Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
เวลาถูกโหมด้วยสิ่งกระทบจากภายนอก เพื่อนๆ เปิด- ปิด อะไร ตรงไ
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
มนต์จงเป่า
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2005, 8:16 pm
เอาง่ายๆยืมรูปจากเว็บบอดนี้แหละครับ รูปกับคำถามตรงกันพอดี
จิตอาศัยวิญญาณ รับรู้ใน อายตนะ คือ ทวารทั้งหก
จักขุทวาร(ตา) มโนทวาร(ความรู้สึกนึกคิด) โสตทวาร(หู) ฆานทวาร(จมูก) ชิวหาทวาร(ลิ้น) กายทวาร(กาย)
ทวารทั้งหก รับรู้ได้ทั้งเรื่องธรรมะ และอธรรม ในพวกกิเลสหนาปัญญาหยาบ (ศํพท์ธรรมะเรียกว่า ปุถุชน)ควบคุมสิ่งที่ผ่านเข้าออกทางทวารทั้งหกไม่ได้ จิตใจจึง
เกิดเวทนาสุขทุกข์ กระเพื่อมไปตามสิ่งที่ผ่านเข้าออกเหล่านั้น จิตจึงรู้สึกอ่อนล้า เหน็ดเหนื่อยมาก จิตกลายเป็นใจไร้พลังไปได้น่ะ พี่จ๋อในรูปเหมือนจะบอกใบ้ให้
เราหัดปิดทวารเหล่านั้นซะบ้าง แต่คงจะไม่ได้หมายถึงให้เราเอามือปิดหู ปิดตา ขณะเดินไปเดินมา ทำการทำงานอยู่ ในรูปจึงมีปริศนาให้ตีความกัน ผมพอจะเดา
ได้บ้างแต่ อยากได้ความเห็นหลากหลายมุมมอง ใครมองเห็นไง ขอให้เอาออกมาเล่าเป็นทาน ด้วยครับ... ปล.ส่วนท่านที่ไม่ต้องปิดอะไรใจไม่เคยทุกข์ท่านเก่งมากครับ ท่านไปไกลล้ำหน้าเพื่อนๆไปหลายเส้น ผู้น้อย ขอคาราวะ ด้วย ชาอู่ล่ง รัอนๆ หนึ่งถ้วย
ปุ๋ย
บัวเงิน
เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275
ตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2005, 5:53 pm
อายตนะ ๑๒
อายตนะ แปลว่า สภาวะที่ต่อ คือ ยังจิตและเจตสิกให้เกิดขึ้น มี ๒ อย่าง คือ : -
อายตนะภายใน ๖
มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะภายนอก ๖
มี รูป - เสียง - กลิ่น - รส - โผฏฐัพพะ - ธัมมารมณ์
อายตนะ ๑๒ อย่างนี้ ถ้าจัดเป็นรูป - นามแล้วได้ ดังนี้ :-
ตา - หู - จมูก - ลิ้น - กาย และรูป - เสียง - กลิ่น - รส - โผฏฐัพพะ จัดเป็น รูปธรรม ใจ จัดเป็นนามธรรม ส่วนธัมมารมณ์ คือ ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ นิพพาน บัญญัติเหล่านี้ เป็นได้ทั้งรูปและนาม
ขันธ์ ๕ และรูป - นามเป็นปัจจุบันที่อายตนะ ๑๒ ดังนี้ :-
๑. ขันธ์ ๕ หรือ รูป - นาม เป็นปัจจุบัน ขณะที่ตาเห็นรูป
๒. ขันธ์ ๕ หรือ รูป - นาม เป็นปัจจุบัน ขณะหูได้ยินเสียง
๓. ขันธ์ ๕ หรือ รูป - นาม เป็นปัจจุบัน ขณะที่จมูกได้กลิ่น
๔. ขันธ์ ๕ หรือ รูป - นาม เป็นปัจจุบัน ขณะที่ลิ้นได้รส
๕.. ขันธ์ ๕ หรือ รูป - นาม เป็นปัจจุบัน ขณะที่กายได้สัมผัส
๖. ขันธ์ ๕ หรือ รูป - นาม เป็นปัจจุบัน ขณะที่ใจนึกคิด
อายตนะเป็นรูป - นาม
๑. ตากับรูปกระทบกัน เป็นรูป เห็นเป็นนาม - รู้ว่าเห็นเป็นสติ
๒. หูกับเสียงกระทบกัน เป็นรูป ได้ยินเป็นนาม - รู้ว่าได้ยินเป็นสติ
๓. จมูกกับกลิ่นกระทบกัน เป็นรูป ได้กลิ่นเป็นนาม - รู้ว่าได้กลิ่นเป็นสติ
๔. ลิ้นกับรสกระทบกัน เป็นรูป ได้รสเป็นนาม - รู้ว่าได้รสเป็นสติ
๕. กายกับโผฏฐัพพะกระทบกัน เป็นรูป รู้กายกระทบเป็นนาม เข้าใจละเอียดใน การกระทบเป็นสติ
การเกิดดับของ รูป - นาม
๑. ตากับรูปกระทบกัน รูปธรรมเกิด รู้รูป - นามธรรมเกิด รูปจางหายไป รูปธรรมดับ ไม่เห็น นามธรรมดับ
๒. หูกับเสียงกระทบกัน รูปธรรมเกิด รู้ว่าได้ยิน - นามธรรมเกิด เสียงหายไป รูปธรรมดับ ไม่ได้ยิน นามธรรมดับ
๓. จมูกกับกลิ่นกระทบกัน รูปธรรมเกิด รู้ว่าได้กลิ่น - นามธรรมเกิด กลิ่นหายไป รูปธรรมดับ ไม่ได้กลิ่น นามธรรมดับ
๔. ลิ้นกับรสกระทบกัน รูปธรรมเกิด รู้ว่ารส - นามธรรมเกิด รสจางหายไป รูปธรรมดับ ไม่รู้รส นามธรรมดับ
๕. กายกับโผฏฐัพพะกระทบกัน รูปธรรมเกิด รู้การกระทบ นามธรรมเกิด การกระทบหายไป รูปธรรมดับ ไม่รู้ นามธรรมดับ
๖. ใจกับธัมมารมณ์กระทบกัน รูปธรรมเกิด รู้การกระทบ - นามธรรมเกิด การกระทบหายไป รูปธรรมดับ ใจไม่สั่ง นามธรรมดับ
กาลทั้ง ๓
กาลทั้ง ๓ คือ :-
อดีต สิ่งที่ล่วงไปแล้ว
อนาคต สิ่งที่ยังไม่มาถึง
ปัจจุบัน สิ่งที่กำลังอยู่เฉพาะหน้า
การกำหนดอารมณ์ในกาลทั้ง ๓ คือ อดีต - อนาคต - ปัจจุบัน
๑. ตากำลังเห็นรูป เป็นปัจจุบัน
รูปกับเห็นดับไปแล้ว เป็นอดีต
รูปกับเห็นยังไม่เกิด เป็นอนาคต
๒. หูกำลังได้ยินเสียง เป็นปัจจุบัน
เสียงกับได้ยินดับไป เป็นอดีต
เสียงกับได้ยินยังไม่เกิด เป็นอนาคต
๓. จมูกกำลังได้กลิ่น เป็นปัจจุบัน
จมูกกับการได้กลิ่นดับไป เป็นอดีต
กลิ่นกับการรู้กลิ่นยังไม่เกิด เป็นอนาคต
๔ ลิ้นกำลังรู้รส เป็นปัจจุบัน
ลิ้นกับการรู้รสหายไป เป็นอดีต
รสกับการรู้ยังไม่เกิด เป็นอนาคต
๕ กายกำลังรู้การกระทบ เป็นปัจจุบัน
การกระทบกับความรู้ดับไป เป็นอดีต
การกระทบกับความรู้ยังไม่เกิด เป็นอนาคต
๖. ใจกำลังรู้อารมณ์ เป็นปัจจุบัน
อารมณ์กับความรู้ดับไป เป็นอดีต
อารมณ์กับความรู้ยังไม่เกิด เป็นอนาคต
...สรุปคือ กำหนดรู้อารมณ์ที่เป็นปัจจุบันให้สั้นที่สุด เป็นขณะๆไป แต่ตรงนี้หากไม่มีพื้นฐานสมาธิเบื้องต้นตรงสมถะที่ดีมาก่อน ก็พิจารณายากสักหน่อย
จากลักษณะของปรมัตถธรรม...http://www.mcu.ac.th/e-book/Thai/mainright/dissertation/meditation/01.html
.... ...
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2005, 12:05 pm
จากรูปลิง....คนเราปิดการรับรู้จากภายนอกทั้งหมดไม่ได้...
ควรหมั่นรับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในตัวเราเองบ้าง...
เมื่อรับรู้สิ่งภายนอก ก็พยายามกลับมารับรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายในตัวเรา...
รับรู้เฉยๆ ไม่ปรุงแต่ง ไม่เรียกชื่อ ไม่ชื่นชม ไม่ยกย่อง ไม่ใดๆทั้งสิ้น...
จึงเกิดสติแล้ว....จึงปกติแล้ว...
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th