Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากทราบว่า ศาสนาพุทธ มีหลักธรรมที่เกี่ยวกับ ความเท่าเทียมขอ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
anthony_durand
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2005
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2005, 11:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากทราบว่า ศาสนาพุทธ มีหลักธรรมที่เกี่ยวกับ ความเท่าเทียมของมนุษย์ คุณค่าของมนุษย์ บ้างรึป่าวครับ

หรือว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมามีความไม่เท่าเทียมกันครับ แล้วแต่บุญแต่กรรมที่สร้างมารึป่าวครับ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม มุ่งคิดให้ทำดีในชาตินี้ เพื่อชาติหน้าจะได้เกิดมาดีๆหรือครับ

ผมเลยอยากทราบว่า ศาสนาพุทธ คนเรานั้นมีความเท่าเทียมกัน ในแง่ของคุณค่าความเป็นมนุษย์บ้างรึป่าวครับ ถ้ามี อยู่ในหลักธรรมข้อไหน ใครทราบกรุณาช่วยตอบให้หน่อยนะครับ ขอบคุณมากครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2005, 10:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดีคุณanthony_durand





ถ้ากล่าวในทางโลกๆ กล่าวอย่างธรรมดาๆปุถุชนทั่วๆไป มักจะกล่าวว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งตรงนี้หากศึกษาและปฏิบัติธรรมก็ย่อมจะเข้าใจได้ว่า ทุกคนเกิดมาใช้ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว บ้างยากจน บ้างร่ำรวยคาบช้อนเงินช้อนทองออกมาจากท้องพ่อท้องแม่ บ้างพิกลพิการ บ้างต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสไม่ว่าทางกายทางใจ และสัตว์โลกย่อมเป็นตามกรรมอย่างที่คุณได้กล่าวมา แต่การที่มุ่งคิดทำดีในชาตินี้ เพื่อชาติหน้าจะได้เกิดมาดีๆ ก็คงอยู่ในความคิดของมนุษย์ปุถุชนทุกคนที่ได้รับทุกข์ แต่บางคนก็ไม่คิดอย่างนั้น เพราะเพลิดเพลินอยู่กับกรรมดีที่สร้างสมมา เพลิดเพลินกับลาภ ยศ สรรเสริญ เงินทองที่มีมาไม่ว่าจะสุจริตหรือไม่ก็ตาม แต่มันเพลิน มันไม่สนใจว่าใครจะทุกข์อย่างไร ท่านเรียกว่า ประมาท



ในความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว การมุ่งคิดทำดีในชาตินี้ ไม่ได้หวังผลเพื่อชาติหน้า เพราะตายไปก็ไม่รู้แล้ว ทำดีไม่ได้หวังผลว่าต้องการให้ผู้ใดมาสรรเสริญ ไม่ต้องการได้ชื่อว่าทำดีเพื่อให้เป็นบุญเป็นคุณแก่ใคร มันเหมือนหน้าที่ของมนุษย์ที่สมควรจะประพฤติปฏิบัติมากกว่า ไม่ต้องการสวรรค์และไม่กลัวนรก เอาตรงปัจจุบันที่เป็นอยู่ ที่ภาษาทางโลกท่านกล่าวว่า...ดี...ก็เท่านั้น



หลักธรรมที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมของมนุษย์ ก็คือ

"เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะหนีความแก่ไปหาได้ไม่

เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา จะหนีความเจ็บไปหาได้ไม่

เรามีความตายเป็นธรรมดา จะหนีความตายไปหาได้ไม่

เราต้องพลัดพรากจากสิ่งรัก เป็นธรรมดา

เราต้องประสบกับสิ่งชัง เป็นธรรมดา

ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น เป็นธรรมดา



คุณค่าของมนุษย์อยู่ที่ ทุกคนได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติให้ตระหนักและซึ้งลงไปในจิต ทำใจให้แยบคายสุขุมลุ่มลึกลงไปให้เข้าใจ ให้รู้เท่าทันปรากฏการณ์ทั้งปวงว่ามันมี...ธรรมดา...เป็นเช่นนั้นเอง คำสั้นๆที่แสดงสัจธรรม คำสั้นๆที่แสดงความจริงของธรรมชาติทั้งปวงทั้งสากลจักรวาลนี้.....คำสั้นๆเท่านั้นที่กล่าวถึง...ธรรมดา...



ธรรมะสวัสดี



สิริสัตยา นารัมดา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2005, 12:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณปุ๋ยตอบได้จับใจมากเลยครับ ผมขอเสริมเรื่องคุณค่าของมนุษย์ไปอีกหน่อยว่า พระพุทธศาสนาสอนไว้ชัดเจนเกี่ยวกับคุณค่าของมนุษย์ครับ



มนุษย์ แปลว่า ผู้มีใจสูง หมายความว่า สามารถฝึกฝนระดับจิตใจตนเอง ให้มีคุณธรรมเพิ่มขึ้นในจิตใจ จนสามารถเห็นทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ และสามารถดับทุกข์ทั้งปวงด้วยตนเอง หรือ สั่งสอนผู้อื่นได้ในที่สุด



ต่างจากสัตว์ที่ไม่สามารถฝึกฝนระดับคุณธรรมในใจได้ ฝึกฝนได้แต่ความสามารถเท่านั้น เช่น สุนัข วิ่งลอดห่วงไฟ ทำตามที่เจ้าของต้องการ ฯลฯ แต่จะไม่มีสุนัขตัวไหน โตขึ้น คาบอาหารมาป้อนพ่อแม่ด้วยความกตัญญู อาจจะมีบ้าง (บางครั้งผู้มีบารมีระดับพระโพธิสัตว์ พลัดไปเกิดเป็นสุนัข ด้วยกรรมบางชาติ) ก็น้อยเต็มทน และก็เป็นเพียงคุณธรรมเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถฝึกฝนไปจนถึงระดับสูงสุดของคุณธรรมได้



ดังนั้น มนุษย์ จึงมีคุณค่าอย่างยิ่งเลยครับ



อีกตอนหนึ่ง ท่านพูดไว้ชัดครับว่า การได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นของยาก ต้องมีบุญมาก อุปมา เหมือน เต่าตาบอดตัวหนึ่ง ดำน้ำอยู่ในทะเล ทุกๆ 100 ปี จะโผล่หัวขึ้นมาจากทะเลครั้งหนึ่ง ในทะเลก็มีห่วงเล็กๆ ขนาดใหญ่กว่าหัวเต่าหน่อยหนึ่งอยู่ 1 ห่วง โอกาสที่เต่าตาบอดตัวนั้นจะโผล่ขึ้นมา แล้วหัวสวมเข้ากับห่วงพอดี ยากเพียงใด โอกาสที่ชีวิตใดชีวิตหนึ่ง จะได้เกิดเป็นมนุษย์ ยากเพียงนั้น เหมือนกันครับ



ดังนั้น เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ต้องสร้างความดีให้คุ้มค้ากับที่ได้เกิดมาครับ

 
anthony_durand
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2005
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 29 มิ.ย.2005, 1:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอขอบคุณสำหรับคำตอบครับผม



แต่ว่าผมอยากทราบเพิ่มเติมอีกครับอะว่า ผมขอยกตัวอย่างนะครับ อย่างเช่น เท่าที่ได้เรียนมาในเรื่องของสิทธิมนุษยชน สิทธิส่วนบุคคล และความเท่าเทียมกันของบุคคลนั้น ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนิกายโปแตสเตนท์(เขียนผิดขออภัยนะครับ)เนื่องจากคำสอนในศาสนาคริสต์กล่าวไว้ว่ามนุษย์ทุกคนนั้นเกิดมามีความเท่าเทียมกันหมด เพราะว่ามนุษย์ทุกคนล้วนถูกสร้างขึ้นมาจากพระเจ้าด้วยกันทุกคน ดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึงมีสิทธิ ในเรื่องต่างๆเท่าเทียมกัน



สมมุติว่าถ้าผมอยากนำคำสอนในพุทธศาสนา ไปอ้างอิงในเรื่องเกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชน สิทธิส่วนบุคคล และความเท่าเทียมกันของบุคคล ผมควรนำคำสอนใด ไปอ้างอิงถึงเรื่องของสิทธิเหล่านี้อะครับ



ขอรบกวนช่วยตอบด้วยนะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2005, 1:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความเท่าเทียมกันในทางพุทธ เท่าที่ผมจะคิดออกได้ก็คือจากบทแผ่เมตตาอะไรนี่แหละ



"สัตว์ทั้งหลายเกิดมาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุข ๆ เถิด "



ตรงนี้ถือเป็นความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ในทางพุทธ ได้หรือไม่ ?



ขอเสริม มนุษย์ทุกคนไม่ว่า จะยากดีมีจนอย่างไรทุกคนมีสิทธิที่จะมีความสุขได้เท่าเทียมกัน มีโอกาสยิ้มได้เต็มหน้าเท่าเทียมกัน ได้รับความอร่อยในรสชาดของอาหารเท่าเทียมกัน อาหารพื้น ๆ ของคนจนก็อร่อยเหลือหลายเมื่อหิว อาหารสุดแพงของเศรษฐีก็คงไม่ได้อร่อยเท่าไรสำหรับเศรษฐีที่ไม่เคยรู้จักความหิว ผมไม่เคยเห็นคนยากจนแสนเข็ญคนไหนไม่เคยยิ้ม เช่นเดียวกับที่ผมไม่เคยเห็นเศรษฐีคนไหนไม่เคยร้องไห้



ตัวอย่างเหล่านี้ถือเป็นความเท่าเทียมกันของมนุษย์ได้หรือไม่
 
ความคิดเห็นที่ห้า
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2005, 8:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความคิดเห็นส่วนตัว ประการแรกธรรมมะในทางพุทธคือความจริงทุกอย่างที่ปรากฏซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่ที่ตาเห็นที่หูได้ยินแม้กระทั่งที่เป็นนามก็ถือรวมว่าอยู่ในธรรมมะทั้งหมด ดังนั้นหากพูดถึงความเป็นจริงอะไรก็ตามไม่ว่าในนามของผู้ใด ของศาสนาพุทธเองหรือศาสนาใดใด ทฤษฏีของวิทยาศาสตร์ หรือกฏหมายของแต่ละประเทศหรือกลุ่มชนใด ล้วนแล้วทางพุทธให้นิยามว่าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นจริงที่อยู่ในธรรมมะทั้งสิ้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถทำให้คนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่จริงให้ประจักษ์แจ้งทางเหตผลในทุกเรื่องในช่วงชีวิตที่มีอายุจำกัดเช่นมนุษย์ทั่วไปได้ยกเว้นผู้นั้นมีพลังอำนาจพิเศษที่เหนือมนุษย์

ผมเคยได้ยินจากคนพูดแต่จำไม่ได้ชัดเจนเท่าไหร่จากพระไตรปิฏก พระพุทธเจ้าเปรียบความรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนใบไม้ในป่าโดยพระองค์หยิบมากำมือหนึ่งเท่านั้นแล้วสอนให้ทุกคนรู้ว่าความรู้นั้นมีมากมายยิ่งนักดั่งจำนวนใบไม้ทั้งหมดในป่าค้นคว้าเรียนรู้กันเท่าไหร่ก็ไม่มีวันจบสิ้นเหมือนวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งที่เราควรรู้มีเพียงใบไม้ในกำมือของพระองค์คือเรื่องที่จะนำให้เราหลุดพ้นจากความทุกข์หรือการเวียนว่ายตายเกิดเท่านั้นเอง เรื่องของสิทธิมนุษย์ชน ค่าของมนุษย์ในมุมมองแง่ต่างต่างล้วนเป็นความจริงที่มีอยู่ทั้งสิ้น ไม่ต่างจากความสุข ความทุกข์ ในตัวท่านหรือตัวคนอื่นล้วนแล้วก็ถูกรวมอยู่ไม่เว้นเช่นกัน แต่เมื่อคนเรารู้ว่าชีวิตนี้ต้องตาย ขณะที่ยังไม่ตายต้องมีความทุกข์เกิดขึ้นคงไม่แปลกที่คนคนนั้นจะให้ความสนใจกับการดับทุกข์มากกว่าเพียงแค่การค้นหาปรัชญาค่าของมนุษย์ซึ่งไม่ได้ช่วยให้หลุดพ้นความทุกข์ความตายไปได้

ประการที่สองคัมภีร์ทีบันทึกคำสอนของพระองค์ถึงจะไม่ใช่บันทึกความจริงที่มีอยู่ในโลกนี้แต่ก็มีรายละเอียดทางโลกมากมายอันมาจากการตอบคำถามจากผู้ที่ไม่ได้สนใจปฏิบัติตามธรรมมะที่พระองค์สอนแต่ต้องการทราบภูมิปัญญาของพระองค์ ซึ่งพระองค์ก็ตอบได้ทุกข้อเช่นกันถึงแม้นไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการหลุดพ้นความทุกข์ที่พระองค์สอนเลยก็ตาม ผมคิดว่าผู้อ่านพระไตรปิฏกจนแตกฉานจะจับบางข้อความมาเทียบเคียงให้ผู้ต้องการทราบได้ครับ ผมสนใจแต่เรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติจึงจับแต่ส่วนที่ตนเองสนใจและทำได้อาจจะหนึ่งในแสนของธรรมมะในพระไตรปิฏกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความจริงเท่านั้นเอง หากให้ผมเที่ยบเคียงคุณค่าของมนุษย์ในทางโลกผมคงถือว่าเท่ากันทั้งหมดไม่ว่ารูปกายของพระพุทธเจ้า ของศาสดาแต่ละศาสนา ของกษัตริย์ของคนรวยคนจน ย่อมเท่าเที่ยมกันหมดคือเกิดแก่เจ็บตายดังนั้นไม่อะไรที่แตกต่างกันมีสิทธิได้รับการปฏิบัติทั้งเรื่องดีเรื่องร้ายได้เท่าเที่ยมกันทั้งหมด แต่ส่วนที่แตกต่างคือคุณค่าของจิตซึ่งทางพุทธเน้นว่ามีอยู่ในแต่ละตัวบุคคลจริงจะรู้สึกได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติและ จะแตกต่างกันไปตามความบริสุทธิ์ในจิตของแต่ละคนครับ

แต่ทั้งหxxx็แค่ความคิดเห็นครับ คือให้อีกแง่คิดนึงไม่ได้ให้ยึดถือตาม
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2005, 12:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

anthony_durand ...กล่าวว่าเท่าที่ได้เรียนมาในเรื่องของสิทธิมนุษยชน สิทธิส่วนบุคคล และความเท่าเทียมกันของบุคคลนั้น ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนิกายโปแตสเตนท์(เขียนผิดขออภัยนะครับ)เนื่องจากคำสอนในศาสนาคริสต์กล่าวไว้ว่ามนุษย์ทุกคนนั้นเกิดมามีความเท่าเทียมกันหมด เพราะว่ามนุษย์ทุกคนล้วนถูกสร้างขึ้นมาจากพระเจ้าด้วยกันทุกคน ดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึงมีสิทธิ ในเรื่องต่างๆเท่าเทียมกัน .....



ทีนี้พระเจ้าคืออะไร ไม่ใช่ไปเรียกร้องสิทธิในเรื่องต่างๆโดยไม่เข้าใจในคำว่าพระเจ้า มันก็เหมือนเรียกร้องกันแบบโลกๆเท่านั้น การจะเห็นพระเจ้าได้ก็ด้วยความพากเพียรพัฒนาจิตวิญญาณตนเอง หมั่นปฏิบัติชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ ไม่ระแวงสงสัย พระเจ้าก็จะปรากฏในใจของท่านเอง เช่นเดียวกัน พระธรรมคำสั่งสอนในศาสนาพุทธก็ต้องศึกษาและลงมือฝึกปฏิบัติ ถึงจะเข้าใจ และนำไปอ้างอิงได้ด้วยความสงบ และสันติ



หลักคำสอนที่อ้างอิงได้ ก็คือ ปฏิจจสมุปบาทธรรม และกฏแห่งอิทัปปัจจยตา



ธรรมะสวัสดี



สิริสัตยา นารัมดา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
สุรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 มิ.ย.2005, 7:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เท่าที่ผมทราบศาสนาพุทธถือว่ามนุษย์เท่าเทียมกันทุกคนโดยกำเนิด ไม่มีวรรณะใด ๆ แต่มนุษย์จะไม่เท่าเทียมกันหลังจากการกระทำดีหรือชั่วที่สั่งสมไปเรื่อย ๆ และเมื่อปฏิบัติธรรมไปได้ระยะหนึ่งก็จะเห็นว่า ทุกคนเท่าเทียมกันทั้งเริ่มต้นและสิ้นสุดเพราะทุกคนก็ไม่มีอะไรเหมือนกัน ผมเคยได้ยินกลอนบทหนึ่ง จำไม่ได้ว่าใครเป็นคนแต่ง ขออนุญาติเจ้าของไว้ณ.ที่นี้ " เจ้าเกิดมาตัวเปล่ามีอะไรมาด้วยเล่า เมื่อเกิดมาจะเอาแต่สุขสนุกไฉน เจ้าเกิดมาตัวเปล่าแล้วจะเอาอะไร เจ้าก็ตายไปตัวเปล่าเหมือนเจ้ามา"

ในสมัยพุทธกาล มีการแบ่งชั้นวรรณะกันอย่างชัดเจนในชมพูทวีป พระพุทธเจ้ากำเนิดมาในวรรณะกษัตริย์ หลังจากตรัสรู้แล้วผู้ที่เข้าบวชก็ไม่จำกัดว่าจะเป็นเพศใด วรรณะใด จะยากดีมีจนอย่างไรก็ได้ ขอเพียงมีศรัทธาก็บวชได้ทุกคน

อยากให้เจ้าของกระทู้ลองศึกษาพุทธประวัติ และใช้วิจารณญาณตามสมควรก็จะเห็นได้เอง ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกท่าน
 
อิทธิ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 22 มิ.ย. 2005
ตอบ: 6

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2005, 8:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความเท่าเทียมของมนุษย์ ไม่มีในโลกหลอกครับ เพราะ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เมื่อแรกเกิดก็มีความแตกต่างกันในสถานที่ ความเป็นมาของปฏิสนธิจิตของแต่ละบุคคลก่อนมาเกิด การดำรงค์ชีวิตหลังการเกิด ก็มีความแตกต่างกันออกไป ตามสถานะภาพ แต่เมื่อเกิดมาแล้ว มนุษย์มีตัณหาเช่นสัตว์โลกทั้งหลาย อยากได้ในสิ่งที่ตนเองไม่มี จึงพยายามหาวิธีการเพื่อการอยู่ร่วมกันให้เกิดสุข โดยกำหนด สิทธิความเท่าเทียมกันของมนุษย์ขึ้น ศาสนา เป็นคำสอนของศาสดา เพื่อให้เกิดความสุขในหมู่มนษย์ ผู้ปฏิบัติตามคำสอนของศาสดาไม่ว่าศาสนาใดจะพบความสุขได้ทั้งกายและใจ ฉนั้นถ้าต้องการหลักธรรมความเท่าเทียมกันของมนุษยืในพระพุทธศาสนา ขอให้ปฏิบัติตามคำอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ละชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ เท่านี้ก็พอแล้วครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
anthony_durand
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 28 มิ.ย. 2005
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2005, 2:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอขอบคุณสำหรับทุกคำตอบมากๆนะครับ แล้วผมจะพยายามนำข้อมูลที่ ทุกๆท่านได้ให้มา ไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดครับ

ขอบคุณ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง