Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
สมมุติ...วิมุตติ (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
med_med
บัวพ้นดิน
เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2006
ตอบ: 52
ตอบเมื่อ: 01 ธ.ค.2006, 11:56 am
สมมุติ...วิมุตติ
หลวงพ่อชา สุภัทโท
.........สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนแต่เป็นสิ่งสมมุติ ที่เราสมมุติขึ้นมา เองทั้งสิ้น สมมุติแล้วก็หลงสมมุติของตัวเอง เลยไม่มีใครวาง มันเป็นทิฐิ มันเป็นมานะ ความยึดมั่นถือมั่น
อันความยึดมั่นถือมั่นนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะจบได้ มันจบลงไม่ได้ สักที เป็นเรื่องวัฏฏสงสารที่ไหลไปไม่ขาด ไม่มีทางสิ้นสุด ทีนี้ถ้าเรารู้ จักสมมุติแล้ว ก็รู้จักวิมุตติ ครั้นรู้จักวิมุตติแล้ว ก็รู้จักสมมุติ ก็จะเป็น ผู้รู้จักธรรมะอันหมดสิ้นไป
ก็เหมือนเราทุกคนนี้แหละ แต่เดิมชื่อของเราก็ไม่มี คือตอน เกิดมาไม่มีชื่อ ที่มีชื่อขึ้นมาก็โดยสมมุติกันขึ้นมาเอง อาตมาพิจารณา ดูว่า เอ ! สมมุตินี้ ถ้าไม่รู้จักมันจริงๆแล้ว มันก็เป็นโทษมาก ความจริง มันเป็นของเอามาใช้ให้เรารู้จักเรื่องราวเฉยๆ เท่านั้นก็พอ ให้รู้ว่าถ้าไม่ มีเรื่องสมมุตินี้ ก็ไม่มีเรื่องที่จะพูดกัน ไม่มีเรื่องที่จะบอกกัน ไม่มี ภาษาที่จะใช้กัน
เมื่อครั้งที่อาตมาไปต่างประเทศ อาตมาได้ไปเห็นพวกฝรั่งไป นั่งกรรมฐานกันอยู่เป็นแถว แล้วเวลาจะลุกขึ้นออกไป ไม่ว่าผู้หญิง หรือผู้ชายก็ตาม เห็นจับหัวกัน ผู้นั้นผู้นี้ไปเรื่อยๆ ก็เลยมาเห็นได้ว่า โอ! สมมุตินี้ถ้าไปตั้งลงไว้ที่ไหน ไปยึดมั่นหมายมั่นมัน ก็จะเกิดกิเลส อยู่ที่นั่น ถ้าเราวางสมมุติได้ ยอมมันแล้วก็สบาย.
.........อาตมาเคยเล่าให้ฟังว่า พวกเราทั้งหลายที่มาบวชเป็นพระนี้ แต่ก่อนก็เป็นฆราวาส ก็สมมุติว่าเป็นฆราวาส มาบวช สมมุติให้เป็นพระ ก็เลยเป็นพระ แต่เป็นพระเณรเพียงสมมุติ พระแท้ๆ ยังไม่เป็น เป็นเพียงสมมุติ ยังไม่เป็นวิมุตติ นี่ถ้าหากว่าเรามาปฏิบัติให้จิตหลุด พ้นจากอาสวะทั้งหลายเหล่านี้เป็นขั้นๆไป ตั้งแต่ขั้นโสดา สกิทาคามี อนาคามี ไปจนถึงพระอรหันต์ นั้นเป็นเรื่องละกิเลสแล้ว แต่แม้เป็น พระอรหันต์แล้ว ก็ยังเป็นเรื่องสมมุติอยู่นั่นเอง คือสมมุติว่าเป็นพระ อรหันต์ อันนั้นเป็นพระแท้ ครั้งแรกก็สมมุติอย่างนี้ คือสมมุติว่าเป็น พระ แล้วก็จะละกิเลสเลยได้ไหม ก็ไม่ได้
เหมือนกันกับเกลือนี่แหละ สมมุติว่าเรากำดินทรายมาสักกำ หนึ่ง เอามาสมมุติว่าเป็นเกลือ มันเป็นเกลือไหมละ ? ก็เป็นอยู่ แต่ เป็นเกลือโดยสมมุติ ไม่ใช่เกลือแท้ๆ จะเอาไปใส่แกงมันก็ไม่มี ประโยชน์ ถ้าจะว่าเป็นเกลือแท้ มันก็เปล่าทั้งนั้นแหละ นี่เรียกว่า สมมุติ ทำไมจึงสมมุติ ? เพราะว่าเกลือไม่มีอยู่ที่นั่น มันมีแต่ดินทราย ถ้าเอาดินทรายมาสมมุติว่าเป็นเกลือ มันก็เป็นเกลือให้อยู่ เป็นเกลือ โดยฐานที่สมมุติ ไม่เป็นเกลือจริง คือมันก็ไม่เค็ม ใช้สำเร็จประโยชน์ไม่ได้ มันสำเร็จประโยชน์ได้เป็นบางอย่าง คือในขั้นสมมุติ ไม่ใช่ในขั้นวิมุตติ
ชื่อว่าวิมุตตินั้น ก็สมมุตินี้แหละเรียกขึ้นมา แต่ว่าสิ่งทั้งหลาย เหล่านั้นมันหลุดพ้นจากสมมุติแล้ว หลุดไปแล้ว มันเป็นวิมุติแล้ว แต่ ก็ยังเอามาสมมุติให้เป็นวิมุตติอยู่อย่างนี้แหละ มันก็เป็นเรื่องเท่านี้ จะขาดสมมุติได้ไหม ? ก็ไม่ได้ ถ้าขาดสมมุติแล้ว ก็จะไม่รู้จักการพูดจา ไม่รู้จักต้น ไม่รู้จักปลาย เลยไม่มีภาษาจะพูดกัน
ฉะนั้นสมมุตินี้ก็มีประโยชน์ คือประโยชน์ที่สมมุติขึ้นมาให้เรา ใช้กัน เช่นว่าคนทุกคนก็มีชื่อต่างกัน แต่ว่าเป็นคนเหมือนกัน ถ้าหาก ไม่มีการตั้งชื่อเรียกกัน ก็ไม่รู้ว่าพูดกันให้ถูกคนได้อย่างไร เช่นเรา อยากจะเรียกใครสักคนหนึ่ง เราก็เรียกว่า คน คน ก็ไม่มีใครมา มัน ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะต่างก็เป็นคนด้วยกันทุกคน แต่ถ้าเราเรียก จันทร์มานี่หน่อย จันทร์ก็ต้องมา คนอื่นไม่ต้องมา มันสำเร็จ ประโยชน์อย่างนี้ ได้เรื่องได้ราว ฉะนั้นได้ข้อประพฤติปฏิบัติอันเกิด จากสมมุติอันนี้ก็ยังมีอยู่
ดังนั้นถ้าเข้าใจในเรื่องสมมุติ เรื่องวิมุตติให้ถูกต้อง มันก็ไปได้ สมมุตินี้ก็เกิดประโยชน์ได้เหมือนกัน แต่ความจริงแท้แล้วมันไม่มีอะไร อยู่ที่นั่น แม้ตลอดว่าคนก็ไม่มีอยู่ที่นั่น เป็นสภาวธรรมอันหนึ่งเท่านั้น เกิดมาด้วยเหตุด้วยปัจจัยของมัน เจริญเติบโตด้วยเหตุด้วยปัจจัยของ มัน ให้ตั้งอยู่ได้พอสมควรเท่านั้น อีกหน่อยมันก็บุบสลายไปเป็นธรรม ดา ใครจะห้ามก็ไม่ได้ จะปรับปรุงอะไรก็ไม่ได้ มันเป็นเพียงเท่านั้น อันนี้ก็เรียกว่าสมมุติ ถ้าไม่มีสมมุติก็ไม่มีเรื่องราว ไม่มีเรื่องที่จะปฏิบัติ ไม่มีเรื่องที่จะมีการมีงาน ไม่มีชื่อเสียง เลยไม่รู้จักภาษากัน ฉะนั้น สมมุติบัญญัติตั้งขึ้นมา เพื่อให้เป็นภาษา ให้ใช้กันสะดวก
.........ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงว่า อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมัน ไม่ยึด มั่นถือมั่นทำไมจะปฏิบัติได้ ? ปฏิบัติไปเพราะความไม่ยึดมั่นถือมั่น นี่ จะเอาปัญญาแทนเข้าไปในที่นี้ยากลำบาก นี่เพราะที่ไม่ให้ยึดมันจึง เป็นของยาก มันต้องอาศัยปัญญาแหลมคมเข้าไปพิจารณา มันจึงไป กันได้ อนึ่ง ถ้าคิดไปแล้วเพื่อบรรเทาทุกข์ลงไป ไม่ว่าผู้มีน้อยหรือมี มากหรอก เป็นกับปัญญาของคน ก่อนที่มันจะทุกข์มันจะสุข มันจะ สบายหรือไม่สบาย มันจะล่วงทุกข์ทั้งหลายได้ เพราะปัญญาให้มัน เห็นตามเป็นจริงของมัน
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านให้อบรม ให้พิจารณา ให้ภาวนา ภาวนาก็คือ ให้พยายามแก้ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ให้ถูกต้องตามเรื่อง ของมัน เรื่องของมันเป็นอยู่อย่างนี้ คือเรื่องเกิด เรื่องแก่ เรื่องเจ็บ เรื่องตาย มันเป็นเรื่องของธรรมดา ธรรมดาแท้ๆ มันเป็นอยู่อย่างนี้ ของมัน ท่านจึงให้พิจารณาอยู่เรื่อยๆ ให้ภาวนาความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย บางคนไม่เข้าใจ ไม่รู้จะพิจารณามันไปทำไม เกิดก็รู้จักว่าเกิดอยู่ ตายก็รู้จักว่าตายอยู่นั่นแหละ (หมายเหตุ 3) มัน เป็นเรื่องธรรมดาเหลือเกิน มันเป็นเรื่องความจริงเหลือเกิน ถ้าหากว่าผู้ใดพิจารณาแล้วพิจารณาอีกอยู่อย่างนี้ มันก็เห็น เมื่อมันเห็น มันก็ค่อยแก้ไขไป ถึงหากว่ามันจะมีความยึดมั่นหมายมั่น อยู่ก็ดี ถ้าเรามีปัญญาเห็นว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา มันก็บรรเทาทุกข์ ไปได้ ฉะนั้นจงศึกษาธรรมเพื่อแก้ทุกข์
ในหลักพุทธศาสนานี้ก็ไม่มีอะไร มีแต่เรื่องทุกข์เกิด กับทุกข์ ดับ เรื่องทุกข์จะเกิด เรื่องทุกข์จะดับ เท่านั้น ท่านจึงจัดเป็นสัจจธรรม ถ้าไม่รู้ มันก็เป็นทุกข์ เรื่องจะเอาทิฐิมานะมาเถียงกันนี้ไม่มีวันจบ หรอก มันไม่จบ มันไม่สิ้น เรื่องที่จะให้จิตใจเราบรรเทาทุกข์สบายๆ นั้น เราก็ต้องพิจารณาดูเรื่องที่เราผ่านมา เรื่องปัจจุบันและอนาคตที่ มันเป็นไป เช่นว่าพูดถึงความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ทำยังไงมันจึงจะไม่ให้เป็นห่วงเป็นใยกัน ก็เป็นห่วงเป็นใยอยู่เหมือนกัน แต่ว่าถ้าหากบุคคลมาพิจารณา รู้เท่าตามความเป็นจริง ทุกข์ทั้งหลายก็จะบรรเทาลงไป เพราะไม่ได้กอดทุกข์ไว้
ที่มา :: ธรรมบอร์ด
_________________
ธรรมได้ก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089
ตอบเมื่อ: 08 ธ.ค.2006, 4:13 pm
อนุโมทนาบุญค่ะ...คุณ med_med
เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะคะ
ธรรมะสวัสดีค่ะ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th