Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
การพัฒนาสติ ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53
ตอบเมื่อ: 15 มิ.ย.2005, 5:24 pm
การฝึกอบรมพัฒนาสติ ให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน
เจริญพร
อาตมาขอให้การบ้านแก่นักเรียนทุกคน ได้ไปทบทวนทำการบ้าน ดังที่ได้แนะนำและให้อุบายในการเจริญสมาธิภาวนาด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอันเป็นกำลังแก่การพัฒนาสติ ดังต่อไปนี้...............
1.เริ่มต้นด้วยการนั่งในท่านั่งที่ผ่อนคลาย สบายๆ ทำความรู้สึก เหมือนว่าเรากำลังนั่งเล่นหรือนั่งพักผ่อนรับลมโชยเย็นๆอยู่ชายทะเล พร้อมกับนั่งมองดูวิวทิวทัศน์ท้องทะเล ด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่ตื่นรู้ สดชื่น ิเบิกบาน (เพื่อปลุกตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ให้ตื่นขึ้น) ต่อไปให้ย้อนความรู้สึกเข้าไปสำรวจร่างกาย รู้สึกถึงร่างกายทุกส่วนให้มีการผ่อนคลายอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีสวนใดเกร็ง ไล่ไปตั้งแต่ศีรษะ ใบหน้า ถ้าตึงเกร็งก็ให้ผ่อนคลาย ไหล่ แขน ลำตัว ถ้าตึงเกร็ง ก็ให้ผ่อนคลาย ก้น ขา จนจรดปลายเท้าให้รู้สึกผ่อนคลาย สบายๆ ส่วนใดตึงเกร็ง ก็ให้ผ่อนคลาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน และรู้สึกถึงร่างกายทั้งหมดเป็นองค์รวมแบบเคร่าๆ รู้สึกถึงรูปกายที่นั่งอยู่ หรืออาจรู้สึกจนเหมือนเห็นรูปกายที่กำลังนั่งอยู่ และผ่อนคลายไปเรื่อยๆ จะรู้สึกถึงความสงบรำงับของร่างกาย เมื่อกายรำงับ จิตก็จะรำงับ สงบเอง เป็นไปอย่างธรรมชาติ
2. เมื่อผ่อนคลายร่างกายไปสักระยะ จะรู้สึกถึงลมหายใจเบาๆ ระเรื่อ ผ่านเข้า ผ่านออก สบายๆ และรู้สึกได้โดยไม่ต้องกำหนด
3.ให้รู้สึกถึงลมหายใจอย่างแผ่วเบา ละเอียด ประณีต ผ่านเข้า ผ่านอก เบา ละเอียด นุ่มนวล ประณีต .......เบา ละเอียด นุ่มนวล และประณีตมากขึ้นๆๆๆๆ...และ รู้สึกลมหายใจที่เบา ละเอียด ประณีตนี้ได้โดยไม่ต้องเพ่งหรือกำหนดแต่อย่างใด คือรู้สึกเองแบบสบายๆ อย่างเป็นธรรมชาติ
4. เมื่อรู้สึกถึงลมหายใจผ่านเข้า ผ่านออก อย่างแผ่วเบานี้ได้โดยไม่ต้องกำหนด ก็ให้หลับตาเบาๆ เพียงแค่ผนังตาปิดเบาๆ แล้วประคองให้ตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ลอยอยู่ช่วงบนประมาณเหนือไหล่ขึ้นไป ระวังอย่าให้ตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้นี้ไหลลงต่ำตกสู่ภวังค์ คือ เสมือนหนึ่งตาภายนอกหลับ แต่ความรู้สึกภายในยังตื่นอยู่เหมือนยังลืมตาอยู่ (หลับตานอก แต่ความรู้สึกภายในยังคงตื่นรู้ สดชื่นเบิกบาน เสหมือนหนึ่งความรู้สึกตื่นรู้ สดชื่น เบิกบาน ขณะรับลมโชยทะเลเย็นสบายและมองดูวิวทิวทัศน์ของทะเลอย่างเบิกบาน สดชื่น เบาสบาย)
5.ให้มีความรูสึกตัวทั่วพร้อมทั่วสราพางค์กายด้วยอาการตื่นรู้ ด้วยสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกที่เรากำลังประคองอยู่ช่วงบนเหนือไหล่ขึ้นไป อาจจะอยู่บริเวณใบหน้า หรือบริเวณศีรษะ หรือรอบๆศีรษะ และประคองความรู้สึกนี้ไปเรื่อยๆ คือมีสติเฉพาะหน้า ด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อมจริงๆ โดยให้สมาธิ สติ และสัมปชัญญะขนานกันไป อย่างต่อเนื่อง ระวังไม่ให้เผลอสติ เพราะถ้าเผลอสตินิดเดียว สำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้จะไหลลงต่ำตกสู่ภวังค์ได้ในที่สุด
6. ให้ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม พร้อมกับรู้สึกถึงลมหายใจเข้าออกแผ่วเบา ทุกระยะ จนเกิดความรู้สึกตัวทั่วถึงที่เป็นไปในภายใน คือ รู้สึกถึงอาการของใจ อาจจะเป็นปีติ อิ่มเอิบ หรือรู้สึกถึงไออุ่น ไอเย็นที่แผ่ซ่านอยู่ภายใน หรือรู้สึกถึงแรงดึงอันเนื่องจากความผูกพันด้วยตัณหาอุปาทาน และอาจจะรู้สึกถึงอาการคลายออกของแรงดึงดังกล่าว และค่อยๆ รู้สึกถึงความจางคลาย ความคลายออก โล่งโปร่งเบาสบาย ด้วยการละวางอาการทางใจไปทีละน้อยๆๆ
7.เมื่อรู้สึกถึงอาการทางใจที่เป็นไปในภายในอย่างทั่วถึงและชัดขึ้นๆๆ จะเกิดการปล่อยวาง และละวางความรู้สึกของร่างกายหรือความรู้สึกทั่วสรรพางค์กายอันเป็นไปภายนอกเองโดยอัตโนมัติ เหลือแต่ความรู้สึกถึงอาการทางใจที่เป็นไปในภายในล้วนๆ ขณะเดียวกัน ให้รู้สึกถึงอาการของลมหายใจที่ละเอียดแผ่วเบาๆๆไปตามลำดับพร้อมกันไปด้วย อันจะช่วยให้อาการทางใจค่อยๆคลายออก จางคลายไป จนเกิดสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกล้วนๆ ลอยอยู่ช่วงบนเหนือไหล่ขึ้นไปหรืออยู่เหนือกายนี้
8. เมื่อรู้สึกถึงตัวรู้สึกหรือสำนึกรู้ที่ค่อยๆรวมตัวกันและลอยอยู่เหนือไหล่ อยู่เฉพาะหน้า ชัดขึ้นๆๆ ให้ค่อยๆปล่อยวางอาการทางใจที่เป็นความรู้สึกอยู่ภายใน ค่อยๆปล่อยวางไปทีละน้อยๆ ไปตามลำดับ จะรู้สึกถึงสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้ชัดขึ้นๆ เหมือนกับลอยอยู่โดยไม่มีกาย ไม่มีศีรษะ ไม่มีใบหน้า เสมือนหนึ่งใจผู้รู้ล้วนๆ ลอยอยู่เหนือร่างกาย เหนือขันธ์ 5 และให้รู้สึกถึงลมหายใจที่แผ่วเบาละเอียดมากขึ้นๆๆ โดยรู้สึกอยู่ในสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้ จนสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้จะค่อยๆชัดขึ้นๆๆ ผ่องใส ขึ้น แจ่มใสขึ้น และพัฒนาไปเป็นใจผู้รู้ที่เป็นใจผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นอิสระ ลอยอยู่เหนือร่างกายหรือเหนือขันธ์ 5 จนเสมือนหนึ่งไม่มีกาย (กายหาย เหลือแต่จิตล้วนๆ ที่ค่อยๆ ผ่องใส แจ่มใส และค่อยๆ ฉายแสงจิตออกมาตามลำดับ)
9.มีสติระลึกรู้อยู่ในสำนึกรู้หรือตัวรู้สึกนี้อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับค่อยๆปล่อยวางร่างกาย ละวางตัวตน เช่น ให้รูสึกในใจว่าตัวเราไม่ใช่ของเรา และ ไม่เสียดายชีวิต แม้ว่าจะตกอยู่ท่ามกลางสิงสาราสัตว์ที่ดุร้าย คอยจ้องเอาชีวิตอยู่เบื้องหน้า ตายเป็นตาย ทิ้งกายเนื้อ เหลือแต่จิตหรือใจผู้รู้ล้วนๆ จนจิตเป็นอิสระ เหลือแต่จิตหรือใจผู้รู้ล้วนๆเป็นอิสระจากร่างกายไปโดยลำดับ ต่อจากนั้นให้สลับด้วยการแผ่เมตตา เพื่อเป็นการลดละความมีตัวตน อันเป็นกำลังแก่สติ เพื่อให้สามารถคงสภาวะการรับรู้อย่างเป็นกลางๆ หรืออุเบกขา ไม่ให้จิตไหลไปกับสิ่งที่ถูกรู้ และตระหนักได้ว่า ใจผู้รู้ก็ส่วนหนึ่ง สิ่งที่ถูกรู้ก็ส่วนหนึ่ง ลมหายใจละเอียดก็ส่วนหนึ่ง กายก็ส่วนหนึ่ง จิตก็ส่วนหนึ่ง เห็นสภาวะแยกรูปแยกนามในลักษณะที่ซ้อนๆกันอยู่ และให้ใจผู้รู้นี้ไปพิจารณากายให้เห็นเป็นอสุภะ เน่าเปื่อยผุพัง เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟไปตามลำดับ เห็นสภาวธรรมทุกอย่างไปตามความเป็นจริง เห็นไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตน จนเกิดความคลายออก ความจางคลายของความผูกพัน เยื่อใย อาลัย อาวรณ์ อันเกิดจากแรงตัณหาอุปาทาน จนเกิดใจผู้รู้ที่อยู่เหนือขันธ์ 5 อยู่เหนือสมมติบัญญัติทั้งหลาย
1
0.ก่อนออกจากสมาธิ ให้ค่อยๆถอยสมาธิออกมาจากจิตมาสู่ความรู้สึก และถอยออกจากความรู้สึกมาสู่กายด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อมตามลำดับ และจดจำสภาวะ อาการ ความสงบ ความรู้สึก และความเป็นไปของใจในขณะที่เจริญภาวนาดังกล่าว เพื่อว่าครั้งต่อไปที่เราเจริญภาวนา จะได้ไม่ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ทุกครั้ง ผู้ปฏิบัติจะได้น้อมใจเข้าสู่ความสงบได้ภายในเพียงชั่วไม่กี่นาที หรือไม่กี่วินาที จนถึงเพียงชั่วลัดนิ้มมือ
11.ต่อไปค่อยๆเรียกความรู้สึกตามเนื้อตามตัวทุกส่วนทั่วสรรพางค์กายคืนมาปกติ วางมือไว้บนหัวเข่าทั้งสองโดยหงายฝ่ามือออก แล้วแผ่เมตตา
12. จากนั้น ค่อยๆ ลืมตา เบาๆ และออกจากสมาธิได้
ขอให้นักเรียนทุกคน หมั่นทบทวน ก่อนจะเข้าชั้นเรียนครั้งต่อไปนะ
ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
วิโมกข์
***********************************************************************************************
กำหนดการโครงการฝึกอบรมพัฒนาสติในการภาวนาให้เป็นผู้รู้ ผุ้ตื่น ผุ้เบิกบาน ในชีวิตประจำวัน จะเปิดการอบรมครั้งต่อไปในวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมใหญ่ บริษัทสัมพันธ์ประกันภัย (เชิงสะพานพระราม 7 ถ.ประชาราษฎร์ จ.นนทบุรี) เริ่มเวลา 11.30 น.(หลังเพล) เป็นต้นไป เผื่อว่าท่านใดที่ต้องการไปร่วมงานบ้านคนชราของคุณโชติปาละในกระทู้
http://larndham.net/index.php?showtopic=15249&st=0
หลังจากอบรมครึ่งแรกแล้ว จะลาไปร่วมกิจกรรมที่บ้านบางแคได้
ท่านผูสนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมสามารถแสดงความจำนงค์แจ้งชื่อได้ในกระทู้นี้
หรือ สมัครเข้ารับการฝึกอบรม โดยอีเมล์ไปที่ .
wimoak@yahoo.com
หรือโทรศัพท์ 05-8326441
แผนที่ไป บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย กรุณา คลิ๊กไปที่..........
http://albums.photo.epson.com/j/ViewPhoto?u=4257482&a=31502996&p=71904048
_________________
ยังนึก..ม่าย..ออก!!!!!
ดาวประกาย
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 15 มิ.ย. 2005
ตอบ: 53
ตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2005, 1:06 pm
*****************************************************************************************************
การฝึกอบรมพัฒนาสติให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น และผู้เบิกบาน ครั้งที่ 3
จะจัดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2548 ณ สถาบันสอนภาษา
Home English Center ปิ่นเกล้า และ เนื่องจากสถานที่ฝึกอบรม
สามารถรับผู้เข้าฝึกอบรมได้เพียงครั้งละ 30 คน อาตมาจึงจะเปิดการฝึก
อบรมแบ่งเป็น 2 รอบ ๆ ละ 30 คน ดังนี้
รอบที่ 1 เวลา 10.00 12.00 น.
รอบที่ 2 เวลา 13.00 - 15.00 น.
อนึ่ง ขอให้ท่านผู้สนใจได้กรุณาแจ้งความจำนงค์โดยสมัครเพื่อสำรองที่นั่งครั้งนี้ด้วย
โดยการแจ้งชื่อ-นามสกุล และรอบเวลาที่ต้องการเข้าฝึกอบรม ส่งมาที่
wimoak@yahoo.com
แผนที่ HOME ENGLISH CENTER
คุณกานต์ 01-8251411
คุณสมบูรณ์ 06-7761576
นิวสมบูรณ์ ต.
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2005, 3:29 pm
การอบรมทั้งหมดฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ต้องทำบุญแต่อย่างใดทั้งสิ้นครับ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th