ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
ตี๋
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
14 ก.ค.2005, 11:44 pm |
  |
มีความเป็นมาอย่างไรครับ  |
|
|
|
|
 |
อิทธิ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ค.2005, 8:30 am |
  |
ที่จริงพระไม่ได้ฉันได้แค่ 2 มื้อเท่านั้น พระพุทธองค์ทรงไม่อนุญาตให้พระฉันในยามวิกาลหรือหลังเที่ยงวันไปแล้ว เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่า การฉันอาหารมากเกินไปจะทำให้เกิดโรดมากไม่แข็งแรง โดยเฉพาะฉันอาหารหลังเที่ยงไปแล้วจะเกิดตัณหา ราคะ ขัดขวางการประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้าฉันอาหารมากระบบร่างกายจะทำงานหนัก ทำให้ง่วงนอน ขี้เกียจ ไม่ขยันปฏิบัติธรรม จึงห่างไกลการเข้าถึงธรรมของพระองค์ มีดวงตาเห็นธรรมได้ยากครับ |
|
|
|
|
 |
ตี๋
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
15 ก.ค.2005, 7:53 pm |
  |
ที่ว่าพระองค์ทรงไม่อนุญาตให้พระฉันในยามวิกาลหรือหลังเที่ยงวันไปแล้วนั้นเป็นข้อห้ามของสงฆ์หรือว่าข้อควรปฏิบัตรครับ การที่ฉันอาหารไม่ครบมื้อก็อาจจะทำให้เกิดโรคได้อย่างเช่นโรคกระเพาะอาหาร อีกทั้งในปัจจุบันพระสงฆ์มิได้แต่ถือศีลปฏิบัติธรรมโดยการศึกษาพระคัมภีย์เท่านั้นยังมีการปฏิบัติกิจของสงฆ์อื่นๆอีก
อย่างนี้แล้วการที่พระสงฆ์ฉันบะหมี่สำเร็จรูปหรือเครื่องดื่มชูกำลัง (ซึ่งโดยส่วนตัวผมเห็นว่าเป็นสิ่งเสพติด) เป็นการละเมิดข้อห้ามของสงฆ์หรือไม่ |
|
|
|
|
 |
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
16 ก.ค.2005, 11:31 am |
  |
ตอบคุณตี๋ แม้พระพุทธเจ้า ท่านห้ามไม่ให้พระฉันอาหารยามวิกาล แต่พระองค์ก็ทรงอนุญาติให้ฉันน้ำปานะ (น้ำผลไม้ เนยใส เนยข้น ฯลฯ) ในยามวิกาล เพื่อเป็นยา ได้ครับ
ส่วนเรื่องการฉันบะหมี่กึ่งสำเร็จ ในเวลาปรกติ 6:00-11:00 ไม่มีปัญหาครับ ถ้าหลัง 12:00 ไปแล้ว ไม่ได้ครับ
ส่วนยาชูกำลัง ไม่ได้อยู่แล้วครับ
|
|
|
|
|
 |
นิน
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ค.2005, 5:31 pm |
  |
พระฉันกี่มื้อก็ได้ครับ
แต่ห้ามเกิน 12.00 น. |
|
|
|
|
 |
สายลม
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245
|
ตอบเมื่อ:
17 ก.ค.2005, 9:15 pm |
  |
ครั้งพุทธกาล พระภิกษุคงฉันอาหารได้เพียงมื้อเดียวต่อวัน
คงไม่มากมื้อเหมือนในปัจจุบัน เพราะการฉันอาหารเป็นเพียง
เพื่อรักษาร่างกายให้มีชีวิตอยู่รอดเพื่อการทำความเพียรทางจิตใจ
เมื่อออกรับบิณฑบาตพอเต็มบาตรแล้วก็กลับวัด หรือหาที่พักเพื่อฉันอาหาร
เมื่อฉันอาหารเสร็จแล้วก็ทำความเพียรทางจิตต่อ ไม่ได้แสวงหาอาหารอีก
จนว่าถึงวันรุ่งขึ้น
แบบอย่างนี้ในปัจจุบันเราสามารถดูตัวอย่างจากข้อวัตรปฏิบัติของพระป่า
พระกรรมฐานในเมืองไทย จะมีการฉันอาหารมื้อเดียว ฉันในบาตร
เพื่อเป็นการประหยัดภาชนะ และสะดวกในการพกพาเดินธุดงค์
แต่ถ้าเรามองตามวันในเมือง ในบ้าน ก็จะมีการฉันสองมื้อเป็นหลัก
เช้าออกรับบิณฑบาต กลับมาแล้วก็ฉันอาหาร พอ 11 โมง ก็จะฉันอีกมื้อหนึ่ง
ที่เรียกว่าฉันเพล การฉันแบบสองมื้อนี้มีมานาน แล้วก็เป็นของคู่กับวีถีชีวิต
ของพระ และชาวบ้าน ในเมืองไทยทั้งในอดีต และปัจจุบันไปแล้ว
การฉันของพระนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกันการบำเพ็ญบุญ ตอนเช้าก็จะออกรับบิณฑบาต
เพื่อรับอาหารจากบ้านเรือน เป็นอาหารมื้อแรก มื้อที่สอง เกี่ยวเนื่องกับการทำบุญต่างๆ
ซึ่งมักจะมีการถวายภัตตาหาร เป็นหลัก ไม่ว่าจะทำบุญที่บ้าน หรือที่วัด ถ้าอยู่ในช่วง
10-12 นาฬิกา ก็จะทำการถวายอาหารพระภิกษุสงฆ์
ส่วนพระป่า พระกรรมฐานนั้นท่านจะมีการฉันมื้อที่สอง และก็ไม่มีการรับกิจนิมนต์ที่มา
พร้อมกับการฉันอาหารมื้อที่สอง ถ้าถวายอาหารก็มาถวายให้ทันตอนที่ท่านฉัน เกินเลย
จากฉันแล้วท่านไม่รับ ส่วนใหญ่แล้วพระป่า พระกรรมฐานจะฉันอาหารไม่เกิน 9 โมง
ฉันเสร็จแล้วก็จบกันในวันนั้น
การฉันอาหารของพระนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่โตและสำคัญ เพราะการบวชมานั้นก็เพื่อลด ละ
กิเลส ถ้าเราให้ความสำคัญ และฉันมากมื้อไปก็อาจจะทำให้เพิ่มพูลกิเลสได้ ฉันเพื่อการ
ต้องการรักษาร่างกายให้คงอยู่ และคงสภาพปกติเพื่อการบำเพ็ญเพียงทางจิตใจซึ่งเป็นเรื่อง
ที่สำคัญและใหญ่โตมากสำหรับนักบวช
|
|
|
|
    |
 |
|