Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
telwada
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2006, 12:48 pm
การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
วันนี้ข้าพเจ้าได้นำเอาบทความอันเกี่ยวกับการปกครองประเทศ ปกครองบ้านเมือง มาเล่าสู่กันฟังไว้เพื่อประดับความรู้ หรือเพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในหลายแง่ หลายมุมมอง ซึ่งท่านทั้งควรได้ทำความเข้าใจ และพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจในระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างถ่องแท้
การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้เริ่มต้นมาจากการที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช หรือ พระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 ทรงได้เสด็จเยือนประเทศต่างๆ และทรงได้เล็งเห็นการปกครองแบบสมัยใหม่ในต่างประเทศ(ในขณะนั้น) ซึ่งได้แบ่งรูปแบบการบริหารบ้านเมืองเป็น กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ รวมไปถึง การทหาร และการรักษาป้องกันประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช ทรงเล็งเห็นกาลไกล และเพื่อเป็นการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียม อีกทั้งเป็นสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาอารยะประเทศ ที่พระองค์ทรงเสด็จไปเยือน ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาราช จึงได้โปรดเกล้าให้เปลี่ยนแปลงการบริหารบ้านเมืองจากเดิม เป็นการบริหารบ้านเมืองแบบมีกระทรวง ทบวง กรม เยี่ยง นานาอารยะประเทศ และยังทรงมีพระราชดำริ ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอีกด้วย (แบบให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร) แต่เนื่องจากทรงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยในขณะนั้นไม่เหมาะที่จะใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ แบบให้มีการเลือกผู้แทนราษฎร เนื่องจากสาเหตุสำคัญหลายประการ ประการที่สำคัญคือเรื่องของการศึกษา แต่พระองค์ก็ทรงดำริ และได้สร้างรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยให้ ข้าราชการทั้งหลายเป็นผู้แทนของประชาชน คอยบำบัดทุกข์บำรุงสุข หากประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็สามารถร้องทุกข์หรือแจ้งต่อเจ้าหน้าที่โดยเริ่มตั้งแต่ระดับหมุ่บ้าน คือผู้ใหญ่บ้านเป็นต้นมา จวบจนสิ้นพระชนม์ ต่อเมื่อบรรลุมาถึงรัชกาลที่ 6 ก็ทรงได้สานต่อจากพระราชบิดา โดยมีการสร้างเมืองจำลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบมีการเลือกตั้งขึ้น แต่ก็ยังมิได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแบบมีการเลือกตั้งอย่างประเทศประชาธิปไตยต้นแบบอื่นๆ
เมื่อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่รัชกาลที่ 7 ก็ได้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็น ระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเกิดขึ้น แต่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงก็ขาดความรู้ขาดความเข้าใจ ตลอดจนประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตย ทำให้ไม่สามารถบริหารประเทศให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองได้ จนเกิดการปฏิวัติรัฐประหารหลายต่อหลายครั้ง จนมาถึงการปฏิวัติของ ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์ ก็ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพแห่งระบอบการปกครองฯ เพราะได้สร้างความเจริญต่างๆขึ้นอย่างมากมาย เริ่มตั้งแต่ได้ริเริ่มให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับกระทรวง ทบวง กรมต่างๆใช้เป็นแม่บทในการปฏิบัติงาน และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศเรื่อยมา จนหมดวาระการดำรงตำแหน่ง เพราะถึงแก่อสัญกรรม แต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ได้มีการสานต่อมาอีกหลายฉบับสร้างความเจริญให้กับบ้านเมืองมาโดยลำดับ และในท่ามกลางการพัฒนานั้น ย่อมมีผู้เสียผลประโยชน์เพราะการปกครองโดยไม่มีผู้แทนราษฎรนั้น เหล่าผู้เป็นนายทุนใหญ่ขาดผลประโยชน์อย่างมากมาย เช่นไม่สามารถสร้างกฎหมายเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กับกิจการของตัวเอง ฯลฯ ราคาข้าวของในสมัยนั้นราคาถูกมาก แต่การปกครองบ้านเมืองในสมัย ฯพณฯท่าน จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็มีการคอรัปชั่นกันมาก เมื่อหมดยุคของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็มาถึงยุคของ จอมพล ถนอม กิตติขจร ข้าวของก็ยังมีราคาถูกอยู่ ซึ่งในยุคนี้ได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพราะนิสิต นักศึกษา และประชาชน ได้เดินขบวนเรียกร้องระบอบประชาธิปไตยจนเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ประท้วง จนเป็นเหตุให้ ฯพณฯ ท่าน จอมพล ถนอม กิตติขจร ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจากนั้น การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย ก็ล้มลุกคลุกคลานกันมาเรื่อยๆ พอพ้นจากสมัยการปกครองโดยกลุ่มทหารแล้ว ข้าวของสินค้าอุปโภคบริโภคก็เริ่มปรับราคาสูงขึ้น ท่านลองคิดพิจารณาดูเถิดว่าเป็นเพราะเหตุใด ต่อมาก็เกิดมีระบอบประชาธิปไตยแบบต่างประเทศ คือมีการเลือกตั้ง ส.ส. เกิดขึ้น ทีนี้ก็สนุกละท่าน เพราะการหาเสียงในการเลือกตั้งทุกที่ทุกแห่ง(ในสมัยนั้น) มีแต่ข่าวการซื้อสิทธิขายเสียง กลโกงสารพัด แจ้งความจับกันไม่หวาดไม่ไหว แล้วพวกนักการเมืองที่เข้าไปนั่งในสภาทำอะไรกันบ้าง บ้างก็ออกกฎหมายเพื่อเอื้อผลประโยชน์กับผู้ที่ให้เงินสนับสนุนพรรค บ้างก็จัดสร้างสิ่งต่างๆ หรือซื้อสิ่งต่างๆ ขึ้น ทำให้เกิดมีการฮั้วการประมูลกันบ้าง บ้างก็เข้าข้างบริษัทนายทุนโดยไม่สามารถอธิบายหรือประนีประนอม ให้กับผู้ใช้แรงงาน ให้เกิดความเข้าใจถึงกับทำร้ายแรงงานจนบาดเจ็บและถูกไล่ออกจากงาน ขาดความเป็นผู้นำประเทศ ในแง่ของการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จนในที่สุดก็มาถึงยุคข้าวยากหมากแพง รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในขณะนั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆของประเทศได้ จนเกิดวิกฤตฟองสบู่ หมดเนื้อหมดตัวกันหลายราย พอมาถึงยุค พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ก็มีการประท้วงเดินขบวนและกล่าวหาว่าเข้ามาเล่นการเมือง เพื่อขายหุ้นโทรศัพท์มือถือ เพื่อเข้ามาขายกิจการของรัฐ (รัฐวิสาหกิจ) โดยการแปรรูปฯ เพื่อจะได้เกิดประโยชน์กับตัวเองและหมู่คณะ โดยการเอาอกเอาใจประชาชน มี 30 บาทรักษาทุกโรค มีกองทุนหมู่บ้าน (ความจริงกองทุนหมู่บ้านนี้มีมานานแล้ว ไม่รู้ว่ามันหายไปไหน)มีหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (ถอดแบบมาจาก ศีลปาชีพของ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ) เพื่อสร้างควความนิยมจากประชาชน เพื่อสร้างประชาธิปไตยแบบสหรัฐอเมริกาหรือแบบอังกฤษ บริหารประเทศโดยไม่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่บริหารประเทศโดยแผนหรือนโยบายของพรรค ที่จะทำอย่างไรก็ได้ ขาดทิศทางที่แน่นอน นโยบายที่สร้างขึ้นมาก็เพียงเพื่อชนะคู่แข่ง ที่ผู้เขียนได้กล่าวไปทั้งหมดข้างต้น ท่านผู้อ่านทั้งหลายสามารถเปรียบเทียบได้เลยว่า นายกรัฐมนตรีแบบไหนสร้างความเจริญให้กับประเทศชาติได้มากกว่ากัน
นายกรัฐมนตรีแบบไหน ก็สามารถสร้างความเจริญให้กับประเทศได้ใกล้เคียงกัน หากเขาเหล่านั้น มีศีลธรรม มีศาสนาอยู่ในหัวใจ ศีลธรรมและศาสนาของพวกเขาแม้จะมีอยู่ ก็ค่อนข้างจะเอนเอียงไปในทางผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้องโดยใช้ประชาชนบังหน้า ซึ่งในทางที่เป็นความจริงแล้ว การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ย่อมต้องมีการประยุกต์ใช้ให้ถูกต้องตามลักษณะภูมิประเทศ และการสังคมเป็นอยู่รวมไปถึงวัฒนธรรมประเพณี ไม่ใช่ไปนำของเขามาก็เอามาใช้ทั้งดุ้น โดยไม่คำนึงถึงสภาพจิตใจ ความคิด การศึกษา การเศรษฐกิจ วัฒนธรรมประเพณี ความเป็นอยู่ของประชาชนคนในชาติ
การปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่มีการเลือกตั้ง ส.ส. ได้ไหม ? คำตอบก็คือ ระบอบประชาธิปไตยไม่มีการเลือกตั้ง ส.ส. ก็ได้ เพราะจากการเปรียบเทียบการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย ในแต่ละยุค ก็พอจะมองเห็นแล้วว่า มี ส.ส. หรือไม่มี ส.ส. ก็ไม่มีความแตกต่างจากกันเลย มี ส.ส.ก็สามารถเป็นเผด็จการได้ คนคนเดียวก็เป็นเผด็จการได้ ไม่แตกต่างจากกันเลย แล้วการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยไม่มีการเลือกตั้ง ส.ส. จะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร ท่านทั้งหลายควรได้หันไปมองระบบการบริหารแบบ กระทรวง ทบวง กรม ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาราชได้โปรดให้สร้างขึ้นมาซิว่า ทรงมีพระราชประสงค์อย่างไร ความจริงแล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างระบอบประชาธิปไตย ได้ทรงวางรากฐานของระบอบประชาธิปไตยไว้ให้กับประชาชนคนไทยอยู่แล้ว โดยให้ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงผ่านทางข้าราชการต่างๆที่มีอยู่ ข้าราชการเหล่านั้น เปรียบเป็นเหมือน ส.ส. ที่จะคอยดูแลเอาใจใส่ พัฒนา สร้างสรรค์ให้กับ ประชาชน หากข้าราชการเหล่านั้น มีสำนึก มีสำเหนียก แห่งความเป็นข้าราชการ เพราะข้าราชการเหล่านั้น เปรียบเป็นหูเป็นตาแทนองค์ประมุขของชาติ ในอันที่จะบำบัดทุกข์บำรุงสุข สร้างสรรค์ พัฒนาในด้านต่างๆ ให้กับประชาชน การมี ส.ส. โดยจัดให้มีการเลือกตั้ง เป็นไปในแบบที่เรียนแบบมาจากต่างประเทศ แต่องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระวิจารณญาณอันกว้างไกล รู้จักประเทศและประชาชนของพระองค์ จึงได้ทรงโปรดให้มีการบริหารงาน แบบ กระทรวง ทบวง กรม อันเป็นพื้นฐานหรือรากฐานของความมีประชาธิปไตย แต่จุดประสงค์ของพระองค์กับถูกบุคคลที่มีความโลภ ความหลง ครอบงำมากเกินไป กลับนำจุดประสงค์ของพระองค์ไปใช้ในการสร้างอำนาจ วาสนา จนเกิดกลายเป็น ระบบเจ้าขุนมูลนาย อันเป็นการผิดจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพระองค์ ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อประชาชน นิสิต นักศึกษา ได้มีความเชื่อ ตามที่ได้เล่าเรียน หรือได้รู้มา ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องเป็นแบบอังกฤษ หรือต้องมีประชาธิปไตย แบบสหรัฐอเมริกา หรือแบบนานาประเทศ ต้องมีการเลือกตั้ง ต้องมีการใช้สิทธิ์ใช้เสียงโดยประชาชนแล้ว ผู้เขียนใคร่ของถามท่านทั้งหลายว่า บรรดาเหล่า ส.ส.ที่ท่านทั้งหลายได้เลือกเขาเข้าไปใช้สิทธ์ใช้เสียงแทนท่านในสภาได้มาถามความต้องของพวกท่านบ้างไหมว่า พวกท่านต้องการอะไร ได้มาถามพวกท่านบ้างไหมว่า พวกท่านขาดเหลืออะไร พวกเขาเหล่านั้นมีนโยบายเพื่อใครกันบ้าง นโยบายของพวกเขาเอื้อประโยชน์ให้กับพวกท่านกี่คน มากน้อยเท่าไหร่ ท่านทั้งหลายลองคิดพิจารณาดูเถิด
เท่าที่ผู้เขียนได้กล่าวไปทั้งหมดแล้ว มิใช่เป็นการยุยงให้เกิดความแตกแยกในทางความคิด แต่มีความต้องการให้ท่านทั้งหลายได้หูตาสว่างขึ้นบ้าง โดยเฉพาะนักวิชาการบางคนบางกลุ่ม ที่หลงอยู่กับวิชาการแบบต่างประเทศ โดยไม่คำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะอุปนิสัย การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี และการได้รับการขัดเกลาทางสังคม ของประชาชนคนในชาติ ไม่มีการนำสิ่งที่รับรู้หรือเล่าเรียนมา ประยุกต์ใช้ให้ถูกให้ควรตามลักษณะของประชาชนในประเทศ จริงอยู่ประเทศของเราต้องปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งในด้านการค้า และการลงทุน ฯลฯ แต่ก็มิได้หมายความว่า เราจะต้องทำตามแบบเขาไปเสียทุกอย่าง ประเทศของเราเป็นประเทศเอกราช ไม่เป็นเมืองขึ้นของประเทศอื่นใด แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่า การที่เราเรียนแบบเขา เอาวัฒนธรรมประเพณีของต่างชาติมาใช้ซะทุกอย่าง นั่นแหละเขาเรียกว่า ประเทศเรากลายเป็นเมืองขึ้นของเขาไปแล้วละนะ จริงอยู่สมัยนี้เป็นสมัยโลกาภิวัตน์ คือเป็นสมัยที่ ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นในจุดใดจุดหนึ่งของโลก ได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง อันเนื่องมาจากระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มิได้หมายความว่า เราจะต้องประพฤติปฏิบัติตามกระแสโลกาภิวัตน์ไปทุกอย่าง ที่กล่าวไปข้างต้นนี้เป็นข้อที่ท่านทั้งหลายควรได้คิดพิจารณา
เมื่อได้กล่าวถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะกล่าวถึง หน้าที่ของเหล่าบรรดา ส.ส.ทั้งที่จะเป็นฝ่ายรัฐบาล และทั้งที่จะเป็นฝ่ายค้านคือฝ่ายที่ไม่ได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ส.ส. หรือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ล้วนมีหน้าที่ที่สำคัญกล่าวคือ ส.ส.ทุกคนคือตัวแทนของประชาชน ในอันที่จะไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงแทนประชาชน เพราะประชาชนทุกคนจะไปใช้สิทธิ์ในสภาคงเป็นไปไม่ได้ จึงลงเสียงเลือกตั้งตัวแทนให้ไปใช้สิทธิ์ใช้เสียง ในการ บริหาร ในการ ออกกฎหมาย ในการ ให้ความยุติธรรม เมื่อเกิดคดีความ
ส.ส.ทุกฝ่ายควรได้มีการบริหารประเทศร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน หรือฝ่ายรัฐบาล เพราะทุกคนล้วนเป็นตัวแทนของประชาชนเหมือนกัน คำว่า บริหารประเทศร่วมกันนั้น หมายถึง การได้มีการลงพื้นที่ที่ตัวเองได้รับเลือก สอบถาม เสาะหาข้อมูล ในอันที่ประชาชนต้องการ ในอันที่จะพัฒนา สร้างสรรค์ในด้านต่างๆ ทุกด้านเท่าที่ กระทรวง ทบวง กรม มีอยู่ แล้วนำเข้าในสภาฯเพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน จริงอยู่พรรคการเมืองต่างๆล้วนย่อมมีนโยบายที่แตกต่างจากกัน แต่ในทางที่เป็นจริงแล้วในความแตกต่างของนโยบายพรรคนั้น มักจะแฝงไว้ซึ่งการได้มาซึ่งฐานเสียงหรือฐานคะแนน เพราะทุกคนล้วนต่างมีความหลง มีความโลภ อยากเป็นใหญ่ด้วยกันเกือบทั้งนั้น เมื่อได้รับเลือกแล้วก็ยังมีการเกรงไปว่า ฐานเสียงฐานคะแนนของตัวเองจะอ่อน จะแพ้ฝ่ายตรงกันข้ามในคราวต่อๆไป ซึ่งความคิดแบบนั้น ย่อมส่งผลกระทบถึงประชาชนที่เลือกอีกฝ่ายหนึ่ง ที่กล่าวไปนั้นเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ เพราะการเมืองการปกครองประเทศนั้น ประชาชนต้องเป็นใหญ่ต้องเป็นสิ่งสำคัญเป็นที่หนึ่ง ในอันที่จะช่วยกันพัฒนา บำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้อย่างทั่วถึง ดังนั้นไม่ว่า พรรคไหน พรรคใด ต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่มุ่งไปสู่จุดเดียวกัน คือ เพื่อประชาชน และโดยประชาชน ดังนั้น ไม่ว่า พรรคใดจะใช้นโยบายใดหาเสียง ก็ย่อมเหมือนกันหมด เพราะไม่ว่าจะได้เป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน ก็ล้วนต้องคอยสอดส่องดูแลว่า พื้นที่ของตนขาดเหลือสิ่งใดบ้าง แล้วนำเข้าสู่สภาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกัน มิใช่ขัดกันไปค้านกันมาเพื่อหวังผลในฐานคะแนนเสียงของตน การคัดค้านของฝ่ายค้านจะเป็นการคัดค้านในสิ่งที่มองเห็นว่าจะเกิดประโยชน์กับคนกลุ่มน้อย อาจเกิดเป็นการคอรัปชั่น ไม่ได้เกิดประโยชน์กับประชาชนส่วนใหญ่ เช่นการที่พรรคการเมือง ชูนโยบาย จะสร้างรถไฟฟ้า ในกรุงเทพฯอย่างนี้เป็นต้น เพราะในกรุงเทพฯเป็นเรื่องของการปกครองรูปแบบพิเศษอยู่แล้ว แต่ที่ออกนโยบายอย่างนั้น ก็เพราะเพียงเพื่อฐานคะแนนเสียงของพรรค ไม่ได้หวังที่จะทำให้เกิดประโยชน์ให้กับประชาชนส่วนใหญ่ทั้งหลาย ทำไมไม่ออกนโยบาย ที่จะสร้าง รางรถไฟ สายเชียงใหม่-กรุงเทพฯใหม่ สร้างสะพานข้ามเหวให้ใหม่,หรือสร้างรางรถไฟสายใต้ สายตะวันออกเฉียงเหนือใหม่เพื่อให้มีความทันสมัยปลอดภัยกว่าเดิมเพราะของเดิมสร้างมาเมื่อ หลายสิบปี อย่างนี้เป็นต้น
ดังนั้นเมื่อ ส.ส.ที่ได้รับเลือกเข้าไปแต่ได้ทำหน้าที่ฝ่ายค้านก็ดี หรือฝ่ายรัฐบาลก็ดี ก็ควรได้สนใจใส่ใจในพื้นที่ของตัวเองหาข้อมูลสอบถาม ความต้องการ สิ่งที่ยังขาด สิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนา เพื่อนำเข้าสู่สภาฯเพื่อพิจารณาร่วมกัน ในการพัฒนาประเทศพัฒนาประชาชน บำบัดทุกข์บำรุงให้กับประชาชน สร้างสาธารณูปโภค ที่ดีให้กับประชาชน ไม่ใช่ห่วงแต่ฐานคะแนนเสียงของตัวเองและพรรค นโยบายพรรครัฐบาลก็ควรได้ทำก่อน นโยบายพรรคฝ่ายค้านก็ควรได้ทำควบคู่กันไป หรือจัดลำดับก่อนหลังตามความสำคัญและจำเป็น อันเป็นการให้ความยุติธรรมกับประชาชน เพราะผู้ได้รับผลการกระทำของพรรคการเมืองทั้งหลายก็คือ ประชาชนที่ไม่ค่อยเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงมากนัก ด้านการต่างประเทศก็อย่าได้สร้างความเสียเปรียบทางการค้า ควรได้มีการประชุมปรึกษาหารือกันทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน มิใช่ทำไปเผื่อหวังผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง ต้องทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนทั้งหลาย อย่าปล่อยให้ธุรกิจของต่างชาติเข้าครอบงำหรือทำลายอาชีพ สังคมการเป็นอยู่ของประชาชน จริงอยู่การค้าขายแบบประชาธิปไตย ใครใคร่ค้าช้างค้า ใครใคร่ค้าม้าค้า(หลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) แต่ก็ไม่ควรทำให้เกิดพิพาทหรือกระทบต่อวิถีชีวิตและอาชีพของประชาชน ด้านการค้าขายกับต่างประเทศควรเน้นหนักไปในทางแลกสินค้าซึ่งกันและกัน เพื่อลดความเสียเปรียบทางดุลการค้า และเป็นการส่งเสริมให้มีการพัฒนา รักษาคุณภาพ สร้างคุณภาพให้กับสินค้าภายในประเทศให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น แต่ที่สำคัญเหล่าบรรดา ผู้แทนราษฎร ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ต้องทำงานร่วมกัน ต้องสืบเสาะค้นหาข้อมูลต่างๆร่วมกัน เพื่อพัฒนา แก้ไข และส่งเสริม ไม่ใช่ฝ่ายค้านได้แต่คอยตั้งหน้าตั้งตาที่จะขุดคุ้ยว่าฝ่ายรัฐบาลบกพร่องในเรื่องใด เพื่อโจมตีการทำงานของฝ่ายรัฐบาลอันเพียงเพื่อได้ฐานคะแนนเสียงเพิ่มขึ้น แบบนั้นเมื่อไหร่ประเทศชาติจะเจริญ มันก็จะถอยหลังเข้าคลองไปเรื่อยๆ
ทุกวันนี้ประชาชนอาจจะรู้เพียงว่า ประชาธิปไตยคือ การไปลงคะแนนเสียงเลือกผู้แทนฯ ,หรือรู้เพียงว่าประชาธิปไตย คือการที่สามารถรวมตัวกันไปเดินขบวนประท้วง หรือเรียกร้องในสิ่งที่ตัวเองหรือสังคมนั้นๆเดือดร้อน เรียกร้องในสิ่งที่ตัวเองหรือสังคมนั้นๆต้องการ แทนที่ ส.ส.จะเป็นผู้จัดการให้ หรือแทนที่จะเป็นหน้าที่ของ ส.ส. ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ที่ได้กล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับเรื่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ก็หวังใจว่าบรรดาผู้ที่เล่นการเมืองทั้งหลายจะได้นำไปคิดพิจารณาปรึกษาหารือกัน เพื่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี เพื่อมิให้ประชาชนตกเป็นผู้รับบาป อนึ่งคำว่าประชาชนมิได้หมายถึงบุคคลกลุ่มใดใดกลุ่มหนึ่ง มิได้หมายถึงสังคมใดสังคมหนึ่ง แต่คำว่าประชาชนหมายรวมถึงทุกคน ทุกอาชีพ ทุกที่แห่งอันเป็นประเทศไทย นักการเมืองควรได้ใส่ใจในคำว่าประชาชนให้ถ่องแท้ เพื่อการบริหารประเทศที่ดี ยุติธรรม สามารถแจกจ่ายผลผลิตได้อย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
เชียงราย
ครูผ่านศึก
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2006, 11:23 am
การกระทำใดๆ ด้วยความถูกต้อง ผลที่ตามมาย่อมถูกต้องและไม่เกิดปัญหา แต่ถ้าการกระทำใดที่ไม่ถูกต้องผลที่เกิดขึ้นย่อมไม่ถูกต้องและเกิดปัญหาอย่างแน่นอนครับ
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
สนทนาธรรมทั่วไป
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
ไม่สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
ไม่สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th