Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
  จะรู้ได้ยังไงว่าเราบรรลุธรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
คัดลอกมา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ค.2005, 2:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จะรู้ได้ยังไงว่าเราบรรลุธรรม





จะรู้ได้ยังไงว่าเราบรรลุธรรมhttp://larndham.net/index.php?showtopic=15264&st=20

เราก็สงสัยกันเยอะว่า เราปฏิบัติถูกหรือเปล่า ท่านทำถูกไหม

ส่งกระทู้นี้ทางเมล | พิมพ์กระทู้ | html word



หน้า: (รวม 4 หน้า) [1] 2 3 4 หน้าต่อไป ( คำตอบที่ยังไม่ได้อ่าน )





เนื้อความ : (shark) อ้างอิง |





ผู้ปฏิบัติจะเป็นผู้รู้เอง คำนี้ผมสงสัยเพราะไม่เห็นจะรู้สักที แล้วปฏิบัติยังไง แค่ไหน จึงจะถูกต้องครับ ท่านใดมีแนวทางวัด ตัดสิน ได้โปรดแนะนำด้วยครับ เป็นกุศลใหญ่



____________________________________



จากคุณ : shark [ ตอบ: 02 มิ.ย. 48 19:31 ] แนะนำตัวล่าสุด 27 พ.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 339 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 1 : (อุบาสิกาน้อย) อ้างอิง |





อ้างอิง

ผมสงสัยเพราะไม่เห็นจะรู้สักที



จากประโยคนี้ เรียกได้ว่าเป็น .. วิจิกิจฉาสังโยชน์



รู้จักกิเลส(สังโยชน์3ข้อต้น)ว่ามีอยู่

รู้ว่ากิเลสดับไป แล้วไม่เกิดขึ้นอีก

นั่นจึงเรียกว่า รู้ได้ด้วยตนเอง ค่ะ







____________________________________



ผู้ปฏิบัติธรรม ชื่อว่า ได้ลิ้มรสแห่งธรรม..

ผู้ใดกินอิ่ม .. ผู้นั้นรู้เอง

จากคุณ : อุบาสิกาน้อย [ ตอบ: 02 มิ.ย. 48 20:09 ] แนะนำตัวล่าสุด 18 มี.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 420 | ฝากข้อความ | MSN |







ความคิดเห็นที่ 2 : (เพื่อนธรรมในกระดาน) อ้างอิง |





นำมาฝากครับ อาจจะไม่ตรงประเด็นกับกระทู้นัก แต่ผมคิดว่าตอบคำถามอ่านตุนไว้ในกระเป๋าก่อน



ปฏิบัติธรรม วัดผลอย่างไร

เมื่อเราได้ทุน และเครื่องประกอบในการเดินทางแล้ว ต่อไปนี้ ก็จะเข้าสู่การเดินตามมรรค

ได้บอกแล้วว่า ตัวทางที่เดินก็คือ มรรค มรรคมีองค์ ๘ ประการ อันนี้ทราบกันแล้ว ไม่ต้องบรรยายในรายละเอียด และก็ได้บอกแล้วด้วยว่า การฝึกชีวิตให้ดำเนินตามมรรค หรือการทำตัวให้เดินไปตามมรรคนั้นคือสิกขา หรือการศึกษา …

ทีนี้ต่อไป ก็จะพูดถึงการตรวจสอบหรือวัดผล เมื่อกี้นี้ได้บอกให้ตรวจสอบด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเองโดยดูว่าโลภ โกรธ หลง มีน้อยหรือมาก ได้ลดละให้เบาบางหรือหมดไปหรือยัง แต่นั้นเป็นการตรวจสอบ โดยพูดเชิงลบแบบรวบรัด



ก) ดูที่กุศลธรรมที่เพิ่มขึ้น

โดยทั่วไปมีการวัดด้วยคุณธรรมต่างๆ ที่งอกงามขึ้นมาแทนอกุศลธรรม คือจะต้องดูว่า กุศลธรรมเจริญขึ้นมาแทนที่อกุศลธรรมแค่ไหน หลักการวัดความเจริญในการเดินตามมรรค หมวดหนึ่งมี ๕ อย่าง

ประการที่ ๑ ดูว่ามีความมั่นใจ มีความเชื่อมั่นในสิ่งที่เป็นกุศล สิ่งที่เป็นความดีงามมากขึ้นหรือไม่ มีความมั่นใจแม้แต่ในโพธิสัทธา เชื่อในศักยภาพของตนเองที่จะพัฒนาขึ้นไปหรือไม่ เมื่อมีความเชื่อมั่นมากขึ้นก็เรียกว่า มี ศรัทธา มากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เป็นกุศลธรรมที่เจริญเพิ่มขึ้น โดยสรุป คือดูว่ามีศรัทธามีความเชื่อมีความมั่นใจในกุศลธรรมในความดีงามต่างๆ มากขึ้นหรือไม่

ประการที่ ๒ เมื่อปฏิบัติเดินตามมรรคไป มีระเบียบในการดำเนินชีวิตดีขึ้นไหม มีการประพฤติตนอยู่ในสุจริตดีขึ้นไหม อันนี้เป็นส่วนที่แสดงออกภายนอกในการดำเนินชีวิต เพราะฉะนั้น ต้องเอามาวัดดูด้วยว่าเราดำเนินชีวิตดีขึ้นไหม มั่นคงในสุจริตมากขึ้นไหม มีระเบียบวินัยราบรื่นดีไหม มีความสัมพันธ์กับโลกกับมนุษย์กับสังคมดีขึ้นไหม เรียกสั้นๆ ว่า มี ศีล ดีขึ้นไหม

ประการที่ ๓ ดูว่าเรามีความรู้จากการที่ได้สดับได้ค้นคว้าอะไรต่างๆ มากขึ้นไหม ได้เรียนรู้มากขึ้นและกว้างขวางเพียงพอไหมในธรรมที่จะปฏิบัติต่อๆ ไป หรือในสิ่งที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา หรือในการพัฒนาตน ได้ประสบการณ์ต่างๆ มาเป็นข้อมูลของความรู้มากขึ้นหรือไม่ เรียกสั้นๆ ว่ามี สุตะ มากขึ้นไหม

ประการที่ ๔ มีความลดละกิเลสได้มากขึ้นไหม กิเลสต่างๆ โดยเฉพาะความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเห็นแก่ตัวนี่ละได้ มีความเห็นแต่ตัวน้อยลงบ้างไหม มีความเสียสละมากขึ้นไหม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นแก่เพื่อนมนุษย์เห็นแก่ผู้อื่นมากขึ้นไหม มีจิตกว้างขวางโปร่งเบามากขึ้นไหม เรียกสั้นๆ ว่ามี จาคะ มากขึ้นไหม

ประการสุดท้าย คือ ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจในความจริงของสิ่งทั้งหลาย ตรวจสอบว่า เรามีความเข้าใจในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไหม เรารู้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงมากเพียงใด เรามองเห็นเหตุปัจจัยและความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลายชัดเจนดี สามารถนำความรู้มาเชื่อมโยงใช้ในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์พัฒนาให้เป็นผลดีหรือไม่ อันนี้เป็นตัวแกนแท้ที่ต้องการ เป็นตัวคุมทั้งหมด

ตกลงว่า หัวข้อนี้ก็เป็นหลักหนึ่งในการตรวจสอบความเจริญ คือดูว่ามีศรัทธามากขึ้นไหม มีศีลมากขึ้นไหม มีสุตะมากขึ้นไหม มีจาคะมากขึ้นไหม และมีปัญญามากขึ้นหรือไม่

หลักนี้เรียกว่า “อริยวัฒิ” แปลว่า ความเจริญของอริยชน ความเจริญแบบอารยะ ได้แก่ หลักวัดความเจริญหรือพัฒนาการของอารยชน

ถ้ามีความเจริญเพียงว่ามีทรัพย์สินเงินทองมากขึ้นอย่างเดียว แต่มีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น อย่างนั้นไม่ถือว่ามีความเจริญในการศึกษา หรือในการพัฒนาชีวิตที่แท้จริง หรือมีโทสะมีความเกลียดชังมีกิเลสต่างๆ มากขึ้นก็เช่นเดียวกัน



ข) ดูการทำหน้าที่ต่อธรรมต่างๆ

ที่จริงหลักตรวจสอบมีหลายอย่าง หลักอย่างหนึ่งเป็นการดำเนินตามอริยสัจ ๔ กล่าวคือ การปฏิบัติธรรมนั้นได้แก่การดำเนินตามหลักการแก้ปัญหาด้วยวิธีการของอริยสัจ ๔ ในการปฏิบัติจึงต้องดูว่าเราปฏิบัติหน้าที่ต่ออริยสัจ ๔ ถูกต้องหรือไม่

อริยสัจ ๔ มีหน้าที่ประจำแต่ละข้อ ถ้าปฏิบัติต่ออริยสัจ ๔ แต่ละข้อผิด ก็ถือว่าเราได้เดินทางผิดแล้ว

อริยสัจข้อที่หนึ่ง ทุกข์ คือตัวปัญหา เรามีหน้าที่ต่อมันอย่างไร หน้าที่ต่อปัญหาหรือความทุกข์ ก็คือหน้าที่ที่เรียกว่าทำความรู้จัก ท่านเรียกว่า กำหนดรู้ รู้จักว่ามันคืออะไร อยู่ตรงไหน มีขอบเขตเพียงใด เราจะแก้ปัญหา เราจะแก้ความทุกข์ เราต้องรู้ว่าทุกข์คืออะไร ปัญหาของเราคืออะไร ขอบเขตของมันอยู่ที่ไหน อะไรเป็นที่ตั้งของปัญหา ถ้าจับไม่ถูกแล้วก็เดินหน้าไปไม่ได้ จับตัวปัญหาให้ได้เสียก่อน แล้วก็เรียนรู้สิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหานั้นทั้งหมด

เราไม่มีหน้าที่ที่จะไปสร้างปัญหา เราไม่มีหน้าที่ไปเอาปัญหามาวุ่นวายใจ มาเก็บมากังวลใจมาทำให้เกิดความทุกข์ ไม่ใช่อย่างนั้น เราไม่มีหน้าที่ทุกข์ แต่เรามีหน้าที่รู้จักทุกข์ นี้เป็นประการที่หนึ่งคือรู้จักปัญหา ตามที่เป็นจริง

อริยสัจข้อที่สอง สมุทัย คือเหตุของทุกข์ เรามีหน้าที่อย่างไร หน้าที่ที่จะต้องทำต่อสมุทัย ก็คือสืบสาวค้นหามันให้พบ ให้รู้ว่ากระบวนการที่มันเกิดขึ้นเป็นอย่างไร แล้วละมันให้ได้ แก้ไขกระบวนการให้สำเร็จ คือกำจัดสาเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของความทุกข์ ไม่ใช่กำจัดปัญหา ปัญหานั้นเรากำจัดมันไม่ได้ เราแก้ปัญหาด้วยการกำจัดเหตุของมัน

อริยสัจข้อที่สาม นิโรธ คือความดับทุกข์ การแก้ปัญหาสำเร็จ หรือภาวะปราศจากปัญหา เป็นความมุ่งหมายการแก้ปัญหาสำเร็จคืออะไร จุดหมายที่ต้องการคืออะไร เป็นสิ่งที่เห็นไปได้หรือไม่ กระบวนการแก้เป็นอย่างไร เมื่อรู้ว่ามันคืออะไร และเป็นไปได้แล้ว เราก็มีหน้าที่ต่อมันคือ บรรลุถึง หรือ เข้าถึง แต่การที่จะเข้าถึงมัน คือจะเข้าถึงจุดหมายก็ดี จะกำจัดสาเหตุของปัญหาก็ดี แก้ปัญหาได้ก็ดี จะต้องไปสู่ข้อสุดท้ายคือ มรรค

อริยสัจข้อที่สี่ มรรค มรรคเป็นทางเดินก็คือ ข้อปฏิบัติ ซึ่งเรามีหน้าที่คือ ลงมือทำ เป็นข้อสุดท้าย ต้องลงมือทำตั้งแต่บุพนิมิตของมรรคเป็นต้นไปทีเดียว

ธรรมทั้งหมด จัดเข้าในอริยสัจ ๔ ได้ทั้งสิ้น

- สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ตามที่สัมพันธ์กับมนุษย์ หรือที่มนุษย์ต้องเกี่ยวข้องประเภทหนึ่งนั้น จัดเข้าในจำพวกที่เรียกว่าทุกข์ เป็นปัญหาและสิ่งที่ต้องเผชิญ

- สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ประเภทที่สองจัดเข้าในจำพวก ที่เป็นสาเหตุของปัญหา

- สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ประเภทที่สามจัดเข้าในจำพวก จุดหมาย หรือสิ่งที่พึงประสงค์ และ

- สิ่งทั้งหลายประเภทที่สี่ จัดเข้าในจำพวก ที่เป็นวิธีปฏิบัติ

และเรามีหน้าที่ปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้อง อย่างที่หนึ่งทำความรู้จักกำหนดให้ถูก อย่างที่สองกำจัดสาเหตุ อย่างที่สามคือเข้าถึงจุดหมาย แล้วอย่างที่สี่ ก็ลงมือทำหรือลงมือเดินทาง

หลักการนี้ก็ใช้ในการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน คือ ในเวลาที่ไปเกี่ยวข้องกับธรรม ก็ควรจะจัดให้ถูกต้องด้วยว่าธรรมนั้นอยู่ในประเภทไหนใน ๔ ข้อนี้ เมื่อจัดเข้าถูกต้องแล้ว เราก็จะปฏิบัติถูกหน้าที่ว่าหน้าที่ต่อข้อนั้นคืออะไร

ธรรม ๔ ประเภทนั้น หรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้น มีชื่อเรียกเฉพาะตามหน้าที่ที่เราพึงปฏิบัติต่อมัน คือ

๑. สิ่งทั้งหลายที่เป็นทุกข์เป็นปัญหาเป็นที่ตั้งของปัญหาหรือเป็นจุดเกิดปัญหาเมื่อมนุษย์ปฏิบัติต่อมันไม่ถูกต้อง เรียกว่า ปริญไญยธรรม คือสิ่งที่จะต้องกำหนดรู้ หรือ ทำความรู้จัก

ตัวอย่าง เช่น ร่างกาย จิตใจ ชีวิต โลก ความผันผวนปรวนแปร โศกเศร้า ผิดหวัง ความรู้สึกสุข หรือ ทุกข์ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความคิด ความจำ ความเปลี่ยนแปลง ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฯลฯ (ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ไตรลักษณ์ และธรรมอื่นทำนองนี้)

๒. สิ่งทั้งหลายที่เป็นจำพวกเหตุก่อทุกข์ หรือ สาเหตุของปัญหา เรียกว่า ปหาตัพพธรรม คือ สิ่งที่จะต้องละเลิก แก้ไข กำจัด

ตัวอย่าง เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเห็นแก่ตัว ความถือตัว ความเย่อหยิ่ง ความเกียจคร้าน ความเกลียดชัง ความริษยา ความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ ความเฉื่อยชา ความฟุ้งซ่าน ความระแวง ความประมาท ความโง่เขลา ฯลฯ (อกุศลมูล กิเลส ตัณหา มานะ ทิฎฐิ อวิชชา อุปาทาน สังโยชน์ นิวรณ์ และธรรมอื่นทำนองนี้)

๓. สิ่งทั้งหลายที่พึงประสงค์ เป็นจุดหมายที่ควรทำให้สำเร็จ หรือควรได้ควรถึง เรียกว่า สัจฉิกาตัพพธรรม คือ สิ่งที่จะต้องเข้าถึง หรือ ประจักษ์แจ้ง

ตัวอย่าง เช่น ความสงบ ความร่มเย็น ความบริสุทธิ์ ความปลอดโปร่งโล่งเบา ความผ่องใส ความเบิกบาน ความไร้ทุกข์ ความสุขที่แท้ สุขภาพ ภาวะปลอดพ้นปัญหา ความเป็นอิสระ หรืออิสรภาพ ฯลฯ (วิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ นิพพาน และธรรมอื่นทำนองนี้)

๔. สิ่งทั้งหลายที่เป็นข้อปฏิบัติ เป็นวิธีการ เป็นสิ่งที่ต้องทำต้องบำเพ็ญเพื่อก้าวไปให้ถึงจุดหมาย เรียกว่า ภาเวตัพพธรรม คือ สิ่งที่จะต้องทำให้มีให้เป็นขึ้น ให้เจริญงอกงามเพิ่มพูนขึ้น หรือต้องลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ

ยกตัวอย่าง เช่น เมตตา ไมตรี หรือ มิตรภาพ กรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเสียสละ ความขยันหมั่นเพียร ความมีกำลังใจ ฉันทะ ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา สัมปชัญญะ ฯลฯ (มรรค ไตรสิกขา สมถะ วิปัสสนา และ ธรรมอื่นทำนองนี้)

รายละเอียดของธรรม ๔ ประเภท หรือการจัดประเภทสิ่งทั้งหลายในโลกมีอย่างไร จะไม่กล่าวในที่นี้ แต่พูดง่ายๆ ว่า หลักนี้ท่านให้ใช้ในการตรวจวัดผลสำเร็จในการศึกษาหรือการปฏิบัติธรรมว่า

- สิ่งที่ควรกำหนดรู้ เราได้กำหนดรู้หรือรู้จักแล้วหรือไม่

- สิ่งที่ควรแก้ไขกำจัด เราได้แก้ไขกำจัดแล้วหรือยัง

- สิ่งที่ควรประจักษ์แจ้ง เราได้ประจักษ์แจ้งแล้วแค่ไหน และ

- สิ่งที่ควรปฏิบัติจัดทำให้เกิดให้มีขึ้นจนบริบูรณ์ เราได้ปฏิบัติจัดทำแล้วเพียงใด



ค) ดูสภาพจิตที่เดินถูกระหว่างทาง

ในการปฏิบัติธรรม คือ ดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง หรือ ฝึกฝนพัฒนาตนไปนั้น ระหว่างการปฏิบัติ พัฒนา หรือ ศึกษาไปเรื่อยๆ ควรจะสังเกตดูสภาพจิตใจของตนไปด้วยว่าเป็นอย่างไร

ในกรณีทั่วไป ถ้าไม่มีเหตุพิเศษ เพื่อปฏิบัติถูกต้องจิตเดินถูกทางก้าวหน้าดี ก็จะเกิดมีสภาพจิตที่ดีงามสอดคล้องกัน ซึ่งเป็นทั้งคุณสมบัติของจิตนั้น และ เป็นลักษณะของการปฏิบัติที่ได้ผล

ลักษณะของจิตที่เดินถูกทางนั้น ที่ควรสังเกตมี ๕ อย่าง ซึ่งเป็นปัจจัยส่งทอดต่อกันตามลำดับ คือ

๑. ปราโมทย์ ได้แก่ ความแช่มชื่น ร่าเริง เบิกบานใจ

๒. ปีติ ได้แก่ ความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มใจ ใจฟูขึ้น

๓. ปัสสัทธิ ได้แก่ ความรู้สึกผ่อนคลายกายใจ ใจเรียบรื่นระงับลง เย็นสบาย

๔. สุข ได้แก่ ความสุข ความคล่องใจ โปร่งใจ ไม่มีความติดขัด บีบคั้น

๕. สมาธิ ได้แก่ ความมีใจตั้งมั่น สงบ อยู่ตัว อยู่กับงานที่ทำหรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน

พอสมาธิเกิดขึ้น จิตใจก็มีสภาพเหมาะสมแก่งาน ที่ท่านเรียกว่าเป็น กัมมนีย์ พร้อมที่จะเอาไปใช้สร้างสรรค์พัฒนา คิดการ และเป็นที่ทำงานของปัญญา อย่างได้ผลดี และสมาธิก็อาศัยองค์ธรรม ๔ อย่างแรกนั่นแหละช่วยเกื้อหนุนและทำให้เกิดขึ้น

สภาพจิต ๕ อย่างนี้ เป็นทั้งคุณสมบัติที่ดีงามโดยตัวของมันเอง และเป็นเครื่องหมายของความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม จึงควรพยายามทำให้เกิดขึ้น และการทำสภาพจิตเหล่านี้ให้เกิดขึ้น ก็เป็นการปฏิบัติธรรมอยู่ในตัว

เพียงแค่ข้อที่ ๑ มีปราโมทย์ ทำใจให้แช่มชื่นเบิกบานไว้มากๆ เมื่อปราโมทย์นั้นเกิดจากการปฏิบัติที่ถูกต้อง จิตเดินดีแล้ว ท่าให้ความมั่นใจว่าจะลุถึงสันติบรมธรรมที่เป็นจุดหมาย (ดู คาถาธรรมบท ที่ ๓๗๖, ๓๘๑)



คัดลอกบางตอน จากหนังสือ “ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง” – พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต) ๘-๙ มีนาคม ๒๕๓๕



จากคุณ : เพื่อนธรรมในกระดาน [ ตอบ: 02 มิ.ย. 48 20:17 ] แนะนำตัวล่าสุด 29 พ.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 7 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 3 : (ปล่อยรู้) อ้างอิง |





"นิพพิทา.. วิราคะ.. วิมุตติ.."



เพราะเบื่อหน่าย จึงคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น...



เมื่อรู้เห็นแน่ชัดในสังขารทั้งหลายทั้งปวง จนหมดสิ้นความสงสัย

จนไม่ยึดมั่นถือมั่นในสังขารทั้งหลายทั้งปวง

เห็นสังขารทั้งหลายทั้งปวง

มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา

มีความดับไปเป็นธรรมดา



เมื่อเห็นสังขารตามความเป็นจริงเช่นนั้น

ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง

เมื่อเบื่อหน่าย ก็จะคลายกำหนัด

เมื่อคลายกำหนัด ก็ย่อมหลุดพ้น



เมื่อหลุดพ้นก็ย่อมรู้อยู่เองว่า หลุดพ้นแล้ว

กิจที่พึงกระทำยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว...









จากคุณ : ปล่อยรู้ [ ตอบ: 02 มิ.ย. 48 20:51 ] | | | ip:203.107.195.122







ความคิดเห็นที่ 4 : (ดาวประกาย) อ้างอิง |





ขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นค่ะ..ว่า

เมื่อลดกลับได้เพิ่ม เมื่อเพิ่มกลับลดลง



สงสัยใช่ไหม๊ค่ะ อันนี้พูดตามประสบการณ์ค่ะ



สิ่งที่เป็นกิเลสตัณหา อารมณ์ต่างๆ จะลดลง

เพราะสติปัญญาเราเพิ่มขึ้น รู้ทันความคิดมากขึ้น

เร็วขึ้น จนถึงจุดที่เราสามารถทรงอารมณ์ได้นิ่งๆ

ไม่รู้สึกไปกับอารมณ์ใดๆ แต่เต็มไปด้วยความรู้สึก

ตัวและสติปัญญา(ข้อหลังยังทำไม่ได้ค่ะ)



และเมื่อเราเพิ่มศีล สมาธิ และปฏิบัติจนเกิดปัญญาแล้ว

สิ่งที่เป็นกิเลส ก็ยิ่งเบาบางลง จาง และคลายลง

อย่างเห็นได้ชัด



เท่าที่ทำได้แค่นี้ค่ะ หากอยากทราบ ต้องถามครูบาอาจารย์

ที่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จนถึงสุดทางแล้ว ...

คำตอบของเราก็คงเป็นการบอกเล่าประสบการณ์

ของผู้ยังรู้น้อย ....นั่นแหละค่ะ





____________________________________



จากคุณ : ดาวประกาย [ ตอบ: 02 มิ.ย. 48 20:57 ] แนะนำตัวล่าสุด 09 พ.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 96 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 5 : (todsapol) อ้างอิง |





ไม่อยากเลยครับ เมื่อเราปวดท้องเรารู้ใช่ไหมครับ เมื่อเราหายปวดท้องเราก็รู้ใช่ไหมครับ การมีดวงตาเห็นธรรมเหมือนกับรู้วิธีที่จะทำให้หายปวดท้อง หากรู้ว่ายาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน สามารถแก้ปวดท้องได้ ก็ต้องเดินไปหยิบมันดื่มครับ ไม่ใช่นั่งมองแล้วบอกว่า จงหาย จงหาย และก็หายจริงๆ หายจากโลกนี้ไปเลย





____________________________________



ด้วยธาตุทั้งสี่ที่มีอยู่ ผู้ข้าขอน้อมน้อมแด่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์

ด้วยบุญที่ได้กระทำมาแล้ว และ จะพึงกระทำต่อไปอีก

จงเป็นปัจจัยให้บรรลุสัมพัญญูโพธิญาน ในอนาคตเบื้องหน้านั้นเทอญ



ลิ้งค์เว็ป การพัฒนาสติในการภาวนา ของหลวงพ่อวิโมกข์ครับ
http://www.vimokkhadhamma.com/

สร้างสรรค์โดย พี่ตันหยง พี่ธีรนันท์ และ ทีมงานทุกท่านครับ_/i\_

จากคุณ : todsapol [ ตอบ: 02 มิ.ย. 48 22:21 ] แนะนำตัวล่าสุด 25 มิ.ย. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 486 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 6 : (koon_yai) อ้างอิง |





อยากรู้ว่าอาการบรรลุธรรมเป็นอย่างไร อันนี้ต้องไปหาฟัง CD - MP3 ของหลวงปู่เกษม อาจิณนสีโล ในหัวข้อ "เล่าเรื่องภาวนา" ซึ่งท่านเล่าเรื่องเกี่ยวกับการภาวนาของท่านตั้งแต่ครั้งบวชใหม่ๆ จนถึงวันที่ท่านบรรลุธรรม แผ่นนี้เป็นซีดี เวอร์ชั่นเก่าแล้ว ประมาณสองปีก่อน ท่านเล่าเรื่องการภาวนาของท่านอย่างละเอียด ผมคิดว่า คุณธง (ที่ผมยังไม่เคยเห็นหน้า) อาจจะมีเก็บไว้

ยินดีกับการเจริญในธรรมของทุกท่าน

จากคุณ : koon_yai [ ตอบ: 03 มิ.ย. 48 01:16 ] แนะนำตัวล่าสุด 08 พ.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 14 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 7 : (ธง) อ้างอิง |





จะรู้ได้ยังไงว่าเรากินอิ่มแล้ว.....



ต้องมีคนอื่นมาบอกเราใช่หรือเปล่าครับ ว่า "คุณๆ ผมว่าคุณอิ่มแล้วนะ..."

เราจะรู้ตัวเองว่าเรากินอิ่มหรือยัง เมื่อยังกินได้อยู่ ก็ยังไม่อิ่ม เมื่ออิ่มมันหยุดกิน แล้วก้พอ แต่ถ้าไม่อิ่ม มันก้กินต่อไป ความอิ่ม ก็ค่อยๆ ปรากฎ มากขึ้นๆ ไปตามการที่เรากินเข้าไป ...



เป็นการเปรียบเทียบครับ





____________________________________



ผู้ใดปรารถนาอยากอยู่ใกล้พระจริง อย่าเพ่งโทษคนอื่น

เขาว่าอย่างไรก็ตาม ยกให้เขาหมดเสีย

สำรวจตนเองทั้งคุณและโทษที่มีอยู่ในสกลกายของเราอยู่เสมอไป

(คำสอน หลวงปู่ทา จารุธัมโม)



ทำผิด ก็ทำแก้ ให้ถูกต้อง

พูดผิด ก็พูดแก้ ให้ถูกต้อง

คิดผิด ก็คิดแก้ ให้ถูกต้อง

(คำสอน หลวงปู่เกษม อาจิณฺณสีโล)

จากคุณ : ธง [ ตอบ: 03 มิ.ย. 48 02:32 ] แนะนำตัวล่าสุด 06 พ.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 1388 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 8 : (shark) อ้างอิง |





ขอขอบคุณ เพื่อนธรรมในกระดาน ครับ

คำตอบของท่านเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง แจ้งเลยครับ

ตอบ คุณอุบาสิกาน้อย

ที่ผมว่าผมสงสัย ไม่เห็นจะรู้สักที เพราะผมไม่รู้ว่าจะต้องรู้อะไรน่ะครับ แฮ่ะ ๆ เลยโง่อยู่ทุกวันนี้แหละครับ

ตอบคุณ Todsapol

ผมกินยาธาตุน้ำขาว ตรากระต่ายบิน เรียบร้อยตั้งหลายปีแล้วครับ แต่ผมหิวข้าว ไม่ได้ปวดท้องครับ ก็เลยผอมโซอย่างทุกวันนี้ไงครับ แฮ่ะ ๆ



ขอขอบคุณ ทุกท่านที่ให้ความรู้น่ะครับ หวังว่าคงได้รับความบันเทิงเล็ก ๆ น่ะครับ สาธุ



____________________________________



จากคุณ : shark [ ตอบ: 03 มิ.ย. 48 11:14 ] แนะนำตัวล่าสุด 27 พ.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 339 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 9 : (wit) อ้างอิง |





อ้างอิง

จะรู้ได้ยังไงว่าเรากินอิ่มแล้ว.....



ต้องมีคนอื่นมาบอกเราใช่หรือเปล่าครับ ว่า "คุณๆ ผมว่าคุณอิ่มแล้วนะ..."

เราจะรู้ตัวเองว่าเรากินอิ่มหรือยัง เมื่อยังกินได้อยู่ ก็ยังไม่อิ่ม เมื่ออิ่มมันหยุดกิน แล้วก้พอ แต่ถ้าไม่อิ่ม มันก้กินต่อไป ความอิ่ม ก็ค่อยๆ ปรากฎ มากขึ้นๆ ไปตามการที่เรากินเข้าไป ...



เป็นการเปรียบเทียบครับ



ตอบ

โดนใจผมเลยครับ แต่ท่าทางผมคงจะตะกละไปหน่อยนะครับไม่รู้จักอิ่มสักที



ความคิดเห็นที่ 19 : (ขันธ์) อ้างอิง |





ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่า อะไรคือ บรรลุ เราคาดหวังว่าจะให้มันเป็นเช่นไร จนถึงกับเราพยายามไขว่คว้าเพื่อที่จะบรรลุ



ในความเข้าใจของผม การบรรลุคือ การเข้าใจแจ่มแจ้งในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรียกว่า บรรลุหรือเข้าถึง ทีนี้ถ้าเราเข้าใจแบบนี้แล้ว การบรรลุธรรม ก็คือ การเข้าใจแล้วว่า พระพุทธองค์ ท่านพูดถึงอะไร และอะไรคืออะไรในธรรมของท่าน ทีนี้ ตรงการเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก็อาจจะยังไม่จำเป็นว่า เราต้องทำผลให้สำเร็จ เช่นเข้าใจการบวกเลข ก็ยังไม่ต้องไปบวกหรือเอาผลมันได้ทุกอย่าง ขอเพียงความเข้าใจเบื้องต้นนี้ก็จะนำไปสู่การบวกเลขที่ถูกต้องที่ตรง

ทีนี้ดูต่อไปว่า เมื่อผู้บรรลุแล้วเขาจะรู้ได้ยังไง คำถามนี้คือ ผู้ถามสงสัยว่าเราบรรลุโสดาบันหรือยัง เราบรรลุสกิทาคาหรือยัง แบบนี้แสดงว่าเรายังไม่บรรลุธรรมของพระพุทธองค์ เพราะเรายังไม่เข้าใจเลยว่า ธรรมของพระพุทธองค์นั้นหมายถึงอะไร

การบรรลุธรรมนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อเราเข้าใจแจ่มแจ้งว่าคำว่า นิพพานที่พระพุทธองค์พูดนั้นคือ อะไร สัมผัสแบบใด ทีนี้เราก็ต้องไปสัมผัสสิ่งนั้นให้ได้เสียก่อนจึงจะเข้าใจมันแจ่มแจ้ง คำถามต่อไปคือ แล้วรู้ได้ยังไงว่าสิ่งนั้นคือ สิ่งที่พระพุทธองค์พูด ตรงนี้เมื่อเราพบกับประสบการณ์ตรงนั้นแล้วเราก็จะบอกได้เองว่า เมื่อปัญญาเกิดแล้ว ไม่มีอายตนะอื่นที่ ยิ่งกว่านี้ คือ รู้เท่าทันในอวิชชา

ทีนี้ก็ หันกลับมามองว่า เมื่อผู้บรรลุธรรมแล้วเขาจะรู้ตัวไหม เขาจะรู้เพียงอย่างเดียวว่า ธรรมะของพระพุทธองค์ คือ สิ่งนี้ ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า แต่ถามว่า จะรู้ไหมว่าตัวเองเป็นโสดาบันหรือ สกิทาคา หรือ อนาคามี ก็ตอบว่า ความสมมติเหล่านั้น ย่อมถูกเพิกเฉยไปเพราะ ความรู้ในสิ่งที่ยิ่งกว่า

ส่วนที่ว่าทำไมพระพุทธองค์ถึงพูดถึง พระอริยขั้นต่างๆ ก็เพื่อที่ว่า จำแนกเป็นลำดับให้เข้าใจกันอย่างง่ายๆ เรียกว่าจะ ขึ้นบันได ก็ต้องก้าวเป็นขั้นๆ จะกระโดดไปทีเดียวก็ไม่ใช่เรื่อง เพราะคนแต่ละคนย่อมมีกำลังต่างกัน ตรงนี้เพื่อให้เราได้รู้จักกิเลสเป็นขั้นๆ เสียมากกว่า ส่วนในความต่างของพุทธนั้น ย่อมไม่มี จะมีก็แต่ ความต่างของกิเลส

ก็สรุปว่า เมื่อปัญญาเราแจ้ง หรือ บรรลุคือเข้าใจในธรรมของพระพุทธองค์ เราย่อมเพิกเฉยต่อสิ่งเหล่านี้ เหมือนกับผู้ใหญ่ย่อมไม่สนใจของเล่นเด็ก



____________________________________



ทุกวันนี้สิ่งที่เราชาวพุทธควรคำนึงถึงให้มากที่สุดคือสิ่งที่เรียกว่า ความว่าง อย่ามัวเชื่อเรื่องปาฏิหารย์ หรือ นิมิตอะไรอยู่เลย เพราะเมื่อไรก็ตามที่คิดถึงแต่สิ่งเหล่านี้ จิตจะวกกลับเข้าไปสู่ความไม่รู้ทันที และอย่ามัวแต่สรรหาความว่างนั้น เพราะ ความว่างนั้นจะปรากฎขึ้นเมื่อเราไม่สรรหา



ความคิดเห็นที่ 20 : (คนอะไรทำไมเข้าใจยาก และก็งง) อ้างอิง |





วัดได้ตอนที่ เรามองเห็นแววตาของคนอื่น แล้วเกิดความสงสารเข้ามาในจิตใจ

มีอะไรอยากจะยกให้หมด สำหรับผมตรงนี้คือตัววัดครับ คือบรรลุธรรมในหัวข้อเรื่องของการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่คนอื่นเห็นความทุกข์ ความลำบาก ของคนอื่นเป็นเหมือนความทุกข์ของตัวเอง บรรลุธรรมข้อนี้ข้อเดียว ข้ออื่นท่าทางจะยากเหมือนกันที่จะวัดได้ ข้อนี้ข้อเดียวก็พอแล้ว เบิกบานทั้งวัน ไม่รู้ ไม่ตื่น ช่างมัน เบิกบานไว้ก่อน

จากคุณ : คนอะไรทำไมเข้าใจยาก และก็งง [ ตอบ: 06 มิ.ย. 48 13:16 ] | | | ip:203.172.127.118







ความคิดเห็นที่ 21 : (ธง) อ้างอิง |





สาธุ ครับ คุณ ขันธ์



____________________________________



ผู้ใดปรารถนาอยากอยู่ใกล้พระจริง อย่าเพ่งโทษคนอื่น

เขาว่าอย่างไรก็ตาม ยกให้เขาหมดเสีย

สำรวจตนเองทั้งคุณและโทษที่มีอยู่ในสกลกายของเราอยู่เสมอไป

(คำสอน หลวงปู่ทา จารุธัมโม)



ทำผิด ก็ทำแก้ ให้ถูกต้อง

พูดผิด ก็พูดแก้ ให้ถูกต้อง

คิดผิด ก็คิดแก้ ให้ถูกต้อง

(คำสอน หลวงปู่เกษม อาจิณฺณสีโล)

จากคุณ : ธง [ ตอบ: 06 มิ.ย. 48 13:26 ] แนะนำตัวล่าสุด 06 พ.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 1388 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 22 : (kringchai) อ้างอิง |





ผู้น้อยขอร่วมศึกษาในหัวข้อนี้ด้วยนะครับผิดพลาดประการใดต้องขออภัย

ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

ผู้ปฎิบัติธรรม พึ่งรู้ได้เฉพาะตน

จะอ้างพุทธพจน์ วรรคนี้ เป็นบทนำ

จากสติปัญญาของผม คิดว่า การเรียนทางโลกมีขั้นตอน การศึกษาธรรมมะย่อมมีขั้นตอนเช่นเดียวกัน การปฎิบัติธรรมมะเพื่อ เรียนรู้จิต ตนศึกษาสภาวะธรรมชาติแห่งจิต

จะรู้ได้อย่างไรว่าตนบรรลุรรม ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าธรรมคืออะไร

ธรรมะคือ ธรรมชาติ หรือ สัจธรรม (ความจริง) ไร้ รูป รส กลิ่น เสียง ไม่อาจแสดงให้เห็นได้และไม่อาจวาดเป็นรูปร่างให้ดูได้ แต่สามารถรับรู้ได้ด้วยจิต

สภาวะนี้มีอยู่ในทุกสรรพสิ่ง เช่น อยู่บนฟ้าเรียกสัจธรรมแห่งฟ้า อยู่บนดินเรียกสัจธรรมแห่งดิน อยู่ ในตัวมนุษย์ เรียกสัจธรรมแห่งมนุษย์ เช่น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น

ท่านผู้ปฎิบัติธรรม พึ่งเรียนรุ้สภาวะแห่งจิตพุทธะในตนแล้วหรือยัง ถ้ายังย่อมไม่อาจกล่าวได้ว่าบรรลุธรรม การบรรลุธรรมย่อมมีขั้นตอน ตัวอย่างเช่น ศีล5 นับเป็นมนุษย์ธรรม ถ้ายังไม่สามารถปฎิบัติให้ สมบูรณ์บริบูรณ์ได้เรียกว่าบรรลุธรรมข้อนี้ได้หรือไม่ เป็นต้น

ร่วมศึกษาธรรม kingchai@hotmail.com

จากคุณ : kringchai [ ตอบ: 06 มิ.ย. 48 13:35 ] แนะนำตัวล่าสุด 06 มิ.ย. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 2 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 23 : (Vicha) อ้างอิง |





สาวาขาโต ภควตาธัมโม ........ ปัจสัจตัง เวทิทัพโป วิญญูหิติ (พิมพ์ไม่ค่อยถูกเลย)



เมื่อวางหรือละกิเลส(ถึงแม้เพียงบางส่วน)ได้โดยรอบ ไม่กำเริบขึ้นมาอีกอย่างถาวร ก็ย่อมรู้ได้เฉพาะตน



เหมือนดังคุณธง กล่าวเมื่อกินข้าวอิ่ม ก็ย่อมรู้ว่าตนเองอิ่มแล้ว



แต่ถ้ายังมีกิเลสหยาบพลุบๆ โผล่ๆ ให้ทุกข์รนให้ทำผิดอยู่ แต่มีความลังเลสังสัยอยู่ ว่าตนเองบรรลุธรรมจริงหรือเปล่า ? เกิดความสับสน ก็สามารถตัดสินตัวเองได้เลยว่า ยังไม่บรรลุจริง เพราะยังมีกิเลสไม่รู้จักอิ่ม ยังละไม่ได้



จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 06 มิ.ย. 48 16:05 ] แนะนำตัวล่าสุด | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 674 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 24 : (Beckham) อ้างอิง |





สาธุครับ ทุกท่านตอบไว้ดีแล้วนะครับ



ขอร่วมนำเสนอข้อมูลด้วยคนนะครับ



ขณะจิต ที่บรรลุโสดาบันครั้งแรกที่เกิดพร้อมปฐมฌาณ



มีสภาวธรรมใดประกอบกันบ้าง ลองคลิกเข้าไปดูสนุกๆได้เลยครับ


http://84000.org/tipitaka/read/?34//86-105



ดูที่ข้อ 196 - 259 เป็นสภาวะธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นและประกอบกัน

ขณะบรรลุโสดาบัน



____________________________________



ขอนอบน้อมถวายอภิวันทนาการแด่พระพุทธองค์

ผู้ตรัสรู้เญยยธรรมทั้งหลายเอง ไม่มีผู้เปรียบปาน

พร้อมด้วยพระสัทธรรม และคณะพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้อุดมแล้ว

จากคุณ : Beckham [ ตอบ: 06 มิ.ย. 48 16:31 ] แนะนำตัวล่าสุด 06 เม.ย. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 671 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 25 : (เต็ด) อ้างอิง |





บรรลุธรรมกับไม่บรรลุธรรมดีหรือแตกต่างกันเช่นไร

ถ้าบรรลุธรรมแล้วดีใจก็คือไม่บรรลุ

บรรลุธรรมแล้วหยุดกุศลธรรมก็อย่าบรรลุดีกว่า

เพราะฉะนั้นอย่ารู้และอย่าอยากรู้ว่าบรรลุธรรมหรือไม่ ควรตั้งใจปฏิบัติในกุศลธรรมให้เป็นปรกติวิสัยและให้บริสุทธิยิ่ง ๆขึ้นไป

จากคุณ : เต็ด [ ตอบ: 06 มิ.ย. 48 16:49 ] แนะนำตัวล่าสุด 04 พ.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 8 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 26 : (พุทธพงษ์) อ้างอิง |





เหมือนเรานั่งมองดูกองไฟ ว่าตอนไหนไฟลุกมาก ไฟลุกน้อยหรือมีเชื้อฟื้นมาเติม หรือแม้กระทั้งไฟหมด กองถ้าเรานั่งดูเราก็จะรู้ว่ามันมอดไป เว้นเสียแต่เราไม่มองกองไฟเท่านั้นเอง...

จากคุณ : พุทธพงษ์ [ ตอบ: 16 มิ.ย. 48 09:38 ] แนะนำตัวล่าสุด 07 เม.ย. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 59 | ฝากข้อความ | MSN |







ความคิดเห็นที่ 27 : (อยากรู้) อ้างอิง |





มีเกณฑ์วัดเป้นข้อๆไหม อยากรู้เหมือนกัน เพราะกลัวจะคิดไปเอง





รู้แต่ว่าตัวเองบรรลุธรรม พระก็แนะนำให้ไปลองสนทนากับอริยะสงฆ์แต่ยังไม่ว่าง และก็มีคนจ้องจับผิดอยู่เยอะ พิสูจน์ไม่ได้เดี๋ยวโดนหาว่าบ้าอีก (คนว่าบาปเปล่าๆ)

จากคุณ : อยากรู้ [ ตอบ: 23 มิ.ย. 48 11:10 ] แนะนำตัวล่าสุด 13 ก.พ. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 36 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 28 : (smt) อ้างอิง |





รู้เมื่อไหร่ว่าไม่มีผู้บรรลุธรรมที่จริงจังอะไร รู้ว่าผู้บรรลุธรรมเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมาเอง นั่นแหละบรรลุธรรม

จากคุณ : smt [ ตอบ: 23 มิ.ย. 48 11:46 ] แนะนำตัวล่าสุด 22 มี.ค. 48 | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 18 | ฝากข้อความ |







ความคิดเห็นที่ 29 : (zen) อ้างอิง |





ถ้าในกรณีนี้ ผมขอถามคุณอยากรู้หน่อย ว่าทำไมถึงอยากรู้ครับ



ขอให้เจริญในธรรมครับ



____________________________________



สรรพสิ่งใดๆ ย่อมกำเนิดจากความว่าง

ความว่างนี้ ไม่มีแตกแยกไม่มีแตกต่าง ไม่มีเกิด ไม่มีดับ เป็นหนึ่งเดียวกันโดยตลอด

ที่เกิดแบ่งแยก แตกต่าง ก็เนื่องด้วย ความว่างนี้เกิดบิดเบือน

จึงเป็นเหตุแห่งสรรพสิ่ง

ดังนั้น ไม่พึงกล่าวว่า สรรพสิ่งใด มิได้เนื่องด้วยความว่าง

ความว่างนี้ มิได้ประกอบอยู่ด้วยสาระแห่งสิ่งใด แต่ก็มิได้พร่องจากสิ่งใด

ความปรุงแต่ง มิใช่สิ่งที่แบ่งแยกออกมาจากความว่างเดิม ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของความว่าง เพียแต่แบ่งแยกออกจากความไม่ปรุงแต่งเท่านั้น

หรืออีกนัยหนึ่ง อาจกล่าวว่า ความปรุงแต่ง เป็นส่วนหนึ่งของความว่างทั้งปวง ส่วนที่เหลือของความว่างทั้งปวงนั้น ก็คือความไม่ปรุงแต่งนั่นเอง



















 
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ค.2005, 8:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้บรรลุธรรมคือผู้รู้แล้วว่า อะไรคือธรรมที่ทำให้เกิดความทุกข์อะไรคือธรรมที่ทำให้เกิดการหลุดพ้น

เมื่อบรรลุแล้ว ก็จักฝึกต่อไปเพื่อให้สำเร็จในธรรมเหล่านั้น สิ่งบอกเหตุว่เราบรรลุธรรมในชั้นความคิดและจิตใจก็เมื่อกระทบหรือสัมผัสสิ่งที่อยู่รอบตัวเราจะเป็นเครื่องวัดสภาพจิตใจว่าเราบรรลุธรรมหรือไม่คือสามารขจัดสภาวะอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก คือสามารถขจัดได้เป็นบางอย่าง นั่นแหละคือบรรลุธรรม อีกประการหนึ่งเมื่อเราบรรลุธรรมจริง ขณะขจัดอาสวะ ก็จะเกิดปรากฎการณ์ทางสรีระร่างกาย คือเปล่งแสง หรือคลื่นความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ออกมา หรือจะเรียกว่า ฉัพพรรณรังสี ฉะนี้
 
อสรี
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ค.2005, 8:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าติดคำว่า ธรรม ...อาจทำให้ ไม่รู้ธรรม...ที่ว่าจะรู้เองนั้น คือรู้เองจริง ๆ ว่าเราเปลี่ยนแปลง...แล้วต่อไป ๆ ก็จะเข้าใจเอง ...
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง