Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ท่านเหล่านั้นคือใครหนอ ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 02 ธ.ค.2006, 10:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนต่อไปเข้าสู่ บท พิศดาร ทางจิต ที่ผู้ปฏิบัติ นั้นพึงรู้ได้ด้วยตนเอง
อาจใช้เทียบเคียง ผลการปฏิบัติของตนนกับผู้อื่นได้

...........โปรด ติดตาม (การพิมพ์ ที่ ช้า แต่ตั้งใจ) ประสาคนแก่
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 03 ธ.ค.2006, 11:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขึ้นอรูปาวจรภูมิ
แต่นี้จะกล่าวถึงอรูปาวจรภูมิ ผู้บำเพ็ญเจริญรูปฌานได้แล้ว ปรารถนาจะเจริญอรูปฌานให้เพิกกสิณทั้ง 7 เสียไว้แต่อากาศ ให้เพ่งอากาศว่างเปล่าเป็นอารมณ์ ทำบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด โยคาวจรก็อาจเข้าสู่อรูปฌานเป็นประถมได้เมื่อโยคาวจรวางเสียซึ่งอากาศ ถือเอาวิญญาณเป็นอารมณ์บริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด ๆ ก็อาจเข้าสู่ทุติยอรูปฌานที่ 2 ได้
เมื่อโยคาวจรวางวิญญาณ เสียถือเอาสิ่งที่ไม่มีวิญญาณว่าอะไร ๆไม่มี ก็อาจเข้าตติยอรูปฌานที่ 3 ได้ เมื่อโยคาวจรวางสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ ถือเอาสิ่งที่ประณีตจะว่ามีวิญญาณก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีวิญญาณก็ไม่ใช่ ก็อาจจะเข้าสู่จตุตถอรูปฌานที่ 4 ได้ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ เป็นดรุกรรม เป็นกรรมหนักกว่ากรรมอื่น ทั้งสิ้น จะให้ผลก่อน
ฌานเสื่อมอย่างไร
ถ้าปรารถนาจะไปเกิดในพรหมโลกก็ให้รักษาไว้ อย่าให้เสื่อม ฌานเสื่อม กับฌานไม่เสื่อมเป็นอย่างไร ฌานจะเสื่อมอาศัยผู้นั้นยินดีในกามารมณ์ ผู้ที่ได้อัปปนาฌานไม่เสื่อมนั้นจิตของผู้นั้นหลุดพ้นจากกาม
ถ้าอยากรู้ฌานไม่เสื่อมหรือเสื่อมนั้น ให้ดูตัวทวารสมมุติกับทวารวิมุติ อันเป็นเครื่องสืบต่อกัน คือในเวลา เรานั่งทำสมาธิฌานเกิด นี้เป็น ทวารสมมุติ เรียกว่า ชวนะจิต เสพอารมณ์ครั้นเวลาเหนื่อยเรานอน เวลาเรานอนเราก็เพ่งอยู่ในฌานนี้เป็นทวารสมมุติ เวลาหลับเป็นทวารวิมุติ
ถ้าทวารวิมุติเป็นผู้รับต่อ นอนหลับไม่ฝัน ตื่นขึ้นก็ยังเพ่งอยู่ในฌาน เป็นผู้ละถีนะมิทธะ ไม่ติดในการนอน นี้จึงเรียกว่า ฌานไม่เสื่อม ถ้าทวารวิมุติไม่รับต่อ นอนหลับฝันเพราะละถีนะมิทธะไม่ได้ ตี่นขึ้นจิตเปลี่ยนเป็นกามารจร นี้ฌานเสื่อม แต่ผู้ที่มีฌานเสื่อมดีกว่าผู้ไม่มีฌาน
จะไปนิพพานได้หรือไม่ได้ในชาตินี้
ฝ่ายผู้ที่ได้อัปปนาชวนะโลกุตตระ คือถือเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์นั้นก็ดี ถ้าอยากรูเว่าจะไปนิพพานได้หรือไม่ได้ในชาตินี้ก็ให้ดูทวารสมมุติกับทวารวิมุติ ในขณะนั่งทำสมาธิจิต จิตหลุดพันออกจากสังขารนิมิตได้นี้เป็นทวารสมมุติ ในขณะนอนหลับตัวทวารวิมุตไม่รับต่อ นอนหลับแล้วฝัน เพราะละถีนะมิทธะไม่ได้นี้เป็น จิต ของพระเสขะ ยังไปนิพพานไม่ได้ เป็นตทังควิมุติ หลุดได้ชั่วคราว ทั้งนี้เป็นเพราะอะไร
เป็นเพราะเสขะมีกามาวจรญาณสัมปยุตกุศลเป็นที่ตั้งแห่งองค์อริยมรรค ถ้าจิตหลุดพ้นในการยืม เดิน นั่ง เวลานอนหลับ ทวารวิมุติรับต่อ นอนหลับจิตก็หลุดพ้น ตื่นขึ้นใหม่ไม่มีการฝัน เพราะละถีนะมิทธะได้ทวารวิมุติไม่กำเริบ นี้เป็นของพระอเสขะ เพราะท่านมีกามาวจรญาญสัมปยุตกิริยา เป็นที่ตั้งแห่งองค์อริยมรรค ผู้ที่มีฌานไม่เสื่อมย่อมไปเกิดในพรหมโลก
ที่ได้ฌานชั้นต่ำก็ไปเกิดในชั้น ต่ำ ผู้ที่ได้ชั้นสูงก็ไปเกิดชั้นสูง ตามชั้นตามภูมิของตน สรุปความลงก็คือ
ถ้าโลกีย์วิมุติไม่เสื่อม ก็ไปเกิดในรูปพรหม และอรูปพรหมได้ ถ้าเสื่อมก็ไปเกิดในกามโลก
ฝ่ายโลกุตตรวิมุติก็เหมือนกัน ถ้าไม่เสื่อมก็ไปนิพพานได้ ถ้าเสื่อมก็ยังไปไม่ได้ ก็ต้องเกิดในกามโลกก่อน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 03 ธ.ค.2006, 11:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธาตุของจิต และวัตถุอันเป็นที่ตั้งของจิต
อนึ่งวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณในภพ 3 ในกามภพมีวัตถุ 6 มีจักขุวัตถุเป็นต้น มีหทัยวัตถุเป็นที่สุด
มีธาตุจิต 7 คือ จักขุวิญญาณธาตุ 1 โสตะวิญญาณธาตุ 1 มานะวิญญาณธาตุ 1 ชิวหาวิญญาณธาตุ 1 กายวิญญาณธาตุ 1 มโน ธาตุ 1 มโนวิญญาณธาตุ 1
ในรูปภพมี วัตถุ 3 จักขุวัตถุ 1 โสตะวัตถุ 1 หทัยวัตถุ 1 มีธาตุจิต 4 คือจักขุวิญญาณธาตุ 1 โสตะวัญญาณธาตุ 1 มโนธาตุ 1 มโนวิญาณธาตุ 1
ในอรูปภพ ไม่มีวัตถุ เป็นที่ตั้ง มีแต่มโนวิญญาณธาตุอย่างเดียว วัตถุธาตุก็ดี มโนวิญญาณธาตุก็ดี เป็น สังขตะธาตุ
พระนิพพานเป็น อสังขตะธาตุ ออกจากธาตุเหล่านี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 03 ธ.ค.2006, 11:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การทำฌานเป็นของทำยาก ทำแล้วก็มักจะเสื่อมถึงไม่เสื่อมไปเกิดในพรหมโลก แล้วกลับมาเกิดในโลกนี้ ก็เป็นของไม่แน่นอน มาเกิดเป็นมนุษย์ อาจเปลี่ยนแปลงไปสู่อบายภูมิไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ คล้ายกับทหารไปนอนอยู่ในหลุม เพลาะสบายชั่วคราว ยังไม่ได้ประจัญบานถึงขั้นแตกหัก
หรือดุจคนเป็นหนี้หลบหนีจากเจ้าหนี้ (ยังไม่พ้นหนี้สิน ) จึงไม่ควรเพลินในฌานมากนัก จักเป็นเหตุให้ล่าช้า ทำเอาแต่อุปจารสมาธิ อันเป็น กามาวจร มีวัตถุ 6 เป็นที่ตั้งแล้วดำเนินทาง วิปัสสนา ใช้ปัญญา ค้นหาเหตุผล ตัวของเราเป็นตัวผล ซึ่งเป็นตัวชาติ ชาติต้องมาจากภพ กรรมภพฝ่ายบาปก็นำไปเกิดที่อบายภูมิ 4 กรรมภพฝ่ายกุศลอย่างต่ำ ก็นำให้ไปเกิดเป็นมนุษย์ 1 สวรรค์ 1 ชั้น
กรรมภพอย่างหนักก็นำไป รูปภพ อรูปภพ ภพเหล่านี้มาจากอุปาทานการเข้ายึดถือ ถ้าถอนเสียซึ่งอุปาทานการยึดถืออุปาทานดับภพก็ดับ ภพดับชาติก็ดับ ชาติความเกิดเปรียบเหมือนไฟเพราะไฟร้อนไปด้วยทุกข์ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ตัวกรรมภพเปรียบเหมือนเชื้อของไฟ ตัวอุปาทานเป็นผู้ยึดเชื้อของไฟไว้ การที่นำเอารูปาวจร อรูปาวจรภูมิมาลงไว้ในฐานที่ 2 เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ ของนักปฏิบัติธรรมทุกชั้นทุกภูมิ จะเดินทางลัด หรือจะเดินทางอ้อม แล้วแต่ชอบใจ
สรุปลงในฐานที่ 1 ให้เพ่งหทัยวัตถุ เพื่อให้รู้สังขารแต่วางสังขารยังไม่ได้ จึงเป็นแต่กามาวจรภูมิเท่านั้น ๆ
ฐานที่ 2 เมื่อเพ่งดูหทัยวัตถุ เป็นของว่างเปล่าไม่มีความคิดในสามกาล ดับสังขารที่เป็นกามาวจรได้แล้ว แต่ยังติดความรู้อันมีอยู่ในปัจจุบัน ออกจากอารมณ์ในปัจจุบันยังไม่ได้ จึงลงเคราะห์ลงในรูปาวจร และอรูปาวจรภูมิเท่านั้น เป็นขั้นสมถอุบายเครื่องสงบใจ ที่กล่าววิปัสสนาเจือไว้ด้วย ก็เป็นแต่ชีแนวทาง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 03 ธ.ค.2006, 11:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครั้ง ต่อไป กล่าว วิปัสสนา แท้ๆ แก้ให้ทันการณ์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 03 ธ.ค.2006, 6:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิปัสสนา
ไม่ให้ติดอยู่ในความรู้ อันผ่านมาทางทวาร 6 แต่นี้จะอธิบายฐานที่ 3 ซึ่งเป็นตัว วิปัสสนา เข้าประจัญบาน เอากันถึงขั้นแตกหักเรียกว่า โลกุตตรภูมิไม่หลบลี้หนีตากับข้าศึก เมื่อฐานที่ 2 วางความคิดสามกาลได้แล้ว มันเหลือความรู้ คือ ไม่คิดเรื่องอะไรแต่มันมีความรู้ ความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็สงเคราะห์ลงในภูมิทั้งสาม คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ เท่านี้
ในขณะที่เราอยู่โดย ธรรมดา ถึงเราจะ เพ่ง หทัยวัตถุอยู่ก็ตามจะ ไม่เพ่ง ก็ตาม ความรู้ อันนี้เป็น วิบากจิต เป็นของเป็นเอง เราไม่ได้บอกให้มันรู้มันก็รู้เอง นี้ เป็นกามาวจร วิบาก เป็นตัว ทุกข์สัจจ เป็นของ ละไม่ได้ การที่ให้ดูหทัยวัตถุก็เพื่อจะให้รู้ รู้ความเป็นเองของขันธ์
ในขณะไหนเราเพ่งหทัยวัตถุดูความเป็นเองของขันธ์ในขณะนั้นเป็น วิชา ถ้าเรา เผลอสติไม่ได้เพ่งหทัยวัตถุ เวลานั้นเป็นอวิชา ถึงเราดูอยู่ก็ตาม แต่ถาเราไม่รู้เท่าทันขันธ์ เรา ดัดแปลงขันธ์ ก็ตกอยู่ในอวิชาอีกเหมือนกัน ที่ว่าดัดแปลงขันธ์นั้นคือ สิ่งใดควรแก่เรา เราพอใจในสิ่งนั้น และอยากให้สิ่งนั้นตั้งอยู่ กามตัณหา และภวตัณหา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 03 ธ.ค.2006, 6:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โลกธรรม 8
ถ้าสิ่งใดไม่ควรแก่เรา เราไม่พอใจ และอยากให้สิ่งนั้นฉิบหายไปนี้เป็นวิภวตัณหา เป็นตัว สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์เป็นของ ควรละ ถ้าปล่อยได้วางได้ก็เป็น นิโรธ ความดับทุกข์กิริยาที่เราทำการปล่อยวาง ก็เป็น มรรค
สิ่งที่ชอบใจเรา ได้ลาภ ได้ยศ ได้รับสรรเสริญสุข ก็เป็นสิ่งที่พอใจ ถ้าเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทาทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ชอบใจ ความชอบกับความไม่ชอบเกิดขึ้นเพราะ โลกธรรม 8 เป็นเครื่องครอบงำสัตว์โลก ไม่ว่าปุถุชนหรือพระอริยเจ้า
โลกธรรมทั้ง 8 จะต้องครอบงำทุกถ้วนหน้า ถ้า ออกจากความรู้ อันเกิดจากโลกธรรมเข้าครอบงำแล้ว ผู้นั้นจึงหลุดพ้นได้ ถ้าออกไม่ได้ก็หลุดพ้นไม่ได้ โลกธรรมเข้าครอบงำจะเอา สมาธิ เข้าต่อสู้ ก็ตกอยู่ในด้าน อดทนเอา เท่านั้นที่จะให้หมดมลทิน ต้องอาศัยปัญญา รู้ถึงเหตุการณ์ว่า กามโลกนี้ต้องมีโลกธรรมประจำอยู่อย่างนี้
ถ้าเราพอใจโลกธรรมติดอยู่ในโลกธรรม ก็เท่ากับพอใจติดอยู่ในทุกข์ ข้อที่ว่า โลกธรรมเป็นของที่มีประจำโลก ก่อนที่เรายังไม่เกิดก็มีอยู่อย่างนี้ เมื่อเราเกิดมาก็มีอย่าอย่างนี้ เมื่อเราตายก็มีอยู่อย่างนี้ อายุของเรามีเพียงเล็กน้อย เราจะเอามาแข่งขัน กันโลกธรรมจะป่วยการเสียเวลาเปล่าๆ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 04 ธ.ค.2006, 6:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กามภายนอก - กามภายใน
ความรู้ที่เราเรียนเอาโลกมาไว้ในตัวเรา เป็นความรู้ที่เกิดจากการ ติดสมมุติความนิยมของโลก อันพวก คนพาลเขาติดอยู่ แต่ท่านผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ถ้าผู้ใดปล่อยวาง ผู้นั้นก็พ้นจากบ่วงของมาร
ความรู้อันเกิดแต่โลกธรรม เป็นส่วนกามาวจรภูมิ ถ้าจิตยังไม่หลุดพ้นจากกาม ก็พ้นจากโลกธรรมไปไม่ได้ ตัวของเราติดอยู่ใน กามภายใน และกามภายนอก กามภายในหมายเอา ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ กามภายนอกหมายเอา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ รวมกันเข้าจึงเป็น กามตัณหาปัจจุบัน 12 เป็นอดีต 12 เป็นอนาคต 12 รวมทั้ง 3 กาล จึงเป็นกามตัณหา 36 ด้วยกัน
ผู้ที่ทำสมาธิเข้าสู่องค์ฌาน จิตก็หลุดพ้นได้แต่เพียงตะทังคปหาน และวิขัมภะนะปหาน ด้วยองค์ฌานสะกดไว้เท่านั้น ครั้นออกจากฌานแล้ว มันกลับกำเริบขึ้นอีก จึงนับว่ายังไม่พ่นหนี้สิน ผู้จะพ้นจากหนี้สินต้องประหารให้ขาด ฆ่าให้ตายคือออกจากตัณหา การออกจากตัณหา ก็คือการออกจากตา หู จมูก ลิ้น กายใจ นี้เอง คือ เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่ใช่ เราเห็น เมื่อได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่ใช่เราได้ยิน เมื่อทราบ เมื่อรู้ก็สักแต่ว่าทราบว่ารู้ ในกาลใดสิ่งใดที่จะ พึงเห็น พึงฟัง พึงทราบ พึงรู้ เมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังก็สักแต่ว่าฟัง เมื่อทราบเมื่อรู้ก็สักแต่ว่าทราบว่ารู้ ในกาลนั้น ความกำหนัดขัดเคือง ลุ่มหลงในอารมณ์นั้นไม่มี เมื่อความกำหนัดขัดเคลื่องล่มหลงในอารมณ์นั้นไม่มี โลกนี้ก็ไม่มี โลกอื่นก็ไม่มี ไม่มีทั้งโลกนี้และโลกอื่น ทั้ง 2 ถ้าออกจากตัวเราได้ดังนี้ จึงจะพ้นจากโลกธรรมและกามตัณหาเหล่านี้ได้ เพราะเหตุนั้นในฐานที่ 3 จึงให้ออกจากความรู้ เพราะตัวเราเป็นผู้เรียนผู้รู้เอาไว้ จนกลายเป็นอุปาทาน ถือมั่นในกาม
การเรียนทางวิปัสนา แปลว่า เรียนแก้ความรู้เรียนแก้ความรู้ในที่นี้หมายเอา วิญญาณขันธ์ อันรู้ทางตา ทางหู เป็นต้น จะอาศัยการ สำรวมระวัง ในขณะที่ได้เห็นได้ยินด้วย อินทรีย์สังวรศีล ก็เป็นเครื่อง ระงับไว้ชั่วครั้งชั่วคราว เท่านั้นจะทำ สมาธิ คือหลับตาไม่ให้ได้เห็น จะเข้าไปที่สงัดไม่ให้ได้ยิน กับทั้งวางความคิดภายนอกให้หมด หยุด คิดปิดนึกจนเกิดปิติสุข เข้าถึงองค์ฌานเพ่งอยู่ในจุดอันเดียวก็ ดี ก็พ้นจาก ความรู้ อันเกิดแต่การ ได้เห็นได้ยิน ซึ่งเป็นส่วนกามารมณ์ได้ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
ถ้าระหว่างหลุดพ้นก็หลุดพ้นได้แต่เพียง กามาสวะ ยังมีความรู้อยู่ภายใน ฯ อันเป็นส่วนละเอียด คือเราหลับตาแล้วมันยังมีการเห็นกายใน คือเห็นสีดำ สีแดง สว่าง เพ่งสิ่งใด เห็นสิ่งนั้นติดตาม นี้เป็นตัว ภวตัณหา สิ่งใดที่เราไม่ได้เพ่งมันยังเกิดมโนภาพให้แลเห็น เห็นสัตว์เห็นคน สิ่งใดที่เราไม่ได้เพ่ง มันยังเกิดให้เห็น เมื่อเห็นแล้ววิญญาณความรู้ อันเป็นส่วน สุขุมรูป ยังต้องรับรู้อยู่
ถ้าติดอยู่ในความรู้อันเกิดแต่การทำสมาธิ ยังติดอยู่ในภวตัณหา ถ้าปล่อยวางความรู้เหล่านี้ได้ จึงจะหลุดพ้นจากภวตัณหา แม้พ้นจากนิมิตเหล่านี้เข้าถึงขั้น อรูป ไม่มีอะไรเป็นที่ตั้ง เหลืออยู่แต่ วิญญาณ ก็ดี ยังตกอยู่ใน วิภวตัณหายังพ้นจากภพ ไปไม่ได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 04 ธ.ค.2006, 6:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จิตหลุดพ้นจากภพ 3
เมื่อมีภพก็ต้องมีชาติ เมื่อภพดับชาติจึงดับ ผู้อยากเห็นอามรณ์พระนิพพาน พึงตรวจดูตัวภพให้แยบคาย ภพทั้ง 3 ภพ ไม่มีในพระนิพพาน ภพเหล่านี้ ย่อมบังเกิดขึ้นที่ขันธ์ ถ้า ว่างขันธ์ ได้ ก็เป็นอันว่า วางภพ เพราะภพจะเกิดขึ้นที่ขันธ์
เพราะเหตุนั้นในฐานที่ 3 จึงให้ วางทั้งความคิด ทั้ง ความรู้ให้หมด ความคิดเป็นตัวสังขารขันธ์ ความรู้เป็นตัววิญญาณขันธ์ เมื่อวางความรู้ ภพทั้งปวงก็ดับไปด้วยประการทั้งปวง ฯ ดังพระบาลีที่พระองค์ทรงแสดงไว้เป็นหลักว่า “ เอกาหิธาตุ ทิฏฐธมฺมิกา สอุปปาทิเสส ภวานิสพพโส “ แปลว่า “ ธาตุอันหนึ่ง เป็นไปในธรรมอันได้เห็นแล้วมีภพทั้งปวงดับไปด้วยประการทั้งปวง” เพราะสิ้นธรรมชาติผู้จะนำไปสู่ภพคือตัณหา ข้อที่ว่า สิ้นตัณหาได้แก่สิ้นความคิดนั่นเอง ตกลงคงได้ความว่า ความคิดนำไปสู่ภพ เช่น ผู้จะไปเกิดในอบายภูมิก็ต้องคิดถึงบาปที่ตนทำไว้จึงจะไปสู่อบายภูมิได้
ถ้าไม่ได้ทำบาป ถึงคิดอยากไปก็ไปไม่ได้ คนไม่ได้ทำบาป คิดได้ ใจ ก็ไม่เศร้าหมอง จึงไปทุคติไม่ได้ ส่วนผู้จะไปสู่สุคติ คือ มนุษย์และสวรรค์ ก็ต้องอาศัยความคิด คือคิดถึงบุญที่ตนทำไว้ ผู้ที่จะไปเกิดในชั้นพรหม ก็ต้องคิดถึงธรรมของพรหมที่ตนทำได้ ผู้จะไปสู่อรูปพรหม ก็อาศัยความคิดถึงธรรมอรูปพรหมที่ตนทำได้ ผู้ที่ไปสู่นิพพานชั้นต้นต้องอาศัยความคิดก่อนเพราะความคิดเป็น อเนญชาภิสังขาร เป็นสังขารกลาง คิดไป ในบาป วิญญาณก็รู้ทางบาป ถ้าคิดทางบุญก็รู้ทางบุญ ถ้าคิดไปนิพพานก็รู้ทางนิพพาน วิญญาณความรู้เป็นตัวปฏิสนธิ
นิพพานไม่มีปฏิสนธิ
แต่ นิพพานมีปฏิสนธิ มีแต่ภพทั้ง 3 (ที่มีปฏิสนธิ ) ผู้ที่จะไปสู่นิพพานต้องอาศัยความคิด ความคิดต้องอาศัยความอยาก เมื่ออยากได้นิพพานก็คิดไปหานิพพาน เมื่อเห็นนิพพานแล้วว่า พระนิพพานไม่มีความคิด ไม่มีความรู้ ชั้นสุดท้าย ก็ให้วางความคิดความรู้ทั้งหมดทิ้งไว้ในภพทั้งสาม
ฝ่ายวิญญาณคือความรู้เป็นฝ่ายเกิด เมื่อมีเกิดก็ต้องมีดับ ฝ่ายนิพพาน ไม่มีความรู้ เมื่อไม่มีความรู้ก็ ไม่มีความเกิด เมื่อไม่มีความเกิดก็ ไม่มีความดับ ฝ่ายไหนเกิดฝ่ายนั้นก็ดับ ฝ่ายไหนไม่เกิด ฝ่ายนั้นก็ไม่ดับ เมื่อญาณความรู้เกิดขึ้นจึง ทิ้ง ความเกิดความดับไว้กับภพ แล้ว ออกไปอยู่นอกภพ คือ อยู่กับฝ่ายที่ไม่เกิดไม่ดับ ก็ภพทั้งปวงมันเกิดขึ้นที่ไหน มันเกิดขึ้นที่ขันธ์ ถ้าวางขันธ์ ก็เป็นอันวาง ภพ
เมื่อว่างภพก็เป็นอันว่าวางชาติ ดุจหนึ่งว่าวางเชื้อของไฟก็เป็นอันว่าวางไฟ เมื่อวางไฟก็เป็นอันว่าวางความร้อน เมื่อไฟดับหมดแล้วก็เหลือแต่ ความเย็น ความเย็นท่านเรียกว่า วิมุติ นิโรธ นิพพาน อันเดียวกัน ความเย็นจะเกิดขึ้นก็เพราะจิตหลุดพ้นจากกาม จากภพ จากอวิชา ดังภาษิตคาถาที่ท่านผู้รู้นำมาลงไว้เป็นหลักวางว่า
“ กามาสวาปิ จิตตํ วิมุจฺจติ ? “
แปลว่า จิตหลุดพ้นแล้ว แม้จากอาสวะ คือ กาม
จิตหลุดพ้นแล้ว แม้จากอาสวะ คือ ภพ
จิตหลุดพ้นแล้ว แม้จากอาสวะคือ อวิชา
“ วิมุตฺตสฺสมึ วิมุตฺติญานํ โหติ “
แปลว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ญาณรู้แบ้วว่าหลุดพ้นแล้วย่อมมี
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็เป็นธรรมดาที่จะต้องรู้ว่าตนหลุดพ้นแล้ว เหมือน ผู้วางไฟก็ย่อมรู้ว่าตนพ้นจากความร้อนเป็นธรรมดา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2006, 5:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ตั้งแห่งองค์อริยมรรค
แต่การหลุดพ้นย่อมมีหลายประเภท พระโสดา สกิทาคา เป็นตะทังควิมุติ พ้นได้ชั่วคราว พระอนาคาเป็นวิขัมภะนะวิมุติพ้นได้นาน ๆ พระอรหัตต์พ้นได้เป็นสุมเฉทวิมุติพ้นได้เด็ดขาด เพราะญาณความรู้ที่รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว เรียกว่า ปัจจเวกขณะญาณ
คือการกำหนดรู้ของพระอรหัตต์ไม่กำเริบ เพราะท่านได้ญาณสัมปยุตกามาวจรกิริยา เป็นที่ตั้งแห่งองค์อริยะมรรค คือจิตของท่านพ้นจากบาปจากบุญ บาปบุญไม่มาเกิดในจิตของท่านอีก บุญบาปจะหมดก็เพราะสิ้นตัณหา
เมื่อสิ้นตัณหาสิ้นบุญสิ้นบาป ไม่มีผู้จะนำไปสู่ภพ ตัณหาคือกิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรมภพ เมื่อทำกรรมภพเอาไว้ ตัวอุปาทานการเข้ายึดก็ยึดเอาไว้ เมื่อยึดเอากรรมภพไว้แล้วตัวอุปปัตติภพ คือชาติจึงต้องมีอีก
ตัวชาติจึงเปรียบเหมือนไฟ ตัวกรรมภพจึงเปรียบเหมือนเชื้อของไฟ ตัวอุปาทานเปรียบเหมือนคนยึดเอาเชื้อของไฟไว้ พระเสขะแปลว่าผู้ยังจะต้องศึกษาคือพระโสดา สกิทคา อนาคา ญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว แต่จิตกำเริบอีกเพราะท่านมีญาณสัมปยุตกามาวจรกุศลเป็นที่ตั้ง
เมื่อมีกุศล อกุศลก็ต้องมีเป็นคู่กัน แต่อกุศลมีกำลังน้อยจึงไม่สามารถจะแต่งเกิดในอบายภูมิ กุศลจึงแต่งให้เกิดในมนุษย์และสวรรค์อีก เพราะอินทรีย์ 5 พละ 5 ยังไม่เต็มบริบูรณ์จึงยังไม่เสร็จกิจ จึงยังต้องใช้ความเพียร ละบาปละบุญที่เหลืออยู่ให้หมด
เพราะเหตุนั้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ท่านจึงให้มีปัจจเวกขณะญาณการกำหนดรู้ ถ้าไม่มีปัจจเวกขณะญาณเป็นมิจฉาวิมุติ เป็นกุปปธรรม เป็นธรรมที่กำเริบ
ถ้ามีปัจจเวกขณะญาณการกำหนดรู้ไม่กำเริบก็เป็นอกุปปธรรม เป็นธรรมไม่กำเริบ
จบฐานที่ 3
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 06 ธ.ค.2006, 6:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขึ้นฐานที่ 4
ให้เอาสติเป็นนายประตู ดู (มโน ) ทวาร
เมื่อโยคาวจรผู้บำเพ็ญ รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว ถ้ามีปัจจเวกขณะญาณ จิตจึงไม่กำเริบ เหตุนั้นในฐานที่ 4 จึงให้มีสติ เป็น นายประตูดูทวาร เมื่ออารมณ์ ผ่าน เกิด ดับ ต้องให้รู้ เวลาไหน รู้ เวลานั้นเป็นวิชา เวลาไหนไม่ รู้เวลานั้นเป็น อวิชา
ทวารตาก็ไม่สำคัญ ตาเป็นดุจกล้องส่อง คนที่ส่องกล้องข้างในสำคัญ หูเป็นดุจวิทยุเครื่องรับเสียง คนที่ฟังเสียงอยู่ข้างในสำคัญ คนที่ดมกลิ่น คนที่ลิ้มรส คนที่ถูกต้องโผฏฐัพพะสำคัญ ให้จับเอให้ได้แต่ ตัวสำคัญจริง ๆ คือผู้รับธรรมมารมณ์อันได้แก่ใจ ใจเป็นใหญ่
ใจย่อมอยู่ในมโนทวาร อารมณ์ผ่านทวารภายนอก ก็เข้าไปบอกให้ ใจ เป็นผู้รู้ มันสายโทรศัพท์ เข้าไปถึงกันได้รวดเร็ว จึงไม่ต้องดูทวารอื่นให้ลำบาก ดูแต่มโนทวารอย่างเดียวเท่านั้นก็พอ เมื่อผู้บำเพ็ญมีสติเป็นนายประตู ดูมโนทวาร เมื่ออารมณ์ผ่านก็จะเข้าไปบอกให้ท่านรู้เองไม่ต้องไปดูที่อื่นให้ลำบาก เหมือนคนดูหนัง เขาย่อมดูที่ จอหนัง
เพราะจอหนังเป็น ที่ประชุม แห่งรูปหุ่นก่อน แต่รูปยังไม่ปรากฏบนจอหนัง จอหนังย่อม ว่างเปล่า จอหนังจะมีรูปหุ่น อาศัยเครื่องฉายหมุน เครื่องฉายจะหมุนอาศัยคนฉายเมื่อรูปหุ่นมาปรากฏที่จอหนัง จอหนังจึง กลาย เป็นบ้านเป็นเมือง เป็นแม่น้ำลำธาร เป็นสัตว์เป็นคน เป็น พระเอก นางเอก สารพัด นับไม่ถ้วนรวมความลง ในการดูก็มีอยู่ สองอย่าง คือ ทำให้คนที่ดูชื่นชนยินดีอย่างหนึ่ง ทำให้ชิงชังยิมร้ายอย่างหนึ่ง การดู หนังใน คือดู หทัยวัตถุ ก็ไม่มีต่างกันเลย เมื่อไม่มีอารมณ์ อันใด หทัยวัตถุก็ว่างเปล่า อยู่
เมื่อมี ผัสสะ เข้ามากระทบทวารเข้าแล้ว ก็จะเห็นเป็นเรื่องเป็นราว มีทั้ง สุขมี ทั้งทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ มีทั้ง ดี มีทั้ง ชั่ว มีทั้ง บาป มีทั้ง บุญ สารพัด นับไม่ถ้วน แต่เมื่อสรุป ความลงก็คงมี สอง คือ อิฎฐารมณ์ อารมณ์ที่ชอบอย่างหนึ่ง อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ ที่ไม่ชอบอย่างหนึ่ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 09 ธ.ค.2006, 8:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เหตุปัจจัยที่ทำให้สังขารเกิด

เมื่อดูหนังในให้มากเข้าแล้ว จะจับต้นสายปลายทางแห่งสังขารอันมาประชุมแต่งในดวงหทัยวัตถุ จะเห็นสังขารที่เป็นอดีตบ้าง อนาคตบ้าง ปัจจุบันบ้าง เป็นไปในภูมิสาม คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ จะมาประชุมที่หทัยวัตถุสังขารเหล่านี้มาจากอะไร เมื่อสาวเข้าไปหา ต้นเหตุ จะรู้ได้ว่าสังขารเหล่านี้เกิดจาก
อาหาร อย่างหนึ่ง
กรรม อย่างหนึ่ง
ตัณหา อย่างหนึ่ง
อวิชา อย่างหนึ่ง
อาหารมี 2
กวลิงกาฬาหาร อาหารคือคำข้าว เป็นอาหารของ กาย
ผัสสาหาร การกระทบทางทวาร เป็นอาหารของ ใจ
กรรม คือ กุศลกรรม และอกุศลกรรม อันเกิด แต่การกระทำ ทำไว้แต่อดีตบ้าง ปัจจุบันบ้าง ทำทางกาย พูดทางวาจา ตัว มโนกรรม เป็นผู้สั่งให้ทำ ทำแล้วตัวมโนกรรมก็เป็นผู้สั่งสมเอาไว้ กรรมเหล่านี้เกิดจากตัณหาความอยาก

หทัยวัตถุเทียบกับจอหนัง

ตัณหา มาจาก อวิชา ความไม่รู้เท่าบุญเท่าบาป ดวงหทัยวัตถุจึงเปรียบเหมือนจอหนัง กายสังขารทุกส่วนเปรียบเหมือนโรงหนัง สังขาร ที่เข้ามากระทบหทัยวัตถุ เปรียบเหมือน รูปหุ่น เข้ากระทบที่จอหนัง ตัณหา ความอยาก เปรียบเหมือนเครื่องฉายหนัง เมื่ออยากในเรื่องไหนก็ฉายในเรื่องนั้น ตัวอวิชา เปรียบเหมือนคนฉายหนัง เมื่ออวิชาดับ ไม่เข้าไปหนุนตัณหาให้อยาก สังขารความปรุงแต่งก็ดับ เมื่อสังขารความปรุงแต่งดับ ดวงหทัยวัตถุก็ว่างเปล่า ฉันใด
เมื่อคนฉายหนังหยุดฉาย เครื่องฉายมันก็หยุด เมื่อเครื่องฉายหยุดรูปหุ่นก็ไม่ปรากฏ ที่จอหนัง จอหนังจึงว่างเปล่า เมื่อผู้บำเพ็ญรู้แจ้งดังนี้แล้ว ก็ให้มี ปัจจเวถขณะ ญาณ การ กำหนดรู้ ตัวปัจจเวกขณะญาณ นี้แหละเป็น ตัววิชา เป็นเครื่องห้ามอวิชาไม่ให้เข้าไปหนุนตัณหาให้อยากเมื่อตัณหาไม่อยากแล้ว ความคิดในสามกาลจึงไม่มี
เมื่อความคิดในสามกาลไม่มี หทัยวัตถุจึงว่างเปล่าที่ว่าสังขารดับหมายเอา ดับความคิดในสามกาล เท่านั้น ส่วนวิญญาณ ความรู้ในทวาร 6 เป็นของ ดับไม่ได้ ดับ ได้แต่เวลานอนหลับเท่านั้น เมื่อตื่นขึ้นมา ก็ต้องได้เห็น ต้องได้ยิน ขันธ์อันนี้ท่านเรียกว่า วิบากขันธ์ เป็นตัวทุกข์ สัจจ เป็นของควรกำหนดรู้ ห้ามแต่ไม่ให้เข้าไปยึด
ถ้าเข้าไปยึดเป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ถ้า ว่าง เป็น นิโรธ ความดับทุกข์ กริยา ที่ปล่อยวางเป็น มรรค การออกจากขันธ์ คือ เมื่อรู้ก็สักแต่ว่ารู้ ไม่ใช่เรารู้ ได้ กล่าวแล้วในฐานที่ 3 ถ้า ออกจากวิญญาณขันธ์ ได้ก็นับว่า หมดเรื่องวิญญาณขันธ์ก็นับเข้าในนามาขันธ์คือใจ
เมื่อออกจากใจ ได้ก็ หมดเรื่อง เพราะราคะ โทสะ โมหะ มันเกิดขึ้น มันก็เกิดขึ้นที่ใจ ถ้าทิ้งใจแล้ว ก็เป็นอันว่า ตัดต้นทางของกิเลส กิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ จึงเปรียบ เหมือนไฟ วิญญาณ คือใจเปรียบเหมือนเชื้อของไฟ ถ้าทิ้งเชื้อไฟก็เท่ากับทิ้งไฟ กล่าวย่อๆ ก็ให้ วางรูปวางนาม คือว่าง กายกับใจเท่านั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 11 ธ.ค.2006, 6:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าวางรูปขันธ์ วางนามขันธ์ได้แล้ว ก็ไม่เห็นมีอะไรอีก ที่จะนำมากล่าว ที่กล่าวกันไปมาก ๆ เพื่อให้ฟังกันให้สนุกเท่านั้น จึงจะนำมากล่าวอีก ถ้าทิ้งกายกับใจได้แล้ว ไม่ต้องฟัง อีกก็ได้ ฟังไปได้ก็ เบื่อหู เบื่อตา เปล่า ๆ ถ้าทิ้งใจยังไม่ได้ให้ฟังอีกก่อนใจจะเกิดมีขึ้น อาศัยอะไร อะไรเป็นเหตุให้มีใจ อ้อใจมีขึ้นนั้น
อาศัยตากับรูป เกิดจักขุวิญญาณ
อาศัยหูกับเสียง เกิดโสตวิญญาณ
อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ
อาศัยลิ้นกับรส เกิดชิวทาวิญญาณ
อาศัยกายกับโผฎฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ
อาศัยใจกับธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
ประชุมธรรมอย่างละสาม ๆ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ ผัสสะ จึงเป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุข ไม่ทุกข์บ้าง
เมื่อบุคคลใดถูกต้องสุขเวทนาแล้ว ไม่เพลิดเพลิน ไม่ ชื่นชม ไม่หมกมุ่นติดอยู่ อนุสัย คือราคะ ก็ไม่ตามนอนในสันดาน ของบุคคลนั้น
เมื่อบุคคลนั้นถูกต้องทุกข์เวทนาแล้ว ไม่โศกเศร้าเสียใจไม่ตีอกร้องไห้ ไม่คร่ำครวญหลงใหล อนุสัย คือ ปฏิฆะ ก็ไม่ตามนอนใน สันดาน ของบุคคลนั้น
เมื่อบุคคลนั้นถูกต้อง อทุกขมสุขเวทนาแล้ว รู้จักความเกิดรู้จัก ความดับ รู้จัก ความอร่อย รู้จัก ความให้โทษ รู้จัก ออกจาก เวทนานั้น โดยชัดเจน ตามเป็นจริง อนุสัย คือ อวิชา ก็ไม่ตามนอนใน สันดาน ของบุคคลนั้น
บุคคลนั้นละ อนุสัย คือราคะ ในสุขเวทนาได้แล้ว
ถ่ายถอน อนุสัย คือ ปฏิฆะ ในทุกขเวทนาได้แล้ว
เพิกถอน อนุสัย คือ อวิชา ในอุทกขมเวทนาได้แล้ว
กระทำวิชาให้เกิด จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ในสูตรนี้เรียกว่า เวทนา ให้ออกจากเวทนา ถ้าออก จากเวทนาได้ ก็ออกจากใจได้ ใจอันเดียวมันมีสัญชาติต่าง กัน จึงเรียกไปตามสัญชาติของใจ คือมันมี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกันเข้าจึงเรียกว่าใจ ตัวแกงอันเดียวกันมีหลายรส คือ รสเปรี้ยว รสเผ็ด รสเค็ม รสหวาน ไปตามอรรถรส ของแกง มีอยู่ 4 รส ถ้ารวมกันเรียกว่า แกง อันเดียว เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เปรียบเหมือนรสของแกง ใจ จึงเปรียบเหมือนแกง ถ้าวางแกงได้ก็เป็นอันว่าวางรสของแกงทั้งหมด ฉันใดถ้าวางใจได้ก็เป็นอันว่าวาง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหมด ของ 4 อย่าง ถ้าวางอันหนึ่งได้ ก็ได้ไปหมด
ถ้าวางไม่ได้ ต้องการอยากเห็นพระนิพพานก็ไม่เห็น เพราะพระนิพพานไม่มีขันธ์ ขันธ์บังพระนิพพานอยู่มิดชิด ถ้าอยากเห็นพระนิพพาน ก็ต้องเพิกขันธ์ออกให้หมด ถ้าเพิกขันธ์ไม่ได้ วางขันธ์ไม่ได้ ก็เป็นอันว่าหมดหวัง จะแสวงหาหนทางอื่น ไม่มีหนทาง มีหนทางเดียวเท่านี้ เพราะขันธ์ของเราไม่เป็นของที่มีจริงเป็นของหลอกลวงให้เราเข้าไปยึดถือ
สิ่งใดที่เราเข้าไปยึดถือโดยความเป็นเจ้าของ จะเป็นของหาโทษมิได้ สิ่งนั้นย่อม
ไม่มี
สิ่งทั้งปวงทั้งวัตถุภายในคือในตัวเรา หรือ วัตถุภายนอกคือ นอกตัวเราก็ดี ไม่มีสิ่งใดเป็นสาระแก่นสาร มีแต่สิ่งที่ให้เกิดโทษโดยส่วนเดียว เหตุนั้นฐานที่ 5 จึงให้อยู่กับความไม่ถือมั่น
จบฐานที่ 4
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 17 ธ.ค.2006, 9:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขึ้นฐานที่ 5

ให้อยู่กับความไม่ถือมั่น ไม่ให้ถือมั่นอะไรทั้งหมด
ฐานที่ 5 ก็ให้เพ่งหทัยวัตถุอันเดียวนั้นเอง แต่มีความหมายต่างกัน คือมีอะไรผ่านมาทางมโนทวาร จะเป็น อิฏฐารมณ์ หรือ อนิฏฐารมณ์ ไม่ให้ถือมั่นในอารมณ์เหล่านั้น ก็ตัวปัจจเวกขณะญาณจะกำเริบ คือ
สติจะเหนี่ยวรั้งไว้ไม่ได้ เพราะ ความถือมั่น ในอารมณ์เหล่านั้น แหละเป็นเหตุ
เมื่อถือมั่นในสิ่งใด จิตใจของเราจึงเข้าไปยึดถือเอาสิ่งนั้นสิ่งอะไรเล่าที่เรายึดเราถือมากกว่าสิ่งทั้งปวง ไม่มีสิ่งอื่นนอกจากตัวเรา
รักอะไรจะยิ่งกว่าตัวเราไม่มี
เกลียดอะไรจะเกลียดเท่าความตายไม่มี
ทุกข์อะไรจะทุกข์ยิ่งกว่าพระนิพพานไม่มี
ตัวเรา ในที่นี้หมายเอา ขันธ์ทั้ง 5 คือ กายกับใจอันเป็นที่รักอย่างยิ่ง ไม่มีสิ่งอะไรจะเทียบถึงจำพวกที่ทำการทุจริตผิดศีลธรรมฝ่าฝืนเอาประโยชน์ของผู้อื่นมาเป็นประโยชน์ของตน ก็เพราะรักตนนี้เอง แต่การรักตนชนิดนี้ไม่ถูกทาง เท่ากันกับเกลียดชังตน
ถ้ารักตนต้องทำคาวมดีไว้เพื่อตน ความดีกับความชั่วที่ตัวทำไว้ย่อมจักได้เป็นผล เหมือนกับเงาเทียมตนฉะนั้น ตนคือ ขันธ์ 5 ที่หลงงมงายเข้าไปยึดถือ ไม่ใช่ตนจริง เป็นตนแต่เพียงสมมุติ ให้รู้ ว่าเขา ว่าเรา ว่าหญิง ว่าชาย เพื่อให้รู้ว่าใครเป็นใคร เรียก กันได้แต่เพียงชั่วคราว ในระยะที่ยังไม่สิ้นลมหายใจเท่านั้น
เมื่อสิ้นลมหายใจแล้ว การสมมุติว่าสัตว์ว่าคน ก็ไม่มีตน ขันธ์ 5 จึงเป็นของ หลอกลวงให้ลุ่มหลง เหมือนคนเล่นกลหลอกลวง การยึดถือเอาขันธ์ 5 เป็นตน จึงนับว่าถือเอาของไม่มีจริง ถือเอาของไม่เที่ยง จึงต้องได้รับทุกข์ ทุกข์เพราะเราหลงถือเอาของไม่จริง ทุกข์อะไรจะทุกข์เท่าเบ็ญจขันธ์ไม่มี
แต่เป็นอะไรคนเราทุก ๆ คนจึงรักเบ็ญจขันธ์ยิ่งกว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเพราะคนเราตกอยู่ในอำนาจแห่งอวิชา ไม่รู้เท่าสังขารตามความเป็นจริง จึงมัวหลงยึดเอาของไม่จริง ของไม่เที่ยง จึงได้แต่วิ่งเข้าไปหาทุกข์ คิด ๆ ดูก็น่าขัน ก็ว่าทุกข์ก็วางทุกข์เสีย ดังนี้จึง จะพ้นทุกข์ ก็ว่าไฟเป็นของร้อนก็น่าจะวางไฟ
แต่เหตุไฉนคนเราทุก ๆ จำพวกที่ยังขาดจากการ สดับ ก็ว่าไฟแต่วิ่งเข้าไปหาไฟ เข้าไปยึดไปถือเอไว้ ถ้าวางไฟ เสียได้ ความร้อนจะมีมาแต่ที่ไหน ถึงความร้อนของไฟจะมีอยู่ก็โดยธรรมชาติของมัน เมื่อเราไม่ไปจับมัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
shaolei
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2006
ตอบ: 11
ที่อยู่ (จังหวัด): ชลบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 17 ธ.ค.2006, 12:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธะไงละ
 

_________________
"ทุกสิ่งอย่างแปรผันตามเวลา
ในฤทัยย้อนมามองตนไหม
แต่ละวันผันผ่านยึดสิ่งใด
แต่ละวันผ่านไปค่าคือสิ่งใด"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailYahoo MessengerMSN Messengerหมายเลข ICQ
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 21 ธ.ค.2006, 8:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิธีวางขันธ์ 5

ฉันใดขันธ์ทั้ง 5 อันเป็นตัวทุกข์ เปรียบเหมือนไฟ ถ้าเราวางเสียซึ่งขันธ์ 5 อันเป็นตัวทุกข์ ทุกข์จะมีได้อย่างไร ถึง ขันธ์ 5 จะเป็นทุกข์ ก็เป็นทุกข์โดยธรรมชาติของมัน พึง เห็นดังขันธ์ 5 ของคนอื่น ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ญาติของเรา เมื่อเราได้เห็นเขาเจ็บเขาตาย ก็จะเพียงเมตตากรุณาเท่านั้น หรือถ้าเป็นคนก่อกรรมก่อเวรแก่เรา เรายังจะนึกว่าสมน้ำหน้ามันให้มันตาย เราจะได้อยู่สบาย
ถ้าตัวของเรานึกถึง ขันธ์ของเราว่า นำทุกข์นำโทษมาให้แก่เรา ถ้าเราถือเอาขันธ์ 5 ก็เท่ากันกับถือเอาทุกข์ คือเอางูพิษ ถ้าเรานึกถึงขันธ์ 5 เท่ากันกับ คนก่อกรรมก่อเวรแก่เรา นำทุกข์นำโทษมาให้แก่เราโดยส่วนเดียว
ถ้าขันธ์ 5 มันหิว มันกระหาย มันแก่ มันเจ็บ มันตาย เราก็จะคิดว่า สมน้ำหน้ามัน ถ้าเรานึกเสียว่า ขันธ์ 5 ไม่เป็นของเรา ไม่อยู่ในอำนาจของเรา เราบังคับบัญชามันไม่ได้ เมื่อมันแก่ มันเจ็บ มันตาย ถ้าเรานึกเสียว่าไม่ใช่เราตาย ขันธ์เขาเปลี่ยนสภาพของเขาต่างหากเขาแก่ถึงขีดของเขา หรือเขายังไม่แก่ เขาพอใจอยากไปเองไม่ใช่เราบอกให้เขาไป หรือนึกเสียว่า แขกฝรั่งมันตายต่างหาก ไม่ใช่เราตาย
ถ้านึกอย่างนี้เราก็ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ จะถอนเสียซึ่งอุปาทานการเข้ายึด ดังนี้จึงจะนับว่าเกลียดความตาย ถ้าเกลียดความ ถ้าเกลียดความตายแล้ววิ่งเข้าไปหาความตายมันก็ได้แต่ความตาย เข้าใจแต่ว่า เราเป็นผู้แก่ ผู้เจ็บ ผู้ตาย ถอนตัวเราออกไม่ได้ ไหนเลยจึงจะพ้นทุกข์
เกลียดทุกข์ไม่วางทุกข์ เกลียดความตาย ไม่วางความตาย กลัวจรเข้ใหญ่แล้วไพล่ลงหนอง ถ้าเข้าไปยึดเอาเรามันได้ตัวเราไว้สมหมาย หรือเวลามันตายเราร้องไห้โศกเศร้ามันกลับคืนมาได้ ก็ควรจะไปยึด ควรจะร้องไห้โดยแท้
ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมเห็นแจ้งชัดว่า
การเข้าไปยึดขันธ์ มีโทษโดยส่วนเดียว
การวางขันธ์มีประโยชน์โดยส่วนเดียว
ก็ให้ปล่อยเสีย วางเสีย
สาธุชนจะหลุดพ้นได้ เพราะความไม่ถือมั่น
เมื่อวางเสียซึ่งอัตตวาทุปาทาน การถือมั่นในตัวตนอุปาทานดับ ภพก็ดับ ถึงที่สุดแห่งทุกข์ สมตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ทรงชี้ไว้เป็นหลักอ้างว่า
“ อุปาทาเนภะยํทิสวา “
เห็นไฟร้ายในการยึด
“ เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส”
นั่นแลที่สุดแห่งทุกข์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 03 ม.ค. 2007, 8:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าวางตัวอุปาทาน ไม่ได้แล้วจะมีโทษเป็นอย่างไร มีโทษคือ จะต้องเกิดอีก เมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย ถ้าไม่เกลียดความตาย ก็ให้เข้าไปยึดเอา อย่าปล่อยวาง ถ้าเข้าไปยึดถือเอไว้ เมื่ออุปาทานมี ภพก็มี เมื่อมีภพ ก็ต้องมีชาติ เป็น สายชนวนสืบต่อกัน
เมื่อจะกล่าวถึงอุปาทานการยึดถือ มี 4 ประการ คือ
สีลัพพตุปาทาน 1
ทิฏฐุปาทาน 1
กามุปาทาน 1
อัตตวาทุปาทาน 1
อุปาทานทั้ง 4 นี้ จะเอาอะไรมาฆ่ามาถอน อุปาทานจึงจะดับ ต้องเอาปัญญา เอาศีล เอาสมาธิ เป็นแต่ผู้ช่วยปัญญาในที่นี้ก็ต้องเป็น โลกุตตรปัญญา จึงจะฆ่าจึงจะถอน
ได้โลกุตตรปัญญาจะฆ่า ฆ่าด้วยอาการอย่างไร ด้วยอาการที่ค้นหาเหตุผล อะไรเรียกว่า
เหตุ อะไรเรียกว่า ผล
ตัวของเราเป็นตัว เหตุ คือ เกิด มาแล้ว
แก่ เจ็บ ตาย เป็นตัว ผล
เมื่อเห็นผลแล้วจึง สาวเข้าไปหา ต้นเหตุ อีกว่า
ชาติ คือ ความเกิดนี้ มันมาจากอะไร
มาจาก กรรมภพ คือ บุญ กับ บาป
ภพ คือ บุญ กับบาป มาจากอุปทาน
อุปาทาน แปลว่า ยึด เอาบุญ ยึดเอาบาป
สีลัพพตุปาทาน ถือมั่นในลัทธิภายนอกศาสนาไว้ สีลัพพตุ แปลว่า สิ่งที่จะนำความเศร้าหมองมาให้ ศาสนาสั่งสอนให้ละบาป บำเพ็ญบุญ บาปอันจะนำไปสู่อบายนั้นท่าน เรียกว่า
กรรมกิเลส เหตุเครื่องเศร้าหมอง 4 อย่าง คือ
ฆ่าสัตว์ 1
ลักทรัพย์ 1
ประพฤติผิดในกาม 1
พูดปด 1
ลัทธิศาสนาอื่นที่สอนว่า ฆ่าสัตว์ไม่บาป ถ้าใครนับถือลัทธินั้นก็ดี หรือนับถือศาสนาพุทธ แต่นับถือแต่ปาก ไม่ ประพฤติตามคำสอน คือถือมั่นในบาป บอกว่า บาป ที่ทำนี้เป็นตัว กรรมภพ เป็นตัว เหตุ ที่ ชั่ว ตัว ชาติ เป็นตัว ผล เมื่อเหตุชั่วแล้ว ผลก็ต้องชั่ว
การทำ บุญ เป็น เหตุดี เมื่อเหตุดีผลก็ต้องดี การได้สดับรับฟัง ในการอ่านหนังสือก็ดี ในการฟังก็ดี เรียกว่า สุตามยปัญญา แปลว่า ปัญญาเกิดจากการสดับรับฟัง ฟังจากสัพพัญญูพุทธผู้รู้ก่อน เมื่อฟังแล้วใช้ปัญญาไตร่ตรองดูเห็นแจ้งในใจเรียกว่า จินตามยปัญญา แปลว่า ปัญญาเกิดจากการค้นคิด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 07 ม.ค. 2007, 9:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงแล้วว่า บาปเป็นตัวกรรมภพ เป็นลัทธิภายนอก เป็นเครื่อง นำไป สู่อบายภูมิ 4 ก็ละเสีย วางเสีย ไม่ถือมั่นถือเอาไว้ นี้เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ทำให้
เกิด ให้มีขึ้น นี้แหละเรียกว่า โลกุตตรปัญญา เกิดจากกามาวจรญาณสัมปยุต ประกอบ
ปัญญา บุคคลที่รู้ดังนี้ ท่านเรียกว่า ไตรเหตุบุคคล มีจิตเป็นไตรเหตุ
ส่วนบุคคลที่ฟังแล้วไม่รู้เป็นญาณวิปยุต ปราศจากปัญญา เป็น ทุเหตุบุคคล มีจิตเป็นทุเหตุ ฟังแล้วไม่เข้าใจจึง ละไม่ได้ วางไม่ได้ ซึ่งสีลัพพตุ ยังมี สีลัพพตุอันเป็นอย่างกลางอย่างละเอียด การถือเวทมนต์กลคาถา มหานิยมต่าง ๆ ก็ดี การถือภูติฝีปีศาล บวงสรวงบูชาสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์เคราะห์ดี เคราะห์ร้าย ฤกษ์ดียามดี สิ่งใดปราศจากเหตุผล ไม่เป็นทางที่จะพ้นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น สีลัพพตุ ทั้งสิ้น
ทิฎฐุปาทาน ข้อที่ 2 ทิฏฐิ แปล่าความเห็น
ทิฏฐิ อย่างหยาบ ได้แก่
สุญญตะทิฏ.ฐิ เห็นว่าสัตว์ตายแล้วสูญ
สัสสตะทิฏฐิ เห็นว่าสัตว์เที่ยง
เคยเกิดเป็นมนุษย์ ก็เป็นมนุษย์
เคยเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ก็เป็นสัตว์ดิรัจฉาน
นัตถิกทิฏฐิ เห็นว่าไม่มีบาป ไม่มีบุญ
ทิฏฐิ ทั้ง 3 นี้ ถ้าเห็นขนาดหนัก ไปสู่โลกันต์ ความเห็นอันนี้ แหละเข้าฝังอยู่ในใจ ของบุคคลจำพวกใดแล้ว บุคคลเหล่านั้น จึง กล้าทำบาปได้
ยังมีทิฏฐิอย่างกลาง อย่างละเอียด
ทิฏฐิวิปัลลาส เห็นในของที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
เห็นในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
เห็นในของที่ไม่งามว่างาม
เห็นในของที่ไม่ใช่ตนว่าตน
นี้เป็นทิฏฐิอย่างกลาง
ทิฏฐิอีกสามอย่าง
สิ่งใดควรแก่เรา เราชอบใจ
สิ่งใดไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ
บางสิ่งควรแก่เรา เราชอบใจ
บางสิ่งไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจนี้อย่างละเอียด ๆ
กามุปาทาน ข้อที่ 3 ถือมั่นในกาม ไม่อยากละ ไม่อยากวาง ยินดีในกามสุข เป็นเหตุให้ฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ นี้เป็นกามุปาทาน อย่างหยาบ ยินดีในกามสุข เป็นเหตุให้ฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ นี้เป็นกามุปาทาน อย่างหยาบ ยินดีในมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ แล้วงดเว้นจากบาป นี้เป็นอย่างกลาง อย่างละเอียด ฯ
อัตตวาทุปาทาน ข้อที่ 4 ถือมั่นในตัวตน ถือสัตว์ ถือคน ถือหญิง ถือชาย ถือดี ถือชั่ว ถือเขา ถือเรา ถือหมู่ ถือคณะ ถือลัทธินิกาย ถือบาป ถือบุญ ถืออินทร์ ถือพรหมความถือมั่นอะไร ๆ ในโลกนี้ มารวมอยู่ในอัตตวาทุปาทานทั้งสิ้น ถ้าวางอัตตวาทุปาทานอันนี้ได้ สิ่งอื่นทั้งหมดก็กวาดล้างกันไปหมด
เพราะอะไร ๆ ทั้งสิ้นมันมารวมอยู่ที่ตัวตน คือ ขันธ์ทั้ง 5 ถ้าวางตัวตน คือ ขันธ์ทั้ง 5 ได้แล้ว สิ่งอื่นไม่ต้องวางก็ได้ เหมือนตัดต้นไม้ ถ้าตัดรากเหง้าแล้ว กิ่งก้านสาขาไม่ต้องตัดก็ตาย เหตุนั้น พระองค์จึงแสดงไว้ในที่สุดแห่งบัพพะ หนึ่ง ๆ ในมหาสติปัฏฐานสูตร ว่า
หรือสติความระลึกว่า กายมีอยู่ เวทนามีอยู่ จิตมีอยู่ ธรรมมีอยู่ ก็สักแต่ว่าญาณ ความรู้เครื่องอาศัยระลึก เธอพึง เป็นผู้มีสันดาน อัน ตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยและไม่ให้ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
ทั้งนี้จุดประสงค์ พระองค์ต้องการจะให้จิตหลุดพ้นดังนิพนธ์ภาษิตในข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นหลักแห่งความหลุดพ้น
“ เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมาวิตฺตํ สุภาวิตํ อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา ขีณาสวา ชุติมนโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา “
แปลว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นในองค์สัมโพธิ คือ ปัญญาเป็นเครื่องเห็นเอง ผู้ใดไม่ถือมั่นในอุปาทานยินดีในการสละ ผู้นั้นมีอาสวะสิ้นแล้ว มีความรุ่งเรืองด้วยญาณ หายหิวดับ รอบแล้วในโลก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2007, 7:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อุปาทานทั้ง 4 นี้
โสดามรรคฆ่าสีลัพพตุปาทาน ได้ขาด ทิฏฐุปาทาน อย่างหยาบ กามุปาทานอย่างหยาบ ละ ได้ สกิทาคามิมรรค ละได้เท่ากัน เป็นแต่ ที่เหลืออยู่นั้น ทำให้เบาลง
พระอนาคา ละสีลัพพตุ กามุปาทาน 1 ทิฏฐุปาทานอย่างหยาบ อย่างกลางขาด เหลืออย่างละเอียด
พระอรหันต์ ละขาดหมดทั้ง 4
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
aratana
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 พ.ย. 2006
ตอบ: 90
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 10 ม.ค. 2007, 7:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขึ้นฐานที่ 6

ให้เลือกเฟ้นแห่งไตรลักษณ์สาม
การจะมีฐานที่ 6 อีกเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะอุปาทานยังดับไม่หมดนั่นเอง ถ้าดับอุปทานหมดแล้วก็เสร็จกิจในการกระทำ ถ้าอุปาทานมีอยู่ เมื่อภพมีอยู่ ชาติก็ต้องมีอีกชาติคือความเกิด อันร้อนไปด้วยความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงเปรียบเหมือนไฟ
ไฟจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเชื้อ ตัวกรรมภพจึงเปรียบเหมือนเชื้อของ ตัวอุปาทานการเข้าไปยึดถือเอาไว้ เปรียบเหมือนคนยึดเอาเชื้อของไฟไว้ ก็ตัวเรายึดเอาเชื้อของไฟไว้ไม่รู้ตัวดอกหรือ คนอื่นใครเขาจะมายึดเอาไว้ให้เราก็เราเสียดายชาติ เสียดายภพ เราปล่อยเราวางไม่ได้เราจึงไปนิพพานไม่ได้
การที่ถอนอุปาทานไม่ได้เป็นเพราะอะไร เป็นเพราะญาณความรู้ยังไม่เห็นแจ้งใน สามัญลักษณะ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้เอง เหตุนั้นในฐานที่ 6 จึงให้เลือกเฟ้นแห่งไตรลักษณ์สาม คือ อะไรๆ ในโลกนี้ทั้งหมด จะเป็นสังขารที่ใจครองก็ตาม จะเป็นสังขารที่ไม่มีใจครองก็ตาม ทุก ๆ สิ่งที่เกิดขึ้น มีเกิดแล้วต้องมีดับเป็นคู่กัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง