Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สัมมาสมาธิ(เจริญสติในฌาน?) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ธ.ค.2004, 3:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วันนี้ผมคัดสัมมาสมาธิในสติปัฏฐานสี่ เพื่อให้เห็นว่าเมื่อทำสมาธิได้ฌานนั้น สตินั้นเป็นมหาสติ และเจริญในฌาน ตามข้อความข้างล่าง โปรดพิจารณาอ่านดู เพื่อความเข้าใจเรื่องสมาธิ





"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิเป็นอย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตกวิจารณ์ มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก

เพราะความวิตกวิจารณ์ระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน เป็นเครื่องผ่องใส ณ ภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก ผุดมีขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจารณ์ มีแต่ปิติและสุขที่เกิดจากสมาธิ อนึ่ง เพราะความที่ปิติวิราคะ(ปราศ)ไปย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่ และมีสติสัมปชัญญะ (โปรดสังเกตนะครับสมาธิในระดับทุติยฌานก็มีสติสัมปชัญญะ แสดงว่าในฌานระดับนี้ก็เจริญสติได้ - โอ่ ) และเสวยสุขด้วยกาย

อาศัยคุณคืออุเบกขา สติสัมปชัญญะ และเสวยสุขอันใดเล่าเป็นเหตุ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่าเป็นผู้อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เข้าถึงตติยฌาน

เพราะละสุขเสียได้ เพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนอัศดงดับไป

เข้าถึงจตุตถฌาน

ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติ (เห็นมั้ยในจตุตถฌานนี้ก็ยังมีสติ - โอ่) บริสุทธิ์เพราะอุเบกขา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 03 ธ.ค.2004, 3:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แม้ว่าในองค์ฌานที่ได้สมาธิในระดับฌานต่างๆ สามารถจะมีสติสัมปชัญยะได้ แต่ถ้าจิตนั้นมัวเสวยอารมณ์อื่น สติและสัมปชัญญะก็ไม่เจริญได้นะครับ เพราะฉะนั้นอย่านึกว่าในฌานแล้วจะมีสติสัมปชัญญะตลอด เพราะคนได้ฌานก่อนพุทธศาสนานั้นไม่มีสติพิจารณาธรรมที่ประณีต เพราะว่าการภาวนาที่ไม่เกิดจากฐานของ กาย เวทนา จิต และธรรม เลยไม่รู้ไม่เข้าใจหลักของสติปัฏฐานสี่ ทำให้ไม่มีปัญญาพิจารณาอริยมรรค

ก็เหมือนคนทั่วไปภาวนา อาจเผลอในอารมณ์ที่เป็นกุศลแล้วเสวยตรงนั้น แล้วละเลยการเจริญสติ ก็ไม่สามารถเจริญอริยมรรคไปสู่เส้นทางโสดปัตติมรรคได้
 
สำเร็จ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 ธ.ค.2004, 7:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแสดงความเห็นเรื่องในกระทู้ที่ตั้งมา..

ผมอาจจะมีความเห็นที่แตกต่าง..

ก็ขอให้พิจารณาเป็นเรื่องสนทนาธรรม

ไม่ได้มีความประสงค์คัดค้าน..เพราะมีส่วนถูกต้องอยู่มาก

ขอแสดงในส่วนที่ยังถูกต้องไม่ครบถ้วนครับ..





ในการแสดงเรื่องสมาธิ สติ และ ฌานทั้ง สามนี้

ขอแสดงให้เห็นก่อนว่า..สมาธิและสติ คือสิ่งที่อยู่ในจิตใจ..

หริอทางวิชาการเรียกว่าอยู่ในจิต..ที่เรียกว่าเจตสิก



ส่วนฌานนั้นเป็นผลจากการปฏิบัติ...ให้จิตมีคุณสมบัติดีมากๆ



บางทีเรียกว่าได้ฌาน...

บางทีเรียกว่าออกจากฌาน...

บางทีเรียกว่าอยู่ในฌาน...



จึงต้องพิจารณาว่าที่พระพุทธอง์แสดงตามที่ยกกระทู้มานั้น...

ผู้ปฏิบัติกำลังอยู่ที่กาลเวลาไหน



กำลังอยู่ในฌาน...หรื...อยู่นอกฌาน..



ที่คุณโอ่แสดงว่า...เพราะฉะนั้นอย่านึกว่าในฌานแล้วจะมีสติสัมปชัญญะตลอด เพราะคนได้ฌานก่อนก่อนพระพุทธศาสนาไม่มีสติพิจารณาธรรมที่ปราณีต....



นี่คือการแสดงรวมไว้โดยไม่แยกแยะ..

หมายความว่า..ไม่แยกกาลเวลาที่อยู่ในฌาน...

และกาลเวลาที่อยู่นอกฌาน...



เคยมีเรื่องดาบสปฏิบัติดีจนได้ฌาน...จนเหาะได้

วันหนึ่งเหาะไปรับอาหารในวังช้าไป..พระมเหสีก็เลยนอนรอ

นอนๆไปเสื้อผ้าก็หลุดออก...ดาบสเห็นสรีระพระมเหษีนั้นเข้า

ก็เกิดราคะกำเริบ ทำให้ฌานเสื่อม..เหาะไม่ได้อีก

จะเห็นว่า..การที่ดาบสเหาะได้...เพราะอาศัยการเข้าฌานไปก่อนแล้วอธิฐาน..ให้เหาะได้



ในคราวหลังเกิดโลกียธรรมเข้าครอบงำ...ไม่สามารถเข้าฌานได้...ก็เลยเหาะไม่ได้





การจะเข้าฌานได้...จะต้องเริ่มต้นจาก..สงัดจากกาม...สงัดจากอกุศล..

ตามที่ยกมา..ถูกต้องแล้ว

ความหมายก็คือไม่โลภ...ไม่โกรธ...ไม่หลง ดังนี้จึงเรียกว่าสงัดจากอกุศล



ขณะที่อยู่ในฌาน...คือจิตเป็นมหัคคตจิตเรียกว่า ฌานจิต มี 76 ดวง

ซึ่งในจิตทั้ง 76 ดวงนี้ จะมีสมาธิและ สติ ครบถ้วน

ถ้าเรียกตามบุคคลาธิฐาน..ก็หมายถึง บุคคลระดับที่จะเกิดเป็นพรหมขึ้นไปถึงพระอรหันต์



ซึ่งบุคคลเหล่านี้...จะได้รับผลของฌาน..ทำให้ไปเกิดในพรหมโลก

บางทีก็เรียกกันว่า พรหมจรรย์... หรือ ประพฤติพรหมจรรย์



หมายความว่า..ไปทางของพรหม...ก็คือ..ผู้ที่เพียรทำฌานนั่นเอง



เมื่ออกจากฌานมาแล้ว...ก็มารับอารมณ์ต่างๆ..

บางทีก็เผอ..ทำให้ขาดสติไปตามที่คุณโอ่กล่าวไว้..

ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้...เรียกว่าฌานเสื่อม...ก็เรียกกัน



ดังนั้นสติที่อยู่นอกฌาน...จะมีก็ได้...อาจไม่มีก็ได้



แต่ขณะใดที่กำลังอยู่ในฌานแล้ว..มีสติ..สัมปชัญญะครบถ้วนแน่นอน

แม้จะอยู่ที่ฌานขั้นใดตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงปัญจมฌาน ก็ไม่ได้ลดสติ สัมปชัญญะลง

คงลดลงแต่ วิตก..วิจาร ปีติ สุข...ซึ่งเป็นองค์ฌาน

การลดลงของเจตสิกได้เรื่อยๆ...ก็เรียกว่าเปลี่ยนระดับของฌานไปเรื่อยๆนั่นเอง





ผมจึงขอแสดงมาดังนี้





 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2004, 2:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องนี้ต้องขยายความที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงสมาธิ และการบรรลึฌาน แต่ผมคงไม่มีความรู้ตรงนี้ เพื่อจะได้เห็นความจริงว่าเป็นอย่างไรแน่ คือต้องแยกแยะเหมือนที่คุณสำเร็จอ้าง ผมไม่ถือว่าคัดค้าน เพราะเราต่างต้องการหาความจริงในธรรมะ



ในบทเทศน์ของหลวงปู่เทศน์ เรื่องสมาธิกับฌานก็แยกกันเหมือนคุณสำเร็จว่า ผมอาจหาลงมาดู แล้วจะได้พิจารณาซ้ำๆด้วย แต่เนื่องท่านเทศน์จึงยาวมาก คิดว่าพิมพ์ไม่ไหว ประเด็นของท่านที่ผมเคยฟัง (จะต้องไปหาหนังสือมาดูอีกจึงจะพูดได้ตรง )



จับได้ว่าถ้าทำวิปัสสนาจะได้สมาธิ ถ้าทำสมถะจะได้ฌาน ท่านว่าสมาธินั้นได้ปัญญา แต่เมื่อเราดูตามพุทธพจน์ นั้นต้องทำตามหลักสัมมาสติ แล้วได้สมาธิ แต่พอได้สัมมาสมาธิ แล้วจะเข้าถึงฌาน (ตามลำดับ)อันนี้เป็นพุทธพจน์ คืออาศัยสัมมาสมาธิ



ตรงนี้ก็เป็นประเด็นที่เราจะต้องพูด ผมเคยได้ยินเรื่องฤษีเหาะ (ได้ฌานจากการเพ่งแบบฤษี ) พอฤษีตกลงมาได้ไม่ถึงพื้น ก็เข้าฌานอีกเหาะไปได้อีก (รายนี้ไม่เสื่อม) เหตุที่ฤษีเหาะได้เร็ว หรือเข้าฌานได้เร็ว เพราะทำเป็นวสี แต่ท่านก็ว่าวิสัยของผู้ได้ฌานเป็นสิ่งที่เราคำนึกได้ยาก



อย่างไรก็ตามประเด็นที่โต้แย้งนี้เป็นประโยชน์ เพราะทำให้ค้นหาความจริงตามพยัญชนะไปก่อน



สิ่งที่น่าคำนึงอย่างหนึ่ง คือเมื่อได้ฌานแล้ว ไม่ได้เข้าฌาน แต่ผลของฌานนั้นยังเป็นสุขอยู่ และเจริญสตินอกอารมณ์ฌานนั้น แต่ข้อความจะไม่ชัดเจน ก็ทำให้ค้นคว้า ก็ต้องขอบคุณสำเร็จ ผมคิดว่าการโต้แย้งนี้จะดี เพราะมีข้ออ้างอิงประกอบให้ต้องพิจารณา
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2004, 3:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมลองเปิดพระไตรปิฏกฉบับประชาชน (พ.ศ. 2533)) หน้า 126 วรรคสอง

"..........เข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข อันมีความบริสุทธิ์ของ"สติ" อันเกิดจากอุเบกขา "

ความสุขนี้น่าจะเป็นความสุขในฌาน และมี"สติ"อยู่



แต่จากประสบการณ์ที่ผมทำสมาธิ เมื่อเข้าสมาธิ จะไม่รู้ตัวถึงสิ่งภายนอกเลย ถ้านานชั่วโมงหนึ่งก็เป็นอย่างนั้น 1 ชั่วโมง และเมื่อสมาธิถอยเริ่มรู้ตัว แล้วเริ่มคิดได้ทีละน้อยๆ ถ้าเข้า 1 ชั่วโมง ก็เป็นไปตามเราตั้งใจไว้ก่อน ซึ่งเวลานั้นตรงไม่ขาดเกินแม้นาทีเดียว



แต่ในตำราบอกว่ามีสติอยู่ รือว่าสตินั้นเป็นแต่เพียง"รู้"อย่างเดียวแต่คิดไม่ได้ ส่วนความสุขนั้นเกิดขึ้นภายหลังออกจากสมาธินั้นจะอยู่นานได้เป็นเดือน คือเมื่อระลึกถึงกุศลนิดเดียวปิติก็เกิดเต็มเปี่ยม



แต่หลังจากนั้นมีกรรมชนิดหนึ่ง ที่ผมกับพวกได้ไปฆ่าเขา ใช้รรมชาติที่แล้วมาชาติหนึ่งแล้ว แต่ใช้ไม่หมดเพราะเป็นกรรมหนักมาก ต้องมาใช้ชาตินี้อีก เมื่อกรรมนี้เข้ามากลับทำสมาธิไม่ได้ และเจ็บมาก ส่วนคู่หูผมทำกรรมเดียวกันนี้ ก็รู้เหมือนที่ผมรู้ และรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องตายก็ตายไปแล้ว



ส่วนผมนั้นจะมีสิ่งที่มาแทงร่างกาย เจ็บมากต้องทำสมาธิเอาออกมาสี่ปีแล้ว ยังไม่หาย สิ่งที่แทงมีรูปร่างต่างๆ และมีวิญญา(ภูต)มาแทง ผมเคยเห็นวัตถุที่เป็นเหล้กขนาดใหญ่ แทงที่ลำตัวผมด้วยตาเปล่าๆ ชัดเหมือนของจริงและเจ็บมาก และแน่นอยู่ในร่างกาย สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปรกติสำหรับผม การเห็นวิญญาน และเห็นนรกก็เป็นเรื่องปรกติ มัจจุราชก็เคยเห็นแบบบุคลาธิษฐานด้วยสมาธิเพียงนิดหน่อยแค่นั้น ก็เห็นได้



ที่แปลกก็คือพวกเขามาเปลี่ยนกาลมรณะผมไว้ ผมไม่กลัวตายเลย และตอนนี้ทำสมาธิไม่ได้ แม้จะทำวันหนึ่งบางครั้งถึง 10 ชั่วโมง (รวมทั้งเดินจงกรม และอิริยาบถอื่นด้วย) อาการนี้ยังไม่หาย ผมมีประสบการณ์เรื่องกรรมมาก และคิดว่าเห็นพวกผีมากกว่าหมื่นตน ตอนนี้เจริญสติได้อย่างเดียว เข้าสมาธิเหมือนก่อนไม่ได้เลย การรับกรรมหนักที่เคยก่อไว้ ทำให้สมาธิเสื่อมได้เหมือนกัน
 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2004, 7:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





ขออนุโมทนาสาธุกับความคิดเห็นของทุกท่านด้วยครับ



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
สำเร็จ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2004, 7:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแก้พิมพ์ผิดเล็กน้อย ฌานจิต มี 67 ดวง ( ไม่ใช่ 76 ดวง)





ขอสนทนาเพิ่มเติมเรื่องที่คุณโอ่แสดงไว้ว่า..



....จากประสบการณ์ที่ผมทำสมาธิ เมื่อเข้าสมาธิ จะไม่รู้ตัวถึงสิ่งภายนอกเลย

ถ้านาน 1 ชั่วโมง ก็เป็นอย่างนั้น 1 ชั้วโมงและเมื่อสมาธิถอยตัวเริ่มรู้ตัว คิดได้ทีละน้อย...



ขอแสดงความเห็นเพื่อให้คุณโอ่เข้าใจ...จะได้หมดข้อสงสัย..

มุ่งปฏิบัติธรรมให้เจริญต่อไป...



อาการที่เป็นอย่างนี้มีคำอธิบายโดยอาศัย การศึกษาวิถีจิต...

คือความเป็นไปของจิตที่รับอารมณ์...จะเกิดเป็นขบวน...เกิดเป็นชุดๆ

ทางพระท่านเรียกว่า...วิถีจิต..



หมายความว่าการรับรู้อารมณ์..จิตเกิดการรับรู้อารมณ์เป็นดวงๆนั้นไม่มี...

จะเกิดเป็นวิถีๆละ 17 ดวง...

(แต่การเกิดของจิตเกิดเป็นดวงๆ...การเกิดของอารมณ์ยาวนานเท่าจิต 17 ดวง..อายุของอารมณ์ยาวกว่าอายุของจิต 17 เท่า)



ในแต่ละวิถีก็มีที่เกิดต่างกัน....





ที่เกิดของวิถีท่านแยกออกเป็น 2 ทาง คือ 1.ทางปัญจทวาร และ 2.ทางมโนทวาร



ทางปัญจทวาร..ก็คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย.. ที่เราศึกษามาแล้ว



ทางมโนทวาร..ก็คือ ทาง ใจ ทางจิต ทางวิญญาณ สุดแต่จะเรียกกัน





ทีนี้เราต้องเข้าใจว่า...เรารู้ถึงสิ่งภายนอก โดยทาง ปัญจทวาร



การที่คุณโอ่ไม่รู้ถึงสิ่งภายนอก 1 ชั่วโมง เพราะ..คุณโอ่ไม่รับอารมณ์ทางปัญจทวารในขณะนั้น



อะไรทำให้ไม่รับอารมณ์ภายนอก ?



เพราะ..คุณโอ่กำลังรับอารมณ์ทางใจอยู่...คือทางมโนทวาร....หมายความว่ากำลังอยู่ในสมาธิที่แนบแน่นมาก



อารมณ์ทางปัญจนั้นก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม...แต่ไม่ผ่านทวารเข้ามา

อธิบายว่า...วิถีจิตทางปัญจทวารไม่เกิด (มีอารมณ์ทางปัญจทวารอยู่..แต่วิถีทางปัญจทวารไม่เกิด..เพราะไม่ได้ใส่ใจ)



พอถอยออกมา...ก็เริ่มรับรู้ทางปัญจทวาร และ ทางมโนทวาร...ได้ทั้งหมด

จึงทำให้เริ่มรับรู้ความเป็นไปตามปกติ..

สลับไปมาระหว่างทางมโนทวารและทางปัญจทวารเรื่อยๆไป..



ดังนั้นถ้าสังเกตุหรือจำได้...จะรู้สึกว่ากายเบาขึ้นเรื่อยๆ..

จนไม่มีกายหยาบให้รู้..ก่อนที่จะเข้าสมาธิเต็มที่

นั่นคือมีแต่วิถีจิตทางมโนทวารเท่านั้นที่เกิด..



จะพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ.....มีแต่เรื่องทางใจเท่านั้นที่เกิด

เหมือนกำลังหลับ..ไม่รู้ว่านอนบนเตียง...ไม่รู้ร้อนเย็น..รู้ได้เมื่อตื่นแล้วเท่านั้น

เพราะขณะที่กำลังหลับ...มีแต่มโนทวาร..อยู่ในภวังค์ ...ไม่มีวิถีเกิด

จึงไม่รู้อะไร....ภวังคจิตทำหน้าที่รักษาภพชาติเท่านั้น...



(ภวังคจิต..มีอารมณ์ในอดีตที่ใกล้ตายในภพก่อนเป็นอารมณ์...ตรงนี้ต้องอธิบายอีก-อย่าใส่ใจในตอนนี้)



ซึ่งอาการอย่างนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดา..ไม่ใช่ความวิเศษอะไร



จะเห็นได้ว่า..เมื่อออกจากฌานแล้ว..ก็เอาฌานที่ได้มาพิจารณา...

ให้เห็นว่า..ฌานนี้เกิดได้...ตั้งอยู่ได้...และดับได้..



พิจารณาให้เห็นความจริงว่า...ฌานมีความเป็นไปอย่างไร

บ่อยๆเข้าก็จะเห็นสภาวะของไตรลักษณ์



ไม่ใช่เห็นไตรลักษณ์...เพราะไตรลักษณ์ไม่มีให้เห็น

ที่พูดว่าต้องเห็นไตรล้กษณ์...หมายความว่าเข้าใจกฏของไตรลักษณ์

ต้องโยนิโสมนัสสิการจึงเข้าใจได้



ขอสนทนาเท่านี้ก่อนครับ..เดี๋ยวจะไปกันใหญ่









 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2004, 6:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณครับที่บอกเรื่องการเกิดดับของจิตเป็นวิถี อันนี้สำคัญเวลาเราจะตายและจิตดับจะไปเกิดภพใหม่ เป็นการสิบต่อของกรรมที่จะให้ผลในเวลาต่อไป



ผมจะพูดความเกี่ยวเนื่องของฌาน กับสมาธิ เท่าที่นึกได้อีกนิด ความเกี่ยวเนื่องนี้น่าสนใจตามพยัญชนะ



จะเห็นว่าปฐมฌาน เกิดจากการละนิวรรณ์ ทุติยฌานบรรลุจากการละวิตกวิจารณ์ แล้วฌานต่อไปก็ละองค์ฌานไปเรื่อย ๆ จนเหลือแต่อุเบกขาในรูปฌานสี่



ผมจะลองเทียบฌานกับสมาธิในอริยมรรคลองดู ความดำริชอบ คือดำริออกจากกาม ๑ ดำริไม่พยาบาท ๑ ดำริไม่เบียดเบียน ๑



ให้เทียบเคียง การดำริออกจากกาม กับการละกามฉันทะ (นิวรณ์)

การดำริไม่พยาบาท และไม่เบียดเบียน กับ พยาบาทที่เป็นนิวรณ์



ที่เอามาเปรียบเทียบ เนื่องจากเห็นว่าการเจริญมรรค ทำด้วยการเจริศสติร่วมอยู่ตลอด และทำให้เกิดสมาธิ



แต่การละนิวรณ์ เช่น กามฉันะ และพยาบาท เป็นการละชั่วคราวโดยใช้องค์ฌานข่ม



ส่วนการดำริออกจากกาม จากพยาบาท หมายถึงการดำริที่จะทำการประหาร พยาบาท (โทสะ) กามราคะ(โลภะ) ให้มดซากหมดเชื้อไปเลย



การละนิวรณ์นั้นเมื่อจิตเข้าสมาธิอารมณ์ละเอียดแล้ว ตอนนั้นสติเจริญไม่ใคร่ได้ แต่มีความรู้ตัวอยู่ แต่มีอารมณ์อยากปล่อยวางทั้งหมดลง การปล่อยวางนี้ผมคิดว่าแท้จริงแล้วเป็นการละนิวรณ์ห้าลงพร้อมกัน ความเสมอของอินทรีย์คือศรัทธา ปัญญา วิริยะ สติ และสมาธิ มันเสมอเท่ากันหมด สมาธิเลยรวม เมื่อรวมก็บรรลุฌาน



แต่ความเสมอของอินทรีย์ห้านี้ต้องพิจารณาในเรื่องของฌานมีสติหรือไม่ด้วย เพราะสติในอินทรีย์ห้านั้นเสมอกันอยู่ สติมีและอาจสมบูรณ์ แต่อาจไม่มีการเจริญให้เกิดปัญญาต่อไป เพราะว่าเมื่อไม่มีวสีในฌานอย่างแท้จริง ยังไม่มีความสามารถที่จะทำให้สติเจริญได้ เพราะฌานมีอารมณ์ประณีตมาก



แต่ฌานกับสมาธิเกี่ยวเนื่องกันแน่ การถอยจากฌานมาอยู่ที่สมาธิ(จะเป็นอุปจารหรืออัปนาก็ได้) เป็นไปได้เพียงไร



 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2004, 9:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอต่ออีกครับ

ในแง่ที่ทำสมาธิ(เจริญสติ) แล้วได้ฌาน ซึ่งความรู้เหลือแต่จิต กายนั้นไม่มีเช่นนั้น พิจารณาสิ่งใดไม่ได้ มีแต่รู้นิ่ง



ฌานถอนตัว จึงเอาอารมณ์ฌานนั้นมาเป็นประโยชน์แก่สมาธิที่จะพิจารณาธรรม ฌานมีประโยชน์ให้หยิบยืมอารมณ์มาให้สมาธิตั้งมั่น เพราะฉะนั้นจะมีประโยชน์ตอนถอนออกมา และเป็นที่พักใจได้เท่านั้น



แต่อารมณ์ฌานที่ได้จากหลังฌานถอนออกมาแล้ว ก็ยังละเอียดประณีต และคุ้มครองจิต คุ้มครองอารมณ์ต่างๆได้



ในกรณีที่ฤษีเหาะไปในอากาศ เห็นภาพทำให้ความกำหนัดคุ้มครองใจและอารมณืไม่ได้ ฤษีเหาะโดยอธิษฐาน คือเข้าฌานก่อนแล้วถอนฌานมาที่อุปจารสมาธิ และอธิษฐาน การเหาะไปด้วยอุปจารสมาธิ เมื่อเห็นภาพเปลือย ก็ทำให้จิตที่เป็นอุปจารสมาธิเสื่อม ฌานที่อธิษฐานไว้ก็เสื่อม



แสดงว่าอารมณ์ฌานนั้นเข้าสมาธิได้แล้ว ถอนออกอย่างรวดเร็วแล้วอธิษฐานฤทธิ์



ดังนั้นการเจริญสติที่มีอารมณ์อุเบกขาของฌาน ก็น่าไม่อยู่ในฌาน แต่หยิบยืมอารมณ์นั้นออกมา แล้วเข้าอุปจารสมาธิ กำหนดพิจารณาธรรมที่ปรากฎแก่ใจ



ถ้าโดยนัยนี้แล้วสติไม่ได้มีในฌาน สติจะมีและเจริญในอุปจาร แต่เข้าอัปนา เพื่อได้ฌานแล้วเอาอารมณ์ฌานมาคุ้มครองไม่ให้อารมณ์กามกำเริบ และพิจารณาธรรมได้สะดวก มีธรรมล้วนๆปรากฎชัด อันนี้ก็น่าจะเป็นไปได้
 
ดนุวัติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ธ.ค.2004, 8:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีสติและต้องมีปัญญาด้วยนะครับ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 08 ธ.ค.2004, 1:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครับที่จริงมีสติแล้วต้องมีสัมปชัญญะ ปัญญานั้นเกิดจากการรู้แล้ววางไปเรื่อยตามขบวนการเจริญสติ เป็นไปเองตามความเพียรในการเจริญสติ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2004, 5:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจาแสดงธรรมให้แก่บุคคลผู้มีปัญญาหลายประเภท บุคคลเหลานั้นฟังธรรมแล้วบรรลุอรหัตผล ไม่ปรากฏว่าได้เคยทำสมาธิหรือเข้าฌาน หรือปฏิบัติกรรมฐานมาก่อน



บุคคลเหล่านั้นไม่น้อย เมื่อบรรลุธรรมแล้ว มีฌาน มีสมาธิ เป็นภิกษุปฏิสัมภิทาญาณ



ในการบรรลุธรรมนั้นคิดว่าพระอรหันต์เหล่านั้น นอกจากมีปัญญาแล้ว ต้องมีกำลังสมาธิเกิดกิเลส นี่เป็นเหตุผลว่าต้องเกิดมีกำลีงสมาธิในระดับอัปนาสมาธิ และในบางรายน่าจะมีกำลังสมาธิระดับจตุตถฌาน หรือระดับอรูปฌาน ก็มี



แต่กำลังตัดกิเลสก็ไม่ได้หมายถึงการเจริญสติ การเจริญสตินั้นเกิดขึ้นเร็วในขณะที่ฟังธรรม แล้วตรึกตามธรรมไปด้วย ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่ได้บรรลุฌาน เพราะถ้าบรรลุฌานการฟังธรรมก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้



"ตัณหาเป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจ เกิดที่ใดก็ดับที่นั่น (หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ฯลฯ)"



เมื่อมีสติเห็นที่ตัณหาเกิด ณ ที่ใด ก็เห็นโดยปกติที่ไม่ได้มีการเข้าสมาธิระดับฌาน แต่ปัญญาณที่จะเกิดเข้าไปดับนี้ต้องมีกำลังของสมาธิ



การประหารกิเลสนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกับการเจริญสติ แต่เป็นเรื่องของปัญญาอันเห็นชัดในขณะนั้น



การเจริญสติในขณะฟังธรรม เป็นการเจริญสติโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องฝึกกรรมฐาน ไม่ต้องมีการสอนแต่อย่างใด



แต่ถ้าฝึกตามหลักสัมมาสติ ก็ฝึกให้เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เรียกว่าสัมมาสติ ไม่น่าจะเป็นสติในฌานเช่นเดียวกัน
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง