Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลักสูตรการปฏิบัติธรรม ตอนที่ 4 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลุงใหญ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2005, 3:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในตอนนี้ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงวิธีทำสมาธิ ในรูปแบบต่างๆซึ่งท่านทั้งหลายควรได้พิจารณาไตร่ตรองให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ส่วนใครจะนำเอาวิธีการทำสมาธิรูปแบบไหนไปปฏิบัติหรือเคยปฏิบัติสมาธิในรูปแบบไหนก็ตามแต่ใจ ตามแต่ความคิด และตามแต่ธรรมชาติของแต่ละบุคคล

ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ 3 ว่า การทำสมาธิ คือ การฝึกควบคุมอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก หรือ ควบคุมสภาพจิตใจ มิให้เกิด อารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ที่ผิดปกติวิสัย อันเกิดจากการที่ได้กระทบหรือสัมผัสกับสิ่งรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นการกระทบด้วย ตา ด้วย หู ด้วย จมูก ด้วย ลิ้น ด้วย กาย และด้วย ใจ ก็ตาม ซึ่งหากจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่งของสมาธิ ก็คือ ทำสมาธิ เพื่อควบคุมตัวเอง ให้มี สติ สัมปชัญญะ ตลอดเวลา การฝึกควบคุมตัวเองหรือการฝึกทำสมาธิทำได้หลายรูปแบบ เพราะการควบคุมตัวเองของมนุษย์ และสัตว์บางชนิดนั้น มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด จะกล่าวว่าเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ก็ได้ แต่ย่อมเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เกี่ยวข้องกับการได้รับการขัดเกลาทางสังคม และอื่นๆ การทำสมาธิโดยรวมแล้ว แบ่งเป็น

1. การทำงานเพื่อให้เกิดสมาธิ การทำงานเพื่อให้เกิดสมาธินี้ ถ้าจะแยกแยะออกไปก็ได้ชื่อในทางพุทธศาสนาหลายอย่างเช่น กรรมฐาน อันหมายถึง ที่ตั้งแห่งการงาน แบ่งเป็นสอง คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายให้เกิดความสงบทางใจ ,และ วิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายทำให้ปัญญา (จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) ในสมถกรรมฐาน ยังแบ่งออกเป็น กสิณ คือการเพ่ง อารมณ์ไปที่ธาตุทั้ง 4 คือ และแยกออกไปอีก เป็น การเพ่ง อารมณ์ ไปที่สีต่างๆอีก 6 รวมเป็น 10 หรือจะกล่าวว่า กสิณหมายถึง การเอาวัตถุเป็นเครื่องจูงใจเพื่อให้เกิดสมาธิ ก็ย่อมได้ ตามที่ได้กล่าวไป บางท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการทำงานในชีวิตประจำวันบ้าง ซึ่งในทางที่เป็นความจริงแล้วการทำงานทุกชนิด ก็คือ กรรมฐาน หากจะกล่าวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ การทำงานทุกชนิด ในชีวิต

ประจำวันของมนุษย์ทั้งหลายเป็นกรรมฐานทั้งสิ้น อีกทั้งยังเป็นทั้ง สมถกรรมฐาน อุบายทำให้ใจสงบ และเป็นทั้ง วิปัสสนากรรมฐาน อุบายทำให้เกิดปัญญา ทั้งนี้ก็เพราะ ทั้ง สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานนี้ เป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในมนุษย์และสัตว์บางชนิด ทั้งที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า การทำงานเพื่อให้เกิดสมาธินี้ แม้จะเป็นในชั้นปุถุชนคนทั่วไป แต่ก็เป็นพื้นฐานเป็นรากฐาน แห่งการเกิดความปรีชาหยั่งรู้ เกิดประสบการณ์ และอื่นๆ

สมาธิ ที่เกิดจากการทำงานนั้น เป็นสมาธิที่ก่อให้เกิดความชำนาญแห่งสภาพจิตใจ ในที่นี้หมายความว่า เมื่อใดเรามีความตั้งใจหรือเอาใจจดจ่อต่อการงานนั้นๆ สมาธิก็จะเกิดขึ้น ถึงแม้ว่า สมาธิ ที่เกิดจากการทำงานนั้น จะเป็นสมาธิในชั้นปุถุชนคนทั่วๆไปที่ต้องดิ้นรนทำมาหากิน แต่ก็เป็นสมาธิแห่งธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์บางชนิด ปัญญาที่เกิดจากการทำงาน แม้ไม่ใช่การหลุดพ้นจาก กิเลส ทั้งมวล แต่ก็สามารถให้ผู้ทำการงานนั้นๆ เกิดปัญญาที่สามารถพาให้ตัวเองและครอบครัวหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ในระดับหนึ่ง นี้กล่าวในแง่ของสมาธิที่เกิดจากการทำงานโดยทั่วๆไปของมนุษย์และสัตว์ อนึ่งบางท่านอาจตั้งข้อสงสัยว่า สัตว์ไม่ได้ทำงาน ทำไมถึงหมายรวมไปถึงสัตว์ อันนี้ท่านทั้งหลายก็ควรได้คิดพิจารณาว่า การแสวงหาอาหารของสรรพสิ่งที่มีชีวิต ล้วนเป็นการทำงานทั้งสิ้น

2. การปฏิบัติธรรมหรือการทำสมาธิ โดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดหรือยึดเหนี่ยว เมื่อได้อธิบายสมาธิขั้นพื้นฐานหรือขั้นรากฐานแล้ว ก็ต้องกล่าวถึงสมาธิชั้นพื้นฐานอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวช่วย เป็นปัจจัยที่สำคัญของการทำงาน คือการปฏิบัติสมาธิ หรืออุบายทำให้ใจสงบ ด้วยใช้วัตถุอันจูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ นั้นก็คือการทำสมาธิโดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องจูงใจ หรือการนั่งสมาธิหรือการปฏิบัติธรรม หรืออื่นๆ ตามแต่ผู้ใดจะเรียก การทำสมาธิหรือปฏิบัติธรรมนี้ เป็นปัจจัยหรือเป็นเครื่องช่วยในการควบคุมอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกโดยตรง มีรูปแบบการฝึกหลายรูปแบบ แต่การทำสมาธิที่ดีตามธรรมชาติ ก็คือการใช้ลมหายใจเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวเพื่อให้เกิดสมาธิ

การปฏิบัติธรรม หรือการทำสมาธิ โดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดหรือยึดเหนี่ยวนั้น เป็นหลักการทางธรรมชาติอีกทั้งเป็นวิธีการที่จะนำไปสู่ทางหลุดพ้น เหตุเพราะสรีระร่างกายของสิ่งมีชีวิตย่อมต้องการอากาศหรือออกซิเจน หรือลม เข้าไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย อีกทั้งยังเป็นเครื่องช่วยในการเผาผลาญอาหารภายในร่างกายเพื่อให้เกิดพลังงาน เป็นหลักการพื้นฐานแห่งการวิปัสสนา หรือจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ การปฏิบัติธรรมหรือการทำสมาธิ โดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดหรือยึดเหนี่ยวนั้น เป็นทั้งการฝึกควบคุมอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ฯ และยังเป็นทั้งการฝึกวิปัสสนาขั้นพื้นฐานหรือชั้นรากฐานที่สำคัญยิ่ง การปฏิบัติธรรมหรือการทำสมาธิ โดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดมีวิธีการดังต่อไปนี้,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

ทุกท่านคงนั่งสมาธิเป็น การนั่งสมาธิ ควรจัดท่านั่งให้สบายที่สุดอย่าให้เกิดอาการทับเส้นประสาทจนเกิดอาการเหน็บชา ควรหาสิ่งที่นุ่มๆรองนั่งรองขาหรือเข่าเพื่อมิให้เกิดอาการดังที่ได้กล่าวไป นั่งขัดสะหมาด ใช้มือซ้อนทับกันตามที่ถนัด หายใจเข้าหายใจออกตามปกติ ขณะหายใจเข้า ควรได้ใช้คำว่า “พุทธ” เป็นเครื่องกำกับ, หายใจออก ควรได้ใช้คำว่า “โธ” เป็นเครื่องกำกับ ที่ใช้คำว่า “พุทธ”เป็นเครื่องกำกับตอนหายใจเข้า และใช้คำว่า “โธ” เป็นเครื่องกำกับตอนหายใจออก ก็เพื่อเป็นตัวควบคุมความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ฯ อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า ควบคุมสองชั้น คือ ชั้นแรก จิตใจจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ ชั้นที่สอง เอาคำว่าพุทธโธ ควบคุม

จิตใจที่จดจ่ออยู่กับลมหายใจนั้น ควรได้ทำความรู้สึกกับลมหายใจนั้น นับตั้งแต่จุดที่ลมหายใจเข้าสู่ร่างกายนั้นก็คือโพรงจมูก ต่อไป ตามท่อทางสู่ปลอดและสมอง หัวใจ และทั่วร่างกาย หรือจะฝึกทำความรู้สึกกับลมหายใจไปทุกส่วนของอวัยวะของร่างกายก็ย่อมได้ แต่ในชั้นแรกแรก ก็ควรได้กำหนดทำความรู้สึกอยู่ที่เฉพาะโพรงจมูกก่อน เมื่อจิตสงบนิ่งไม่คิดสิ่งใดดีแล้ว ก็ค่อยกำ -

-หนดความรู้สึกไปยังส่วนอื่นของร่างกาย ซึ่งท่านทั้งหลายควรได้หวนกับไปถึงหลักการตอนที่ 1 และ 2 , 3 คือเรื่องของ พฤติกรรม ความคิด และ ธรรมชาติ การพิจารณาถึงความคิดและธรรมชาติ ย่อมหมายรวมไปถึงอวัยวะต่างๆของสรีระร่างกาย ซึ่งท่านทั้งหลายสามารถหาอ่านหรือศึกษาได้จากหนังสือ ในอินเตอร์เนต ฯ เพื่อประกอบในการนั่งสมาธิ สิ่งเหล่านั้นเป็นญาณ คือความปรีชาหยั่งรู้ เป็นญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา การพิจารณาในเรื่องของความคิดและธรรมชาตินั้น จะนั่งคิดนอนคิด ยืนคิด หรือเดินไปเดินมาคิดซึ่งในทางศาสนาเขาเรียกว่าเดินจงกรมนั่นแหละ ก็ย่อมได้ทั้งนั้น เมื่อคิดแล้วเกิดความรู้แล้ว และเข้าใจแล้วความรู้ความจำเหล่านั้น ก็จะเป็นญาณ ที่เป็นปัจจัยหรือเป็นส่วนประกอบในการปฏิบัติธรรมในชั้นต่อๆไป

อนึ่ง การปฏิบัติธรรมหรือการทำสมาธิ โดยการใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดหรือยึดเหนี่ยวนั้น จะนั่ง จะยืน จะเดิน จะวิ่ง หรือจะนอน ก็ย่อมได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับตัวเรา ข้อสำคัญอย่าฝืนสังขาร เข้าได้ออกได้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นให้มากนัก ปวดก็ขยับให้หายปวด มันเรื่องธรรมดาของสรีระร่างกาย มีคนเรียกก็ลุก หรืออื่นๆใด และด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวถึง พฤติกรรม ความคิดและธรรมชาติเป็นอันดับแรก ก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความรู้ความเข้าใจในชั้นพื้นฐานก่อน จะได้ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าข้าต้องนั่งสมาธิให้นาน ปวดทรมาน ก็ทนนั่งอยู่ ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ท่านทั้งหลายควรได้คำนึงถึงจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของการปฏิบัติธรรม หรือการทำสมาธิโดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดหรือยึดเหนี่ยวว่าเป็นเช่นไร เพื่ออะไร ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อบรรลุจุดประสงค์ของความต้องการของตัวเอง จงจำไว้ให้ดีว่า การปฏิบัติธรรมหรือการทำสมาธิ ก็เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์หรือเป้าหมายของการปฏิบัติ มิใช่ให้บรรลุจุดประสงค์ของความต้องการของตัวเอง ซึ่งก็คงหนีไม่พ้น ความคิด อีกนั่นแหละ ประการสุดท้ายของการปฏิบัติธรรมหรือการทำสมาธิโดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องกำหนดและยึดเหนี่ยวก็ คือเมื่อฝึกไปจนชำนาญจิตใจสงบได้

เร็วสงบนิ่งไม่คิดสิ่งใดได้ดีแล้ว ก็ตัดคำว่า “พุทธโธ”ออกไป ให้กำหนดและยึดเหนี่ยวเฉพาะลมหายใจหรืออากาศหรือลมเพียงอย่างเดียว โดยไม่คิดสิ่งใดเลย ขั้นตอนนี้อาจจะยากสักหน่อยเพราะเราเคยใช้คำว่าพุทธโธมาก่อน แต่หากท่านทั้งหลายจะไม่ใช้คำว่า “ พุทธโธ” ตั้งแต่เริ่มแรกเลยก็ได้ มันก็จะยากตั้งแต่ตอนแรกเช่นกัน ดังนั้นก็ทดลองดูใครถนัดอย่างไหนก็เอาอย่างนั้นก็แล้วกัน การที่เราไม่ใช้คำว่า “พุทธโธ” เป็นเครื่องกำกับนั้น ก็เพื่อผลในการปฏิบัติวิปัสสนาในชั้นต่อไป ก่อนจะถึงวิปัสสนาท่านทั้งหลายก็ควรได้รู้เกี่ยวกับคำว่า ญาณ และ วิธีการแห่งการได้ ญาณ ซึ่งจะได้เขียนในตอนต่อไป

อนึ่ง รูปแบบของการปฏิบัติธรรม หรือการทำสมาธิยังมีอีกหลายรูปแบบ ดังที่กล่าวไว้ในตอนแรก ในที่นี้ขออธิบายเพียงสองประการ เพราะเป็นชั้นพื้นฐานรากฐานที่ขาดไม่ได้ ส่วนวิธีการอื่นๆที่มีอยู่ ก็สุดแล้วแต่ท่านทั้งหลายจะเห็นชอบเห็นควร เพราะมันเป็นเรื่องของความคิด และธรรมชาติ ซึ่งข้อสำคัญ ให้รู้ตามธรรมชาติ ให้เข้าใจในธรรมชาติ ให้เห็นจริงตามธรรมชาติ นี้แหละคือ “ธรรมะ”







 
ป้าแก้ว
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2005
ตอบ: 7

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2005, 1:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ไม่เป็นไรดอทคอม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 28 มิ.ย.2005, 7:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน















ถ้ามีคนกำลังมองหาคำตอบเกี่ยวกับการทำสมาธิ ทำอย่างไร แบบไหน เพื่ออะไร ควรทำเมื่อไหร่ ทำไปแล้วมีปัญหาเกิดขึ้น เช่นปวดหัว ปวดเนื้อตัว หรือมีภาพเกิด



ขึ้นขณะทำสมาธิ จะแก้ไขอย่างไร คำถาม

what where when why how เกี่ยวกับสมาธิ เหล่านี้ กะทู้นี้เป็นคำตอบที่ชัดเจนดี ผมเป็นผู้เรียนช้า ไหวพริบเชาว์ปัญญาก็ไม่มี

...ควายนับญาติกะผม...ว่างั้น...ผมยังอ่านเข้าใจ จึงคิดว่า กะทู้นี้จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานง่ายๆ ที่น้องๆทั้งหลายที่กำลัง คิดจะปฏิบัติ สมถะสมาธิภาวนา

อ่านแล้วคงจะเอาไปทดลองทำดูกันได้...แบบไม่มีอะไรต้องเป็นงง...ถ้าเป็นงงก็ไปถามคุณพ่อคุณแม่ดูอีกทีก็ได้ นะครับ



เมื่ออ่านเนื้อหาในกะทู้นี้แล้ว อ่านไปพลางคิดพิจารณาตามไปพลางๆ ได้ความเห็นขยายวงไปอีกหลายแง่หลายมุม นะ ลองอ่านกันดูนะคับ

ถ้าไม่เห็นด้วยก็คัดค้านกันได้(จะค้านค่อยค้านแรง ก็เป็นไปเพื่อธรรมทั้งนั้น แต่ขอให้เคารพในเหตุผลแห่งสัมมาทิฐิ)

จะได้ขยายมุมมองด้วยเหตุผลให้กว้างออกไปอีก



น้ำย่อมไหลลงสู่ทีต่ำ ตามแรงโน้มถ่วงของโลก ใจปุถุชนที่ยังไม่มีพระธรรมนำทั้งหลาย(รวมทั้งผู้เขียนค.ห.นี้ด้วย)ย่อมไหลลงสู่กระแสโลกีย์ตามอำนาจแห่ง



ตัณหา(ตัณหาทาโส ในปกิณณะคาถา) กิเลสราคะ ใช้พลังแห่งสติ สมาธิ ปัญญา

ไปในทางเสกสรรค์สิ่งต่างๆเพื่อสนอง อายตะ แห่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จนกระทั้งต้องไปตกนรกถูกทรมาน(ดีหน่อยก็ได้ไปพักสำราญในสวรรค์) พอพ้นโทษ



ได้มาเกิดอีก เศษกรรม

ติดตามมาบีบให้ต้องได้รับทุกข์เข็ญเวรภัย ต่างๆนานา(นกกา เสือสิงห์สาราสัตว์ในป่า เวลาออกหากิน นักพนันในบ่อนพนัน โจรปล้นธนาคาร ฯลฯ ล้วนแต่ใช้สติ



สมาธิ ปัญญาในการปฏิบัติงานให้สำเร็จทั้งสิ้น

แต่สิกขาสามเช่นนั้น เป็น มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ ปัญญารึก็เป็นปัญญามิจฉาทิฐิ)

::ย้อนไปในยุคแรกเริ่ม Flintstone มีแค่รูปสมมติที่เป็นแต่ธาตุสี่ดิบๆธรรมชาติล้วนๆ ยังไม่มีสมมติศัพท์บัญญัติ สมมติภาษาบัญญัติ ยังไม่รู้จักสมมติ



เสกสรรการนำธาตุสี่มาประกอบเป็น ปัจจัยสี่ ยังไม่มีสมมติพิมพ์กระดาษตกลกเป็นเงินไว้แลกเปลี่ยนสิ่งของกัน การกินการอยู่ระหว่างสัตว์โลกยังไม่มีการเสกสรรค์



สลับซับซ้อนแบ่งแยกเหมือนยุคนี้ สัตว์โลกทั้งหลายต่างก็เป็นธาตุสี่มีวิญญาณครอง เกิดแก่เจ็บตาย มีรักตัวกลัวตายเหมือนกัน รักษาชีวิตกันเต็มที่ตามสัญชาติญาน



ถ้าkooไม่ฆ่าmung,kooก็ต้องถูก mungฆ่า การฆ่าเพื่อป้องกันรักษาชีวิต(หรืออะไรก็แล้วแต่) คือกฏหมาย หรือ ศาสนาในยุคนั้น ก็ว่าได้ เวไนย



สัตว์(ยังไม่ได้ไปโรงเรียนหรือไปวัดกันเลย ยุกนั้น อ่ะ)ก็อยู่ป่าอยู่ถ้ำเหมือนเสือสิงห์ แรดกระทิงหมาป่า ฯลฯ อยู่กันแบบถ้ำใครถ้ำมัน มีการบุกรุกยื้อแย่งถ้ำกัน (



ยังไม่มีการวางเงินดาวน์ เซ็นสัญญาจองถ้ำกัน อ่ะคับ)สู้กันให้ตายกันไปข้างหนึ่งแล้วเอาถ้ำมันมาอยู่เอาเนื้อมันมาเป็นอาหารแก้หิว เกิดอารมณ์กับสัตว์เพศตรง



ข้ามก็ใช้ไม้กระบองตีหัวให้มันงงๆ แล้วลากมันเข้าไปครอบครองอยู่ในถ้ำหรือตามสุมทุมพุ่มไม้ ลูกเค้าเมียใครก็ไม่รู้ เพราะยังไม่มีทะเบียนบ้านบัตรสม้าทการ์ด



สัตว์ยุกนั้นเป็นแบบดิบๆอ่ะนะ แต่มีปัญญานี่ ต่อๆมาจึงค่อยๆ ประกอบนั่นประกอบนี่ ก่อตั้งชมรมสมาคม อึ๊ยย!ยังไม่ใช่คับ รวมตัวกันเป็นหมู่พวก เป็นเผ่า ใครมีตัว



เหมือนกันชอบเหมือนกันเคยช่วยเหลือกันต่อสู้กะสัตว์อื่นที่จะมาฆ่าตัว ก็เซ้นสัญญาเป็นพันธมิตรกัน อือ!ยังไม่ซิ แค่รวมตัวกันแบบง่ายๆ ใครเก่งกว่าสัตว์อื่นใน



กลุ่มก็ได้รับยกย่อง ให้เป็นหัวหน้ากลุ่มมีลูกน้องเคารพยำเกรง ตอนนี้อัตตานุทิฐิ ที่สิงสถิตอยู่ในใจตลอดมาก็เริ่มแสดงตัวออกนอกหน้าชัดเจน::ขอแนะนำบท



ความเรื่อง "ปฐมเหตุของโลกและชีวิต "เขียนโดย อ.เสถียร โพธินันทะ (อาจารย์เสถียรท่านเป็นอาจารย์ฆราวาสที่สอนพระในมหาวิทยาลัยพระ ในวงการพระ



ไตรปิฏก ยอมรับว่าท่านผู้นี้เป็นผู้รอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฏก อย่างเยี่ยมท่านหนึ่ง แต่เด๋วนี้ นะฮะ ท่านเปลี่ยนบ้านไปอยู่สวรรค์ แระ เคยได้ฟังเทปที่ท่าน



บรรยายให้นักศึกษาพระฟัง ท่านบรรยายธรรมะในพระไตรปิฏกได้คล่อง มากและเป็นแบบวิเคราะห์แยกแยะ ชี้จุดประเด็นให้นักศีกษาพระได้เห็น ในธรรมบทนั้นๆ



ฯลฯ สุดยอดจริงๆ!)http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=720





---อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก ได้บ่งชี้ไว้ว่า "มนุษย์เป็นสัตว์สังคม(Humans are social animals.) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้



ทรงตรัสเรื่องหมู่สัตว์โลกไว้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทหนึ่ง เป็นเวไนยสัตว์ คือ สัตว์ที่สอนให้รู้เหตุผล ผิดชอบชั่วดี ทำกุศลละอกุศล สอนให้มีหิริ โอตัปปะได้



"Humans are social animals with consciences that can be edified. " ---



*==*==*==*==*==*==*



....ด้วยพระเมตตาอันไม่มีที่สุดประมาณแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ประทานสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะมาแก้ปัญญามิจฉาทิฐิ

ทรงประทานสัมมาสติ สัมมาวายามะ มาเพื่อแก้มิจฉาสติ ทรงประทานสัมมาสมาธิ สัมมาวายามะ มาเพื่อแก้มิจฉาสมาธิ (นำสัมมาวายามะ ความเพียรชอบ ไปประกอบ

การเจริญสิกขาทั้งสาม คือ สติ สมาธิ ปัญญา ในอริยมรรค)ทรงสอนในหมวดศีลให้มีสัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันโต(ทำการงานชอบ)สัมมาวาจา (อย่าลืมนำสัมมา



วายะมะมาประกอบในทุกองค์มรรค)



เพื่อควบคุมใจน้ำตกไม่ให้เตลิดเปิดเปิงกระจัดกระจายไร้จุดหมาย และไม่ให้ใจคิดไปทางต่ำทราม...ตามที่ลุงใหญ่ นำธรรมะพระพุทธองค์ มาอธิบายขยายความ



ไว้

เกี่ยวกับการทำสมาธิกำหนดลมหายใจ คือ อานาปานะสติ ทำได้ ทุกอริยาบท คือ นั่ง จะนั่งสมาธิ หรือ นั่งทำการงานก็ได้ ยีน(ใช้เป็นตัวเปลี่ยนอิริยาบท) เดิน(



รวมเดินจงกรมด้วย)

นอน(ให้กายได้พักโดยกำหนดอานาปานะสติในท่าสีหไสยาส)

น้องๆลองนำไปทดลองทำกันดูนะ หมั่นทำเข้า ถ้ามีอุปสรรค เด๋วเทพธิดา มณีเมขลา ก็เหาะมาช่วยเองล่ะน่าา (เหมือนที่เทพธิดามณีเมขลา เหาะไปช่วยพระมหา



ชนกกุมาร ในพระราชนิพน พระมหาชนก ไงคับ)




http://www.childrenthai.org/learningroom/el03/mind07.htm



ขอบคุณท่านผู้เข้ามาอ่าน ขอบคุณผู้ร่วมออกความเห็นทุกท่าน ขอบคุณลุงใหญ่ ผู้ส่งบทความ ขอบคุณเว็บมาสเตอร์และคณะผู้จัดทำ dhammajak.net



(จะชมหรือจะด่าจะยกย่องหรือจะเหยี่ยบย่ำ ท่านเหล่านี้คงไม่หวั่นไหวเนื่องจากมีจิตที่ฝึกไว้ดีแล้วด้วยธรรมะแห่งพระพุทธองค์ แต่กระผมสมัครใจจะชมด้วยใจจริง



เพื่อความเป็นศิริมงคลแต่ตนเอง คับ)
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง