Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ฝึกสมาธิในชีวิตประจำวันแบบง่ายๆโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองเวลา
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
poivang
บัวตูม
เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224
ตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2005, 11:45 am
ฝึกสมาธิในชีวิตประจำวันแบบง่ายๆโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองเวลา
คัดลอกมาจากหนังสือที่มีการเทศน์สอนโดย ท่านพระอาจารย์หลวงตามหาบัว
ปกติคนเราก็มีสมาธิกันอยู่โดยธรรมชาติแล้วทั้งนั้น แต่เราอาจไม่รู้สึกตัวว่านั่นเป็นสมาธิ เหตุใดเราจึงหันมาสนใจสมาธิกันในระหว่างนี้ เห็นจะเป็นเพราะชีวิตประจำวันขณะนี้วุ่นวายสับสน จนเรารู้สึกเหนื่อย ไม่มีกำลังพอที่จะรับหน้ากับสิ่งที่ต้องผจญอยู่ทุกวันๆ ที่เป็นดังนี้เพราะเราไปมุ่งเพ็งเล็ง อยู่แต่ในด้านวัตถุกันมาก จนกระทั่งลืมนึกว่าสิ่งที่เป็นรูปกายของเรานี้ประกอบด้วยสองส่วน คือ กาย ซึ่งเป็นวัตถุ กับใจ ซึ่งเป็นนามธรรม เป็นพลัง เมื่อเราไม่เคยสนใจที่จะรักษาใจให้ได้พักผ่อน เพื่อจะได้มีพลังเพียงพอไว้ต่อสู้กับเหตุการณ์ประจำวัน เราก็เริ่มรู้สึกล้า รู้สึกเหนื่อย รู้สึกขุ่นมัว รู้สึกเศร้าหมอง แต่เราก็ไม่มีเวลาที่จะนั่งลงถามหาเหตุผลว่า เหตุใดเราจึงเป็นเช่นนั้น ตรงกันข้ามเรากลับแสวงหากันต่อไป ด้วยคิดว่า อาจเป็นเพราะวัตถุที่มาอำนวยความสะดวกให้เรานั้นยังน้อยไป ยังขาดตกบกพร่อง เราจึงแสวงหาเพิ่มขึ้น จึงมีคนฉุกคิดว่า น่าจะมีอะไรมาแก้ไขได้ จึงหันมาเพ่งเล็งถึงสมาธิ ถึงวิธีทั้งหลายที่จะช่วยให้จิตของเรามีพลังและมีคุณภาพเพิ่มขึ้น
สมาธิคืออะไร สมาธิคือความแน่วนิ่งของจิตของเรา ปกติจิตซึ่งเป็นพลังเป็นสิ่งที่กระเพื่อมเหมือนกับน้ำอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีการเคลื่อนไหว มีการคิดไปไหลไปตามอารมณ์ โดยไม่มีหลักยึดเหนี่ยว ก็จะเหนื่อย จะห
xxx
ำลังไปโดยเปล่าประโยชน์ หากเราหาอะไรที่ทำให้เกิดความตั้งมั่น เกิดความแน่วนิ่งขึ้นได้ เป็นต้นว่า มีทุ่นสำหรับให้จิตเกาะ ไม่ว้าวุ่นสับสน แต่จะสงบเย็น และมีกำลังพร้อม สำหรับนำไปใช้ขบคิดปัญหาด้วยเหตุ ด้วยผล ซึ่งจัดการประยุกต์ใช้อย่างมีประโยชน์และมีประสิทธิภาพ
ปัญหาจึงมีว่า ทำอย่างไรเราจึงสามารถทำสมาธิให้เกิดได้เพียงพอ สำหรับรักษาเสริมบำรุงใจของเรา ให้มีสมรรถภาพพอที่จะทำการงานและมีชีวิตอยู่โดยสามารถบำเพ็ญประโยชน์ได้เต็มที่ และดีที่สุด เราก็พบว่าเราสามารถทำได้โดยอาศัยวิธีธรรมชาติธรรมดาที่สุด
ปกติคนเราย่อมมีกิจกรรม มีการเคลื่อนไหวอิริยาบถหรือมีอะไรทำอยู่เป็นประจำ แทนที่เราจะปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ใส่ใจ ไม่เอาสติไปจดจ้องไว้ เราก็มาเอาสติตามรู้อยู่ เพื่อให้จิตของเรามีทุ่นเกาะ มีหลักสำหรับให้มันแน่วนิ่งอยู่
เริ่มต้นง่ายๆที่สุด ตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา แทนที่จะปล่อยใจของเราไปนึกถึงสิ่งที่ผ่านมา อย่าง เมื่อวานที่เรายังปลงไม่ตก ที่มันยังกังวลอยู่ เราก็เอาสติมาตามรู้อยู่กับอิริยาบถในปัจจุบันเดี๋ยวนั้น เราลุกขึ้นก็ให้รู้อยู่ เราไปห้องน้ำทำกิจวัตรประจำวันก็ให้รู้อยู่ ถ้าเราจำเป็นต้องคิดก็เอาสติตามรู้อยู่ในกระแสของความคิดนั้นๆว่าเรากำลังคิดด้วยการมีเหตุผลเพื่อแก้ไขหรือหาวิธีที่จะคลี่คลายปัญหาของเราให้ดีขึ้น หรือว่าคิดไปด้วยความกลัดกลุ้ม ด้วยความสับสน เอาสติมาตามรู้อยู่เช่นนั้น อยู่กับปัจจุบันทุกๆขณะเช่นนั้น และรู้อยู่ในอิริยาบถที่เราเคลื่อนไหว ซึ่งบางคนอาจเรียกว่าสัมปชัญญะก็ได้ เมื่อเรารู้อยู่อย่างนี้แล้วหากต้องไปทำงานอะไร เราก็ไปจดจ่อรู้อยู่กับสิ่งที่เราไปทำนั้น เช่น เราอ่านหนังสือก็ให้รูอยู่ที่ข้อความที่อ่านนั้น เป็นต้น ไม่ปล่อยใจให้ไหลไปคิดถึงอดีต คิดถึงอนาคต ฟังดูก็ง่าย แต่ถ้าลองปฏิบัติ กำหนดเอาสติจ่อใจของเราดู บางคนตกใจว่าทำไมใจเราจึงฟุ้ง คิดยุ่งเหยิงอย่างนั้น ทำไมจึงยากอย่างนั้น เพราะใจเราเป็นธรรมชาติที่ไม่อยู่นิ่ง เป็นธรรมชาติที่ชอบไหลเกาะเกี่ยวไปกับอารมณ์ โดยที่ไม่รู้ตัว เราจะตกใจมากที่เราสามารถคิดเรื่อง๕เรื่องได้พร้อมๆกัน ในเวลาเดียว โดยที่เราไม่รู้หรอกว่า เราต้องการคิดถึงเรื่องอะไรก่อน อะไรหลัง แต่มันจะโผล่ขึ้นมาพร้อมๆกัน จนเราแยกแยะไม่ออก สับสน เหนื่อย แล้วเราก็บ่นว่ากลุ้มจริง เบื่อจริง ชีวิตทำไมจึงมีแต่ปัญหามากมายอย่างนี้ ก็เพราะว่าเราไม่ได้ฝึกไม่ได้อบรม ไม่ได้ทำใจของเราให้มีหลัก มีทุ่นสำหรับยึดเหนี่ยว เราจึงทำให้สิ่งซึ่งไม่น่ามีปัญหาเกิดเป็นปัญหาก่อกวนให้เราสับสนยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นหากเราคิดว่าเราไม่มีเวลาไปฝึกสมาธิ เรายังไม่พร้อม เรายังมีข้อขัดข้องอย่างโน้นอย่างนี้ กรุณาลองคิดใหม่ดังนี้ แท้จริงเรามีสมาธิกันอยู่โดยธรรมชาติแล้ว เพราะหากเราไม่มีสมาธิเลย สุขภาพจิตของเราจะไม่เป็นปกติ อาจเป็นโรคจิตหรือโรคประสาทได้ ใจคนเราก็เหมือนกายเรา มันต้องได้พักผ่อน (สมาธิ) ได้อาหาร (ปัญญา) พอสมควร เพื่อจะดำรงพลังและความมีสติ มีปัญญาพอเพียงสำหรับติดต่อหรืออยู่ในโลกกับผู้คนได้
ทุกวันนี้เราทุกคนต่างก็มีสมาธิโดยพื้นฐาน เพียงแต่ว่าเรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวเท่านั้น เมื่อเราทราบเช่นนี้แล้วก็เป็นการง่ายที่จะพยายามฝึก เพื่อให้สมาธิของเรามีคุณภาพเพิ่มขึ้น เพื่อเสริมใจของเราให้มีกำลังขึ้น เพราะไม่ว่าเราจะทำอะไร เราย่อมต้องการประสิทธิภาพทั้งนั้น ถ้าใจของเรามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นผลดีย่อมเกิดตาม เพราะไม่ว่าเราจะทำกิจการใดลงไป จะพูดสิ่งใด หรือจะคิดอะไรขึ้นมา ทุกอย่างล้วนสำเร็จด้วยใจทั้งนั้น เพราะใจเปรียบเสมือนนาย งานที่คอยบังคับควบคุมให้กายของเรากระทำออกไป ขณะที่เราเคลื่อนไหวอิริยาบถ หรือมีงานกระทำเป็นทุ่นให้ใจเกาะ ไม่แลบไหลไปที่ไหนแล้วก็เป็นการง่ายที่จะกำหนดใจของเราให้แน่วนิ่ง ให้มีสมาธิ แต่คนเราจะมีงานทำอยู่ตลอดเวลา หรือเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่นั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นบางครั้งที่เรานั่งพักผ่อนหรืออยู่เฉยๆ สติซึ่งเปรียบเสมือนพี่เลี้ยงของเราจะเผลอ จะอ่อนแรงลง เนื่องจากความสบายที่รู้สึกว่า เราพักเสียนิดหนึ่ง ในช่วงนิดเดียวนี้ ใจของเราซึ่งไม่เคยอยู่สุขเลย จะแลบออกไปไหลออกไป ตามอดีตบ้างตามอนาคตบ้าง ท่านจึงแนะนำว่า ขณะที่เราไม่มีอะไรเป็นทุ่นยึดเหนี่ยวใจอยู่นี้ให้กำหนดอยู่ที่ลมหายใจของเรา เพราะปกติลมหายใจเป็นสิ่งที่ไม่ต้องไปหามาจากไหนเลย เรามีลมหายใจเป็นสมบัติติดตัวตลอดตั้งแต่ลืมตาเกิดขึ้นมา ตราบจนวันตาย เพียงแค่ว่าเราหายใจกันด้วยการปล่อยปละละเลย ด้วยความเป็นอัตโนมัติ คราวนี้เอาสติมากำหนดรู้อยู่ว่า เราหายใจเข้าแล้วหยุด แล้วหายใจออกจนจิตของเรานิ่งอยู่กับลมหายใจ เมื่อเรารู้ได้ถึงกริยาที่เราหายใจโดยแจ่มชัด เราก็อาจจะไม่ตามลมเข้า ลมออกอีกต่อไป แต่กำหนดสติวางไว้ตรงไหนก็ได้ในทางเดินของลมหายใจของเรา ตรงที่เรารู้สึกชัดเจนที่สุด ง่ายที่สุด จะเป็นที่ปลายจมูก ที่ดั้งจมูก ที่หลอดลม หรือที่ตรงไหนก็ได้ ตั้งสติวางเอาไว้ ลองฝึกดังนี้ไปเรื่อยๆ
เมื่อเราฝึกอยู่เรื่อยๆอย่างนี้ เราจะพบว่าสติซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และเราคิดว่าเรามีสติสมบูรณ์อยู่กับใจของเรานั้น แต่แท้ที่จริงวันหนึ่งๆ สติของเราหายหกตกหล่นไปไม่รู้เท่าไหร่ ขณะที่เราคิดว่าเรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบันนั้น แท้ที่จริงเราคิดไปในอดีต หรือตามไปในอนาคตอยู่ตลอดเวลา ไม่เป็นไรเมื่อเรารู้ตัว จับได้ว่ามันไหลออกไปอย่างนั้นก็เรียกมันกลับมาใหม่ แล้วให้รู้ว่า แท้ที่จริงใจของเราเป็นสิ่งที่เลี้ยงยากเหลือเกินไม่ยอมอยู่ในโอวาทของเราเลย และหลอกเราอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราค่อยๆฝึกไป ใจที่เคยไหลอยู่ตลอดกาลไม่หยุดนิ่งเลย ก็ค่อยๆนิ่งเข้า สงบเข้า รวมตัวกันเข้า แน่วนิ่งเข้า มีรากมีฐาน ได้พักผ่อนเหมือนที่เราให้กายพักผ่อน ให้นอน ให้อาหาร เพื่อว่าวันรุ่งขึ้น จะได้มีกำลังสดชื่นแข็งแรง นี่ก็เหมือนกัน เราเริ่มต้นดูแลจิตของเราซึ่งเหน็ดเหนื่อย ซึ่งสับสน ซึ่งว้าวุ่น ซึ่งร้อน ซึ่งเศร้าหมอง
อยู่ตลอดเวลา ให้ได้พัก ได้สงบนิ่ง ได้มีกำลังขึ้น
miang
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2005, 7:14 pm
GOOD
go
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2005, 12:38 pm
ก็ดีนะ
poivang
บัวตูม
เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224
ตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2005, 9:23 am
ขอบคุณจ้า..
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 11:24 am
อนุโมทนาบุญในกุศลในบทธรรมดีๆ อย่างนี้
ขอบคุณคะ
poivang
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 02 ส.ค. 2005, 8:51 pm
ขอบคุณจ้ะ คุณลูกโป่ง
a
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2005, 12:19 pm
[img]http://[/img] อ่านแล้วดีมากๆเลยนะคะ ดิฉันจะพยายามกำหนดรู้สติของตนค่ะ
poivang
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2005, 2:15 pm
อนุโมทนาค่ะคุณa
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th