Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นิพพานคือการดำเนินจิตในทุกๆ วันแบบไหน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
วัยรุ่นที่ไม่รู้
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 1:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

1. ผู้ที่นิพพานแล้ว จะดำเนินวาระจิตตลอดเวลาของชีวิตแบบไหนประมาณไหน ในชีวิตประจำวัน และในการพูดคุยยืนเดินนั่งนอน ลืมตา คิดพูดในมุมมองไหน

2. จำเป็นไหมที่ผู้ที่นิพพานจะต้องฝึกสมาธิถึงขั้นญาณ หูทิพย์ ตาทิพย์ และอื่นๆ อีกมากมาย หรือไม่ต้องก็ได้ แล้วถ้าไม่ต้องฝึกระดับจิตถึงขั้นญาณแล้วจะสามารถนิพพานได้หรือไม่ในการฝึกฝนจิตใจให้ปล่อยวางคิดดีทำดีพูดดี มรรค 8 ครับ

3. ฆราวาสผู้ที่ฝึกฝนจิตไม่ยึดติดกับความดี และไม่ดี นั้นถือเป็นทุกข์หรือติดภพหรือไม่ อย่างไร

4. ฆราวาสที่มีกิเลส กิน กาม เกียรติ เท่าที่จำเป็นต่อชีวิต นั้น และดำเนินชีวิตจิตใจที่พอเพียงธรรมดาๆ ให้เป็นสุข นี้จะนิพพานได้ไหม หรือต้องเคร่งฝึกจิตสมาธิ วิปัสะสะนาตลอดครับ


ขอผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยครับผม ขอบคุณมากครับ ยิ้ม
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 07 ต.ค.2006, 2:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดี คุณวัยรุ่นที่ไม่รู้

1. ดำเนินชีวิตด้วยการมีสติตรงอิริยาบททางกาย สัมพันธ์สัมพัทธ์กับการมีสติรู้ตรงจิตคืออารมณ์ ความรู้สึก ณ ปัจจุบันขณะ โดยใช้ชีวิตสลับกับสมมติ

2. มีความจำเป็นต้องมีพื้นฐานทางสมถะมาบ้าง ซึ่งมีผลทางสมาธิ ปัจจุบันมักฝึกสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนา จึงจะไม่เป็นการเสียเวลา จุดยืนของวิปัสสนาคือมีรูปนามเป็นอารมณ์ตลอดเวลา หากมีสติรู้เท่าทันรูปนามที่เกิดขึ้นให้ได้ปัจจุบันเป็นขณะๆ ก็จะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นไปตามลำดับ

3. เมื่อไม่ยึดติดในดี และไม่ดี ก็ดำรงอยู่ได้โดยไม่ทุกข์ไปกับธรรมดาโลก ส่วนจะติดภพหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับขณะจิต...เพราะ...ตราบใดที่ยังเป็นมนุษย์

4. ก็ยังมีกิเลส จะนิพพานได้ยังไง เริ่มต้นทุกคนก็ต้องฝึกทั้งนั้น เคร่งจนไม่ต้องเคร่ง ฝึกจนไม่ต้องฝึก ทำเหมือนไม่ได้ทำ....ก็เท่านั้น

เจริญในธรรม

มณี ปัทมะ ตารา
ผีเสื้อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
pp
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 11 ต.ค.2006, 6:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบตามที่ศึกษาตามตำรา และได้รับฟังจากครูบาอาจารย์
ผู้ที่หมดกิเลสแล้ว แต่ยังครองขันธ์ 5 อยู่ ท่านก็ดำรงชีวิตตามปกติธรรมดาของท่าน เราไม่มีทางรู้หรอกนอกจากเราจะมีระดับจิตเดียวกับท่านจึงสามารถรู้ได้ ปัจจุบันที่เชื่อกันว่าองค์นั่นองค์นี้สำเร็จธรรม ก็ด้วยการยืนยันจากครูบาอาจารย์ด้วยกันเอง และคำสอนที่ชี้ลัดตัดตรงสู่พระนิพพาน และส่วนใหญ่ก็จะมีจริยวัตรที่งดงาม (ยกเว้นบางองค์ ที่ไม่สามารถตัดสินได้จากกริยาภายนอก)
กิริยาที่ท่านแสดงออกในชีวิตประจำวัน ไม่ได้กระทำด้วยอำนาจกิเลสตัณหา แต่สักแต่ว่าทำ สักแต่ว่าเป็นกริยาของจิตเท่านั้น พระอรหันต์ท่านก็ยังรู้สึกเจ็บปวด ไม่สบายกาย หรือมีเวทนาทางกาย ตามกระบวนการของขันธ์ 5 ตามธรรมชาติ แต่ท่านไม่มีเวทนาทางใจเลยแม้แต่นิดเดียว (แปลกจัง)

บางองค์ท่านอาจจะมีวาระจิต หรือเป็นของแถมจากการฝึกจิตของท่าน เช่น การล่วงรู้วาระจิต การมีฤทธิ์เดช แต่พระอรหันต์บางองค์ก็ไม่มี ซึ่งท่านผู้มีสิ่งพิเศษเช่นนี้อาจจะมีความได้เปรียบในการเผยแพร่ธรรม (ความเห็นส่วนตัว...)

การดำเนินจิตขั้นปล่อยวางผมเข้าใจว่าจิตเขาจะดำเนินของเขาเอง เราอาจจะทำหรือแกล้งปล่อยวางได้ แต่ไม่เด็ดขาดหรอกครับ การปฏิบัติธรรมก็ยึดหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา แหละครับ
ไม่จำเป็นฝึกสมาธิจนถึงขั้นฌาณ ก็สามารถบรรลุธรรมได้ แต่ขณะบรรลุธรรมจิตเขาจะปฏิวัติไปถึงขั้นฌาณได้เอง
 
กรัชกาย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ต.ค.2006, 4:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

1. พระอรหันต์เป็นผู้ได้ปัญญาวิมุตติแล้ว ย่อมไม่มีแม้แต่ความยึดมั่นว่า “เราเป็นผู้ไม่ยึดมั่น” ไม่มีกิเลสที่จะแสดงตนว่าฉันเป็นคนไม่ยึดมั่น ไม่มีความยึดมั่นใหม่ (เช่นยึดผลสำเร็จบางอย่างในทางจิต) ที่จะทำให้แสดงความละเลยไม่เอื้อเฟื้อต่อสิ่งที่ตนเคยเหนื่อยหน่ายละทิ้งไปแล้ว และไม่มีแม้แต่กิเลสที่จะทำให้แสดงความเบื่อหน่ายรังเกียจ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงปฏิบัติตัวหรือแสดงออกไปตามเหตุผล ตามความสมควร ที่มองเห็นด้วยปัญญา อย่างน้อยก็เพื่ออนุเคราะห์แก่กุศลจิตของชาวโลก.

2. ผู้ปฏิบัติที่เป็นวิปัสสนายานิก ซึ่งไม่ได้ฌานมาก่อน เมื่อบรรลุอริยมรรคแล้ว สมาธิย่อมแนบสนิทเป็นอัปปนาถึงขั้นปฐมฌาน และหลังจากนั้นไปผู้บรรลุนั้นสามารถเข้าผลสมาบัติด้วยฌานระดับปฐมฌานนั้นเพื่อเป็นทิฏฐธรรมสุขวิหารต่อไปได้เรื่อย ๆ ในเวลาที่ต้องการ ตามหลักนี้ผู้บรรลุมรรคผลจึงได้ปฐมฌานเป็นอย่างต่ำ
ปัญหามีว่าพระอรหันต์ผู้ได้ฌานขั้นต่ำ จะเจริญสมถะต่อให้ฌานสมาบัติที่สูงขึ้นไปได้หรือไม่ ปัญหาข้อนี้ ถ้าตอบตามมติของอรรถกถาฎีกาก็ว่าได้ และโอกาสที่จะได้ก็น่าจะมีมากขึ้นด้วย เพราะมีภาวะจิตที่จะช่วยให้สมาธิประณีตเข็มแข็งกว่าก่อน ท่านจึงอาจเจริญขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องเสริมการเสวยผลทางจิตที่เรียกว่าทิฏฐธรรมสุขวิหาร
ส่วนอภิญญา คำตอบก็คงว่าได้เช่นเช่นเดียวกัน แต่คงต้องพูดต่อว่า พระอรหันต์ไม่ขวนขวายที่จะทำอภิญญาที่ท่านยังไม่ได้ ฯลฯ….

3. ถ้าฝึกถูกวิธี กล่าวคือฝึกเพื่อกำจัดกิเลส แล้วมีแต่เป็นสุขยิ่งๆขึ้นไป

4. นิพพานมี 4 ขั้น 4 ระดับ มีโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ฯลฯ ในอดีตมีฆราวาสมากมายที่บรรลุมรรคผลขั้นนี้ เช่น นางวิสาขา เป็นต้น
 
ผ่านมาพบ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 12 ต.ค.2006, 5:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอบ

ผู้ที่ถึงพระนิพพานแล้ว(แบบแท้ๆ) มี 4 ระดับ คือ

1.พระโสดาบัน
จิตยอมรับเต็มหัวใจ(100%)ว่า “ กายนี้ต้องตาย “
ยังมีความรักทางเพศ ความอยากรวย ความโกรธ(แต่หายโกรธง่าย)
แต่ก็กระทำอยู่ในขอบเขตของศีล ไม่ล่วงละเมิดศีลเด็ดขาด
รักษาศีล (อย่างน้อยศีล 5) ตลอดเวลา
ยอมตายดีกว่าศีลขาด
รักพระรัตนตรัยยิ่งกว่าชีวิต
ปรารถนาว่า ตายแล้ว ขอไปพระนิพพานอย่างเดียว
(แต่ก็ยังมีความพอใจในการเกิดอยู่)

2.พระสกิทาคามี
มีลักษณะเหมือนพระโสดาบัน
แต่ดีกว่าพระโสดาบัน คือ แทบไม่มีความรักทางเพศ แทบไม่มีความโกรธ (ยังไม่100%)
เพราะ บางขณะอาจฟุ้งคิดขึ้นมาบ้างว่า “ความรักนี่ก็ดีนะ”
แต่พอคิดเช่นนี้ปั๊บ ไม่เกิน 2 นาที ก็จะสลัดความคิดนี้ทิ้งไปจากใจได้ทันที

3.พระอนาคามี
มีลักษณะเหมือนพระสกิทาคามี
แต่ดีกว่าพระสกิทาคามี คือ ไม่มีความรักทางเพศ ไม่มีความโกรธ (100%)
แต่ก็ยังมีความฟุ้งซ่านไปบ้าง (ไม่ใช่ในเรื่องอกุศล)
เป็นความฟุ้งซ่านที่แสดงถึงว่า ยังมีความพอใจในการเกิดอยู่
เช่น บางครั้งอาจฟุ้งซ่านคิดไปว่า
“เราปฏิบัติมาได้ถึงระดับนี้ก็พอแล้ว พักไว้ก่อนดีกว่า
ถ้าตายตอนนี้ ก็ไปเกิดเป็นพระพรหม แล้วค่อยปฏิบัติต่อที่ข้างบนพรหมโลกก็ได้”

4.พระอรหันต์
มีลักษณะเหมือนพระอนาคามี
แต่ดีกว่าพระอนาคามี คือ
จิตยอมรับเต็มหัวใจอย่างละเอียดถึงที่สุด(100%)ว่า
“ กายนี้ต้องตาย โลกนี้ต้องสลายพังไป , กายนี้เป็นทุกข์ โลกนี้เป็นทุกข์ ,
กายนี้ไม่มีในเรา เราไม่มีในกายนี้ และ การเกิดเป็นทุกข์ “
ไม่ปรารถนาการเกิดในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลกใดๆทั้งสิ้น
ไม่มีความพอใจในการเกิดอีกต่อไป
จิตจึงปราศจากกิเลสทั้งปวง
จิตปรารถนาอย่างเดียว คือ ตายแล้วไปพระนิพพาน เท่านั้น

หมายเหตุ :
พระโสดาบัน เป็นฆราวาสได้ สามารถแต่งงานมีลูก มีผัว มีเมียได้
พระสกิทาคามี พระอนาคามี เป็นฆราวาสได้ แต่จะเฉยๆกับคู่ครองของตน
พระอรหันต์ ต้องออกบวชเท่านั้น (เป็นฆราวาสไม่ได้)

*************************************************************************************

ที่ตอบมาทั้งหมดข้างต้นนี้ ไม่ใช่ผมรู้เอง

แต่เคยฟังเทปคำสอนเรื่อง”หมวดพระอริยะเจ้า”
ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
จึงนำมาเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้ ครับ

ด้วยเหตุผล คือ
หลวงพ่อฤาษี ได้สอนให้พวกเรารู้ว่า การถึงนิพพานนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก

สาธุ สาธุ สาธุ

โดย หมั่นทรงอารมณ์สำคัญ 3 ข้อต่อไปนี้ ไว้ในใจตลอดเวลา คือ
1.ยอมรับว่า กายนี้ต้องตาย กายนี้เป็นทุกข์
2.ไม่ปรารถนาการเกิดในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลกใดๆทั้งสิ้น (เพราะเป็นโลกที่ยังมีทุกข์)
3.ปรารถนาอย่างเดียว คือ ตายแล้วไปพระนิพพาน เท่านั้น


เพราะ การพิจารณาธรรม
เพื่อเป็น พระโสดาบัน ท่านก็ตัดที่กาย (คือ พิจารณาว่า กายต้องตาย กายเป็นทุกข์)
เพื่อเป็น พระสกิทาคามี ท่านก็ตัดที่กาย ซ้ำอีก แต่ตัดได้ละเอียดยิ่งขึ้น
เพื่อเป็น พระอนาคามี ท่านก็ตัดที่กาย ซ้ำอีก แต่ตัดได้ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก
เพื่อเป็น พระอรหันต์ ท่านก็ตัดที่กาย ซ้ำอีก แต่ตัดได้ละเอียดถึงที่สุด ครับ

*************************************************************************************

ขออนุโมทนาบุญที่สนใจในธรรม ครับ ยิ้ม
 
เด็กเมื่อวานซืน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 22 ต.ค. 2006
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบรี

ตอบตอบเมื่อ: 22 ต.ค.2006, 2:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อ ดับ ได้แล้วก็เดินบนเส้นทางนี้ต่อไป เท่านั้นเอง ส่วนการฝึกให้ได้ญาณฤทธิ์ต่างๆนั้น สำหรับพระอรหันต์แล้วนำมาใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่พระธรรม เท่านั้นเอง

เพราะคำสอนของพระพุทธเจ้าคือต้องการให้ผู้ศึกษาถึง นิพพาน ( ดับ ) อันเป็นจุดหมายปลายทาง
เป็นที่สิ้นสุด เป็นผลสำเร็จ ของการศึกษาปฏิบัติธรรม

เป็นการถามแบบที่เรียกว่าใกล้นิพพานมากเลยครับ

สาธุ เห็นคำถามแล้วต้องบอกว่า ประทับใจ จ๊อดดดดดดดด ซึ้ง
 

_________________
กินเหมือนสุกร อยู่เหมือนสุนัข ฝักใฝ่เสพกิเลสร่ำไป
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กเมื่อวานซืน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 22 ต.ค. 2006
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบรี

ตอบตอบเมื่อ: 22 ต.ค.2006, 3:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อนิดนึงนะ ที่ข้อความ

แต่เคยฟังเทปคำสอนเรื่อง”หมวดพระอริยะเจ้า”
ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
จึงนำมาเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้ ครับ

ด้วยเหตุผล คือ
หลวงพ่อฤาษี ได้สอนให้พวกเรารู้ว่า การถึงนิพพานนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก


โดย หมั่นทรงอารมณ์สำคัญ 3 ข้อต่อไปนี้ ไว้ในใจตลอดเวลา คือ
1.ยอมรับว่า กายนี้ต้องตาย กายนี้เป็นทุกข์
2.ไม่ปรารถนาการเกิดในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลกใดๆทั้งสิ้น (เพราะเป็นโลกที่ยังมีทุกข์)
3.ปรารถนาอย่างเดียว คือ ตายแล้วไปพระนิพพาน เท่านั้น

เพราะ การพิจารณาธรรม
เพื่อเป็น พระโสดาบัน ท่านก็ตัดที่กาย (คือ พิจารณาว่า กายต้องตาย กายเป็นทุกข์)
เพื่อเป็น พระสกิทาคามี ท่านก็ตัดที่กาย ซ้ำอีก แต่ตัดได้ละเอียดยิ่งขึ้น
เพื่อเป็น พระอนาคามี ท่านก็ตัดที่กาย ซ้ำอีก แต่ตัดได้ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก
เพื่อเป็น พระอรหันต์ ท่านก็ตัดที่กาย ซ้ำอีก แต่ตัดได้ละเอียดถึงที่สุด ครับ

ขออนุโมทนาคำสอนนี้ครับ นานๆได้เจอสักครั้ง ขอบคุณที่พิมพ์เผยแพร่ สาธุ
 

_________________
กินเหมือนสุกร อยู่เหมือนสุนัข ฝักใฝ่เสพกิเลสร่ำไป
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
TE_WH.
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 21 ก.พ. 2006
ตอบ: 4
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 25 ต.ค.2006, 9:48 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณคุณผ่านมาพบค่ะ สาธุ
 

_________________
อย่ามัวค้นหาอีกเลย ที่อยู่ในใจเรานี่แหล่ะ ส่องสว่างยิ่งนัก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง