|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
เม
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ธ.ค.2006, 4:59 pm |
  |
อย่างเช่นเรื่องที่พระทำผิดศีลขั้นร้ายแรง เช่น เสพสุรา และอื่นๆ
หรือชาวพุทธที่ทำเรื่องอื้อฉาว ว่าเราจะมีวิธีแก้ไข้อย่างไร และจะช่าวกันป้องกันไม่ให้เรื่องเหล่านี้
เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
รบกวนด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ  |
|
|
|
|
 |
กรัชกาย
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348
|
ตอบเมื่อ:
21 ธ.ค.2006, 8:28 pm |
  |
ควรป้องกันที่ต้นเหตุ คือว่า ใครมีลูกมีหลานมีพี่มีน้อง....ที่ติดยาเสพติดพวกยาบ้าเป็นต้น
ติดสุราเรื้อรัง ติดการพนันจนเลิกไม่ได้ ฯลฯ
บ้านใกล้เรือนเคียงช่วยกันต่อต้าน ห้ามกันเสียตอนนั้นเลย
โดยบอกพ่อแม่หรือญาติพี่น้องของบุคคลดังกล่าวว่า ไม่ควรให้บวชนะ คนนี้นี้... บวชเดี๋ยวก็เสพสิ่งเสพติดเสียหายพระศาสนาโดยรวม เลิกยาอดยาเสียก่อน ค่อยให้บวช....
ถ้าให้บวชแล้วจะมาแก้กันคงยาก บางที่บางแห่ง เจ้าอาวาสจับตรวจฉี่ หรือให้ตำรวจจับ สึกพ่อแม่ของพระรูปนั้น ยังอาลวาดเจ้าอาวาสเลย เคยได้ทราบข่าวมา
- การคัดคนดีเข้ามาบวข เราก็ได้พระที่ดี เอาพวกขี้ยามาบวชก็ได้พระขี้ยา เอาคนพิการมาบวช ก็ได้พระพิการ เอาคนติดบุหรี่มาบวชก็ได้พระติดบุหรี่
เอาพวกนักเลงหัวไม้มาบวช ก็ได้พระนักเลงหัวไม้
คิดแบบซื่อๆว่า บวชแล้วกิเลสทั้งมวลจะหลุดร่อน ออกจากตัวเหมือนสะเก็ดไม้ อย่าพึงหวัง ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่คิด |
|
_________________ สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา |
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
21 ธ.ค.2006, 9:05 pm |
  |
ผมเห็นว่า ควรปฏิบัติดังนี้
1.หน้าที่ ที่แท้จริงของเรา-ท่าน น่าจะเป็นการมุ่งรักษาศีลของตนเองให้บริสุทธิ์เสียก่อน
ถ้าเรา-ท่าน มีศีลบริสุทธิ์เพียงพอแล้ว จะช่วยสงเคราะห์ผู้อื่น ก็จะเป็นการสมควร
ในลักษณะ ฝึกตนได้ดีแล้ว จึงฝึกผู้อื่น
ไม่ใช่ลักษณะ เตี้ยอุ้มค่อม
2.ถ้าฆราวาสมาพบเหตุการณ์ที่ผู้ห่มผ้าเหลืองบางท่านทำไม่เหมาะสม และมีความปราถนาดีที่จะช่วยแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง.....
สิ่งที่สมควรทำก็คือ แจ้งกับฝ่ายปกครองสงฆ์หรือหน่วยงานสำนักพุทธศาสนาประจำท้องที่ผู้ห่มเหลืองท่านนั้นๆสังกัดอยู่ ให้จัดการตามระเบียบการปกครองสงฆ์.....
ไม่ควรเป็นการนำมาลงเผยแผ่ในลักษณะตำหนิ"พระ"โดยรวม อย่างเช่นที่เห็นกันบ่อยๆตาม หน้า นสพ.
3.การพยายามช่วยแก้ปัญหาที่ละเอียดอ่อนในลักษณะนี้ ต้องรอบครอบอย่างมาก....ต้องพิจารณาทั้ง
3.1 เจตนาจะต้องบริสุทธิ์ตลอดเวลา
3.2 รูปแบบและวิธีการที่จะใช้ จะต้องเหมาะสม
3.3 ต้องคำนึงผลที่จะเกิดตามมา ทั้งในส่วนที่เราคาดว่าน่าจะเป็น และส่วนที่อาจจะเป็นในทางที่เสียหายต่อภาพพจน์ส่วนรวมของพระศาสนาด้วย....
การพยายามเช่นนี้ ถ้าทำด้วยความเหมาะสมทั้ง3อย่างแล้ว จะเป็นมหากุศลแก่ตนเอง
แต่ถ้าไม่รอบครอบทั้ง3ประเด็นแล้ว ทั้งๆที่เจตนาตอนแรกนั้นดี แต่เลือกรูปแบบวิธีการที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะเกิดอกุศลกรรมที่หนักแก่ตนเองได้โดยคาดไม่ถึง......
เพราะอาจจะมีผู้ศึกษาเริ่มต้นที่ศรัทธาในพระศาสนายังไม่มั่นคง หรือ แยกแยะระหว่าง ความบกพร่องของบุคคล กับ หลักการของพระศาสนา ไม่ออกจากกัน แล้วพาลเสื่อมศรัทธาในพระศาสนาโดยรวม.....เพราะการแก้ปัญหาที่ไม่รอบครอบเพียงพอ
หรือ ศาสนาอื่น ถือโอกาสใช้ข่าวเช่นนี้ดิสเครดิตพระพุทธศาสนา(เช่นในกรณีสมีxxx) |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
21 ธ.ค.2006, 9:08 pm |
  |
ผมขอเสนอเพิ่มเติมว่า ควรแยกแยะให้ดีระหว่าง
1.สมมติสงฆ์
2.อริยสงฆ์
สมมติสงฆ์เอง ก็ยังแยกได้เป็น
1.ผู้ที่สักแต่ว่าห่มผ้าเหลือง แต่ไม่สำนึกในผ้าเหลือง(ธงชัยของพระอรหันต์)ที่ตนเองครองอยู่
2.สมมติสงฆ์ที่เป็นสุปฏิปันโน เพียงแต่ยังไม่บรรลุคุณธรรมเป็นอริยบุคคล
อริยสงฆ์เอง ที่กล่าวถึง บุคคลสี่คู่ แปดบุคคล ก็ยังแยกออกเป็น
1.ไม่ได้ครองเพศบรรพชิต
2.ครองเพศบรรพชิต
ดังนั้น ผู้ห่มผ้าเหลืองที่ไร้สำนึกบางท่าน จึงไม่ใช่ทั้งหมดของสงฆ์
จึงเสนอให้ควรระมัดระวัง การกล่าวโดยรวมว่า"พระ"
เพราะถ้าแยกแยะไม่ถูกต้อง จะนำมาสู่การสรุปที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงในปัญหานี้ |
|
|
|
  |
 |
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่

เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773
|
ตอบเมื่อ:
21 ธ.ค.2006, 9:11 pm |
  |
อยากให้ลองย้อนไปดูกรณีครึกโครมเรื่องสมีบางท่าน ที่สื่อนำมาทำข่าวในอดีต
ในช่วงปี2536-2539
ด้านหนึ่งก็มีส่วนดีที่สื่อเปิดเผยข้อเท็จจริงให้คนที่อาจจะยังไม่ทราบ ได้ทราบกัน.....
แต่อีกด้านหนึ่ง ก็มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อผู้ที่ยังแยกแยะไม่ออกระหว่าง บุคคล กับ หลักการของพระศาสนา
โดยเฉพาะ ผมสังเกตุเห็นว่า
ถัดจากนั้นมา สื่อจะเน้นลงข่าวลักษณะนี้มากอย่างผิดหูผิดตา.....
แม้นแต่ในปัจจุบัน หลายข่าวในเรื่องเหล่านี้ ที่พาดหน้า1หลายๆวัน ผมก็มองว่ามันไม่จำเป็นที่จะต้องทำถึงขนาดนั้น
เพื่อนสมาชิกหลายท่านอาจจะไม่ทราบว่า ในช่วงปี2536-2539นั้น
วัดในต่างจังหวัดบางแห่งมีปัญหา จากการเสื่อมศรัทธาของฆราวาสอย่างรุนแรง เป็นผลพวงจากกรณีสมีxxx
บางแห่งถึงขั้น บิณฑบาตไม่พอฉันกันเลย.....พระบางวัดต้องให้เด็กวัดต้มมาม่าให้ฉันกันก็มี!!!
การแก้ปัญหาที่ดีนั้น ต้องไม่ไปสร้างปัญหาใหม่ที่ซับซ้อนกว่าปัญหาเก่าขึ้นมาอีก
การแก้ปัญหาที่ดีนั้น ควรที่จะเลือกกระทำด้วยความรอบครอบ ทั้งรูปแบบ วิธีการ ที่เหมาะสมต่อปัญหานั้นๆ
เปรียบเสมือน กับหมอผ่าตัดจะรักษามะเร็งให้กับผู้ป่วย
มีดนั้นควรจะใช้ตัดมะเร็งทิ้ง..... ไม่ใช่นำมาใช้ปาดคอผู้ป่วยเสียเหวอะหวะ |
|
|
|
  |
 |
ผู้เยี่ยมชม
|
ตอบเมื่อ:
21 ธ.ค.2006, 10:13 pm |
  |
ขอบคุณทุกคนนะครับบบ  |
|
|
|
|
 |
เจ๊เป็นตุ๊ด
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 29 พ.ย. 2006
ตอบ: 60
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยสอง
|
ตอบเมื่อ:
22 ธ.ค.2006, 11:51 am |
  |
จากความคิดส่วนตัวของผมแล้ว
เตือนก่อนครับครั้งแรก ครั้งเดียวก็เพียงพอ ถ้าละเมิดอีกก็จับสึก
พระ เณร ที่เข้ามาอยู่ใหม่ ถ้าเรียนได้ ไม่พิกลพิการจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ก็ควรต้องบังคับให้เรียนด้วย ไม่งั้นจะมีเวลาไปคิดเรื่องนอกลู่นอกทาง การศึกษามีส่วนช่วยให้จิตใจเข้มแข็งมีสมาธิเพิ่มขึ้น
ถ้าพระในวัดช่วยกันสอดส่องดูแล ไม่มองข้ามพฤติกรรมที่ไม่ถูก ไม่ควร ของผู้อยู่วัด ปัญหาก็คงลดน้อยลงไปเอง
 |
|
_________________ ปัญญาอยู่ไหน ที่ไหนมีขายบ้าง |
|
  |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |