|
|
|
 |
ผู้ตั้ง |
ข้อความ |
mw user
บัวใต้ดิน

เข้าร่วม: 25 ส.ค. 2006
ตอบ: 20
ที่อยู่ (จังหวัด): ปทุมธานี
|
ตอบเมื่อ:
11 ก.ย. 2006, 3:53 pm |
  |
(อานาปานะสติภาวนา กับปัจฉิมชีวิตของผม)
อานาปานะกถา (life breath little System)
หลังจากชำระตนด้วยธรรมขาวคือศีล (5 ขั้นต่ำ) แล้ว
มองหาที่สงัด จัดที่นั่งให้เหมาะแก่ตน คู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง
ค่อย ๆ วางสติไว้ที่ปลายจมูก ตั้งใจอยู่ว่า เราจะดักอยู่ที่นี่แหละ
แล้วเฝ้ารู้ลมหายใจ เมื่อเข้า-ออก สั้น ยาว หยาบ ละเอียด ย่อมปรากฎชัดอยู่
ประคองสติด้วยนิมิตนี้ เหมือนรางรถ ประคองรถไฟไปให้ถึงจุดหมาย ...
3 ไฟล์จบกถาเลย .. เชิญครับ ..
00_-_0362-0388.mp3
00_-_0389-0410.mp3
00_-_0411-0422.mp3
(สุตฺ, ขุ., ปฏิ., มหาวรรค อานาปานกถา, เล่ม 23, หน้า 131-166, ข้อ 362-422)
สำหรับท่านที่เข้าใจแล้ว ก็ลองฟังอรรถกา (Advance /Extend) ขยายดูจะช่วย
ให้เข้าใจชัดยิ่งยิ่งขึ้น ไฟล์เสียงจัดไว้ 3-7 ไฟล์ (7 หลังนั้น ท่านอธิบายทีละคำพูด) แต่สามารถอับโหลดให้ได้ไฟล์เดียวนะครับ
ข้อ 00 - 0362-0386
อรรถกถา (หลวง) เล่มที่69 สุต. เล่ม 7 ภาค 2
(ข้อ 0362-0386 /7.6m, 0387-0409 /8.3m, 0410-0422 /6.4m)
--------------------------------------------------------------------------------
บางคำที่ควรเข้าใจก่อนนะครับ (ตัวเรา)
บทบาลีอ้างอิง
[๔๐๒] กถํ สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
สพฺพกายปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ฯ
(บาลี/หลวง สุตฺต ขุ. ปฏิสมฺภิทามคฺโค - หน้าที่ 275 ข้อ 402)
[๔๐๓] บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง
หายใจออก ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลม
ทั้งปวงหายใจเข้าอย่างไร ฯ
(พระสูตร/หลวง /ไทย เล่ม ๒๓ ขุ. ปฏิ. - หน้าที่ 151 ข้อ 403)
**
คำที่ควรรู้ก่อน
1)
อานะ = ลมเข้า
อปานะ (อป + อานะ) = ลมออก
2 คำอื่นที่คล้ายกัน ปาน = น้ำดื่ม เครื่องดื่ม, ปาณ สัตว์ที่ต้องหายใจ
2)
กายสังขาร = ลมหายใจ
วจีสังขาร = วิตก วิจาร
จิตตสังขาร = สัญเจตนา
3)
3.1 ปฏิสํเวที (ปฏิ เฉพาะ, สํ พร้อม, วิ แจ้ง, ชา รู้, ณี ปัจจัย ในภาวะเป็นปกติ)
รู้แจ้ง รู้ชัดจริง โปร่งใส ไม่มีสิ่งกีดขวาง อันเกิดแต่ศีลวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ
3.2 กาย ในที่นี้คือ กองลมทั้งปวง (ไม่ใช่กายอันหล่อลั่ม ยาววาหนาคืบนี้ !!)
3.3 A) สิ่งที่ใช้นับ (นิมิต/บริกรรม) เป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่สติ แต่ถ้าเริ่มต้น เราจำเป็นต้องใช้
เหมือนเด็กหัดเดิน
B) เมื่อสติ รวมตัวกันได้ จะคงที่อยู่ที่เพียงจมูกเท่านั้น ไม่วิ่งไปทางใดทางหนึ่ง รู้ตัวทั่วพร้อม
ลองนึกภาพเหมือนยานอวกาศ สละลำบินที่หยาบ .. ไปโน่น ..
C) รู้ได้อย่างไรว่า เรามาถึงภาวะมีสติแล้ว คำตอบคือ รู้ได้เมื่อ ขณะนั้นมีธรรมทั้ง 5 นี้อยู่พร้อม
คือ (สรุปเป็นคำบาลีที่คุ้นเคย) ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
D) ท่านที่ปฏิบัติเท่านั้น ถึงจะทราบความข้อนี้ .. แต่ทุกขั้นตอน มีอยู่ในแฟ้มเสียง
(อ่านจากพระไตร) นะครับ
นอกจากนักปฏิบัติแล้ว ยังใช้สำหรับนักศึกษาทางจิต เป็นกรณีศึกษาได้ ..
--------------------------------------------------------------------------------
เริ่มปฏิบัติสติ /สมาธิ (แนวผมเอง) 5 ข้อ
1st. แรกจริง ๆ ไม่พ้นว่า ต้องมีธรรมขาว คือ ศีล (5 ขั้นต่ำ) ถ้าหาไม่ ก็ไปไหนไม่ได้ไกล เพราะมีสิ่งดึงเราเอาไว้
2nd. เมื่อได้ธรรมขาวมาสถิตย์แล้ว เราสามารถฝึกสมาธิได้อย่างสุดโต่ง
3rd. ก่อนฝึก หรือบริกรรม อย่างผม ผมก็ทำบล๊อคตัวเองก่อนด้วยมนต์ เช่น อาฏานาฏิย (เดินหน้า-ถอยหลัง เพราะผมวันศุกร์)
4th. เมื่อผมได้บลีอค หรือยอมวางเรื่องภายนอกแล้ว ผมก็เริ่มฝึก อานาปานะ ตามแนวในพระไตร .. ครับ
5th. กติกาที่เราใช้ ไม่จำเป็นต้องตามคณาจารย์ (ๆ ท่านคะเนใจเรา หรือจัดบล๊อคให้เท่านั้น) เราสามารถใช้วิธีที่เราถนัด อย่างผม ผมก็แบบ เข้าหนึ่ง-ออกหนึ่ง เข้า...สอง สาม ....ไปเรื่อย (ประคองไม่ให้หลง). เท่าที่เราต้องการ ก่อนที่ผมจะตามคำในพระไตร คือ มีสติหนึ่งเดียวรู้จักอานาปานะ ครับ
ถึง IT /คู่มือ /เอกสาร /คัมภีย์มีเยอะ ปานจะเป็นห้องสมุดได้ ถึงขนาดนั้น วิชา (ธรรมะ) ก็ยังไม่ติดอยู่ในหัวใจผมได้ตลอดกาล รู้ว่ามีวิธีเดียว คือ ปฏิบัติให้เข้าถึง อย่างจริงจัง เท่านั้น ... ไม่รู้จะได้ถึงไหน อายุขัยก็คลืบคลานเข้ามาใกล้ โดยไม่หยุด .. ชาติภพใหม่จะได้พบพระธรรมอีกหรือปล่าวก็ยังไม่รู้ ...
จริงดังอาจารย์ธรรมรักขิตสอนท่านนาคเสน ดังยกมา ..
พระธรรมรักขิตเห็นพระนาคเสนเป็นปุถุชนอยู่
จึงมีเถรวาจาเป็นทางจะให้รู้โดยคำอุปมาว่า
ดูกรนาคเสนภิกษุ ธรรมดาว่านายโคบาลเลี้ยงโคไม่รู้จักรสนมโค ผู้อื่นได้ซึ่ง
น้ำนมโคกินรู้จักรสน้ำนมโคว่ามันหวาน เสยฺยถาปิ แม้เปรียบปานฉันใด บุคคลที่เป็นปุถุชนหนา
ไปด้วยราคาทิกิเลส จะทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกอันวิเศษนี้ มิได้รู้รสแห่งสามัญภาคี คือมรรคผล
อันเป็นส่วนควรแก่สมณะ เปรียบปานเหมือนยายโคบาลรับจ้างท่านเลี้ยงโค และรีดนมโคขาย
มิได้ซิมลิ้มเลียรสนมโคฉันใด ท่านจงรู้ด้วยประการดังนี้ พระนาคเสนได้ฟังคาถาอุปมา จึงมีวาจา
ว่า ภนเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดงดพระพุทธวจนะก่อน อนุสาสิตํ ที่พระผู้เป็นเจ้าสั่งสอน
เอตฺตกํ กำหนดเท่านั้น ข้าพเจ้าจะผ่อนผันพิจารณาดูให้รู้รสสามัญภาคี พระนาคเสนว่าเท่านี้
แล้วก็ลามาสู่อาวาส ปัญญาฉลาดปลงลงในวิปัสสนากรรมฐาน ส่องปัญญาญาณไป ก็ได้
สำเร็จในพระจตุราริยสัจ ก็ได้พระอรหัตตปฏิสัมภิทา เตเนว รตฺติภาเคน โดยภาคราตรีวัน
พระธรรมรักขิตเถระให้นัยนั้นแท้จริง ปฐวี อุนนาทิ ขณะนั้นเกิดอัศจจรย์ แผ่นดินบันลือลั่นหวั่น
ไหวไปมา ..
(ภาษาไทย หน้า 26) |
|
_________________ เตือนตัวเองแค่ว่า
* ต้องเข้าถึงพุทธธรรมด้วยสติเท่านั้น ไม่เพียงแค่เรียนรู้
* อย่าให้ตัวเองตำหนิตัวเองได้ว่า รู้ทางแล้วไม่บอกใคร
สํโยคปรมาเตฺวว ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
เสียง พระอภิธรรม |
|
   |
 |
|
|
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่ คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ คุณไม่สามารถลงคะแนน คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้ คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
|
| | |