Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เหตุเกิด ปรารภสติปัฏฐาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
mw user
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 25 ส.ค. 2006
ตอบ: 20
ที่อยู่ (จังหวัด): ปทุมธานี

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2006, 11:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ไม่ใช่นิทาน)
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นสมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์
คัดลอกมา จากอรรถกถา เห็นน่าอ่านดี นำมาฝากครับ

นมตฺถุ รตนตฺตยสฺส

เรื่องลูกนกแขกเต้า

เขาเล่าว่า นักฟ้อนรำผู้หนึ่ง จับลูกนกแขกเต้าได้ตัวหนึ่ง ฝึกสอน
มันพูดภาษาคน (ตัวเองเที่ยวไปแสดงการฟ้อนรำในที่อื่นๆ) นักฟ้อนรำ ผู้นั้น
อาศัยสำนักของนางภิกษุณีอยู่ เวลาไปในที่อื่นๆ ลืมลูกนกแขกเต้าเสียสนิท
แล้วไป. เหล่าสามเณรีก็จับมันมาเลี้ยงตั้งชื่อมันว่า พุทธรักขิต. วันหนึ่ง พระมหา
เถรี. เห็นมันจับอยู่ตรงหน้า จึงเรียกมันว่า พุทธรักขิต. ลูกนกแขกเต้าจึงขาน
ถามว่า อะไรจ๊ะ แม่เจ้า. พระมหาเถรีจึงถามว่า การใส่ใจภาวนาอะไรๆ ของเจ้า
มีบ้างไหม. มันตอบว่า ไม่มีจ๊ะแม่เจ้า. พระมหาเถรีจึงสอนว่า ขึ้นชื่อว่าผู้อยู่ใน
สำนักของพวกนักบวช จะปล่อยตัวอยู่ไม่สมควร ควรปรารถนาการใส่ใจบาง
อย่าง แต่เจ้าไม่ต้องสำเหนียกอย่างอื่นดอก จงท่องว่า อัฏฐิ อัฏฐิก็พอ.
ลูกนก แขกเต้านั้น ก็อยู่ในโอวาทของพระเถรี ท่องว่า อัฏฐิ อัฏฐิ อย่างเดียวแล้วเที่ยว
ไป. วันหนึ่ง ตอนเช้ามันจับอยู่ที่ยอดประตู ผึ่งแดดอ่อนอยู่ แม่เหยี่ยวตัวหนึ่งก็
เฉี่ยวมันไปด้วยกรงเล็บ. มันส่งเสียงร้อง กิริๆ. เหล่าสามเณรี ก็ร้องว่าแม่เจ้า
พุทธรักขิตถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป เราจะช่วยมัน ต่างคว้าก้อนดินเป็นต้น ไล่ตาม
จนเหยี่ยวปล่อย. เหล่าสามเณรีนำมันมาวางไว้ตรงหน้าพระมหาเถรีๆ ถามว่า
พุทธรักขิตขณะถูกเหยี่ยวจับไปเจ้าคิดอย่างไร. ลูกนกแขกเต้าตอบว่า แม่เจ้า ไม่
คิดอะไรๆ ดอก คิดแต่เรื่องกองกระดูกเท่านั้นจะแม่เจ้า ว่ากองกระดูกพากอง
กระดูกไป จักเรี่ยราดอยู่ในที่ไหนหนอ. พระมหาเถรี จึงให้สาธุการว่า สาธุ สาธุ
พุทธรักขิตนั้นจักเป็นปัจจัย แห่งความสิ้นภพของเจ้า ในกาลภายภาคหน้าแล.
แม้สัตว์ดิรัจฉานในแคว้นกุรุนั้น ก็ประกอบเนืองๆ ซึ่งสติปัฏฐาน ด้วยประการ
ฉะนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึงความเจริญแพร่หลายแห่ง
สติปัฏฐานของชาวกุรุเหล่านั้น จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.


เรื่องทุกข์ของพระติสสเถระ

เล่ากันว่า ในกรุงสาวัตถี บุตรของกุฏุมภีชื่อติสสะทรัพย์ ๔๐ โกฏิ
ออกบวชโดดเดี่ยวอยู่ในป่าที่ไม่มีบ้าน. ภริยาของน้องชายท่าน ส่งโจร ๕๐๐ ให้
ไปฆ่าท่านเสีย. พวกโจรไปล้อมท่านไว้. ท่านจึงถามว่า ท่านอุบาสกมาทำไมกัน
พวกโจรตอบว่า มาฆ่าท่านนะซิ. ท่านจึงพูดขอร้องว่า ท่านอุบายสกทั้งหลาย
โปรดรับประกันอาตมา ให้ชีวิตอาตมาสักคืนหนึ่งเถิด. พวกโจรกล่าวว่าสมณะ
ใครจักประกันท่านในฐานะอย่างนี้ได้. พระเถระก็จับหินก้อนใหญ่ทุบกระดูกขา
ทั้งสองข้าง แล้วกล่าวว่าประกันพอไหม. เหล่าโจรพวกนั้นก็ยังไม่หลบไป
กลับก่อไฟนอนเสียที่ใกล้จงกรม พระเถระข่มเวทนา พิจารณาศีล อาศัยศีล
ที่บริสุทธิ์ก็เกิดปีติและปราโมช. ลำดับต่อจากนั้น ก็เจริญวิปัสสนา ทำสมณ
ธรรมตลอดคืน ในยามทั้งสาม พออรุณขึ้น ก็บรรลุพระอรหัตจึงเปล่งอุทานว่า

อุโภ ปาทานิ ภินฺทิตฺวา สญฺมิสฺสามิ โว อหํ
อฏฺฏิยามิ หรายามิ สราคมรเณ อหํ
เอวาหํ จินฺตยิตฺวาน ยถาภูตํ วิปสฺสิสํ สมฺปตฺเต อรุณุคฺคมฺหิ อรหตฺตํ อปาปุณึ
เราทุบเท้าสองข้าง ป้องกันท่าน
ทั้งหลาย เราเอือมระอาในความตายทั้งที่
ยังมีราคะ เราคิดอย่างนี้แล้ว ก็เห็นแจ้ง
ตามเป็นจริง พอรุ่งอรุณมาถึง เราก็บรรลุ
พระอรหัต ดังนี้.


เรื่องทุกข์ของภิกษุ ๓๐ รูป

ภิกษุ ๓๐ รูป อีกกลุ่มหนึ่ง เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วจำพรรษาในวัดป่า ทำกติกากันว่า ผู้มีอายุ เราควรทำสมณ-
ธรรม ตลอดคืนในยามทั้งสาม เราไม่ควรมายังสำนักของกันและกัน แล้วต่าง
คนต่างอยู่. เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำสมณธรรม ตอนใกล้รุ่งก็โงกหลับ เสือตัวหนึ่ง
ก็มาจับภิกษุไปกินทีละรูปๆ. ภิกษุไรๆ ก็มิได้เปล่งแม้วาจาว่า เสือคาบผมแล้ว.
ภิกษุถูกเสือกินไป ๑๕ รูป ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงวันอุโบสถ ภิกษุที่เหลือ
ก็ถามว่าท่านอยู่ที่ไหน และรู้เรื่องแล้วก็กล่าวว่า ถูกเสือคาบควรบอกว่า บัดนี้
เราถูกเสือคาบไปๆ แล้วก็อยู่กันต่อไป. ต่อมาเสือก็จับภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง โดย
นัยก่อน. ภิกษุหนุ่มก็ร้องว่า เสือขอรับ. ภิกษุทั้งหลายก็ถือไม้เท้า และคบ
เพลิงติดตามหมายว่าจะให้มันปล่อย เสือก็ขึ้นไปยังเขาขาด ทางที่ภิกษุทั้งหลาย
ไปไม่ได้ เริ่มกินภิกษุนั้น ตั้งแต่นิ้วเท้า. ภิกษุทั้งหลายนอกนั้น ก็ได้แต่กล่าวว่า
สัปบุรุษ บัดนี้ กิจที่พวกเราจะต้องทำไม่มี ขึ้นชื่อว่าความวิเศษของภิกษุทั้งหลาย
ย่อมปรากฏในฐานะเช่นนี้. ภิกษุหนุ่มนั้น นอนอยู่ในปากเสือ ข่มเวทนา
เจ็บปวด แล้วเจริญวิปัสสนา ตอนเสือกินถึงข้อเท้า เป็นพระโสดาบัน
ตอนกิน ไปถึงหัวเข่าเป็นพระสกทาคามี ตอนเสือกินไปถึงท้อง เป็นพระอนาคามี
ตอนเสือกินไปยังไม่ถึงหัวใจ ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จึงเปล่ง
อุทาน ดังนี้ว่า

สีลวา วตฺตสมฺปนฺโน ปญฺวา สุสมาหิโต
มุหุตฺตํ ปมาทมนฺวาย พฺยคฺเฆ โน รุทฺธมานโส
ปญฺชรสฺมึ โส คเหตฺวา สิลาย อุปรี กโต
กามํ ขาทตุ มํ พฺยคฺโฆ อฏฺ€ิยา จ นฺหารุสฺส จ
กิเลเส เขปยิสฺสามิ ผุสิสฺสามิ วิมุตฺติยํ
เรามีศีล ถึงพร้อมด้วยวัตร มีปัญญา
มีใจมั่นคงดีแล้ว อาศัยความประมาท ครู่
หนึ่ง ทั้งที่มีใจไม่คิดร้ายในเสือ มันก็จับ
ไว้ในกรงเล็บ พาไปไว้บนก้อนหิน เสือ
จงกินเราถึงกระดูกและเอ็นก็ตามที เราจัก
ทำกิเลสให้สิ้นไป จักสัมผัสวิมุตติ ดังนี้.


เรื่องทุกข์ของพระปีติมัลลเถระ

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ชื่อ ปีติมัลลเถระ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ ท่านถือธงมา
เกาะลังกา ถึง ๓ รัชกาล เข้าเฝ้าพระราชาแล้ว ได้รับพระราชานุเคราะห์
วันหนึ่ง เดินทางไปประตูศาลา ที่มีที่นั่งปูด้วยเสื่อลำแพน ได้พึงนตุมหากวรรค
(ในสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่าน
ท่านจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุข ตลอดกาลนาน ดั่งนี้แล้วก็คิดว่า มิใช่รูปเท่านั้น เวทนาก็ไม่ใช่ของ
ตน. เขาทำพระบาลีนั้นให้เป็นหัวข้อ แล้วออกไปยังมหาวิหารขอบวช
บรรพชาอุปสมบท แล้วกระทำมาติกา ให้ทั้งสองคล่องแคล่ว พาภิกษุ ๓๐ รูป
ไปยังลาน ณ ตำบลควปรปาลี กระทำสมณธรรม. เมื่อเท้าเดินไม่ไหว ก็คุก
เข่าเดินจงกรม. ในคืนนั้น พรานเนื้อผู้หนึ่งสำคัญว่าเนื้อ ก็พุ่งหอกออกไป
หอกก็แล่นถูกท่านถึงทะลุ ท่านก็ให้เขาชักหอกออก เอาเกลียวหญ้าอุดปากแผล
ให้เขาจับตัวนั่งบนหลังแผ่นหิน ให้เขาเปิดโอกาส เจริญวิปัสสนา ก็บรรลุ
พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พยากรณ์ แก่ภิกษุทั้งหลายที่พากันมาโดยให้
เสียงไอ จาม เปล่งอุทานดังนี้ว่า

ภาสิตํ พุทฺธเสฏฺ€สฺส สพฺพโลกคฺควาทิโน
น ตุมฺหากมิทํ รูปํ ตํ ชเหยฺยาถ ภิกฺขโว
อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ที่สรร-
เสริญกันว่า เลิศทุกแหล่งล้า ทรงภาษิตไว้
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปนี้มิใช่ของท่าน
ท่านทั้งหลายพึงละรูปนั้นเสีย
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีเกิด
และเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดแล้วก็ดับ
ความสงบระงับแห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข ดังนี้.

มรรคนี้ย่อมเป็นไปเพื่อดับทุกข์เหมือนอย่างทุกข์ของพระติสสเถระ เป็นต้นเพียงเท่านี้ก่อน.


เรื่องโทมนัสของท้าวสักกะ

ก็ท้าวสักกะ จอมเทพ ทรงเห็นบุพนิมิต ๕ ประการ ของพระองค์
ถูกมรณภัยคุกคาม เกิดโทมนัส เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหา.
ท้าวเธอก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตตผลพร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นองค์ด้วยอำนาจการ
วิสัชนาอุเบกขาปัญหา. เรื่องการอุบัติของท้าวเธอจึงกลับเป็นปกติอีก.


เรื่องโทมนัสของสุพรหมเทพบุตร

แม้สุพรหมเทพบุตร อันนางเทพอัปสรพันหนึ่ง ห้อมล้อม ก็เสวย
สวรรคสมบัติ. ในจำพวกนางเทพอัปสรพันหนึ่งนั้น นางเทพอัปสรห้าร้อย
มัวเก็บดอกไม้จากต้น ก็จุติไปเกิดในนรก สุพรหมเทพบุตรรำพึงว่าทำไม เทพ
อัปสรเหล่านี้จึงชักช้าอยู่ ก็รู้ว่าพวกนางไปเกิดในนรก จึงหันมาพิจารณาดู
ตัวเองว่า อายุเท่าไรแล้วหนอ ก็รู้ว่าตนจะสิ้นอายุ จะไปเกิดในนรกนั้นด้วย
ก็หวาดกลัว เกิดโทมนัสอย่างยิ่ง เห็นว่า พระบรมศาสดาเท่านั้น จะยังความ
โทมนัสของเรานี้ให้พินาศไป ไม่มีผู้อื่น แล้วก็พานางเทพอัปสรห้าร้อยที่เหลือ
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหาว่า

นิจฺจุตฺรสฺตมิทํ จิตฺตํ นิจฺจุพฺพิคฺคมิทํ มโน
อนุปฺปนฺเนสุ กิจฺเจสุ อโถ อุปฺปตฺติเตสุ จ
สเจ อตฺถิ อนุตฺรสฺตํ ตํ เม อกฺขาหิ ปุจฺฉิโต
จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ จิตใจนี้หวาด อยู่เป็นนิตย์
ทั้งในกิจที่ยังไม่เกิด ทั้งในกิจ
ที่เกิดแล้ว ถ้าหากว่าความไม่หวาดสะดุ้ง
มีอยู่ ขอพระองค์ที่ถูกทูลถามแล้ว โปรด
บอกความไม่หวาดสะดุ้งนั้น แก่ข้าพระ-
องค์ด้วยเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้า จึงได้ตรัสบอก สุพรหมเทพบุตร
(ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค) ว่า
นาญฺตฺร โพชฺฌา ตปสา นาญฺตฺร อินฺทฺริยสํวรา
นาญฺญตฺร สพฺพปฏินิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาณินํ
นอกจากปัญญาเครื่องรู้ ตปะเครื่อง
เผาความชั่ว นอกจากความสำรวมอินทรีย์
นอกจากความสละคืนทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็
มองไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้.

ในที่สุดเทศนา สุพรหมเทพบุตรก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วย
นางเทพอัปสรห้าร้อยทำสมบัตินั้นให้ถาวรแล้วกลับไปยังเทวโลก.

**
เสียง พระอภิธรรม

ที่มา : อรรถกถา พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒
 

_________________
เตือนตัวเองแค่ว่า
* ต้องเข้าถึงพุทธธรรมด้วยสติเท่านั้น ไม่เพียงแค่เรียนรู้
* อย่าให้ตัวเองตำหนิตัวเองได้ว่า รู้ทางแล้วไม่บอกใคร

สํโยคปรมาเตฺวว ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
เสียง พระอภิธรรม
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง