ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
busagarin
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 24 ก.ค. 2005
ตอบ: 4
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2005, 5:08 pm |
  |
ติดอยู่ในความสงบ แก้อย่างไร |
|
|
|
   |
 |
maibok
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2005, 5:32 pm |
  |
ไม่ต้องหาอุบายอะไรมาแก้ทั้งนั้นนะครับ
รู้เฉยๆ ต่อ "สภาวะ" ความสงบนั้นไปโดยไม่เข้าไปแทรกแซง
ความสงสัยที่เกิดขึ้น
ความไม่แน่ใจที่เกิดขึ้น
อาการสภาวะอื่นๆ ที่เกิดขึ้น
ในระหว่างที่เกิดความสงบนั้นแหละครับ
จิตผู้รู้เมื่อไปรับรู้ถึงอาการอื่นที่มาแทรก ความสงบมันก็ดับไปครับ
ข้อสำคัญ
1. อย่าแทรกแซงโดยใช้ความคิดเข้าไปกำหนด ถ้าหากมีความคิดเกิด ดูความคิดต่อไปเลยครับ
2. เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา อาการสงบที่ไม่ยอมดับไป เป็นเพราะจิตไปยึดความสงบไว้ ไม่ว่าจะเป็น อยากให้มันดับไป หรือไม่อยากให้มันดับไป ล้วนแต่เป็นปัจจัยในการให้ "ความสงบ" นั้นยังคงอยู่ต่อไป เพราะความอยากหรือความอยากที่จะไม่อยาก มาเป็นเชื้อให้ "ความสงบ" นั้นมีอยู่ต่อไป
3. ความสงบ ก็เป็นสภาวะอย่างหนึ่งเหมือนกับสิ่งอื่นๆ ทั่วๆ ไปที่ จิต รับรู้
4. อันนี้สำคัญครับ เมื่อ "รู้" ความสงบเกิดขึ้น "สติ" ต้องคอยเตือนให้อย่า "ถลำ" เข้าไปในสภาวะนั้นครับ ถ้า "เผลอ" สติก็ไม่อยู่ หรือ มีสติก็ไม่สามารถที่จะไปกระตุ้นให้ปัญญาตื่นตัวครับ (มันไหลเข้าไปคลุกเคล้ากับความสงบนั้นแล้วครับ) ถ้าไม่มีอะไรมาให้รู้ต่อละก้อ ลองสังเกตดูว่าจิตมีอาการอย่างไร ณ ขณะนั้น เช่น พอใจ ไม่พอใจ แล้วก็ เดินต่อไปจากจุดตรงนี้ต่อไปเลยครับ
อย่ารีบร้อนนะครับ ไม่งั้นจะติดขัดเหมือนกับที่ผมเคยเป็นมา และยังคงมีอยู่ (เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยว่าจะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง เราไปกำหนดไม่ได้ครับ) |
|
|
|
|
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2005, 6:08 pm |
  |
ช่วยอธิบายอาการหน่อยสิครับ  |
|
|
|
    |
 |
ความคิดเห็นส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2005, 6:22 pm |
  |
ความคิดเห็นส่วนตัวแบบผู้ยังไม่มีความชำนาญคิดว่าต้องฝึกสติให้มีกำลังมากมากแล้วนำมาใช้เป็นฐานในการทำสมาธิแทนความสงบครับ วิธีการคิดว่าควรฝึกสติปัฏฐานสี่ในชีวิตประจำวันด้วยการเริ่มต้นมองหรือสังเกตเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่คิดว่าถนัดที่สุด หรืออาจฝึกเอาสิ่งที่เราใช้จับเพื่อเข้าสู่จุดสงบตอนที่เราทำสมาธิมากำหนดระลึกในชีวิตประจำวันทุกครั้งที่นึกได้ไม่ว่านั่งไม่ว่ายืนหรือเดินหรือนอน เป้าหมายของการฝึกเบื้องต้นคือให้มีสติให้บ่อยมากที่สุดในชีวิตประจำวัน เชื่อมั่นว่าพอทำได้มาก จะเห็นความก้าวหน้าตอนนั่งสมาธิขึ้นมาอีก พอเริ่มสัมผัสความชัดเจนของสภาวะจริงของการมีสติได้แล้ว จะเริ่มรู้สึกว่ามีอะไรที่มากกว่าความสงบในการทำสมาธิ จะเริ่มหันไปสู่แนวทางขั้นต่อไปเองเหมือนเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ความรู้สึกสงบสุขจะลดลงขณะปฏิบัติ แต่จะไม่รู้สึกเสียดาย คล้ายว่าตนยอมเสียของเก่าไปเพราะเริ่มเห็นของใหม่ที่รู้สึกว่ามันดีกว่าวางอยู่ข้างหน้าเราพร้อมจะเป็นของเราตลอดเวลาเมื่อจิตเราถึงขั้น
ผมเพียงเสนอความคิดเห็นอยากให้พิจารณาหลายหลายแนวทางมาประกอบเพื่อหาแนวทางปฏิบัติขั้นต่อไปให้กับตัวเองดูครับ แนวทางของผมก็คือปฏิบัติควบคู่กันไป เป็นการเสริมกำลังให้แก่กันและกันในการปฏิบัติ เพราะการฝึกสติในชีวิตประจำวันทำให้จิตค่อยค่อยมีพลังที่แข็งแกร่งและมั่นคงไม่ตกง่าย ส่วนขณะทำสมาธิจิตจะเข้าสู่สภาวะต่างต่างได้สูงว่องไวเหมาะใช้ค้นคว้าหาสภาพธรรมใหม่ใหม่เพื่อนำมาใช้พัฒนการฝึกสติในชีวิตประจำวันอีกทีหนึ่ง ไม่รู้ว่าตนสังเกตได้ถูกต้องหรือไม่ ผมคิดไปเองว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้น่าจะเป็นขณะที่นั่งสมาธิจึงเชื่อว่าสภาวะขณะนั่งสมาธิน่าจะสร้างความสำเร็จทางจิตได้สูงและไวกว่าแต่การมีสติในชีวิตประจำวันตลอดเวลาก็เป็นฐานสำคัญจะขาดเสียไม่ได้
ขอให้มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติครับ
|
|
|
|
|
 |
busagarin
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 24 ก.ค. 2005
ตอบ: 4
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2005, 10:11 pm |
  |
ขอขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำคะ
สภาพที่เป็นคือ จะยึดความสงบในใจเป็นที่มั่น ไม่ว่าจะมีอารมณ์ใดๆเกิดขึ้นก็ตาม สุดท้ายก็จะวื่งไปหาความสงบ บางครี้งรู้สีกเบื่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น โกรธ หรือ ความไม่พอใจต่างๆ เราจะพยายามลืมๆ แล้วอยากทำให้ใจสบายขึ้น โดยสร้างความสงบในใจ หรือทำใจหรือหัวสมองให้ว่างๆไว้
 |
|
|
|
   |
 |
วายร้าย
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
24 ก.ค.2005, 10:59 pm |
  |
ติดอยู่ในความสงบ แก้อย่างไร
สภาพที่เป็นคือ จะยึดความสงบในใจเป็นที่มั่น ไม่ว่าจะมีอารมณ์ใดๆเกิดขึ้นก็ตาม สุดท้ายก็จะวื่งไปหาความสงบ บางครี้งรู้สีกเบื่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น โกรธ หรือ ความไม่พอใจต่างๆ เราจะพยายามลืมๆ แล้วอยากทำให้ใจสบายขึ้น โดยสร้างความสงบในใจ หรือทำใจหรือหัวสมองให้ว่างๆไว้
กายที่มีอารมณ์ เวทนา ก็สงบ จากมัน โลภ ก็มาจากเวทนา ที่เป็นเดิม
โลภเป็นต้นตอ ...
จิตทึ่มีนิวรณ์ ก็ มี
ศึล - จากสถาปนิกที่ออกแบบมาดี
สมาธิ - จากวิศวะ คุมสร้างงานมาดี
ปัญญา - จากนายช่างที่ ว่องไวชำนาญงานดี
ส่วน ฆราวาส ก็มี
ทาน ละ โลภ
ศีล ละ โกรธ
ภาวนา ละ หลง
เป็น กระดาษ ทรายที่ ขัดเกลา
ส่วนสมองว่างนั้น ถ้าว่างจากสมาธิที่มีสติ กำกับ ก็ ดี
ถ้าเป็น จาก ความฟุ่ง คลายตัว ก็ ไม่ไหว วิปัสสนา อะไรไม่ได้
ว่างจากการ มี สติ ที่ มีหลัก จากการกำหนดลม
รู้สภาวะที่เกิดดับ หลังจาก ว่าง (วางจากความคิดที่ต่อเนื่อง) มีสติที่ ควบคุมความถี่ ในขณะเกิดดับ จนโปร่ง จนสงบนะ
ปล.มาตอบผิดกระทู้
|
|
|
|
|
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2005, 3:20 pm |
  |
คนที่ผ่านการฝึกสมาธิมาก็จะเป็นแบบนี้ เพราะการฝึกสมาธินั้นเพื่อเข้าสู่ความสงบ
เมื่อเข้าสู่ความสงบความทุกข์อันเกิดจากจากปัญหาต่างๆ ก็จะหายไปในขณะที่จิตเข้าสู่ความสงบ
แต่หลังจากที่ออกมาจากสมาธิแล้ว ความทุกข์ที่มีอยู่ก็จะผุดแสดงตัวมาอีกเหมือนเดิม
การฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบนั้น เป็นการหลีกเพื่อพักจิตจากความวุ่นวายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายใน
ประโยชน์ของความสงบ อันเกิดจากสมาธินั้นก็มีประโยชน์ระดับหนึ่ง และคนที่ฝึกได้ถึงระดับนี้ก็ถือว่าดีแล้ว
แต่ถ้าเบื่อแล้ว ต้องการหาวิธีอื่นๆ ที่ดีกว่าเพียงหลบหลีกเข้าสู่ความสงบอย่างเดิมๆ ที่เป็นอยู่
ก็ยังมีวิธีฝึกอีกอย่างหนึ่ง คือวิปัสสนา เป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ แล้วสามารถแก้อาการติดสงบได้ด้วย
|
|
|
|
    |
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2005, 3:38 pm |
  |
การแก้เรื่องติดสงบนั้นก็ทำได้ด้วยการเจริญสติสัมปชัญญะ
แต่ต้องใช้ความพยายามและเวลามาก เนื่องจากต้องแก้ความเคยชินเก่าที่ติดมานาน
การฝึกสมาธินั้น เป็นการหลีกหนีจากอารมณ์ แต่การฝึกวิปัสสนานั้นเป็นการรับรู้อารมณ์
ที่เกิดขึ้นทั้งภายนอก ภายในอย่างเป็นจริง แล้วพยายามวางใจเป็นกลางไม่มีอคติกับสิ่งที่รับรู้นั้น
พยายามยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้นขณะปัจจุบัน ไม่หลีกไม่หนี ไม่พยายามกำจัด เพียงแต่เรารักษาจิตใจของเราให้ทรงอยู่อย่างปกติ ไม่รับอารมณ์ที่เกิดขึ้นมาเป็นของเรา ไม่คิดไม่ปรุงแต่งต่อ
การจะทำได้อย่างนี้ต้องเริ่มจากการฝึกจิตให้มีสติสัมปชัญญะ เสียก่อน
สติสัมปชัญญะเป็นฐานเป็นสิ่งเริ่ม ของการฝึกวิปัสสนา
สติ คือความระลึกรู้, สัมปชัญญะ คือความรู้ตัวทั่วพร้อม
|
|
|
|
    |
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2005, 3:48 pm |
  |
สำหรับคุณ busagarin
ต้องเริ่มต้นด้วยการฝึกให้มีสัมปชัญญะ คือความรู้ตัวทั่วพร้อมเสียก่อน
ให้ฝึกการโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่นการเดินกลับไปกลับ ที่เรียกว่า เดินจงกรม
ถ้าเราฝึกโดยการนั่งนิ่งๆ แล้วโอกาสจะเข้าสู่ความสงบอย่างเดิมนั้นมีมาก
ถ้าไม่สามารถเดินจงกรมได้ ก็อาศัยชีวิตประจำวันของเราที่ร่างกายต้องทำโน้นทำนี่อยู่ตลอดให้มีความรู้ทั่วไปด้วย
รู้ตัวทั่วพร้อม บางคนอาจจะสงสัยว่ารู้อย่างไร ?
คือรู้ไปทั้งร่างกายตั้งแต่หัวจดเท้า ไม่กำหนดหรือเพ่งไปจุดใดจุดหนึ่งของร่างกาย
รู้ก็ให้รู้อย่างธรรมดา ไม่เพ่งไม่จดจอ จนจิตไม่รับรู้สิ่งภายนอกอะไรเลย
ตอนนี้คงบอกได้เพียงเท่านี้ ต้องไปทำธุระก่อน
....
แนะนำให้อ่านตรงนี้ (ด้านบน) http://www.larndham.net/index.php
|
|
|
|
    |
 |
busagarin
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 24 ก.ค. 2005
ตอบ: 4
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ค.2005, 7:09 pm |
  |
ขอบคุณคะ จะพยายามต่อไปคะ
 |
|
|
|
   |
 |
อัตตา
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2005, 8:28 pm |
  |
เป็นธรรมดาเพราะสังขารคือร่างกายและจิตใจเป็นสภาพธรรม มันจะเกิดธรรมเมื่อไรก็ได้
เพราะมันไม่เป็นไปในอำนาจใด เพียงแต่เราต้องมีสติตั้งมั่น อาศัยสิ่งนั้นระลึก เพื่อให้เกิดรู้ ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา มันจะเกิดมันก็เกิด เราเฉยๆไว้ อย่าพอใจหรือไม่พอใจ |
|
|
|
|
 |
โมฆบุรุษ
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2004
ตอบ: 38
|
ตอบเมื่อ:
26 ก.ค.2005, 10:13 pm |
  |
พี่บุษกรินไปกราบเรียนถามหลวงพี่เล็กสิครับ
ถ้าไม่สะดวก ก็โทรไปช่วงที่ท่านไปบ้านอนุสาวรีย์ฯก็ได้ครับพี่
ไม่เห็นพี่เข้าไปบอร์ดปิดบ้างเลยนะครับ  |
|
|
|
   |
 |
เพื่อนเดินทาง
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
27 ก.ค.2005, 1:26 pm |
  |
คุณ busagarin ถามตัวเอง ให้แน่ นอนก่อน ความสงบ ที่ เกิดขึ้น เป็นความสงบที่ตั้งใจให้เกิด หรือ แสร้งให้เกิด แล้วคิดว่า ดี จึงรักษาไว้ หรือ เป็นความสงบที่เกิดขึ้นเองจิงๆ
ถ้าติดในความสงบ แรก นั้น ก็ ไม่ดี แต่ถ้า เป็น สถานะหลัง ก็เป็นไป โดยธรรมชาติรักษาไว้เช่นนั้น โดยความเป็นเช่นนั้น ก็จะพัฒนา โดยตัวมันเอง ไปสู่ภาวะที่ละเอียดขึ้น ไม่เป็นไร แต่สถานะแรกสิ เป็นความสงบจอมปลอม เป็นความไม่สงบแฝงเร้น ก็จงปล่อยวางแล้วดำเนินชีวิต อยู่ในโลกความเป็นจริง ก็คงจะเพียงนี้ก่อน |
|
|
|
|
 |
busagarin
บัวผลิหน่อ

เข้าร่วม: 24 ก.ค. 2005
ตอบ: 4
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2005, 8:11 pm |
  |
ขอบคุณ (อีกครั้ง) คะ
อารมณ์เราก็เรื่อยๆ รู้ตัวบ้าง ลีมตัวบ้าง
ความรู้ตัวช่วยชะลอ บรรเทาความรุนแรงของอารมณ์โมโห โกรธ ไม่พอใจ หงุดหงิด
แต่อารมณ์ทั้งหลายไม่ได้หายไป ยีงคงอยู่ และหายไปเร็วขึ้น
พอหายไป ก็เหลือแต่ความสงบ เฉยๆ แถมเบื่อในบางครั้ง
รู้สึกอยากให้มีอะไรตื่นเต้นบ้าง ... (เรื่มฟุ้งอีกแล้ว .. ขอตัวไปชงนมให้ลูกก่อนคะ)
 |
|
|
|
   |
 |
อ๋อม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
31 ก.ค.2005, 11:04 pm |
  |
มีใครอยู่สภาวะสงบ...จนรู้สึกว่าทุกอย่างรอบตัวเราหมุนไปแล้วเราไม่รู้สึกอะไรบ้าง.. แค่ตั้งจิตให้รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ..ทำบ่อยๆแล้วชินเอง..สมาธมา..ปัญญาเกิด..
|
|
|
|
|
 |
เขม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
01 ส.ค. 2005, 1:53 pm |
  |
สงบก็รู้ว่าสงบหนอ
ไม่สงบก็รู้ว่าไม่สงบหนอ เป็นต้นแบบนี้ ไม่ต้องไปจัดการอะไรมาก |
|
|
|
|
 |
แอนนี่
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
25 ก.ย. 2005, 4:01 am |
  |
ทางสงบก็คือ ปัญญา เมื่อปัญญา ยังไม่โปร่งใส ก้อยังไม่ผ่านธรรมข้อนี้นะคะ |
|
|
|
|
 |
|