือปืน เพื่อให้ได้เงิน กิเลสโลภจะขยายตัวไปด้วย

แต่ถ้าหลงขยายตัว แล้วขัดใจกัน กิเลสโกรธ จะขยายตัว แล้วก็ทำบาป

สรุปมี 2 วงจรดังนี้ 1. หลง โลภ ขยายตัว ทำบาป หรือ 2. หลง โกรธ ขยายตัว ทำบาป

ส่วนการทำบุญก็จะตรงกันข้าม เช่น ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ กิเลสสายโลภ หลง จะหดตัว ฯลฯ

 
poivang
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2005, 11:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองมาดูที่หลวงปูดูลย์ท่านสอน



เรื่องกิน

กระผมได้ปฏิบัติทางจิตมานาน ก็พอมีความสงบอยู่บ้าง แต่มีปัญหาทางอาหารเมื่อบริโภคเนื้อสัตว์ คือเพียงแต่เห็นก็นึกเวทนาไปถึงเจ้าของเนื้อนั้นว่าเขาต้องสูญเสียชีวิตเพื่อเราผู้บริโภคแท้ๆ คล้ายกับว่าเราผู้ปฏิบัติจะขาดเมตตาไปมาก เมื่อเกิดความกังวลเช่นนี้ ก็ทำความสงบใจได้ยาก

หลวงปู่ว่า “ ภิกษุจะบริโภคปัจจัยสี่ต้องพิจารณาเสียก่อน เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่า การกินเนื้อสัตว์ คล้ายเป็นการเบียดเบียน และขาดเมตตาต่อสัตว์ ก็ให้งดเว้นการฉันเนื้อเสีย พากันฉันอาหารเจต่อไป”



เรื่องกินมีอีก

สมัยต่อมาประมาณสี่เดือน ภิกษุกลุ่มนั้นมากราบเรียนหลวงปู่อีก หลังจากออกพรรษาแล้ว บอกว่าพวกกระผมฉันเจมาตลอดพรรษาด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง เพราะญาติโยมแถวบ้านโคกกลาง อำเภอปราสาทนั้น ไม่มีใครรู้เรื่องอาหารเจเลย ลำบากด้วยการแสวงหา และลำบากแก่ญาติโยมผู้อุปัฏฐาก บางรูปถึงสุขภาพไม่ดี บางรูปเกือบไม่พ้นพรรษา การทำความเพียรก็ไม่เต็มที่เท่าที่ควร

หลวงปู่ว่า “ ภิกษุเมื่อจะบริโภคปัจจัยสี่ ต้องพิจารณาเสียก่อน ครั้นเมื่อพิจารณาแล้ว เห็นว่าอาหารที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้านี้ แม้จะมีผักบ้าง เนื้อบ้าง ปลาบ้าง ข้าวสุกบ้าง แต่ก็เป็นของบริสุทธิ์ โดยส่วนสาม คือไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และเขาไม่ได้ฆ่าเพื่อเจาะจงเรา และเราก็แสวงหามาโดยชอบธรรมแล้ว ญาติโยมเขาถวายด้วยศรัทธาเลื่อมใสแล้ว ก็พึงบริโภคอาหารนั้นไป ครูบาอาจารย์ของเราท่านก็ปฏิบัติอย่างนี้มาแล้วเหมือนกัน



เรื่องกินยังไม่จบ

เมื่อวันแรม๒ค่ำ เดือน๓ พ.ศ.๒๕๒๒ หลวงปู่พักอยู่ที่วัดป่าประโคนชัย เวลา๒ทุ่มผ่านไปแล้ว มีภิกษุกลุ่มหนึ่ง ซึ่งชอบเดินธุดงค์ไปตามที่ชุมนุมต่างๆ ได้แวะเข้าไปพักที่วัดป่านั้นด้วย หลังจากแสดงความคารวะตามสมณวิสัยแล้ว ก็กล่าวถึงจุดเด่นที่เขายึดถือเป็นหลักปฏิบัติว่า ผู้บริโภคเนื้อสัตว์ คือผู้สนับสนุนให้คนฆ่าสัตว์ ผู้บริโภคผักมีจิตเมตตาสูง สามารถพิสูจน์ได้ว่า เมื่อหันไปบริโภคผักแล้ว จิตใจก็สงบเย็นดีขึ้น

หลวงปู่ว่า “ ดีทีเดียวแหละ ท่านผู้ใดสามารถฉันมังสวิรัติได้ ก็เป็นการดีมาก ขออนุโมทนาสาธุด้วย ส่วนท่านที่ยังฉันมังสะอยู่ หากมังสะเหล่านั้นเป็นของบริสุทธิ์โดยส่วนสาม คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อเจาะจงให้เรา และได้มาด้วยความบริสุทธ์แล้ว ก็ไม่ผิดธรรมผิดวินัยไม่เกี่ยวกับอาหารใหม่ อาหารเก่า ที่อยู่ในท้องเลย”

 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2005, 7:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ่านแนวการตอบของคุณ Poivang แล้ว ไม่ธรรมดาเลยครับ ทำให้นึกถึง เรื่องราวของพระสารีบุตร ตอนไปพบพระอัสสชีครั้งแรก ท่านเข้าไปถามว่า "ผิวพรรณท่านผ่องใสนัก ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจในธรรมของใคร ศาสดาของท่านมีปรกติสอนอย่างไร"



ผมเองเมื่อได้อ่าน ในตอนแรกก็อยากจะถามเหมือนกันว่า "การตอบของคุณแจ่มแจ้งนัก ใครเป็นครูบาอาจารย์ของคุณ คุณชอบใจในคำสอนของใคร และอาจารย์ของคุณมีปรกติสอนอย่างไร (เลียนแบบ)"

แต่เมื่ออ่านมาเรื่อยๆ ก็ได้รู้ว่า เป็นศิษย์ของหลวงปู่ดุลย์ นี่เอง สาธุด้วยครับ อาจารย์ดี ย่อมมีลูกศิษย์ดีไปด้วย
 
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2005, 11:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบความคิดเห็นที่ 11



การดื่มเหล้า ถ้ากินแล้วเขามีความสุขจริงดังที่คุณว่า ก็คงไม่บาป แต่จริง ๆ แล้ว คงจะยากครับที่จะหาความสุขกับการดื่มเหล้า เหล้า ขมก็ขม กินแล้วก็ควบคุมสติไม่ได้ จะควบคุมสติให้มีคิดว่ามีความสุขก็ไม่ได้ กินแล้วก็กังวลถึงโรคภัยที่เกิดจากการดื่มเหล้า ดังนั้นคงจะเป็นเรื่องยากที่จะหาความสุขกับการดื่มเหล้าที่มากจนเกินไป แต่ถ้ารู้จักดื่มแต่พอดีเหล้าก็กับเป็นยาให้คุณประโยชน์ได้เหมือนกัน ภิกษุในพระพุทธศาสนาก็สามารถดื่มเหล้าได้แต่ในปริมาณที่น้อย ปริมาณเท่าใดนั้นจำไม่ได้ คิดว่าคุณเกียรติคงรู้ครับ



ผมยังยืนยันว่า บุญหรือบาปอยู่ที่การคิดครับ ทำสิ่งใดแล้วสุขใจสบายใจคือบุญ ทำสิ่งใดแล้วทุกข์ใจกังวลใจ คือบาป



ในความคิดเห็นที่ 13 ของคุณPoivangเป็นตัวอย่างของการหาวิธีคิดเพื่อให้ได้บุญ ให้สบายใจ จะเห็นว่าในตัวอย่างแรกการกินเนื้อสัตว์แล้วรู้สึกเวทนาไปถึงเจ้าของเนื้อ การกินเนื้อแบบนี้จึงเป็นบาป ผู้กินจึงเลี่ยงที่จะไม่กินอีก

ในตัวอย่างต่อมา ภิกษุได้รับบาปที่ไม่สามารถจะหาอาหารที่ไม่มีเนื้อมาฉันได้ หลวงปู่จึงให้ภิกษุเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อที่จะให้ภิกษุฉันเนื้อได้อย่างสบายใจ โดยให้พิจารณาว่าอาหารที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้านี้ แม้จะมีผักบ้าง เนื้อบ้าง ปลาบ้าง ข้าวสุกบ้าง แต่ก็เป็นของบริสุทธิ์ โดยส่วนสาม คือไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และเขาไม่ได้ฆ่าเพื่อเจาะจงเรา และเราก็แสวงหามาโดยชอบธรรมแล้ว ญาติโยมเขาถวายด้วยศรัทธาเลื่อมใสแล้ว ก็พึงบริโภคอาหารนั้นไป



จะเห็นได้ว่า บุญหรือบาปอยู่ที่การคิดของเรานั่นเอง
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2005, 11:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบคุณนายประแจ

ความคิดที่ 11 คือความคิดผมเองแหละครับ แต่ทำไมพอขึ้นโพสต์เป็นชื่อนายประแจ ก็ไม่ทราบเหมือนกัน เข้าเรื่องดีกว่า เรื่องนี้มีได้ 2 กรณีครับ



กรณีที่ 1 จะเป็นจริงของคุณ ถ้าบุคคลผู้กระทำเรื่องนั้นทำใจได้เหมือนพระอริยบุคคล ไม่ว่าจะกระทำสิ่งใด ใจจะไม่หวั่นไหวไปด้วยโลภ โกรธ หลงเลย ดังนั้นจึงไม่มีบาปเกิดขึ้นท่าน เช่น ภรรยาที่เป็นพระโสดาบัน แม้ส่งธนูให้สามีไปล่าสัตว์ แต่ใจไม่คิดถึงสัตว์ที่จะถูกฆ่าตายเลย ใจคิดแค่ว่า จะทำหน้าที่ภรรยาให้ดีที่สุด และเวลากินเนื้อสัตว์ของสามี ท่านก็ไม่ได้คิดเลยว่าสัตว์นี้ถูกฆ่ามาเพื่อเรา อย่างนี้บาปไม่เกิดขึ้นกับท่าน แต่ท่านไม่มีทางจะฆ่าสัตว์โดยเจตนาด้วยตัวท่านเองอย่างแน่นอน ไม่ว่ากรณีใดๆ



กรณีที่ 2 ดังนั้นจึงเป็นที่มาของกรณีที่ 2 คือ การผิดศีลโดยเจตนา เช่นฆ่าสัตว์ด้วยตัวเอง ลักทรัพย์ด้วยตัวเอง ผิดในกามด้วยตัวเอง โกหกด้วยตัวเอง ดื่มสุราด้วยตัวเอง เป็นบาปทุกกรณีไม่ว่าใจจะคิดอย่างไรก็ตาม



เรื่องนี้ต้องระวังให้มาก เพราะในต่างประเทศเข้าใจเช่นนี้ จึงเกิดการรักษาพยาบาลที่เรียกว่า การุญฆาต อย่างถูกกฏหมายขึ้น คือ การฆ่าคนไข้ให้ตาย ถ้าเขาเห็นว่า รักษาไม่หาย อยู่ไปก็ทรมาณ หมอก็จะดำเนินการฆ่าคนไข้ซะ แล้วมีความสุขที่ได้ช่วยให้คนไข้ไม่ต้องอยู่อย่างทรมาณ แต่ในการความเป็นจริง มันเป็นบาปอย่างยิ่ง ปัจจุบัน มีทฤษฎีรักษาใหม่เกิดขึ้นที่เรียกว่า รักษาแบบฟื้นฟู คือ ดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ ให้คนไข้จากไปเองตามธรรมชาติอย่างสบายใจ เพื่อที่จะมาหักล้างแนวคิดเดิมในต่างประเทศ

 
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2005, 11:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อ



จะเห็นได้ว่าการกินเนื้อสัตว์จะบาปก็ได้ ไม่บาปก็ได้ คิดอย่างนึงก็บาปคิดไปอักอย่างนึงก็ไม่บาป อยากกินเนื้อให้ไม่บาป ก็อย่าดูเวลาเขาฆ่า อ่ะ ไม่เห็นนี่เขากำลังเชือดเลือดสดๆไหลนอง ไม่ได้ยินเสียงร้องโหยหวลของสัตว์ตอนโดนฆ่านี่ แล้วก็อย่าไปสงสัยนะว่าเขาฆ่าสัตว์นี้มาเพื่อเราโดยเฉพาะ ทั้ง ๆที่รู้อยู่เต็มอกว่าเขาฆ่ามาเพื่อถวายเราโดยเฉพาะ



คิดตามนี้ได้ก็ฉันอย่างได้บุญล่ะ



ความจริงความสุข ความทุกข์ในชีวิตของมนุษย์เราก็ขึ้นอยู่กับวิธีคิดในทุก ๆ เรื่อง ศาสนาพุทธเราเป็นที่รวมของวิธีคิด เพื่อที่จะดับทุกข์ทั้งหลายในชีวิต ไม่ว่าจะมีความทุกข์ด้วยเรื่องใด ศาสนาพุทธมีคำตอบมีวิธีดับทุกข์ให้เราได้เสมอ เมื่อฝึกความคิดได้จนกระทั้งไม่รู้สึกทุกข์ทั้งปวงแล้ว ก็เรียกว่าบรรลุนิพพาน มั้งครับ(ไม่แน่ใจ ผมศึกษาธรรมอย่างผิวเผินเท่านั้น แต่ใช้วิธีมองภาพรวมแล้วสรุปเอา ผมคิดว่าผมเข้าใจภาพรวมของพระพุทธศาสนาเมื่ออ่านหนังสือ"แก่นของพระพุทธศาสนา"ของท่านพุทธทาส แล้วเจอบทสรุปของพระพุทธศาสนาที่ท่านพุทธทาสสรุปว่า ประโยคที่แทนพระพุทธศาสนาทั้งหมดคือประโยคที่ว่า "สิ่งทั้งหลายทั้งปวง จงอย่ายึดมั่นถือมั่น" ประโยคนี้ประโยคเดียวจะนำเราไปสู่นิพพานครับ
 
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2005, 12:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้าวคุณเกียรติ สวัสดีครับ มาแทรกพอดีเลย

คุณเกียรติเวลาเรียกชื่อผม เรียกคุณประแจ หรือ เรียกนายประแจ ก็ได้ครับ เรียกคุณนายประแจ เรียก"คุณนาย"มันเหมือนเป็นภรรยาเจ้าใหญ่นายโตยังไงชอบกล แฮ่ ๆ ๆ ๆ555



 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2005, 8:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เยี่ยมครับ "แม้ประโยคเดียว ของพระพุทธเจ้า ซึ่งถ่ายทอดผ่านพระภิกษุซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระองค์เช่นท่านพุทธทาสมา" ถ้าเราน้อมมาปฏิบัติ ก็จะทำให้เราพ้นทุกข์ได้



ธรรมะใดๆ มีค่า ถ้าได้ทำ ธรรมะใดๆ ไร้ค่า ถ้าไม่ได้ทำ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง