Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ๑๐ เรื่องบอกเล่า ...วันออกพรรษา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2006, 12:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลังจากที่พระภิกษุได้อธิษฐานจำพรรษาอยู่กับที่
หรือ ณ วัดใดวัดหนึ่ง ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน
นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
ที่เราเรียกว่า “ วันเข้าพรรษา ” แล้ว
เมื่อครบกำหนดการจำพรรษา
พระภิกษุก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้
ซึ่งวันพ้นข้อกำหนดดังกล่าว
ตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑
ที่เรียกกันว่า “ วันออกพรรษา ”

ดังนั้น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ทราบเรื่องราวของ
“ วันออกพรรษา ”
ว่ามีความหมาย และมีเรื่องใดที่เกี่ยวข้องบ้าง
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
จึงขอนำมาบอกเล่าให้ทราบเป็นข้อๆ
เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้


ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 06 ต.ค.2006, 12:41 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2006, 12:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑.วันออกพรรษา อันหมายถึง
วันสิ้นสุดการจำพรรษของภิกษุครบ ๓ เดือนในฤดูฝน
เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า วันปวารณา
( อ่านว่า ปะ - วา - ระ - นา )
หรือ วันมหาปวารณา
คือ วันที่เปิดโอกาสให้เพื่อนพระภิกษุ
ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ด้วยเมตตาจิต
เมื่อได้เห็น ได้ฟังหรือสงสัยในพฤติกรรมของกันและกัน

๒.ความเป็นมาของการทำปวารณากรรม
สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล
พุทธสาวกจะมีธรรมเนียมปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่ง
คือ เมื่อออกพรรษาหมดฤดูฝน
จะพากันเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์ก็จะทรงตรัสถาม
ถึงสิ่งที่พระภิกษุได้ประพฤติปฏิบัติในระหว่างจำพรรษา
ปรากฏว่ามีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งเกรงว่า
ในช่วงจำพรรษาด้วยกัน
จะเกิดการขัดแย้งทะเลาะวิวาท
จนอยู่ไม่สุขตลอดพรรษา
จึงได้ตั้งกติกากันเองว่าจะไม่พูดจากัน
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้
ก็ทรงตำหนิว่าการประพฤติดังกล่าว
เป็นเรื่องไร้ประโยชน์ที่พึงมีพึงได้
จึงทรงวางระเบียบวินัยให้เป็นหลักปฏิบัติสืบต่อมาว่า
ให้ภิกษุที่จำพรรษาครบสามเดือนแล้ว
ทำปวารณาแทนการสวดพระปาติโมกข์ในวันออกพรรษา
การปวารณาหรือการว่ากล่าวตักเตือนในหมู่สงฆ์นี้
ผู้ว่ากล่าวตักเตือนจะต้องทำด้วยความเมตตา
ปรารถนาดีต่อผู้ถูกตักเตือนทั้งกาย วาจา และใจ
ส่วนผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือนก็ต้องมีใจกว้าง
มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน
ถ้าเป็นจริงตามคำกล่าวก็ปรับปรุงตัวใหม่
หากไม่จริงก็สามารถชี้แจงแสดงเหตุผลให้กระจ่าง
ทั้งสองฝ่ายต้องคิดว่าทักท้วงเพื่อก่อ ฟังเพื่อแก้ไข
จึงจะได้ประโยชน์และตรงกับความมุ่งหมาย
ของการปวารณาที่จะสร้างความสมัครสมานสามัคคี
และดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์

๓.การสวดพระปาติโมกข์
คือ การที่พระสงฆ์สวดสิกขาบท (พระวินัย)
๒๒๗ ข้อทุกกึ่งเดือน ในที่ประชุมสงฆ์
เรียกอีกอย่างว่า ลงอุโบสถกรรม
(สวดปาติโมกข์ ในที่นี้ มิใช่ โอวาทปาติโมกข์
อันเป็นการประกาศหลักการ อุดมการณ์
และวิธีการปฏิบัติในการเผยแพร่พุทธศาสนา
ของพระพุทธเจ้าเมื่อวันมาฆาบูชา


ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2006, 12:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๔.หลักการปวารณาในวันออกพรรษา
เป็นหลักที่พุทธศาสนิกชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้
ในการดำเนินชีวิต ได้ทั้งในครอบครัว
สถานศึกษาหรือในสถานที่ทำงาน
โดยยึดความเมตตาต่อกันเป็นที่ตั้ง
คือ ถ้าจะติก็ติด้วยความหวังดีมิใช่ทำลายอีกฝ่าย
ส่วนผู้ถูกติก็ควรรับฟังด้วยดี
และมองเห็นความหวังดีของผู้ว่ากล่าว
หากจริงก็แก้ไข ไม่จริงก็ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน
เช่นนี้ย่อมทำให้สังคมเกิดความสงบสุข
สามารถแก้ไขปัญหาและพร้อมจะพัฒนาไปด้วยกันทุกฝ่าย

๕.ประเพณีอันเกี่ยวเนื่องกับวันออกพรรษา
ได้แก่ ประเพณีตักบาตรเทโว
ซึ่งย่อมาจาก" เทโวโรหนะ " หมายถึง
การเสด็จลงมาจากเทวโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตามตำนาน เล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว
ได้เสด็จไปประกาศพระศาสนาในแคว้นต่าง ๆ
ทรงรำลึกถึงพระนางสิริมหามายา
ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ประสูติได้ ๗ วัน
จึงทรงดำริที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา
ดังนั้น จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษา
บน สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฏก
โปรดพระพุทธมารดาและเทวดาทั้งหลายอยู่หนึ่งพรรษา
ครั้นวัน แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ หรือหลังวันออกพรรษา ๑ วัน
พระองค์เจ้าจึงได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
มาประทับที่เมืองสังกัสสะ ประชาชนต่างพากันไปเฝ้า
พระพุทธองค์เพื่อทำบุญตักบาตรกันอย่างเนื่องแน่น
ด้วยเหตุนี้ ชาวพุทธจึงถือเอาวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑
เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลก
มาสู่เมืองมนุษย์ จึงนิยมตักบาตรกันเป็นพิเศษ
และทำสืบต่อมาเป็นประเพณีที่เรียกว่า " ตักบาตรเทโว " มาจนทุกวันนี้

๖.วันตักบาตรเทโว เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า
“ วันพระเจ้าเปิดโลก ” ด้วยว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
มาสู่โลกมนุษย์หลังวันออกพรรรษานั้น
เล่ากันว่ามีเทวดาจำนวนมากได้ตามส่งเสด็จ
อย่างสมพระเกียรติ พระพุทธองค์จึงทรงเนรมิตให้เทวดา
มนุษย์ และสัตว์นรกมองเห็นกันและกันตลอดทั้ง ๓ โลก
คือ สวรรค์ มนุษย์ และนรก
อีกทั้งในวันนี้การลงโทษในเมืองนรกได้ยุติลงชั่วคราว
จึงเรียกว่า “ วันพระเจ้าเปิดโลก ”


ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2006, 12:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๗.สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
หมายถึง สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ซึ่งมี ท้าวสักกะ หรือ พระอินทร์
เป็นจอมเทพผู้ปกครอง สวรรค์ ๖ ชั้น ดังกล่าว
เรียกว่า “ กามภพ ” หมายถึง ภพที่ท่องเที่ยวไปในกาม
แบ่งออกเป็น ชั้น จาตุมหาราช เป็นที่อยู่ของท้าวจตุโลกบาล
ทั้ง ๔ ชั้น ดาวดึงส์ เป็นเมืองของพระอินทร์
ชั้น ยามา เป็นเมืองของสยามเทวราช
ชั้น ดุสิต (ดุสิต แปลว่า บันเทิง)
มี สันดุสิตเทวราช เป็นผู้เป็นใหญ่
ชั้น นิมมานนรดี (นิม-มาน-นอ-ระ-ดี)
หมายถึง ผู้ยินดีในการเนรมิต
และชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี (ปอ-ระ-นิม-มิด-ตะ-วะ-สะ-วัด-ดี)
มีพระยามาราธิราช เป็นใหญ่

๘.ของทำบุญที่นิยมกันเป็นพิเศษในประเพณีตักบาตรเทโวฯ
คือ ข้าวต้มลูกโยน โดยจะเอาข้าวเหนียว
มาห่อด้วยใบมะพร้าวไว้หางยาว
กล่าวกันว่าที่นิยมทำข้าวต้มลูกโยน
คงเป็นเพราะ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จลงมาจาก
เทวโลก พระบรมศาสดาถูกห้อมล้อมด้วยมนุษย์
และเทวดาจำนวนมาก ทำให้ผู้ที่เข้าไม่ถึง
คิดวิธีใส่บาตรโดยโยนเข้าไป
และที่ไว้หางยาวก็เพื่อให้โยนได้แม่นยำยิ่งขึ้น
ซึ่งการโยนลักษณะนี้คงเกิดขึ้นภายหลัง
มิใช่สมัยพระพุทธองค์จริง ๆ
และทำให้เป็นนัยยะมากกว่า
เพราะปัจจุบันจะใช้การแห่พระพุทธรูป
แทนองค์พระพุทธเจ้า

๙.หลังออกพรรษาแล้ว จะเป็นช่วง เทศกาลกฐิน
เป็นเวลา ๑ เดือน คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

๑๐. แนวทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน ในวันออกพรรษา
นอกจากหลักปวารณาที่ได้กล่าวไปแล้ว
ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สถานที่ทำงาน
หรือสถานศึกษาควรจะได้ร่วมกันปฏิบัติธรรม
และจัดพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญตักบาตร
ฟังธรรม รักษาศีล ไหว้พระสวดมนต์ สนทนาธรรม
และเจริญภาวนาเพื่อเป็นการชำระล้างจิตใจให้บริสุทธิ์
แจ่มใส อันจะเป็นมงคลในการดำเนินชีวิตต่อไป


ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม

...................................
อมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
http://www.culture.go.th/study.php?&YY=2548&MM=9&DD=4

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 06 ต.ค.2006, 1:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วันเข้าพรรษาปีนี้..
วันเสาร์ที่ ๗ ตุลาคม ค่ะ

ธรรมะสวัสดีค่ะ


สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง