Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ทุกข์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ยม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2005, 12:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

1. ถ้าบาปคือความไม่สบายใจ...เราไม่ได้ทำบาป แต่ทำไมก็มีเรื่องมาให้ต้องทุกข์ ต้องไม่สบายใจด้วยล่ะ

2. คุณคิดว่าคนที่ทำไม่ดีอยู่เสมอ...เค้าจะรู้มั้ยว่าความดีคืออะไร
 
นายประแจ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 มิ.ย.2005, 10:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อ 1 ผมหมายความว่า การพิจารณาการกระทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งว่าบาปหรือไม่ ให้ใช้ใจเราวัดครับ ถ้าผลของการกระทำนั้นทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ การกระทำนั้นถือว่าเป็นบาปครับ แต่ถ้ารู้สึกสบายใจเบิกบานใจ การกระทำนั้นถือว่าเป็นการทำบุญครับ



ข้อ 2 เออ...แล้วความดีคืออะไรล่ะ

.............







 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2005, 12:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

1. ก็ต้องพิจารณาว่า ถ้าเราไม่ได้ทำบาป ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปไม่สบายใจกับทุกข์นั้น แต่เป็นเพราะเราไปคิดวกวนกับเรื่องราวที่ได้รับหรือเปล่า เรื่องมันผ่านมาแล้ว ทุกข์มันผ่านมาแล้ว ไปตอกย้ำ ไปซ้ำซากกับมันหรือเปล่า อารมณ์ความไม่สบายใจ มันอยู่นานได้ขนาดไหน ลองใช้สติพิจารณาอารมณ์ที่ว่าทุกข์ ที่ว่าไม่สบายใจดูซิ



2. คนที่ทำไม่ดี มันก็เป็นเรื่องของคนที่ทำไม่ดี ดูที่ตัวเรา...แต่ทว่า...หากเราพิจารณาแล้วว่าสิ่งที่เราทำลงไป ไม่ไปทำความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น ไม่ไปก่อความทุกข์ ความรำคาญให้กับผู้อื่น ก็ทำไปเถอะ แต่อย่าไปติดตรงคำว่า...ดี...ทำแล้วแล้วกัน ไม่ต้องไปตอกย้ำให้ใครฟัง ไม่ต้องไปซ้ำซากให้ใครฟังว่าเราได้ทำดีแล้วนะ ให้มันอยู่ในจิตในใจ...มันก็เท่านั้น...



มณี ปัทมะ ตารา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2005, 8:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหตุใดไม่ได้ทำบาป แล้วยังมีเรื่องทุกข์ เรื่องไม่สบายใจ เพราะพระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ 4 หรือ ความจริง 4 ประการครับ ได้แก่ ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ หนทางดับทุกข์

ดังนั้น ข้อ 1 ของอริยสัจ 4 บอกไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า ชีวิตมนุษย์ทุกคนเป็นทุกข์ครับ เพราะเราจะต้องพรัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา มันเป็นธรรมดาของโลกครับ ที่ทุกคนจะต้องทุกข์ ไม่สบายใจ



แต่การละบาป สร้างบุญ และทำใจให้ใส จะช่วยทำให้ความทุกข์น้อยลงไป (ความสุขเกิดขึ้นมา) ระหว่างที่ยังทำอยู่ ก็ยังต้องมีความทุกข์อยู่สิครับ จนกระทั่งทำได้จนถึงจุดสูงสุดแล้ว ก็บรรลุนิพพาน ไม่มีความทุกข์อีกตลอดไปครับ เหมือน เราลอยแพอยู่กลางทะเล เราก็ทุกข์มาก พอมีเรือมา (ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ใส) เราก็ทิ้งแพขึ้นเรือ เพื่อมุ่งไปสู่ฝั่ง ระหว่างนี้ คลื่นลม (ทุกข์) ก็ยังอยู่นะครับ แต่จะเบาบางลง เพราะเราแล่นก้าวหน้าไปเรื่อยๆ น้ำตื่นๆ ขึ้นเรื่อยๆ ใกล้ฝั่งไปเรื่อยๆ พอถึงฝั่ง (นิพพาน) เราก็ไม่ต้องทุกข์จากทะเลอีกต่อไป OK มั้ยครับ



คนที่ทำไม่ดีอยู่เสมอ ย่อมมีโอกาสรู้ได้ว่าอะไรคือ ความดีครับ เมื่อถึงจังหวะเวลาที่เหมาะสม อย่างเช่น พระพุทธเจ้า ชาตินี้มาเป็นพระพุทธเจ้า แต่ชาติแรกเป็นคนธรรมดาครับ แล้วเกิดความคิดว่า ทุกคนมีทุกข์ ถ้าเรารู้ทางแก้ทุกข์ เราจะบอกคนทั้งหลาย แล้วท่านก็บำเพ็ญบารมีเรื่อยมา จนเป็นพระพุทธเจ้าไงล่ะครับ
 
ยม
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มิ.ย.2005, 12:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยชี้แนะค่ะ^^
 
ดียังไม่พอ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 13 มิ.ย.2005, 2:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(1 )ชาติปิ ทุกขา> ความเกิดก็เป็นทุกข์....ชราปิ ทุกขา>ความแก่ก็เป็นทุกข์..... มะระณัมปิ ทุกขัง>ความตายก็เป็นทุกข์....โสกะปะริ เทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา>ความโศกา ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์....อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข>ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์....ปิเยหิ วิปปโยโคทุกโข.....ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์.....ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง>ความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ (สังเวคะวัตถุปะริทีปะกะปาฐะ) (2) จากส่วนหนึ่ง ของ...... ปกิณณะกะคาถา ......อูโณโลโก>โลกยังพร่องอยู่....อะติตโต>เป็นผู้ยังไม่อิ่ม ไม่เบื่อ.....ตัณหา ทาโส>จึงต้องเป็นทาสแห่งตัณหา...เหตุเพราะใจเจ้าของยอมตกเป็นทาสแห่งตัณหา จึงเกิดผล คือ ใจเจ้าของถูกตัณหา ลากถูลู่ถูกัง ไปตามกระแสโลกกระแสของความอยาก เหมือนปลาตายลอยตามน้ำ รู้ทั้งรู้อยู่ว่าสิ่งนั้นไม่ดี ก็ยังทำ เพราะใจเจ้าของถุกครอบงำแล้วด้วยตัณหา......ใจมีความประมาท ละไว้ ไม่ทำซึ่งความดี รู้ว่าดี แต่ก็แชเชือน ไม่ทำ ซะงั้น!!!!
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง