Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พุทธศาสนาเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติอย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
วรวุฒิ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2005, 1:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำไมพระพุทธศาสนาถึงเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติได้ และมีธรรมะอะไรที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติและสังคมไทย

 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2005, 3:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สังคมแต่ละสังคม เมื่อรวมตัวกลายสถานะเป็นชุมชนใหญ่ๆ จนมีฐานะเป็นรัฐ เป็นประเทศขึ้นมา ในแต่ละสังคม แต่ละประเทศก็จำเป็นต้องสร้างกฏเกณฑ์ต่างๆ เพื่อควบคุมความประพฤติและรักษาความเป็นระเบียบตลอดจนความสงบเรียบร้อยของสังคมนั้นๆ ประเทศนั้นๆไว้ เพราะเมื่อใดก็ตามที่สังคมขาดความเป็นระเบียบ ความวุ่นวาย ความเสียหายต่างๆก็จะเกิดขึ้น และเป็นเหตุนำไปสู่ความพินาศของสังคมนั้นๆ ประเทศนั้นๆในที่สุด



ความมั่นคงของชาติและสังคมไทย ก็ต้องเกี่ยวกับกฎหมายที่ตราบทบัญญัติไว้ในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นไปโดยมีระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ดีเพื่อบังคับความประพฤติของคนในประเทศ คนในสังคม ทีนี้มันก็จะโยงถึงศาสนา ศีลธรรม และจารีตประเพณีด้วยเช่นกัน



ทำไมพระพุทธศาสนาจึงเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติได้ เพราะศาสนาเป็นข้อบังคับที่ศาสดาแต่ละศาสนากำหนดขึ้น เพื่อให้มนุษย์ที่นับถือหรือศรัทธาในศาสนานั้นๆ มีความเชื่อถือและบังคับตนเอง ให้ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นความดีและละเว้นไม่ปฏิบัติสิ่งที่เป็นความชั่ว ศาสนาเป็นการกำหนดความประพฤติโดยให้มีความเชื่อถือ ศรัทธา และกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้



หากใครประพฤติปฏิบัติไม่ชอบแล้ว ศาสนาก็สอนว่า ผู้นั้นจะได้รับผลร้ายเป็นการตอบแทน ซึ่งในข้อนี้นับได้ว่าศาสนามีลักษณะคล้ายคลึงกันกับกฎหมายอยู่ข้อหนึ่ง คือ ในส่วนที่ว่า ผู้ที่ละเมิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ดี ไม่ปฏิบัติตามคำสอนแห่งศาสนาก็ดี จะได้รับผลร้ายเป็นการตอบแทนเช่นเดียวกัน



แต่ทั้งนี้กฎหมายและศาสนา ก็มีข้อแตกต่างซึ่งเป็นสาระสำคัญที่แยกความใกล้เคียงกันที่กล่าวมาข้างต้น ออกจากกันโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ ถ้าหากมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามแล้ว ในทางกฎหมายสภาพบังคับมีความเด็ดขาด จริงจัง และสามารถเห็นผลได้ในปัจจุบัน เช่น เอาผู้กระทำผิดมาลงโทษ หรือบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้อื่น แต่สภาพบังคับในทางศาสนานั้นอยู่ห่างไกล ผลร้ายที่จะเป็นการตอบแทนการล่วงละเมิดข้อบัญญัติแห่งศาสนานั้น เช่น เรื่องในกาลาภายหน้าหรือกาลหน้า ซึ่งเฉพาะแต่ผู้ที่มีความเลื่อมใส ศรัทธาเท่านั้น จึงจะมีความเชื่อถือและปฏิบัติตาม



เพราะฉะนั้นศาสนาจึงมีส่วนสัมพันธ์กับกฎหมาย ซึ่งทำให้กฎหมายมีความถูกต้องยุติธรรม และใช้ควบคุมความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติอย่างแน่นอน...สรุปชาวบ้านๆธรรมะที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติและสังคมไทยคือ คิดดี ทำดี พูดดี



ธรรมะสวัสดี



สิริสัตยา นารัมดา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2005, 3:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ศาสนาทุกศาสนา ย่อมเกี่ยวของกับความมั่นคงของโลก ไม่ใช่เฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง เหตุเพราะการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ต้องอาศัยศาสนา และศาสนาก็ได้เข้าครอบงำมนุษย์โดยการได้รับการขัดเกลาทางสังคม ได้รับการฝึกฝนอบรมทางวัฒนธรรมจารีตประเพณีของท้องถิ่นนั้นอยู่แล้วขอรับ
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 27 มิ.ย.2005, 3:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธศาสนาเกี่ยวกับความมั่นคงของแว่นแคว้น ดินแดน ของชาติ ของทุกๆ ที่ที่นำหลักการของพระพุทธศาสนาไปใช้ครับ ไม่ว่าเขาจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ดังเรื่องราวในสมัยพุทธกาล

เมื่อวัสสการพราหมณ์ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลเรื่องราวของชาววัชชีให้ทราบ "ไม่รู้ชาววัชชีนี่มีอะไรดีนะพระเจ้าข้า เจ้านายข้าพระองค์ยกกองทัพไปตีหลายๆ ต่อหลายครั้ง ก็ตีไม่แตก พ่ายแพ้กลับมาทุกครั้ง"

พระพุทธเจ้าไม่ตอบ แต่ทรงหันไปถามพระอานนท์ "อานนท์ ชาววัชชี ยังคงปฏิบัติตามอปริหานิยธรรม 7 ประการ อยู่หรือเปล่า"

พระอานนท์ตอบว่า "ยังคงปฏิบัติอย่างดีอยู่พระเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อานนท์ ถ้าหากแว่นแค้นใดยังคงปฏิบัติตามอัปริหานิยธรรม 7 ประการนี้ล่ะก็ แว่นแคว้นนั้นย่อมมีแต่ความเจริญไม่มีเสื่อมเลย ธรรมทั้ง 7 นั้นได้แก่

1. หมั่นประชุมกันเป็นเนืองนิตย์

2. พร้อมเพียงกันประชุม พร้อมเพียงกันเลิกประชุม พร้อมเพียงกันช่วยในกิจที่ควรทำ

3. ไม่ตั้งกฏสิ่งที่ไม่ควรตั้งกฏ ไม่ยกเลิกกฏที่ผู้หลักผู้ใหญ่ท่านตั้งไว้ดีแล้ว ประพฤติตามธรรมของผู้หลักผู้ใหญ่แต่โบราณ

4. ผู้น้อยเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่

5. ไม่ข่มเหงรังแกสตรี หรือผู้อ่อนแอกว่า

6. เคารพนับถือบูชาเจดีย์ที่สร้างไว้ดีแล้ว ไม่ล้มล้างประเพณีอันดีงามของบรรพบุรุษ

7. ปกป้องคุ้มครองพระอรหันต์ทั้งหลาย (สมัยนี้ก็ต้องเปลี่ยนเป็นปกป้องพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลาย เพราะถ้าเอาถึงขั้นแต่ดูแลพระอรหันต์อย่างเดียว ไม่ได้หากันได้ง่ายๆ)

ถ้าชาววัชชียังคงปฏิบัติตามธรรมทั้ง 7 ประการนี้ พึงหวังได้แต่ความเจริญไม่มีเสื่อมเลย"

วัสสการพราหมณ์ จึงพูดขึ้นว่า จริงด้วยพระเจ้าข้า ธรรมข้อนี้เยี่ยมจริงๆ สมควรแล้วที่เจ้านายข้าพระองค์จะตีแคว้นวัชชีไม่แตก อย่างนี้ต้องยุให้แตกกันสิพระเจ้าข้า ว่าแล้วก็ลาจากไป เรื่องราวเป็นอย่างไรต่อไป คิดว่าทุกท่านก็คงทราบดีอยู่แล้วนะครับ ว่า หลังจากนั้นแค่ 3 ปี แคว้นวัชชีก็แตกยับเยิน





 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2005, 5:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อสังเกตุอีกอย่างหนึ่งคือ เหตุแห่งความมั่นคงนั้น มีเรื่องการเคารพบูชาเจดีย์ และประเพณีอันดีงามของบรรพบุรุษด้วยล่ะครับ ดังนั้น การไม่เคารพบูชาสัญลักษณ์ตัวแทนของพระรัตนตรัย โดยอ้างว่า นั่นเป็นอนัตตา หรือ เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนนั้น ผมว่าไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องครับ



แต่การเคารพบูชาสัญลักษณ์ของผู้เห็นอนัตตาอย่างแท้จริง เช่น สัญลักษณ์ของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั่นต่างหากล่ะครับ ที่จะเป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้ได้ไปสู่หลักการของการเห็นอนัตตาอย่างแท้จริง และนำไปสุ่การหลุดพ้นในที่สุด และแม้หลุดพ้นแล้วก็ยังเคารพสัญลักษณ์ของผู้หลุดพ้นก่อนเลย
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง