Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตว์โลก อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
mw user
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 25 ส.ค. 2006
ตอบ: 20
ที่อยู่ (จังหวัด): ปทุมธานี

ตอบตอบเมื่อ: 16 ต.ค.2006, 8:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นมตฺถุ รตนตฺตยสฺส

** ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตว์โลก **
ก็แลครั้นท่านกล่าวแล้ว จึงกล่าวคำในที่นี้ต่อไปอีกว่า ธรรมดาว่า
สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมเรียนกาษา ดังนี้ จริงอยู่ มารดาและบิดาให้ลูกน้อย
นอนที่เตียงหรือที่ตั้งในเวลาที่ลูกยังเป็นทารก แล้วพูดซึ่งกิจนั้น ๆ เด็กทั้งหลาย
ย่อมกำหนดภาษาของมารดาหรือของบิดาว่า คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว คำนี้ผู้นี้
กล่าวแล้ว เมื่อกาลผ่านไป ๆ พวกเด็กย่อมรู้ภาษาแม้ทั้งหมด. มารดาเป็น
ชาวทมิฬ บิดาเป็นชาวอันธกะ เด็กที่เกิดแต่ชนทั้งสองนั้น ถ้าเขาฟังถ้อยคำ
ของมารดาก่อน เขาจักพูดภาษาทมิฬก่อน ถ้าฟังถ้อยคำของบิดาก่อน เขาจัก
พูดภาษาชาวอันธกะก่อน. แต่เมื่อไม่ได้ฟังถ้อยคำของชนแม้ทั้งสอง ก็จักกล่าว
(พูด) ภาษาของชนชาวมคธ. ทารกแม้ใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่น
ชื่อว่ากล่าวอยู่ไม่มีในป่าใหญ่นั้น ทารกแม้นั้น เมื่อจะยังวาจาให้ตั้งขึ้นตาม
ธรรมดาของตน ก็จักกล่าวภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.
ภาษาของชนชาวมคธเท่านั้นหนาแน่นแล้ว (มากมาย) ในที่ทั้งปวง
คือ
๑. ในนิรยะ (นรก)
๒. ในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน
๓. ในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต)
๔. ในมนุษย์โลก
๕. ในเทวโลก
ในภาษาของสัตว์ทั้งหลาย ภาษา ๑๘ อย่าง นอกจากภาษาของชน ชาวมคธ
มีภาษาของคนป่า ของชาวอันธกะ ของชาวโยนก ของทมิฬตามที่
กล่าวแล้วเป็นต้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ภาษาของชนชาวมคธกล่าวคือ
เป็นโวหารของพรหม เป็นโวหารของพระอริยะ ตามความเป็นจริง
ภาษานี้ภาษาเดียวเท่านั้นไม่เปลี่ยนแปลง. แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรง
ยกพระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นด้วยภาษาของ
ชนชาวมคธนั่นแหละ.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า ก็เพราะเพื่อจะนำมาซึ่งอรรถ (ประโยชน์) ได้โดยง่าย.
จริงอยู่ การเข้าถึงคลองกระแสแห่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผน
ด้วยภาษาแห่งชนชาวมคธย่อมเป็นการมาอย่างพิศดารแก่ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้ง
หลาย. คือว่า เมื่อกระแสแห่งพระพุทธพจน์นั้นสักว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสืบต่อแล้ว
นั่นแหละ อรรถย่อมมาปรากฏนับโดยร้อยนัยพันนัย. ก็การที่บุคคลท่องแล้ว ๆ
เรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่นมีอยู่ แต่ชื่อว่าการ
บรรลุปฏิสัมภิทาของปุถุชนเพราะเรียนเอาพุทธพจน์นั้น แม้มาก ย่อมไม่มี.
พระอริยสาวกผู้ไม่บรรลุปฏิสัมภิทาหามีไม่.
คำว่า ญาเณสุ ฌาณํ (แปลว่า ความรู้ในญาณทั้งหลาย) ได้แก่
เมื่อเธอพิจารณากระทำญาณในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้ว ญาณอันถึงความรู้
แตกฉาน ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ดังนี้.
อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ เหล่านี้ ย่อมถึงการแยก
ออกในฐานะ (ภูมิ) ๒ อย่าง และย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ อย่าง

สำเนามาฝาก จาก
พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 545
 

_________________
เตือนตัวเองแค่ว่า
* ต้องเข้าถึงพุทธธรรมด้วยสติเท่านั้น ไม่เพียงแค่เรียนรู้
* อย่าให้ตัวเองตำหนิตัวเองได้ว่า รู้ทางแล้วไม่บอกใคร

สํโยคปรมาเตฺวว ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
เสียง พระอภิธรรม
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง