Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พละ ๕ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
med_med
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2006
ตอบ: 52

ตอบตอบเมื่อ: 08 ธ.ค.2006, 7:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พละ ๕ (อินทรีย์พละ ๕)
โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

วัดหินหมากเป้ง
ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย



วันนี้จะเทศน์เรื่อง “กำลัง” กำลังมี ๒ อย่างคือ กำลังกายเราบำรุงให้เจริญแข็งแรงได้ด้วยบำรุงสุขภาพพลานามัยดี ส่วนกำลังใจเป็นของมองเห็นได้ยาก มันต้องมีสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นกำลังที่เรียกว่า “พละ ๕” สำหรับบำรุงใจ พละ ๕ นั้นมิใช่เป็นตัวกำลังทีเดียว มันเป็นเครื่องทำให้ใจมีกำลัง บำรุงด้วยพละ คือ “ศรัทธาพละ” ความเชื่อ เป็นกำลังใหญ่โต “วิริยพละ” ความเพียร ก็เป็นกำลังอันหนึ่ง “สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ” ก็เป็นกำลังของใจแต่ละอย่าง ธรรมทั้ง ๕ อย่างนี้ประกอบกันเข้าแล้วทำให้ใจมีพลังแก่กล้า สามารถที่จะทำให้มรรคผลนิพพานลุล่วงไปได้เหมือนกัน ถ้าหากว่ามีครบบริบูรณ์แล้ว เชื่อได้เลยว่าเป็นอันสำเร็จประโยชน์ตามที่ต้องการ ที่พูดกันว่า บารมีไม่พอ บุญวาสนาน้อย บารมีน้อย ก็เกิดจากพละนี่เอง คือพละนี่แหละน้อย

ศรัทธาพละ ความเชื่อ เชื่อแน่วแน่ในคุณงามความดีว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่มีใครคนอื่นรับแทนได้ ตนทำตนต้องได้รับผลนั้นแน่นอน “ทาน” มีพลังเต็มที่ สามารถที่จะสละสิ่งของของตนที่มีอยู่ให้ “จาคะ” บริจาคไปได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นของมากของน้อยย่อมสละได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว จงบำรุงรักษาให้เจริญงอกงาม ยินดีพอใจกับการทำทานนั้นให้แก่กล้าเสียก่อน ให้มันกำลังเต็มที่เสียก่อน เราจะเอาศรัทธานั้นไปใช้ในทางอื่นอีกต่อไป คนประมาทดูถูกศรัทธาเลยไม่กล้าทำความดีต่อไป ทีหลังศรัทธาที่จะเกิดในศีล สมาธิ ปัญญาก็เลยหมดไป ครั้นศรัทธาในการที่จาคะบริจาคไม่มีแล้ว บุญอันนั้นก็หมดไปเหมือนกัน

ศรัทธาในการรักษาศีลก็ให้แน่วแน่ เต็มที่ในการรักษาไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ กรรมบถ ๑๐ อะไรต่างๆ อย่าไปหวังศีล ๒๒๗ อย่างพระภิกษุเลย ถึงศีล ๒๒๗ ก็ตามเถิด ถ้าศรัทธาไม่แน่วแน่เต็มที่แล้ว ก็ไม่มีประโยชน์อะไร สมาธิก็เหมือนกัน ถ้าหากได้สมาธิ ขณิกะ อุปจาระ อะไรต่างๆ นิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่ยินดีพอใจ ก็เลยทำสมาธิไม่ได้ทีหลัง เมื่อสมาธิมีเล็กน้อยก็พอใจยินดีกับสมาธินั้นแหละ ตั้งใจขยันหมั่นเพียรในสมาธินั้นให้เต็มที่มันจึงค่อยเลื่อนไหลขึ้นไปเอง ปัญญาก็เหมือนกัน ถ้าหากว่าเราเกิดอุบายปัญญาอะไรขึ้นมานิดๆ หน่อยๆ ถ้าไม่ตั้งใจพิจารณาอันนั้น ไม่ประกอบศรัทธาอันนั้นให้แก่กล้า มันก็ไม่มีประโยชน์อีกเหมือนกัน

การที่ทำอะไรหละหลวมก็เพราะเหตุไม่มีศรัทธา และทำอะไรไม่แน่วแน่เต็มที่ก็เพราะไม่มีศรัทธาเหมือนกันเรา พลั้งๆ เผลอๆ หลงๆ ลืมๆ นั่นคือศรัทธาของเราไม่เต็มที่ ศรัทธามันขาดตรงนี้แหละ เหตุนั้นจงพากันบำรุงศรัทธาให้แก่กล้าเป็นขั้นตอน ให้ศรัทธางอกงามเสียก่อน เจริญเต็มที่เสียก่อน เมื่อศรัทธามีแล้ว วิริยะความเพียร มันวิ่งเข้ามาสนับสนุน ช่วยเหลือเป็นกำลังเลยขยันหมั่นเพียรประกอบกิจต่างๆ เช่น ทำบุญสุนทานขยันหมั่นเพียรแสวงหาสิ่งที่จะต้องนำมาทำบุญทำทานหามาได้ก็คิดถึงการทำทาน หามาได้เท่าไรไม่ว่าของเล็กของน้อยของมากก็คิดถึงการทำทาน นี่ศรัทธามันสนับสนุนช่วยเหลืออย่างนี้

วิริยพละ เพียรพยายามอยู่ตลอดเวลา ในเมื่อมีศีลก็พยายามรักษาศีลไม่ให้ขาด ทีแรกก็รักษาได้เป็นครั้งคราวเพียรพยายามนานเข้าให้มันชินให้มันคุ้นเคยกับศีล มันก็เป็นศีลบริบูรณ์ขึ้นมาให้คิดถึงเรื่องศีลของตน ว่าข้อไหนบกพร่อง ข้อไหนบริบูรณ์ ผู้ไม่คิดถึงศีลเลย มีของดีแล้วได้ของดีแล้วแต่ไม่เห็นความของของดีนั้น ก็อย่างโบราณท่านว่าเหมือนลิงได้แก้ว เหมือนไก่ได้พลอย ขอให้พยายามให้เห็นคุณค่าของศีล คุณค่าของปัญญา คุณค่าของสมาธิก็เหมือนกัน เราทำสมาธิได้นิดๆ หน่อยๆ ก็ดีอักโขแล้วคิดถึงเรื่องเก่าที่เราไม่เคยทำสมาธิไม่เคยมีสมาธิเลย อายุขนาดนี่แล้วได้สมาธิครั้งหนึ่งสองครั้ง ก็ยังดีที่เราเห็นตัวสมาธิ พวกที่ไม่ได้นั้นมากมายเหลือหลาย การเห็นสมาธิทำให้เกิดความเพียรพยายาม พยายามทำอยู่นั้นแหละวันหนึ่งต้องได้แน่นอน พละมันเป็นกำลังให้เกิดได้ทีเดียว

สติพละ สติจดจ่อตั้งมั่นอยู่ในเรื่องนั้นๆ มีศรัทธาวิริยะแล้วอาจที่จะหลงไปได้เชื่อในสิ่งที่ไม่ถูกก็มี เพียรพยายามในสิ่งที่ผิดก็มี ถ้าหากสติไม่ควบคุมไว้ว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควรสิ่งนั้นผิดหรือถูก ถูกต้องตามธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ฟังคำครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนตักเตือนมันตรงกันหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ต้องมีสติควบคุมระวัง จึงจะเดินถูกทาง ส่วนมากมีแต่ศรัทธา มีศรัทธาก็ต้องมีวิริยะวิ่งเข้ามาสนับสนุน มากทีเดียวที่เห็นผิดๆ ทำผิดแล้วคนอื่นก็ไม่สามารถที่จะตักเตือนได้เสียด้วย ความถือรั้นว่าตนทำถูก คนอื่นไม่ถูก ไม่เหมือนกับตน เพราะศรัทธามั่นแรง วิริยะก็มาก แต่ผู้มีสติเดินเสมอภาคไม่เอนเอียงข้างโน้นข้างนี้ เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” ธรรมดาผู้ที่มีสติแล้วไม่ถือตนว่าดีทั้งนั้น คนเรามันไม่ดีทั้งหมดหรอกเหตุนั้นจึงต้องระมัดระวังคอยสังเกตคอยฟังคนอื่นตักเตือนแนะนำสั่งสอน อาตมาจึงพูดอยู่เสมอว่า “คนใดว่าตนดี คนนั้นยังไม่ดี ใครว่าตนวิเศษวิโสหรือฉลาดเฉียบแหลม คนนั้นคือคนโง่”

สมาธิพละ เป็นหลักใหญ่ที่สุด ศรัทธา วิริยะ สติ มันต้องรวมมาเป็นสมาธิเสียก่อน ถ้าไม่รวมเป็นสมาธิมันเตลิดเปิดเปิงไปใหญ่โต พระพุทธศาสนาสอนไปไหนก็สอนเถอะ ถ้าไม่เข้ามาถึงใจแล้วไม่ถึงพระพุทธศาสนา สอนไปไหนก็สอนเถอะ ถ้าไม่เข้ามาถึงใจแล้วไม่ถึงพระพุทธศาสนา มันต้องรวมเข้ามาถึงใจ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลกนี้ ต้องมีที่รวมเป็นจุดเหมือนกัน การทำมาหากินทุกสิ่งทุกประการ ค้าขาย ทำราชการบ้านเมืองอะไรต่างๆ จุดรวมก็คือมาเลี้ยงตัว จุดรวมก็คือหาเงิน หาเงินแล้วก็รวมเอาเงินเข้ามาใส่ถุงไว้ ทำไร่ทำนา อย่างข้าวก็ต้องขนมารวมที่ลานข้าวแล้วยังต้องเอามารวมกันขึ้นยุ้ง เอาไปสี ไปซ้อม เอามาหุงมาต้ม เอามารวมลงในปากในท้อง นั่นแหละหมดเรื่องพระพุทธศาสนาสอนกว้างขวาง ถ้าหากไม่รวมลงเป็นสมาธิมันก็ไม่ถึงแก่นศาสนา

อาตมาจึงพูดอยู่เสมอว่า “พระพุทธศาสนานี้สอนมีจุดที่รวมได้ มีที่สุด หมดสิ้นสงสัย หมดเรื่อง ไม่เหมือนวิชาชีพอื่นเขาสอนไม่มีที่สิ้นสุด” อย่างธรรมทั้งหลายรวม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมลงที่ “ความไม่ประมาท” อันเดียว มรรค คือ ทางดำเนินไปให้ถึงมรรคผลนิพพานก็มารวมลงที่ “มรรคสมังคี” อันเดียว จึงว่าพระพุทธศาสนาสอนถึงที่สุด แต่บุคคลผู้ทำตามนั้นทำไม่ถึงที่สุด

ปัญญาพละ ปัญญาพิจารณาเห็นสังขารร่างกายของตน เห็นอะไร เอากระจกมาส่องดูก็ได้ หน้าตาของเรานี่ล่ะมันเห็นของแก่ของเฒ่าของชำรุดทรุดโทรม เหี่ยวแห้งอันนี้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นเท่านี้ไม่ต้องเห็นอื่นไกลพยายามให้เห็นอยู่อย่างนั้นเสมอ เพราะเหตุที่คนจะเห็นความแก่ความชำรุดทรุมโทรม ความเสื่อมความสิ้นของสังขารไม่ใช่ของง่ายๆ บางทีจนหนุ่มจนสาว จนเฒ่าจนแก่ก็ไม่เคยเห็นเลย แก่จะตายแล้วก็ยังมัวเมาอยู่ว่าเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ร่ำไป ผู้ที่มองเห็นความแก่ ความชรา ความชำรุดทรุดโทรมนั้นนับว่าดีที่สุด เป็นหนทางที่จะหลุดพ้นได้ทางเดียวเท่านั้น

ถ้าไม่มีปัญญาไม่เกิดสมาธิ ถ้าไม่มีปัญญาไม่มีศรัทธาไม่มีวิริยะ ศรัทธาขั้นนั้นไม่ใช่ศรัทธาวิเศษวิโสอะไรหรอกปัญญาในขั้นทำทาน มีอุบายปัญญาที่จะแสวงหาของมาทำบุญทำทานเรียกว่าปัญญา ความเพียรพยายามในการทำบุญเรียกว่าปัญญาเหมือนกัน จิตจะรวมได้ก็เพราะปัญญา จะเป็นสมาธิได้เพราะปัญญา ปัญญาพวกนั้นยังอ่อน รวมทั้งหมดเรียกว่าปัญญาทั้งนั้นแหละถ้าปัญญาชั้นสูงเป็น “วิปัสสนาปัญญา”

พละ ๕ นี้แหละบำรุงให้ใจมีกำลังเข้มแข็งกล้าหาญสามารถที่จะทำสมาธิ สามารถที่จะให้เกิดปัญญาอุบายอันยิ่งใหญ่ และสามารถทำให้ลุล่วงมรรคผลนิพพานได้


จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 47 ตุลาคม 2547
ผู้พิมพ์ สุวิภา กลิ่นสุวรรณ์
 

_________________
ธรรมได้ก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 18 ธ.ค.2006, 6:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนุโมทนาบุญค่ะ...คุณ med_med

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ดอกไม้ ดอกไม้ ดอกไม้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง