Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ร่วมอธิบายธรรมะ (ด่วน) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อิทธิ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 18 ต.ค.2006, 6:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ทราบว่าพอจะมีใครอธิบายธรรม นี้ได้บ้างครับ
ดูก่อนอานนท์ เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอดซึ่งธรรมอันนี้ จิตของสัตว์ทั้งหลายจึงยุ่งเหมือนปมด้าย เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอบาย ทุคคติ วินิบาต สงสาร
รบกวน อธิบายความให้ด้วยครับ
ขอบคุณครับ
 
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 18 ต.ค.2006, 7:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูก่อนอานนท์ เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอดซึ่งธรรมอันนี้ จิตของสัตว์ทั้งหลายจึงยุ่งเหมือนปมด้าย เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอบาย ทุคคติ วินิบาต สงสาร


ก็ไม่ได้รู้กระจ่างแต่อยากออกความคิดเห็นคะ
พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเหมือนว่า คนเราเกิดมาแล้ว ถ้าไม่เข้าใจแจ่มแจ้งในพระธรรมคำสั่งสอนจริงๆๆ แม้จะอ่านหรือศึกษามามากขนาดไหน แต่ถ้ายังไม่รู้ตัวจิต ยังไม่ปล่อยวาง ยังตามกิเลสตัณหา จิตของเราก็ยังยุ่งเปรียบเหมือนปมด้ายที่แก้ไม่ออก เกิดมาก็เท่านั้น แล้วก็แก่ตาย ไม่มีประโยชน์อันใดเลย ไม่มีทางพ้นจากการเวียนว่าย ตาย เกิด ไปได้.......
การเกิดเป็นมนุษย์ ประเสริฐที่สุด ยากแสนยาก และการเกิดเป็นมนุษย์เท่านั้นที่จะสามารถหลุดพ้นจากวัฏฏะ ท่านเอ๋ย....ท่านไม่เบื่อบ้างหรอ ที่ต้องมาเกิดตายๆๆๆๆๆๆ ไม่รู้กี่ร้อยชาติแสนชาติ เกิดมาแล้วก้อตาย
พระธรรมมีมากมายแต่หลักสำคัญที่สุดในการปฏิบัติง่ายนิดเดียว........
ดูสิ...ดูที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
ดูว่ามีอารมณ์ใดที่เรารู้สึกได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นทางเสียง ทางตา ทางกลิ่น ทางรสชาติของอาหาร
เราก็รับรู้ แต่ไม่ยึดติด
ทุกคนมีอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นรัก โลภ โกรธ หลง การจะบอกให้เราไม่โกรธ ไม่โมโห ยาก
แต่....เมื่อเวลาเราโมโหแล้ว ให้รู้ว่านี่เราโกรธนะ นี่อารมณ์โกรธนะ ลองนั่งมอง จ้องมองอารมณ์โกรธของเราสิ...มองดู ดูมันว่ามันจะโกรธได้นานนแค่ไหน..จ้องดู รู้ตามอารมณ์ที่เกิดขึ้น ดูสติ ดูความคิด ดูจิตของเราว่ามันจะคิดอะไร ...พอคิดเราก้อตามดู รู้.....
ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่การปล่อยวาง
ตามดูรู้เท่าทันความคิดแหละจิต
เสมือนเรานั่งอยู่ในบ้านแล้วคอยจ้องว่าใครเข้ามาในบ้านบ้าง จ้องมองประตูของเรา ทางตา ดูสิใครที่เรามองเห็น ทางหู ฟังดูสิ เสียงอะไร ทางจมูก ทางลิ้น กาย ใจ
มองดูอย่าให้เผลอ ...
 
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 22 ต.ค.2006, 3:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เป็นใจความว่า จิตของมนุษย์นี่ยุ่งเหมือนด้ายยุ่ง เพราะไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท. นี่ฟังดูให้ดี จิตของคนเรานี้มันยุ่งเหมือนกับด้ายยุ่ง เพราะเหตุเดียว คือไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ถ้าไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา เสียแล้ว จิตของเราจะไม่ยุ่งเหมือนด้ายยุ่ง. ในวันหนึ่ง ๆ ชาวบ้านอยู่ที่บ้านที่เรือนนั้น หัวใจมันยุ่ง ได้ยินเขาว่าอย่างนั้น มันยุ่งเรื่องนั้น มันยุ่งเรื่องนี้ มันยุ่งไปหมด มันสางไม่ออก เพราะมันไม่รู้จักใช้กฎเกณฑ์แห่ง อิทัปปัจจยตา พวกอยู่ที่บ้าน หัวใจจึงยุ่ง. ทีนี้ พวกที่มาวัดก็หัวใจยุ่ง ถามปัญหาอะไรก็ไม่รู้ ยุ่งไปหมด จับต้นชนปลายไม่ถูก. นี่แสดงว่า จิตใจมันก็ยุ่งเหมือนด้ายยุ่ง มันจึงถามปัญหายุ่งไปหมด ยุ่ง ๆ ไปหมด ไม่มีข้างต้น ไม่มีตรงกลาง ไม่มีข้างปลาย.

หรือว่า เซิงหญ้าชนิดหนึ่ง เขาเรียกว่าหญ้ามุญชะ หรือปัพพชะ ไม่ทราบว่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า
หญ้าอะไร เพราะไม่ทราบแน่ แปล ๆ กันมาว่าหญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่ายมันประสานกันยุ่ง เหมือนกับที่ริมลำธารนี้ มีเอาวัลย์อะไรชนิดหนึ่ง เส้นเล็ก ๆ ฝอยละเอียด สานกันยุ่ง
ไม่รู้จะดึงมาได้อย่างไร. ที่มันยุ่งเหมือนอย่างนั้น เพราะไม่รู้อิทัปปัจจยตา ว่าเพราะมีสิ่งนี้ ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ จึงเกิดขึ้น มันไม่เห็นกระจ่างอย่างนั้น มันจึงฟั่นกันยุ่งไปหมด

ทำไมมันจึงยุ่ง? ที่เกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์ ที่เกี่ยวกับความทุกข์ ความยุ่ง ๆ ในจิตนี้ มันมีประจำวัน ในชีวิตประจำ แก่ฆราวาสนับไม่ไหว. มันก็เรื่องอิทัปปัจจยตา อาการยุ่งนั้น คือ อิทัปปัจจยตา ชนิดที่มองไม่ออก. ทีนี้ ที่มันไม่ยุ่งก็คือ อิทัปปัจจยตา ที่มองออก,

ฆราวาสทั้งหลายจมอยู่ในกองเวทนา กองอาหาร กองอะไรต่าง ๆ มันมีผู้นั่น ผู้นี่ ผู้โน้น ผู้อะไรเรื่อยไป จนจิตยุ่งเหมือนด้ายยุ่ง. แต่พอ อิทัปปัจจยตา เข้ามาก็ไม่มี "ผู้" สักผู้เดียว มีแต่อาการแห่ง อิทัปปัจจยตา อาการหนึ่ง ๆ เป็นไปตามธรรมชาติ ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ.

ทีนี้ ถ้าเราอยากจะเป็นฆราวาสที่จิตใจไม่ยุ่ง ก็เอา "ผู้" นี้ออกเสีย ผู้นั่น ผู้นี่ ผู้โน้น เอาออกเสีย; หรือเป็นหญิง เป็นชาย เป็นผัว เป็นเมีย เป็นนาย เป็นบ่าว เป็นอะไร เป็นผู้แพ้ ผู้ชนะ เอาออกเสีย; ให้มันเหลือแต่อาการแห่งอิทัปปัจจยตา นี่ฆราวาสจะได้รับประโยชน์ข้อนี้.

ถ้าไม่รู้จัก อิทัปปัจจยตา จะตกนรกทั้งเป็น ที่นี่และเดี๋ยวนี้! นี่ในสฬายตนสังยุตต์ เล่า ๑๘ หน้า
๑๕๘ มีข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงนรกชื่อแปลกประหลาด จนอาตมาอยากจะพูดว่า พวก
อรรถกถาจารย์ก็ไม่เข้าใจ แล้วแถมไปกล่าวว่านรกนี้ก็อยู่ใต้บาดาล ใต้นรกใต้ดินนั่นแหละ.
ผีเสื้อ

อ่านต่อได้ตามลิ้งค์ค่ะ

http://www.zboy.net/dmk/d002/d00217.txt
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
วรากร
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 22 ต.ค. 2006
ตอบ: 5

ตอบตอบเมื่อ: 22 ต.ค.2006, 9:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระอานนท์บอกว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ง่าย พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสสอนว่า อย่าคิดอย่างนั้น เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอดซึ่งธรรมอันนี้ จิตของสัตว์ทั้งหลายจึงยุ่งเหมือนปมด้าย เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอบาย ทุคคติ วินิบาต สงสาร

หากท่านอยากรู้ว่า ปฏิจจสมุปบาท คืออะไร ก็ลองไปอ่านศึกษาดูได้ แต่มันเป็นเพียงคำสอน หากต้องการรู้จริง แทงตลอด ต้องปฏิบัติเท่านั้น ปฏิบัติจนรู้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
เด็กเมื่อวานซืน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 22 ต.ค. 2006
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบรี

ตอบตอบเมื่อ: 22 ต.ค.2006, 12:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลักธรรมของพุทธเจ้า เกิดจาก การใช้หลัก เหตุ ผล พิจารณา หรือ อริยสัจ 4 หรือ สิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด สิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ซึ่งก็ล้วนคล้องจองกับหลัก เหตุ ผล

เหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาของมนุษย์นั้นคือการดิ้นรนให้พ้นทุกข์ อยากเสพสุข แต่ด้วยไม่คิด ไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนละเอียดดีแล้วก่อน ปัญหาจึงเกิด ทุกข์จึงตามมา แยกให้เห็นเข้าใจง่ายเกี่ยวกับ สุข ทุกข์ คือ

1. สุขที่ไม่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

2.สุขที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ สุขข้อนี้เป็นเหตุวุ่นวาย เพราะไม่พิจารณาให้ดี มองไม่เห็นผลที่จะเกิด คิดเพียงอยากได้ ด่วนใจไปรับมา ไม่รู้ว่ามีหนาม ไม่รู้ว่าเป็นเหตุแห่งปัญหา ทุกข์จึงมี เกิดเป็นเรื่องวุ่นวายใจ

เพียงรู้จักมอง ต้น กลาง ปลาย คือ รู้คิด รู้ผลที่ได้ รู้ผลกระทบ ไม่ใฝ่หา สุข ข้อ 2 ก็เรียกได้ว่าธำรงตนให้สอดคล้องกับหลัก ธรรม ได้แล้ว ส่วนจะอยู่ระดับไหนของ ธรรม ก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของผู้นั้นเอง

สาธุ
 

_________________
กินเหมือนสุกร อยู่เหมือนสุนัข ฝักใฝ่เสพกิเลสร่ำไป
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ชัย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 26
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 25 ต.ค.2006, 4:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ
เพราะไม่แจ้งในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ จึงได้ยุ่งไม่สิ้นสุด
ยุ่งในที่นี้อาจจะเป็น ชาติ หรือการเกิดนั่นเอง ก็เมื่อต้องเกิด ก็ต้องเจ็บ ต้องแก่ ต้องตาย จึงตกอยู่ในวัฏฏสงสาร มีสุข มีทุกข์ เป็นเงาตามตัว
ขออนุโมทนาสาธุครับ
 

_________________
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง