Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วจีกรรม ต้องชดใช้อย่างไร และ การที่ไม่สนใจคำพูดของคนอื่น แม้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
โจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2005, 3:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วจีกรรม ต้องชดใช้อย่างไรขณะที่มีชีวิตอยู่ และหลังจากตายไป (โดยที่เราไม่ต้องไปทำอะไรเขากลับอีก ไม่ว่าเวลาไหน กลัวว่าด่ามา แล้วก็ด่ากลับ นั่นแหละรับกรรมแล้ว ไม่เอานะครับ), และถ้าเป็นคำพูดที่ถูกแกล้งให้พูดออกมาจะเป็นบาปกรรมไหม และ การที่ไม่สนใจคำพูดของคนอื่น แม้จะได้ยินต้องทำอย่างไร (ในชีวิตประจำวัน ที่มีแต่คนยุ่งเหยิง หรือหวังดีแต่ประสงค์ร้าย ใช้การนินทา ดุด่า ว่าเอา แทนการตักเตือนและแนะนำ)
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2005, 5:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การที่จะต้องชดใช้วจีกรรมขณะยังมีชีวิตอยู่ได้นี่ (ไม่นับใจที่เศร้าหมองเองจากกรรมพูดวจีกรรม) จะต้องเป็นบาปกรรมที่เป็นเรื่องใหญ่ๆ รุนแรงมากๆ ครับ ส่วนถ้าวจีกรรมน้อยๆ มักจะไม่มีกำลังแรงพอที่จะให้ผลในตอนมีชีวิตอยู่

โทษของวจีกรรมแรงๆ ที่ให้ผลตอนมีชีวิตอยู่ ได้แก่

1. ทำสังฆเภท คือ ยุให้สงฆ์แตกกัน ดังเช่น พระเทวทัตในสมัยพุทธกาลทำ ผลก็คือ ถูกธรณีสูบ ลงอเวจีมหานรก นรกขุมที่ 8 (ขุมกรรมหนัก)

2. มเหสีฝ่ายซ้ายของพระราชาองค์หนึ่ง ใส่ร้ายมเหสีฝ่ายขวา เมื่อพระราชาจับได้ จึงถูกลงโทษประหารชีวิต

3. ในทางปัจจุบัน ก็เช่น ใส่ร้ายป้ายสีกัน แล้วก็ต้องโดนฟ้องหมิ่นประมาท ฯลฯ

วจีกรรม หลังจากละโลกไปแล้ว ถ้ากรรมนี้ตามทันนะครับ (จิตใจเศร้าหมอง จนกรรมได้ช่อง) จะทำให้

1. ตกในมหานรกขุมที่ 4 (ขุมวจีกรรม) ทนทุกข์หรมาณอย่างไม่ต้องพูดกันเลย เช่น ถูกนายนิรบาล เอาเหล็กคล้ายแปรงล้างขวด (แต่เป็นเหล็กร้อน) ทะลวงเข้าไปในปาก เพราะใช้ปากทำความชั่ว ฯลฯ

2. ถ้ากรรมเบาบางลงมา พ้นโทษจากมหานรกแล้ว ต้องมารับโทษต่อในนรกขุมบริวาร

3. ถ้ากรรมเบาบางลงมา พ้นโทษจากขุมบริวารแล้ว ต้องมารับโทษต่อในยมโลก

4. ถ้ากรรมเบาบางแล้ว ก็จะมาเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ฯลฯ

5. ถ้ากรรมเบาบางยิ่งกว่านั้น ก็จะมาเป็นมนุษย์ที่ถูกใส่ร้าย ถูกหาเรื่อง ฯลฯ และบางทีก็จะกลายเป็นโรคสมองเสื่อมด้วยครับ ขึ้นกับการผสมสีของกรรม การรู้จำอย่างผมบอกไม่ได้แน่นอน ต้องผู้รู้ที่ทั้งรู้ ทั้งเห็นน่ะครับ จึงจะบอกได้



ยังไม่เข้าใจความหมายของ คำพูดที่ถูกแกล้งให้พูดออกมา อย่างชัดเจนนะครับ แต่ถ้าหมายถึง เขาโกหกเรา แต่เราไม่รู้ เราจึงนำสิ่งที่เขาโกหก ไปบอกคนอื่นต่ออีกทีหนึ่ง เช่น เขาโกหกว่า น้ำมันขึ้นราคาไปอีก 20 บาทแล้ว เราตกใจ ลืมเช็คข่าว ไปบอกเพื่อนคนอื่น อย่างนี้ไม่บาปครับ แต่เขาเรียกว่า เป็นคนเหมือนกระต่ายตื่นตูมไปแทน



การไม่สนใจ คำพูดของคนอื่น ก็ทำได้ง่ายๆ คือ ไม่สนใจ ครับ เพราะคำพูดคนนั้น ถ้าถือสาก็เป็นเรื่องเป็นราว ถ้าไม่ถือสา ก็เป็นลมเป็นแล้ง เช่น มีใครคนหนึ่ง พูดลอยๆ มาว่า คนหมาหมา ถ้าเราถือสา ก็มาว่าฉันอย่างนี้ได้ยังไง ทะเลาะกันไป

แต่ถ้าเราไม่ถือสา คนหมาหมา อ๋อ เขาหมายถึง คน 1 คน กับ หมาอีก 2 ตัว ไม่เกี่ยวกับเรานี่ ว่าแล้วเราก็ทำงานของเราต่อไป เป็นต้นครับ



 
นะโม_เย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2005
ตอบ: 13

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ค.2005, 11:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ต้องไปร่วมกรรมอีก ถ้าเค้าว่ามาเราเฉย เราก็ไม่ต้องไปร่วมกรรมกะเค้าอีก ใช่หรือเปล่าคะเนี่ย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 21 ก.ค.2005, 12:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การที่จะไม่ไปสนใจคำพูดคนอื่น แม้จะได้ยิน ก็ต้องอาศัยการฝึกปฏิบัติให้ต่อเนื่องกันมา ชำระกิเลสออกจากจิตใจตนเองมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อปัญญาเจริญมาตามลำดับจนถึงขั้นการเจริญสติ อารมณ์ไม่พอใจ ไม่ยินดีหรือแม้การตอบโต้ในคำพูดไม่ว่าจะสรรเสริญ หรือนินทา จะไม่มีผลต่อผู้ปฏิบัติแม้แต่น้อย เพราะสติมันตามทันตลอด พิจารณาอยู่ตลอด จนกลายเป็นอัตโนมัติ จนกระทั่งไม่ต้องมานั่งปรับดับอารมณ์ที่เข้ามากระทบ หัวมันก็จะไม่ฟูเหมือนแต่ก่อน มันจะไม่เหมือนเหมือนดอกไมยราบ กระทบฟูหุบฟูหุบอยู่อย่างนั้น





วจะวจีวชิระวทัญญุตา

วรนิดาวรรณาวลีวศิน

วสะวสีวสุวสุนธราริน

วะวัจน์เว้ยวิ่นวิภาควินาศกรรม



วัชชะวอแววัญจนะวัฏสงสาร

วากยะว่างว้างเวิ้งวิเศษณ์เวทย์ล้ำ

เวรมณีโว้กเว้กโวแวะแว่วอำ

เวไนยถลำเวทนาวูบวาบวู่วาม



วีระวิสุทธิ์วิสาสะวิสุทธิมรรค

วิชชาวิจักษณ์วิญญูวิจัยวินิจฉัยคร้าม

วิรัติวิวาทวิวรณ์วิวัฒน์วิโรจน์ยาม

วิทวัสนามวิกรานต์วิกรมวิชิตวิชัย



..........



การอยู่ร่วมกันในสังคมไม่ว่าจะสังคมใด ควรตั้งไว้ในเมตตาวจีกรรม หมายถึงการใช้วาจาหรือคำพูด ไม่ว่าจะพูดหรือเตือนอะไรกันก็ตาม ขอให้ประกอบด้วยเมตตาธรรม พูดด้วยเมตตาจิต คำพูดที่ประกอบด้วยเมตตาจิตนี้ ต้องพูดทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่ใช่ต่อหน้าว่าเมตตา แต่ว่าลับหลังนั้นไม่มีเมตตา



เรื่องการพูด ถือเป็นสื่อสำคัญในสังคมมนุษย์ ทำให้เราเข้าใจผิดกันได้ และอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก หรือจะอยู่กันอย่างเป็นทุกข์ หรือฆ่ากันตายก็เพราะคำพูด จะเลิกฆ่ากันก็เพราะคำพูด พูดไม่ดีก็เป็นเหตุให้สังคมที่อยู่ร่วมกันนี้ไม่สงบ เป็นทุกข์ขึ้นมา



คำพูดที่เป็นทุจริต พูดไม่จริง พูดโกหกหรือส่อเสียดบุคคลอื่นให้เขาเกิดความเข้าใจผิด แตกความสามัคคีต่อกัน หรือคำพูดนั้นเป็นคำหยาบคาย ก็เป็นคำที่ไร้ประโยชน์ เพราะทำให้สังคมปราศจากความผาสุก



คำพูดที่เกิดมาจากจิตที่มีเมตตา ต้องสามารถทำให้เขา พ้นไปจากความทุกข์ ไม่ต้องมีเวร ไม่ต้องมีภัย เป็นไปเพื่อความสร้างสรรค์ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อการทำลาย หรือยุยงส่งเสริมให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ซุบซิบนินทาเราก็ไม่ใช้.....เท่านี้.....สังคมเราก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข



.....ผู้กล้า ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา คือ ผู้ที่สามารถเอาชนะตนเองได้.....



ธรรมะสวัสดี



มณี ปัทมะ ตารา



http://www.dhammajak.net/webboard/show.php?Category=dhammajak&No=693
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง