Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากทราบว่าการสร้างพระพุทธรูปประจำตัวโดยมีการสลักชื่อไว้ที่ฐ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เด็กขี้สงสัย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2005, 7:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การสร้างพระพุทธรูปประจำตัวโดยมีการสลักชื่อไว้ที่ฐานแล้วให้คนมากราบไหว้ โดยมีข้อกำหนดว่าองค์ละ.....จะได้อานิสงค์จริง? เพราะที่เคยเข้าใจมาว่า การทำบุญนี้ ทำตามกำลังศรัทธา ศรัทธามากก็อานิสงค์มาก ที่ว่า ศรัทธา ไม่ได้หมายถึง ตัวเงิน อ้อแล้วการที่เราทำทานกับผู้เดือดร้อนที่เป็นคนดี จะได้อานิสงค์เหมือนการสร้างพระ ที่บางแห่งกำหนดว่า องค์ละ เท่านั้น เท่านี้ จะต้องสร้างให้มากแล้วตั้งรวมเป็นเจดีย์ (แต่เอ..ไม่แน่ใจว่าเป็นเจดีย์ หรือจานบิน) แล้วอ้างว่า..เพื่อดำรงพุทธศาสนา เห็นด้วยไหม ? เป็นพุทธพานิชย์มากไปหรือเปล่า หลักศาสนา สอนไม่ให้ยึดติดกับสิ่งของ การทำปฏิบัติบูชา น่าจะได้อานิสงค์มากกว่า อามิสบูชา ของทุกอย่างมีเสื่อมสลายไป การจะสร้างมหาเจดีย์ให้คงอยู่เป็นพันๆปีหนะ โอ้อวดเกินจริงไปหน่อยมั้ง
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2005, 8:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าผู้สร้างมีเจตนา ที่จะต้องการประกาศคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ยิ่งใหญ่ขจรขจายไปด้วยสิ่งที่ดีที่สุด ที่เขามีอยู่ เรียกว่า สร้างเต็มศรัทธา ย่อมได้อานิสงส์มากครับ ตรงข้าม ถ้าผู้สร้าง แบบทำให้เกิดความรู้สึกว่า ไปลดพระคุณของพระพุทธเจ้าลง ก็จะเป็นดังเรื่องราวของพระลกุฎกภัทยะเถระครับ พระเถระเป็นผู้ที่เกิดมามีร่างกายเตี้ยแคระ ดูรูปร่างจะเหมือนเด็ก จนบางคนเห็นก็ล้อเลียน แต่พระเถระก็ยังคงพากเพียรปฏิบัติธรรม จนสามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ครับ เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะบุญกรรมในอดีต



เรื่องก็มีอยู่ว่า ในสมัยของพระพุทธเจ้าในอดีตพระองค์หนึ่ง ภายหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน มหาชนต่างประชุมรวมกัน เพื่อตั้งใจจะสร้างเจดีย์บูชาคุณพระพุทธเจ้า โดยตั้งใจจะสร้างให้เต็มที่สูง 7 โยชน์ ขณะเตรัยมการจะสร้างนั้น มีนายช่างใหญ่คนหนึ่ง ให้ความเห็นคัดค้าน โดยบอกว่า สิ้นเปลืองงบประมาณเกินไป และถ้าสร้างสูงมาก ก็จะดูแลรักษาซ่อมแซม ได้ยากกว่า (แต่ไม่ใช่ทำไม่ได้) สร้างให้มีความสูงน้อย ดังนั้น ควรลดความสูงเจดีย์เหลือแค่ 1 โยขน์ก็พอ (ทั้งที่ทุกคนมีกำลังทำ 7 โยชน์ได้ แต่ต้องเหนื่อยมากหน่อย) ด้วยอานิสงส์ที่นายช่างใหญ่นั้น ช่วยสร้างเจดีย์ เพื่อคนรุ่นนั้น ได้ประโยชน์จากธรรมะของพระพุทธศาสนา จึงทำให้ท่านมาเกิดเป็นพระเถระ ได้พบพระพุทธศาสนาในชาติสุดท้ายนี้ ได้มีโอกาส ปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรม



ส่วนด้วยวิบากกรรมที่ท่านไปลดความสูงของเจดีย์ จาก 7 เหลือ 1 โยชน์ เหมือนเป็นการลดพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลง ท่านจึงมามีร่างกายเตี้ยแคระเช่นนี้แหละครับ



พระคุณของพระพุทธเจ้านั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องศึกษาให้ดีก่อนทำอะไรลงไปครับ





 
โมฆบุรุษ
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 17 ธ.ค. 2004
ตอบ: 38

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ค.2005, 1:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าคนเขาจะกราบไหว้ เขาก็กราบไหว้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ

มีอานิสงส์แน่นอนครับ



ปฏิปทาของแต่ละวัดก็อาจจะแตกต่างกันไปครับ

ถ้าเขาจะกำหนดจำนวนเงินไปตายตัว แต่ผู้ที่ศรัทธาในวัดนั้นเขามีกำลังทรัพย์พอ

ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไรครับ



การสร้างเจดีย์นั่นก็ดีแล้วครับ

เขาจะสร้างมาในรูปแบบไหน แต่ถ้าเขาตั้งใจบูชาคุณของพระรัตนตรัย

อานิสงส์ย่อมเกิดแน่นอนครับ



แม้ว่าปฏิปัติบูชาจะมีอานิสงส์มากกว่าอามิสบูชามากมายก็ตาม

แต่จะทำแต่ปฏิปัติบูชาอย่างเดียว โดยที่อามิสบูชาไม่มีเลยหรือมีน้อย ก็ไม่เหมาะครับ

เพราะว่าควรที่จะต้องทำควบคู่กันไปด้วยครับ



วัดไหนที่มีปฏิปทาไม่ตรงจริตเรา เราก็วางเฉยไว้เสียดีกว่าครับ

หากเราเจอวัดหรือครูบาอาจารย์ที่ท่านสอนได้ตรงจริตของเราแล้ว

เราก็เอาใจไปจดจ่อกับคำสอนอันนั้นดีกว่าครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สมศักดิ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ค.2005, 11:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"ส่วนด้วยวิบากกรรมที่ท่านไปลดความสูงของเจดีย์ จาก 7 เหลือ 1 โยชน์ เหมือนเป็นการลดพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลง ท่านจึงมามีร่างกายเตี้ยแคระเช่นนี้แหละครับ"



ช่วยขยายความหน่อยครับว่าการลดความสูงของเจดีย์เป็นการลดพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างไร เจดีย์ก็คือวัตถุ คนจะเลื่อมใสในพระำพุทธศาสนานั่นย่อมมิได้ขึ้นอยู่กับความอลังการของวัตถุหรือสิ่งปลูกสร้าง แต่เป็นเพราะคำสอนของพระองค์ การที่จะช่วยเผยแพร่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นมิได้ขึ้นอยู่กับใหญ่ขององค์พระที่ท่านสร้างแต่ขึ้นอยู่กับการที่ท่านปฏิบัติตามธรรมให้เป็นแบบอย่างแก่คนรอบข้างมิใช่เหรอ



อย่างครั้งนึงผมทำงานอยู่ในร้านขายของชำของไทยใน NY นี้ก็มีคนลาวที่นับถือศาสนาพุทธคนนึงบอกว่าไม่อยากนับถือศาสนาพุทธแล้วเพราะพระในวัดที่ไปทำบุญทำตัวไม่เหมาะสม ผมก็ได้แต่บอกไปว่าให้นับถือที่คำสอนของพระองค์ท่านอย่าได้นับถือวัตถุหรือผู้ที่แต่งตัวเป็นพระแต่มิได้ปฏิบัติตามคำสอนพระองค์ท่าน
 
หวานเย็น
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2005, 1:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การปฏิบัติธรรมจาก “อัตตาธิปไตย” สู่ “ธรรมาธิปไตย”



เมื่อสิ่งแวดล้อมมีอยู่ ณ ภายในมากน้อยหยาบละเอียด ก็จะมีเรื่องเข้าข้างตัวเสมอเป็นธรรมดา ตามแต่สิ่งแวดล้อมซึ่งมีกำลังชักจูงให้เป็นไป ความนิยมทางศาสนา



เรียกว่า กิเลส ผู้มีสิ่งเหล่านี้อยู่ภายในใจมากก็เห็นแก่ตัวมาก มีน้อยก็เห็นแก่ตัวน้อย แต่ผู้มีมากอาจเป็นความกระเทือนเดือดร้อนแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันตลอดสัตว์



มาก ผู้มีน้อยไม่พอเสียความงามในสังคม แต่สิ่งแวดล้อมพึงทราบว่าเป็นข้าศึกแก่ใจ สามารถกั้นกางความสุขส่วนใหญ่ไม่ให้เกิดมีขึ้น ณ ภายในใจได้ ฉะนั้นการ



ปฏิบัติอบรมด้วยธรรมในด้านจิตตภาวนา จึงเป็นเหมือนยาแก้พิษสงอันวิเศษ



พระธรรมอยู่กับคนบางคนกลายเป็นธรรมปลอม



พระคุณเจ้าพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ เคยเทศน์ในท่ามกลางสานุศิษย์บ่อยครั้งว่า ธรรมของพระพุทธเจ้าแม้จะเป็นของจริง แต่เมื่อสิงสถิตอยู่กับปุถุชน ธรรมนั้น



ก็กลายเป็นธรรมปลอม ครั้นสิงสถิตอยู่กับพระอริยเจ้า จึงเป็นของจริงตามส่วนแห่งธรรมและภูมิของผู้บรรลุ

ตามคติธรรมดา ผู้วิวาทจะตัดสินคดีเอาเองตามชอบใจไม่ได้ เป็นหน้าที่ของผู้พิพากษา คือ ผู้รู้ธรรมจริงและธรรมปลอม ก็ความสงสัยในเรื่องธรรมทั้งนี้ เราทั้งหลาย



จะตัดสินเอาเอง ก็เกรงว่านักปราชญ์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ไม่ทรงไว้พระทัยและรับรอง จึงขอน้อมถวายความสงสัยในธรรมทั้งนี้แด่นักปราชญ์ท่านเป็นใจ



ความย่อว่า “ คนที่รู้จักเพชรพองู ๆ ปลา ๆ กับคนไม่รู้จักเพชรเสียเลย คนทั้งนี้จะไม่สามารถรู้จักเพชรแท้และปลอมได้เลย แต่คนที่รู้จักเพชรแท้ พร้อมทั้ง



เจียระไนเพชรขึ้นเองได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้นี้เองจะรู้จักเพชรแท้หรือเพชรปลอมได้อย่างชัดเจน คนที่รู้จักธรรมพองูๆ ปลาๆ กับคนที่ไม่รู้จักธรรมเสียเลย คนทั้งนี้จะ



ไม่สามารถรู้ธรรมว่าเป็นของจริงหรือของปลอมได้เลย แต่คนที่รู้จักธรรมแท้ พร้อมทั้งที่เกิดขึ้นแห่งธรรมและที่ดับแห่งธรรม โดยความรอบคอบด้วยปัญญา และ



พร้อมทั้งความไม่ถือมั่นในธรรม ผู้นี้เองจะสามารถรู้จักธรรมที่แท้จริงหรือธรรมปลอม ในเมื่อธรรมสิงสถิตอยู่กับบุคคลนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน”





ศาสนธรรมย่อ แต่ยังคงเส้นคงวาตามเดิม





ในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านย่นคำลงไว้พอประมาณ แต่ทรงคุณภาพตามเดิม บาลีจะไม่ยกมา ผู้ปรารถนาพึงดูในเอกเทศสวดมนต์เถิด

ความอดกลั้นขันติเป็นธรรมเครื่องแผดเผากิเลสได้เป็นอย่างดี ๑

พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญพระนิพพานว่าเยี่ยมกว่าสิ่งใด ๆ ๑

นักบวชเป็นผู้เว้นจากการฆ่าและการเบียดเบียน ถ้าประกอบกิจเช่นนั้นไม่เรียกว่าผู้สงบ ๑

การไม่ทำบาปทั้งหลายทุกประเภท ๑

การยังกุศลให้ถึงพร้อม ๑

การยังจิตของตนให้ผ่องใส ๑

นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่โดยย่อ

การไม่ดูถูกเหยียดหยามคนอื่น ๑

การไม่ฆ่ามนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ๑

การสำรวมตนในแนวทางให้เกิดความหลุดพ้น ๑ (การสำรวมในพระปาฏิโมกข์)

ความรู้จักประมาณพอเป็นมัชฌิมาในการบริโภคใช้สอย ๑

ความเป็นผู้มีที่นั่งที่นอนอันสงัด ๑

การชำระจิตของตนให้ยิ่ง หรืออยู่เหนือสิ่งแวดล้อม ๑

นี่ก็เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์แต่โดยย่อ

ธรรมเครื่องประดับความงามสำหรับ กาย วาจา ใจ ของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งไม่จำกัดเพศและวัยว่าหญิงชายและเด็กหนุ่มหรือแก่ปานกลาง เมื่อสวมเครื่องประดับคือ



ธรรมเข้าแล้ว งามทั้งนั้น ความงามในเครื่องประดับคือธรรมนี้ ไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลสให้ลุ่มหลงเหมือนความงามในเครื่องประดับฝ่ายตรงกันข้าม และยังกลับถอด



ถอนกิเลสได้ด้วยเครื่องประดับทั้งนี้ด้วย นักปราชญ์ผู้มีปัญญาลึกซึ้งจึงชอบประดับตัวด้วยธรรม เพราะประดับเข้าแล้วงามไม่จืดจางตลอดอายุขัย งามในชาตินี้แล



ชาติหน้า คือเบื้องต้นแห่งวัยก็งาม ท่ามกลางแห่งวัยก็งาม และที่สุดแห่งวัยก็งาม





อธิษฐานจิตน้อมบูชาพระเดชพระคุณหลวงตามหาบัว ขออนุญาตลอก....จากหนังสือ ธรรมคู่แข่งขัน ธรรมสามัคคี ท่านอาจารย์พระมหาบัวฯ ในกรุงลอนดอน



ธัมมะในลิขิต.... ขอกราบบูชาพระเดชพระคุณหลวงตามหาบัว พระผู้มีธรรมะบริสุทธิ์





๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐



มหาโจร ๕ จำพวก





[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจร ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก มหาโจร ๕ จำพวก

เป็นไฉน

๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรบางคนในโลกนี้ ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอเราจักเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว ท่องเที่ยวไปใน



คามนิคมและราชธานีเบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญสมัยต่อมา เขาเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่ง แวด



ล้อมแล้วเที่ยวไปในคามนิคมและ

ราชธานี เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉัน



นั้นเหมือนกันแล

ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้วเที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรชิต



สักการะ เคารพ นับถือ บูชายำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร สมัยต่อมา เธอเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว



เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรงแล้ว ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร



ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก

๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ย่อมยกตนขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น



มหาโจรจำพวกที่ ๒

มีปรากฏอยู่ในโลก

๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามกำจัดเพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่ด้วย



ธรรมอันเป็นข้าศึกแก่

พรหมจรรย์อันหามูลมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขาร ของสงฆ์ คือ



อาราม พื้นที่อาราม

วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อโลหะ อ่างโลหะ กะถางโลหะ กะทะโลหะมีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกะต่าย หญ้าปล้อง หญ้าสามัญ



ดินเหนียวเครื่องไม้ เครื่องดิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก

๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริงนี้จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่



สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย.





คัดลอกจาก ......http://larndham.net







 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2005, 5:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมพิมพ์ไปตามตำราน่ะครับ ส่วนความหมายที่สมบูรณ์ที่แท้จริงก็ไม่แน่ใจว่า ความเข้าใจผมจะตรงตามในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ตั้งแต่แรกหรือเปล่านะครับ



แต่ถ้าจะถามความหมายตามความเข้าใจของผม ผมเข้าใจว่า เมื่อมีใคร ทราบซึ้งในพระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมากๆ ขึ้นมา แล้วต้องการสร้างเจดีย์เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนความในใจของเขา เพื่อให้คนรุ่นหลังเห็นว่า คนรุ่นก่อน สร้างเจดีย์อย่างดีที่สุด (สุดฝีมือ) เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นความสำคัญว่า พระพุทธเจ้าสำคัญอย่างไร ทำไมต้องสร้างสุดฝีมือขนาดนั้น



แต่พอมีใครมาคัดค้านบอกว่า ไม่ต้องทำขนาดนั้นหรอก ทำแค่ 1 ใน 7 ก็พอ หรือ ไม่ต้องไปทำให้สุดฝีมือหรอก ทำนิดๆ หน่อยๆ ก็พอ ย่อมทำให้คนรุ่นหลัง รู้สึกเห็นความสำคัญของพระพุทธเจ้า น้อยกว่า การที่คนรุ่นแรกจะตั้งใจทำอย่างสุดฝีมือ น่ะครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง