Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระสูตรนี้ พระพุทธองค์ปฏิเสธการเกิด(ใหม่)หรือ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2006, 7:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญหาที่พระพุทธองค์ไม่ทรงพยากรณ์(ตอบ)


มีพระสูตรบางพระสูตร ที่อาจจะทำให้บางท่านเข้าใจผิดอย่างแรงไปว่า พระพุทธองค์ปฏิเสธเรื่อง การเกิด(ใหม่) แบบเกิดเป็นคนเป็นสัตว์ตามภพต่างๆจริงๆ

ปัญหา ที่พระพุทธองค์ไม่ทรงตอบนั้นเรียกว่า”อันตคาหิกทิฏฐิ” จาก…….

จากจูฬมาลุงโกยวาทสูตร
เรื่องพระมาลุงกยบุตรดำริถึงมิจฉาทิฏฐิ ๑๐


1.โลกเที่ยง
2.โลกไม่เที่ยง
3.โลกมีที่สุด
4.โลกไม่มีที่สุด
5.ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น
6.ชีพอย่างหนึ่งสรีระอย่างหนึ่ง
7.สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ (สัตว์ตายแล้วเกิด)
8.สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ (สัตว์ตายแล้วไม่เกิด)
9.สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี (สัตว์ตายไปแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี)
10.สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่(สัตว์ตายไปแล้วเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่)


ขอให้ความสำคัญข้อ7-10 ว่า ทำไมพระองค์ไม่ทรงตอบปัญหานี้

ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คำว่า”สัตว์”ที่กล่าวในประเด็นนี้นั้น สื่อถึงความหมายใด…..
โดยต้องไม่ลืมว่า ในครั้งพุทธกาลนั้น เจ้าลัทธิต่างๆ ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ต่างก็กล่าวถึง ตรึก และคิดค้นด้นเดาถึงเรื่องเหล่านี้อยู่เช่นกัน โดยต่างก็กล่าวคำๆเดียวกันนี้ แต่มองไปในความหมายตามมิจฉาทิฏฐิที่ตนเองมีอยู่…..

อย่าง ประเด็นที่ว่า “สัตว์ตายแล้วเกิด” หรือ”สัตว์ตายแล้วไม่เกิด”นั้น

คำว่า”สัตว์” ในความหมายที่เจ้าลัทธิต่างๆในครั้งพุทธกาลพูดถึงกันอยู่นั้น สื่อถึง”อัตตา”( จาก หนังสือพุทธธรรม หน้า158)…….
เจ้าลัทธิเหล่านั้น ย่อมเข้าใจว่า รูปเป็นอัตตา หรือว่าอัตตามีรูป หรือว่ารูปอยู่ในอัตตา หรือว่าอัตตาอยู่ในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นเดียวกัน)……..


แต่ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสนั้น พระพุทธองค์จะทรงตรัสถึง”ขันธ์๕“ที่ปราศจากอุปาทาน(อนัตตา) กล่าวคือ พระพุทธองค์ ไม่เข้าใจเอารูปเป็นอัตตา หรือว่าอัตตามีรูป หรือว่ารูปอยู่ในอัตตา หรือว่าอัตตาอยู่ในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นเดียวกัน). โดยที่ ความจริงขั้นอนัตตานี้ เจ้าลัทธิในสมัยนั้นไม่มีผู้ใดหยั่งถึง

นี่คือ เหตุผลที่พระพุทธองค์ไม่ทรงตอบปัญหาเหล่านี้ เพราะปัญหาเหล่านี้ ล้วนตั้งขึ้นมาด้วยความเข้าใจผิด คือ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ยึดมั่นในอัตตา…….. เมื่อตั้งคำถามผิดเสียแล้ว จะตอบให้ถูกต้อง ก็คงเป็นไปไม่ได้……
ไม่ว่าจะตอบว่า”ใช่”หรือ”ไม่ใช่”ก็ตาม

อย่างเช่น ประเด็น “สัตว์ตายแล้วเกิดนั้น” ถ้าถามเช่นนี้ ก็คือ กำลังกล่าวว่า สัตว์(หรือ อัตตา)นั้น หลังจากชีวิตนี้สิ้นแล้ว สัตว์(หรือ อัตตา)นั้นล่ะที่มาเกิด….. ซึ่งก็คือ จะตกไปสู่ สัสตทิฏฐิทันที เพราะมีอัตตาที่เที่ยงแท้ถาวรในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวยืนโรงคอยมาเกิด

หรืออย่าง ประเด็น “สัตว์ตายแล้วไม่เกิด” นั้น ถ้าถามเช่นนี้ ก็คือกำลังกล่าวว่า สัตว์(หรือ อัตตา)นั้น หลังจากชีวิตนี้สิ้นแล้ว สัตว์(หรือ อัตตา)นั้น ล่ะขาดสูญลง ซึ่งก็คือ จะตกไปสู่อุจเฉทิฏฐิทันทีอีกเช่นกัน…..เพราะ อัตตานั้นขาดสูญเมื่อชีวิตนี้สิ้นลง

ดังนั้น พระองค์จึงไม่ทรงตอบปัญหาเหล่านี้…..

แต่พระองค์จะทรงแสดงธรรมที่เป็นกลาง ซึ่งก็คือ [b]ปฏิจจสมุปบาท [/b]นั้นเอง โดยชี้ไปถึงรากของปัญหาที่แท้จริงเลยว่า
เมื่อ ยังมีเหตุ-ปัจจัยของการเกิด(ใหม่)อยู่ การเกิด(ใหม่)ย่อมมี…….
เมื่อหมดเหตุ-ปัจจัยของการเกิด(ใหม่) การเกิด(ใหม่)ก็ไม่มี.......
ซึ่งก็คือ เรื่องของเหตุ-ปัจจัย และผลนั่นเอง

โปรดสังเกตุว่า ในขณะที่พระพุทธองค์ทรง ตรัสว่า การเกิด(ใหม่)ย่อมมีอีก ถ้ายังไม่สิ้นเหตุ-ปัจจัย …… ในขณะเดียวกัน พระองค์ก็ทรงปฏิเสธว่า ไม่มีอัตตาที่เที่ยงแท้ใดๆ เป็นตัวยืนโรงคอยเวียนว่ายตายเกิด

ดังนั้นคำถามที่ถูกต้องในประเด็นนี้คือ

“ชาติ”หรือการเกิด(ใหม่)นั้น มีสิ่งใดเป็นปัจจัย(ซึ่งพระองค์ทรงแสดงคำตอบด้วยปฏิจจสมุปบาท)

แต่ไม่ควรถามคำถามที่ว่า สัตว์ตายแล้วเกิด หรือ สัตว์ตายแล้วไม่เกิด …..
อีกทั้ง ไม่ควรถามคำถามที่ว่า “ใคร” หรือ “สิ่งใด”เป็นผู้ไปเกิด

ผมสรุปประมวลมาจาก

1.พระพุทธเจ้ากับความจริงทางอภิปรัชญา (โลกเที่ยง ? )
ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์และไม่ทรงพยากรณ์กับบุคคล ๓ ประเภท


2.หนังสือ พุทธธรรม หน้า 158

3. วิเคราะห์อภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา

http://www.philo.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=78&Itemid=73
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2006, 7:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากหนังสือ อริยสัจจ์ ๔ หัวใจของพระพุทธศาสนา

โดย อ. แสง จันทร์งาม

พระพุทธเจ้ากับความจริงทางอภิปรัชญา

ความจริงแบบปรมัตถสัจจะในความหมายแบบอภิปรัชญานี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงสนพระทัยเท่าไรนัก และไม่ทรงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนสนใจศึกษาค้นคว้า พระพุทธองค์ตรัสไว้มีใจความว่า พระองค์ไม่สนพระทัยสนทนาโต้ตอบกับใครเกี่ยวกับความเห็น ๑๐ ประการที่ว่า
๑. โลกเที่ยง (ยั่งยืนนิรันดร) หรือ?
๒. โลกไม่เที่ยงหรือ?
๓. โลกมีที่สุดหรือ?
๔. โลกไม่มีที่สุดหรือ?
๕. ชีวะอันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือ?
๖. ชีวะก็อย่าง สรีระก็อย่างหรือ?
๗. สัตว์หลังจากตายแล้ว มีอยู่หรือ?
๘. สัตว์หลังจากตายแล้ว ไม่มีหรือ?
๙. สัตว์หลังจากตายแล้ว ทั้งมี ทั้งไม่มีหรือ?
๑๐. สัตว์หลังจากตายแล้ว จะว่ามีอยู่ ก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่หรือ?

เหตุผลที่ไม่ทรงโต้ตอบก็เพราะว่า เพราะไม่มีประโยชน์ ไม่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติธรรมเพื่อความดับทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายความยินดีเพลิดเพลินในกาม เพื่อความดับทุกข์ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ชั้นสูง เพื่อพระนิพพาน ในบางกรณี เมื่อมีผู้มาถามปัญหาเหล่านี้ พระพุทธองค์จะทรงนิ่งเงียบ ไม่โต้ตอบใด ๆ ทั้งสิ้น

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อได้อ่านจูฬมาลุงกโยวาทสูตรแล้ว จะด่วนตัดสินใจว่าเรื่องจิตวิญญาณ เรื่องตายแล้วเกิด เรื่องภพภูมิต่าง ๆ พระพุทธเจ้ามิได้ทรงตรัสไว้เลย มิใช่คำสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นคำสอนของศาสนาพราหมณ์ที่แทรกซึมเข้ามาในพระไตรปิฏก(นักศึกษาพระพุทธศาสนาสมัยใหม่บางสำนัก มักจะมีความเห็นสุดโต่งแบบนี้) ก็เป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้องนัก ถ้าเราศึกษาคัมภีร์พระไตรปิฏกให้ดี
เราจะพบว่า พระพุทธองค์ทรงมีท่าที ๓ แบบต่อปัญหาอภิปรัชญา แล้วแต่ชนิดของบุคคลที่มาสนทนาปราศรัยกับพระองค์ คือ
๑. ถ้าคนที่มาทูลถามปัญหาหรือสนทนาธรรมกับพระองค์ มีความเชื่อในเรื่องเหล่านี้อยู่แล้วอย่างมั่นคง พระพุทธองค์จะทรงพูดถึงเรื่องทางอภิปรัชญาเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมา ประหนึ่งว่า สิ่งลึกลับเหล่านั้นมีอยู่จริง ๆ
ท่าทีแบบนี้จะเห็นอยู่ได้ทั่วไปในพระสูตรต่าง ๆ แห่งสุตตันตปิฏก
๒. ถ้าคนฟังมีความสงสัยลังเล พระพุทธองค์จะทรงบอกเขาในลักษณะที่ว่า อย่าไปเอาใส่ใจกับเรื่องเหล่านั้นเลย ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรหรอก เว้นความชั่วทำความดีในปัจจุบันเข้าไว้ก็แล้วกัน ถ้าเราทำชั่วเราจะเดือดร้อนในชาตินี้ ถ้าชาติหน้ามีจริง เราก็จะเดือดร้อนอีก ถ้าเราทำความดีในปัจจุบันเราจะมีความสุข ถ้าชาติหน้ามีจริง เราจะความสุขในชาติหน้าอีก
ท่าทีแบบนี้มีอยู่ในตอนท้ายของกาลามสูตรเป็นต้น
๓. ถาคนฟังไม่เชื่อในเรื่องเหล่านี้เลย และตั้งใจมาโต้แย้งเพื่อเอาแพ้เอาชนะกับพระองค์ พระองค์จะทรงนิ่งเฉยเสีย ไม่ทรงตอบโต้ด้วย เพราะถึงตอบโต้กันไปก็ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด เพราะเป็นสิ่งที่ลึกลับที่ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ได้
ท่าทีแบบนี้ มีปรากฏอยู่ในจูฬมาลุงกโยวาทสูตรเป็นต้น
คัมภีร์พระไตรปิฏกเป็นคัมภีร์อันกว้างใหญ่ไพศาล มีคำสอนหลายแบบซ้อน ๆ กันอยู่ ผู้ศึกษาต้องศึกษาให้ทั่วถึงและวิเคราะห์วิจารณ์ให้ดี ไม่ใช่ไปอ่านเพียงสูตรใดสูตรหนึ่ง แล้วก็ด่วนตัดสินใจว่าอย่างนี้ถูก อย่างอื่นผิดหมด พระไตรปิฏกเปรียบเหมือนมหาสมุทรที่เต็มไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ผู้ที่จับหอยจับปูอยู่ตามชายฝั่ง ไม่ควรจะด่วนตัดสินใจว่ามหาสมุทรไม่มีอะไรเลย นอกจากหอยจากปู
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เยี่ยมชม






ตอบตอบเมื่อ: 08 ต.ค.2006, 6:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อโกรธ คำพูดเรื่องปล่อยวาง ไม่มีตัวตน ไม่มีประโยชน์อะไรเลย

การปฏิบัติฝึกจิตใจ เมื่อพบเจอความโกรธ จะสามารถมีสติ ที่จะระลึกรู้ได้
 
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 12 ต.ค.2006, 4:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงเตือนไม่ให้สาวกครุ่นคิดสงสัยกับเรื่องที่ว่า

“เรา”เคยเกิดเป็นอะไร
“เรา”เป็นอะไรในปัจจุบัน
“เรา”จะไปเกิดเป็นอะไร

สัพพาสวสังวรสูตร

ในประเด็น การละอาสวะได้เพราะการเห็น


ปุถุชนนั้นมนสิการอยู่โดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า
เราได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ
เรา ไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลหรือหนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไร หนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคต กาลเราจักไม่มีหรือหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ
หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้มีความ สงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้ มาแต่ไหนหนอ และมันจักไป ณ ที่ไหน.

1.จาก
ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไร หนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ
สรุป เป็นประเด็นคือความสงสัยว่า “เรา”เคยเกิดเป็นอะไร

2.จาก
เรามีอยู่หรือ เราไม่มีอยู่หรือ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ
สรุปเป็นประเด็นคือความสงสัยว่า “เรา”เป็นอะไรในปัจจุบัน

3.จาก
ในอนาคตกาลเราจักมีหรือหนอ ในอนาคต กาลเราจักไม่มีหรือหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ
ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรแล้วจึงจักเป็นอะไรหนอ
สรุป เป็นประเด็นคือความสงสัยว่า “เรา”จะไปเกิดเป็นอะไรในอนาคต


ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงตรัสเตือนสาวกไม่ให้ครุ่นคิดสงสัยอยู่ในเรื่องเหล่านี้นั้น…..

ถ้าไม่ทำความเข้าใจในประเด็นนี้ให้ดี อาจจะไปเข้าใจผิดว่า พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธในเรื่องการเกิด(ใหม่)ในภพหน้า(ในกรณีที่ยังไม่สิ้นเหตุ-ปัจจัย)

เพราะไม่เข้าใจเหตุผลที่ว่า ทำไมพระพุทธองค์จึงทรงเตือนไม่ให้สาวกครุ่นคิดสงสัยกับเรื่องที่ว่า
“เรา”เคยเกิดเป็นอะไร
“เรา”เป็นอะไรในปัจจุบัน
“เรา”จะไปเกิดเป็นอะไร

ตรงนี้ ต้องเข้าใจปฏิจจสมุปบาทให้ดีเสียก่อนว่า โดยแท้แล้วในวงจรปฏิจจสมุปบาทนั้น ไม่จำเป็นต้องมี”เรา”เข้าไปอยู่ในนั้นเลย……
พระพุทธองค์ทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทว่า เป็นเรื่องของเหตุ-ปัจจัยและผล…..
เมื่อยังมีเหตุ-ปัจจัยอยู่ ผลก็มี
เมื่อดับเสียซึ่งเหตุ-ปัจจัย ผลก็ดับ
ไม่ต้องมีอัตตาใดๆ (ไม่ว่าจะเรียก เรา สัตว์ ๆลๆ)มาคอยยืนโรงเวียนว่ายตายเกิดเลย
แต่การเกิด(ใหม่)นั้น จะยังคงมีอีก หากเหตุ-ปัจจัย ของการเกิด(ใหม่)นั้นยังคงมีอยู่.....

ไม่ต้องมีใครเป็นผู้ไม่รู้(อวิชชา)
ๆลๆ……ไปจนถึง

ไม่ต้องมีใครเป็นผู้สัมผัส(ผัสสะ)
ไม่ต้องมีใครเป็นผู้เสพอารมณ์(เวทนา)
ไม่ต้องมีใครเป็นผู้ทะเยอทะยาน(ตัณหา)

(ความเห็นของ ท่าน อ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ในคอลั่มน์ ธรรมะใต้ธรรมาสน์ ตอน 31 ผัคคุนสูตร )

และถ้าไล่ตามวงจรปฏิจจสมุปบาทก็จะไปสู่
ไม่ต้องมีใครเป็นผู้มาเกิด(ชาติ)!!!

ดังนั้น ที่ต้องตั้งคำถามเสียใหม่ คือ
ชาติมี เพราะมีสิ่งใดเป็นปัจจัย ต่างหาก จึงจะเป็นคำถามที่ถูกต้องและนำไปสู่การพ้นทุกข์



มิหนำซ้ำ วงจรปฏิจจสมุปบาทนั้นล่ะ ที่อธิบายเสียด้วยซ้ำว่า
ความรู้สึกที่ยึดมั่นว่าเป็น”เรา”(อุปาทาน)นั้นมีสิ่งใดเป็นปัจจัย มีกระบวนการอย่างไรจึงมาสู่จุดนี้…….
และความรู้สึกยึดมั่นว่าที่ว่าเป็น”เรา”(อุปาทาน)นั้นเป็นปัจจัยของสิ่งใด และจะนำไปสู่ผล คือกองทุกข์ทั้งปวงได้อย่างไร

โดยในสายนิโรธวารของปฏิจจสมุปบาทนั้น ถ้าดับเสียซึ่งความรู้สึกที่ยึดมั่นว่าเป็น”เรา”(อุปาทาน)นั้นได้สนิทเมื่อใด…..
นอกจาก ความทุกข์ที่เกิดจาก”เบญจขันธ์ที่จิตเข้าไปสำคัญมั่นหมาย”(อุปาทานขันธ์๕)นั้นจะดับสิ้นในปัจจุบันนี้แล้ว(ซึ่งก็คือ พระอรหันต์ถึงซึ่งสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ)
และเมื่อเบญจขันธ์แตกดับลงแบบไม่เหลือเชื้อสำหรับการเกิด(ใหม่) การเกิด(ใหม่)ก็จะไม่มีอีกต่อไป(ซึ่งก็คือพระอรหันต์ดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ)

สิ่งสำคัญสำหรับการดับทุกข์ จึงอยู่ที่การสิ้นไปแห่งความรู้สึกว่าเป็น”เรา”(อุปาทาน) ในปัจจุบันขณะนี้ต่างหาก

หาใช่การส่งจิตไปครุ่นคิดเรื่องขันธ์ในอดีตด้วยความรู้สึกของอัตตาว่า “เรา”เคยเกิดเป็นอะไร
หาใช่การส่งจิตไปครุ่นคิดเรื่องขันธ์ในปัจจุบันด้วยความรู้สึกของอัตตาว่า “เรา”เป็นอะไรในปัจจุบัน
หาใช่การส่งจิตไปครุ่นคิดเรื่องขันธ์ในอนาคตด้วยความรู้สึกของอัตตาว่า “เรา”จะไปเกิดเป็นอะไรในอนาคต
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 12 ต.ค.2006, 4:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หรืออีก กรณีหนึ่งที่ชัดเจนมาก คือ กรณีของพระอรหันต์ประเภทสุกขวิปัสสโก

ที่แม้นว่า ท่านไม่ได้ญาณระลึกชาติ(ที่จะสามารถรู้เรื่องขันธ์ส่วนอดีต)
ท่านไม่ได้ทิพยจักษุจุตูปปาตญาณ(ที่จะสามารถรู้เรื่องขันธ์ส่วนอนาคต)……

แต่ท่านก็สามารถพ้นทุกข์ในปัจจุบันนี้ได้เลย เพราะท่านดับเสียซึ่งอุปาทานได้ในปัจจุบันนี้นั้นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เด็กเมื่อวานซืน
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 22 ต.ค. 2006
ตอบ: 31
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบรี

ตอบตอบเมื่อ: 22 ต.ค.2006, 3:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำตอบ 10 ข้อนี้เอาไว้ใช้กับ ผู้อยู่กลาง หรือผู้ที่ศึกษา ธรรมที่เรียกว่า สุญญตาธรรม คือ ความไม่มีที่สิ้นสุด ไม่รู้ต้น รู้ปลาย จึงไม่ยึดต้น ยึดปลาย

คำตอบ 10 ข้อนี้ รวบให้สั้นแค่ว่า เช่นนั้นเอง ต้นปลายไม่สำคัญเพราะมันตั้งอยู่บนความไม่มีที่สิ้นสุด จึงไม่ควรไปค้นหาให้ปล่อยวางเสีย

สาธุ
 

_________________
กินเหมือนสุกร อยู่เหมือนสุนัข ฝักใฝ่เสพกิเลสร่ำไป
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง