Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อนุปุพพิกถา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อภิ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 14 ธ.ค.2006, 9:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถามเรื่อง อนุปุพพิกถา
1. อยากทราบความหมาย
2. อยากทราบว่าเขียนอย่างไรถูก อนุปุพพิกถา อนุปุพพิกกถา อนุบุพพิกถา
3. อยากทราบว่าแท้ที่จริงพระพุทธเจ้าแสดงอนุปุพพิกถาอย่างไร ระหว่าง
3.1 ทรงแสดงตามที่ปรากฏในพระไตรปิฏก
3.2 ทรงอธิบายขยายความให้ผู้ฟังเข้าใจยิ่งขึ้น

ตัวอย่างข้อความในพระไตรปิฏก เรื่องยสกุลบุตร
"...เมื่อยสกุลบุตรนั่งเรียบร้อยแล้วพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในความออกจากกาม. เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตสงบ มีจิตอ่อน มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้วจึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ได้เกิดแก่ยสกุลบุตร ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับน้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น..."
ข้อความจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=4&A=576&Z=666&pagebreak=0
ท่านใดจะแสดงความเห็นเชิญครับ ขอบพระคุณล่วงหน้า ครับ สาธุ
 
ก้อนดิน
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 07 ก.ค. 2004
ตอบ: 623

ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2006, 10:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุปุพพิกถาคืออะไร
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6021
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สติสัมปันน์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 ธ.ค.2006, 11:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุปุพพิกถา คือ กถา (คำกล่าว) พรรณาไปโดยลำดับ ท่านให้สำนวน คำว่า กถา คือการพรรณา
อนุปุพพิกถา ก็คือคำกล่าวพรรณาไปโดยลำดับ เริ่มตั้งแต่ ทานกถา พรรณาเรื่องทาน การให้
สีลกถา ก็คือการพรรณาเรื่องการรักษาศีล อานิสงส์ของการมีศีล
สัคคกถา ก็คือการพรรณาสวรรค์ ความสุขของสวรรค์ อันเป็นอานิสงส์ของทานและศีล
ต่อจากนั้นเป็นการแสดงโทษของการหลงไหลในกามคุณ พรรณากามคุณเป็นเครื่องที่ทำให้เศร้าหมอง อันเป็นความสุขที่แท้จริง และพรรณาการออกจากกามคุณ
ที่แท้จริงพระพุทธเจ้าแสดงอย่างไร?
อันนี้ต้องเข้าใจเรื่องสำนวนและระเบียบของภาษาบาลีนะครับ ที่เรียกว่าไวยากรณ์ของภาษา อันนี้ต้องแยกเป็นคำว่า สำนวน (ลีลาการร้อยกรอง) กับไวยากรณ์ เราอย่าเข้าใจว่าพระไตรปิฎกนั้นแปล
เอาตามศัพท์ที่คงที่ครับรากศัพท์ของบาลีเป็นคำแปลเดิม แต่เมื่อศาสนาเผยแผ่ไปตามชนชาติต่างๆ
การแปลพระไตรปิฎกนั้น ท่านหมายเอาคำแปลที่ให้ชนชาตินั้นอ่านและเข้าใจง่ายที่สุด โดยผู้ที่แปล ต้องให้มีสำนวนที่คนอ่าน อ่านเข้าใจ และรักษาศัพท์ และไวยากรณ์เดิม ให้มากที่สุด คำว่ากถา ในที่นี้ท่านหมายถึงการพรรณา น่าจะเป็นการที่พระพุทธเจ้าทรงอธิบายให้พระยัสสะ แยกแยะและเห็นจริง อย่างแจ่มแจ้ง ทุกข้อ ไม่ใช่แค่แสดงตามที่ปรากฎพระไตรปิฎกแค่นั้นเป็นแน่แท้
แต่อาจจะเป็นด้วยระเบียบของภาษาในสมัยที่มีการจารึกพระไตรปิฎกนั้นเป็นอย่างนั้นแน่ จึงปรากฎให้ท่านผู้ที่อ่านบางท่านเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงอธิบายละเอียด
อนุปุพพิกถา เป็นชื่อที่ใช้เรียก คำแสดงที่เป็นลำดับอย่างนี้ โดยปกติท่านกำหนดให้หมายถึงการแสดงเรื่องดังกล่าว ไม่หมายเอาหมวดธรรมอื่น เจ๋ง
 
อภิ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 22 ธ.ค.2006, 11:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อรรถกถาในพระสุตตันตปิฎก พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหบดีวรรค (อรรถกถา อุปาลิวาทสูตร)http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

คำว่า อนุปุพฺพกถํ คือกถาที่กล่าวตามลำดับอย่างนี้คือ ศีลลำดับจาก
ทาน สวรรค์ลำดับจากศีลโทษของกามทั้งหลายลำดับจากสวรรค์.ในอนุบุพพิกถา
นั้น คำว่า ทานกถํ คือ กถาที่ประกอบด้วยคุณ คือ ทาน เป็นต้นอย่างนี้ว่า
ธรรมดาว่า ชื่อว่าทานนี้ เป็นเหตุแห่งสุขทั้งหลาย, เป็นมูลรากของสมบัติทั้งหลาย
เป็นที่ตั้งแห่งโภคสมบัติทั้งหลาย, เป็นที่ป้องกัน ที่เร้น ที่ไป ที่ไปเบื้องหน้าของ
คนที่เดินทางไม่เรียบ ที่พึ่งพา ที่ตั้ง ที่หน่วงเหนี่ยว ที่ป้องกัน ที่เร้น ที่ไป
ที่ไปเบื้องหน้า เช่นกับทาน ไม่มีในโลกนี้และโลกอื่น. ด้วยว่า ทานนี้เป็น
เช่นกับสิงหาสน์ (ที่นั่งรูปสิงห์) ทำด้วยรัตนะ เพราะอรรถว่า เป็นที่พึ่งพา.
เป็นเช่นกับแผ่นดินผืนใหญ่ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. เป็นเช่นเดียวกับเชือกโยง
เพราะอรรถว่า เป็นที่หน่วงเหนี่ยว. แท้จริง ทานนี้ เป็นประดุจนาวา เพราะ
อรรถว่า ข้ามทุกข์ได้. เป็นประดุจผู้องอาจในสงคราม เพราะอรรถว่า โล่งใจ
เป็นประดุจพระนครที่ปรับปรุงดีแล้ว เพราะอรรถว่า ป้องกันภัยได้. เป็นประ
ดุจปทุม เพราะอรรถว่า อันมลทินคือความตะหนี่เป็นต้นไม่ซึมเข้าไป. เป็น
ประดุจอัคคี เพราะอรรถว่า เผามลทินเหล่านั้น. เป็นประดุจงูพิษ เพราะอรรถ
ว่า ต้องนั่งไกล ๆ. เป็นประดุจราชสีห์ เพราะอรรถว่า ไม่หวาดกลัว. เป็น
ประดุจช้าง เพราะอรรถว่ามีกำลัง. เป็นประดุจพญาโคเผือก เพราะอรรถว่า
สมมติกันว่าเป็นมิ่งมงคลยิ่ง. เป็นประดุจพญาม้าที่ชื่อวลาหก เพราะอรรถว่า.
ให้ไปถึงแผ่นดินอันเกษม (ปลอดภัย). ธรรมดาว่า ทานนั้นเป็นทางที่เราดำ
เนินแล้ว เป็นวงศ์ของเราเท่านั้น เป็นมหายัญของเวลามพราหมณ์ เป็นมหายัญ
ของมหาโควินทศาสดา เป็นมหายัญของพระเจ้ามหาสุทัศนจอมจักรพรรดิ เป็น
มหายัญของพระเวสสันดร เป็นมหายัญเป็นอเนก ที่เราผู้บำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ
บำเพ็ญมาพรั่งพร้อมแล้ว เป็นทานที่เรา สมัยที่เป็นกระต่าย ยอมทอดตัว
ลงในกองเพลิงที่ลุกโชน ยึดจิตใจของพวกยาจกที่มาถึงแล้วได้ แท้จริง ทาน
ย่อมให้สัคคสมบัติในโลก ให้มารสมบัติ ให้พรหมสมบัติ ให้จักรพรรดิสมบัติ
ให้สาวกบารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ อภิสัมโพธิญาณ ก็บุคคลเมื่อให้ทาน ย่อม
อาจสมาทานศีลได้ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสศีลกถาไว้ในลำดับ
จากทานนั้น. คำว่า สีลกถํ คือ กถาที่ประกอบด้วยคุณคือศีล เป็นต้น อย่าง
นี้ว่า ธรรมดาว่าศีลนี้ เป็นที่พึ่งพา ที่ตั้ง ที่หน่วงเหนี่ยว ที่ป้องกัน ที่เร้น
ที่ไป ที่ไปเบื้องหน้า ธรรมดาว่า ศีลนี้เป็นวงศ์ของเรา เราบำเพ็ญศีลบริบูรณ์
ในอัตภาพทั้งหลายไม่มีที่สุด คือ ครั้งเป็นพญานาคชื่อ สังขปาละ ครั้งเป็น
พญานาคชื่อ ภูริทัตตะ ครั้งเป็นพญานาคชื่อ จัมเปยยะ ครั้งเป็นพญานาค
ชื่อ สีลวะ ครั้งเป็นพญาช้างผู้เลี้ยงมารดา ครั้งเป็นพญาช้างชื่อ ฉัททันตะ
แท้จริงที่พึ่งอาศัยแห่งสมบัติทั้งหลายในโลกนี้และโลกอื่น เช่นกับศีล ที่ตั้ง ที่
หน่วงเหนี่ยว ที่ป้องกัน ที่เร้น ที่ไป ที่ไปเบื้องหน้าเช่นกับศีลไม่มี เครื่อง
ประดับเช่นกับเครื่องประดับคือศีลไม่มี ดอกไม้เช่นกับดอกไม้คือศีลไม่มี กลิ่น
เช่นกับกลิ่นคือศีลไม่มี โลกแม้ทั้งเทวโลกมองดูผู้ประดับด้วยเครื่องประดับคือ
ศีล ผู้มีดอกไม้คือศีลเป็นเครื่องประดับ ผู้อันกลิ่นคือศีลซึมซาบแล้ว ย่อมไม่
รู้สึกอิ่ม เพื่อจะทรงแสดงว่า ก็บุคคลอาศัยศีลนี้ ย่อมได้สวรรค์นี้ดังนี้ จึง
ตรัสสัคคกถาลำดับจากศีลนั้น. คำว่า สคฺคกถํ ได้แก่ กถาที่ประกอบด้วยคุณ คือสวรรค์เป็นต้น อย่างนี้ว่า ธรรมดาว่า สวรรค์นี้ น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ในสวรรค์นั้น มีการเล่นเป็นนิตย์ ได้สมบัติทั้งหลายเป็นนิตย์
เทวดาชั้นจาตุมหาราชเสวยทิพยสุขทิพยสมบัติ ๙ โกฏิปี ชั้นดาวดึงส์ ๓ โกฏิปี
และ๖ โกฏิปี. พระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้กำลังตรัสถึงสวรรค์สมบัติ
ก็ไม่มีเพียงพอ สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เป็นต้นว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราจะพึงกล่าวสัคคกถาด้วยปริยายเป็นอเนก ดังนี้. พระผู้มี-
พระภาคเจ้า เมื่อทรงประเล้าประโลมด้วยสัคคกถาอย่างนี้แล้ว เป็นประดุจทรง
ประดับช้างแล้ว ตัดงวงของช้างนั้นเสียอีก ทรงแสดงว่าสวรรค์แม้นี้ ไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ไม่ควรทำความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสวรรค์นั้น จึงตรัส
โทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลายโดยนัยเป็นต้นว่า
กามทั้งหลาย มีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกาม
เหล่านั้นมียิ่งขึ้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า อาทีนโว แปลว่า โทษ. คำว่า
โอกาโร แปลว่า ต่ำ ทราม. คำว่า สงฺกิเลโส คือ ความเศร้าหมองในสังสารวัฏของสัตว์ทั้งหลาย เพราะกามเหล่านั้น เหมือนที่ตรัสว่า ผู้เจริญ สัตว์
ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงขู่ด้วยโทษของกาม
อย่างนี้แล้ว จึงทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ การหลีกออกจากกาม.
ถามว่า เนื้อความในอรรถกานั้นเป็นของใคร ระหว่าง พระพุทธเจ้าทรงแสดงเอง หรือว่า พระสาวก หรือว่า บุคคลสมัยหลังๆ มานี้ แล้วจะเชื่อถือได้หรือไม่ ครับ
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง