ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
med_med
บัวพ้นดิน

เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2006
ตอบ: 52
|
ตอบเมื่อ:
29 ต.ค.2006, 1:15 pm |
  |
อุบาสกชาวสักกะถูกตำหนิศีล
พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เมืองกบิลพัศดุ์ พวกอุบาสกชาวสักกะได้พากันไปเฝ้า พระพุทธองค์ได้ตรัสถามอุบาสกชาวสักกะว่า ยังรักษาอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ อยู่เสมอหรือ ? พวกอุบาสกกราบทูลว่า บางคราวรักษา บางคราวก็ไม่ได้รักษา พระพุทธองค์ ทรงตำหนิว่า
“อุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ! ไม่เป็นลาภของท่านแล้ว ท่านเสื่อมจากความดีแล้ว ในเมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภัยเพราะความตายอยู่อย่างนี้ เหตุใดบางคราวก็รักษาอุโบสถ ๘ บางคราวก็ไม่รักษา ?”
ทรงสรุปในตอนท้ายว่า
“อุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ! ส่วนสาวกของเรา เป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนอยู่ตลอด ๑๐ ปี พึงเป็นผู้มีความสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี สาวกของเรานั้น ที่เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี....
เมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภัยเพราะความตายอยู่อย่างนี้ เหตุใดบางคราวจึงรักษาศีลอุโบสถ ๘ และบางครั้งจึงไม่รักษาเล่า ?”
พวกอุบาสกชาวสักกะกราบทูลตอบว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ จะรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”
สักกสูตร ๒๔/๘๖
ศีลอุโบสถ อันเป็นศีลที่ทรงกำหนด ให้อุบาสกและอุบาสิกางดเว้นตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ในรอบ ๘ วัน เป็นศีลที่ชาวพุทธผู้ครองเรือน น่าจะหาวันพระที่สะดวกงดเว้นรักษาดูบ้าง มิใช่จะรอให้ผิวหนังตกกระเสียก่อน จึงค่อยคิดจะไปรักษาอุโบสถกับเขาบ้าง บางทีก็อาจชวดไปตลอดชาติ
ในยุคที่สังคมกำลังเครียดด้วยเศรษฐกิจรัดตัว อย่างทุกวันนี้ การรักษาอุโบสถศีล จะเป็นทางหนึ่ง ที่ช่วยลดความตึงเครียด ในการครองชีพลงได้มาก ไม่ว่าจะเป็นด้านปากท้อง หรือการแต่งกายก็ตาม ในฐานะที่เป็นหนึ่งในพุทธบริษัท ๔ น่าจะนำระบบนี้ ไปช่วยลดเศรษฐกิจของครอบครัว และประเทศกันบ้าง
(จากหนังสือพระไตรปิฎก ฉบับดับทุกข์ ปี ๒๕๒๔ โดย ท่านธรรมรักษา)
ที่มา คุณกานต์ |
|
_________________ ธรรมได้ก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ |
|
   |
 |
แมวขาวมณี
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2006
ตอบ: 307
|
ตอบเมื่อ:
02 พ.ย.2006, 8:27 pm |
  |
รักษาศีล 8 ทุกวันพฤหัสค่ะ(เป็นวันเกิด)
ส่วนวันพระ รักษาเป็นครั้งคราว |
|
_________________ พฤษภกาสร อีกกุญชร อันปลดปลง
โททนต์ เสน่งคง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตย์ทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา |
|
   |
 |
|