Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
บทพระอภิธรรม
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
mw user
บัวใต้ดิน
เข้าร่วม: 25 ส.ค. 2006
ตอบ: 20
ที่อยู่ (จังหวัด): ปทุมธานี
ตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2006, 3:48 pm
สวัสดีครับ
ผมกำลังหาคำตอบ (วิจัย) ทางวิญญาณโดยใช้ตัวเองเป็นจุดยืน (ประเดิมด้วยตัวเอง) หลายข้อธรรมที่ได้เคยศึกษา ที่ยังไม่ถูกแก้ไข ให้คลายสงสัย ก็มีมาก ยังคงรบกวนหัวใจของผมอยู่ตลอด ก็ไม่พ้นเรื่องบาป บุญ ชาตินี้ ชาติหน้า ลึกเข้าไปถึงความเคลื่อนไหวของจิตวิญญาณ .. และก็จุดนี้เป็นบ่อเกิดเล็ก ๆ ของผมที่ต้องลงปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้รู้เข้าใจ และสามารถควบคุมตัวเอง ให้ได้มากที่สุด (เริ่มต้น .. ) บ่อยครั้งทีผมสงสัยเกี่ยวกับความดี หลังจากที่ค้นหาจึงได้พบ
ดังจะขอยกเป็นบทเล็กน้อย เพียงบางหัวข้อ สำหรับผม และท่านที่สนใจ ดังนี้
---------------------------------------------------
นโม เม อนุตฺตราภิธมฺมานํ.
สุขสฺเสตํ ภิกฺขเว อธิวจนํ ยทิทํ ปุญฺญานิ
ภิกษุทั้งหลาย ที่เรียกว่า บุญ บุญ นี้ คำว่า บุญ
เป็นคำแทนเรียกความสุข
(อรรถกาสังคณี เล่ม 1 ภาค 1 หน้าที่ 156)
พึงทราบจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ โดยนัยที่กล่าวแล้วในจิตดวงที่ ๒
ที่ ๓ ที่ ๔ นั่นแหละ. ในจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ เหล่านี้ การเปลี่ยนไป
แห่งเวทนาและการลดปีติอย่างเดียว.
คำที่เหลือ กับนัยแห่งการเกิดขึ้นเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน.
แม้ในการบริกรรมของกรุณาและมุทิตา ความเกิดขึ้นแห่งจิตดวงที่ ๖ ที่ ๗
ที่ ๘ เหล่านี้ ได้รับรองแล้วในมหาอรรถกถาทีเดียว.
จิตเหล่านี้ ชื่อว่า กามาวจรกุศลจิต ๘ ดวง.
กามาวจรกุศลจิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมดบัณฑิตพึงแสดงด้วยบุญกิริยา-
วัตถุ ๑๐ ประการ ถามว่าแสดงอย่างไร ?
ตอบว่า พึงแสดง ชื่อบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เหล่านี้ คือ
๑. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน
๒. สีลมัย " " ด้วยศีล
๓. ภาวนามัย " " ด้วยภาวนา
๔. อปจิติสหคตะ บุญที่สหรคตด้วยนอบน้อม
๕. เวยยาวัจจสหคตะ " ด้วยการขวนขวาย
๖. ปัตตานุปทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ
๗. อัพภานุโมทนมัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนา
๘. เทศนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๙. สวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม.
(อรรถกถาพระธรรมสังคณี เล่ม 1 ภาค 1 หน้าที่ 427-428)
ในฐานะนี้ ชื่อว่า การประมวลซึ่งบุญ ๖ อย่าง ที่ทรงถือเอาอีก
จริงอยู่ บุญที่กระทำเอง (สยงฺการํ) ก็มี
บุญที่ผู้อื่นกระทำ (ปรงฺการํ) ก็มี
บุญที่ทำด้วยมือของตนก็มี
บุญที่สั่งให้คนอื่นกระทำก็มี
บุญที่เกิดด้วย ความไม่รู้ก็มี
บรรดาบุญทั้ง ๖ เหล่านั้น บุญที่ทำตามธรรมดาของตน ชื่อว่า
สยังการ.
บุญที่เห็นคนอื่นกระทำก็กระทำ ชื่อว่า ปรังการ.
บุญที่ทำด้วยมือของตนเอง ชื่อว่า สาหัตถิกะ.
บุญที่ใช้ให้บุคคลกระทำ ชื่อว่า อาณัตติกะ.
บุญที่เชื่อกรรมและผลแล้วกระทำ ชื่อว่า สัมปชานกตะ.
บุญที่ไม่รู้กรรมก็ดี ผลก็ดีกระทำแล้ว ชื่อว่า อสัมปชานกตะ.
บรรดาบุญทั้ง ๖ เหล่านั้น บุคคลแม้เมื่อกระทำเองก็ย่อมกระทำ
ด้วยกุศลจิต ๘ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งนั่นแหละ
เมื่อจะทำอาศัยผู้อื่นก็ดี
เมื่อกระทำด้วยมือของตนก็ดี
เมื่อใช้ให้ผู้อื่นกระทำก็ดี
ก็ย่อมการทำด้วยกุศลจิต ๘ ดวงเหล่านี้ ดวงใดดวงหนึ่งเหมือนกัน.
แต่การกระทำด้วยความรู้ ย่อมประกอบด้วยญาณ ๔ ดวง.
การกระทำด้วยความไม่รู้ ย่อมไม่ประกอบด้วย ญาณ ๔ ดวง
(อรรถกถาสังคณี เล่ม 1 ภาค 1 หน้าที่ 436-7)
สภาวะที่ชื่อว่า บุญ เพราะอรรถว่า ย่อมชำระ
กรรมอันเป็นการทำของตน คือ ย่อมยังอัชฌาศัยของผู้กระทำตนนั้นให้บริบูรณ์
และยังภพอันน่าบูชาให้เกิดขึ้น
(อรรถกถาวิภังค์ เล่ม 2 ภาค 1 หน้า 466)
เจตนา สัญเจตนา (ความตั้งใจ) ความคิดปรารภทาน ทำทานให้เป็น
ใหญ่ อันใด ย่อมเกิดขึ้น นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารสำเร็จด้วยทาน
(อรรถกถาวิภังค์ เล่ม 2 ภาค 1 หน้า 468)
(เฉพาะดวงที่ 1)
[๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส
สัมปยุตด้วยญาณ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ มีเสียง เป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์
มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์
วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์
ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
อโลภ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ)
กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
ฯลฯ
(พระธรรมสังคณีปกรณ์ หน้า 28)
****
ผมสังสัย ตั้งแต่เริ่มเรียนศาสนา ส่วนลึกไม่สามารถมองเห็นภาพได้
เกี่ยวกับเรื่องบุญ บาป อยู่ที่ไหน ดับสูญได้หรือ ! สำแดงเมื่อใด ! ..
ที่ตามติดจิตนั้นดังเงาตัว
ทำไม ถึงต้องว้าเหว่ ทำไมต้องการเพื่อน ?? !!!!
พอดีมาพบข้อความ อันทำให้พอจะเข้าใจว่า ทำไมถึงต้องหมั่นในธรรมขาว (ครั้งละนิด
ช่วยเหลือทีละหน่อย) และอย่าข้องแวะกับธรรมอันดำ (แม้นิด) ...
---------------------------------------------------
[๒๑] จิต มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตมีในสมัยนั้น.
(พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์ - หน้าที่ 29)
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จิตฺตํ สภาวะที่ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า
ย่อมคิด คือว่า ย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่ง
ศัพท์ว่า จิต นี้ ทั่วไป
แก่จิตทั้งปวง
เพราะฉะนั้น ในบทว่า จิตฺตํ นี้ จิตใดที่เป็นกุศล อกุศล
และมหากิริยาจิตฝ่ายโลกียะ จิตนั้นชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า ย่อมสั่งสมสันดาน
ของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี.
ชื่อว่า จิต เพราะอรรถว่า เป็นธรรมชาติ
อันกรรมและกิเลสทั้งหลายสั่งสมวิบาก.
อีกอย่างหนึ่ง แม้ทั้งหมด ชื่อว่า จิต
เพราะความเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร.
ชื่อว่า จิต เพราะการทำให้วิจิตร
พึงทราบเนื้อความในบทว่า จิตฺตํ นี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.
(อรรถกถา พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228)
[๑๗๐๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า สิ่งทั้งปวงนี้เป็นเพราะกรรมหรือ ?
ส. ถูกแล้ว
ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า โลกเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์เป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องกระชับ เหมือนลิ่มสลักแห่งรถ ที่แล่นไปอยู่ ฉะนั้น บุคคลได้เกียรติ ความสรรเสริญเพราะกรรม และได้ความเสื่อม การถูกฆ่า การถูกจองจำ ก็เพราะกรรม บุคคลรู้ชัดซึ่งกรรมนั้นว่า เป็นเครื่องทำให้ต่างกัน ฉะนี้แล้ว ไฉนจะพึงกล่าวว่า กรรมไม่มีในโลกเล่า ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
(กถาวัตถุปกรณ์ หน้าที่ 738)
คุณสมบัติ นักอภิธรรม (อีกอย่างหนึ่ง)
(ทาน ศีล ศรัทธา สติ วิริยะ สมาธิ ปัญญา)
1. มีจิตแบ่งปัน อยู่เป็นนิจ ในชีวิตประจำวัน
2. สมาทาน และปฏิบัติอยู่ในศีลห้า (ขั้นต่ำ) เป็นนิจ ในชีวิตประจำวัน
3. มีใจรักที่จะค้นคว้า
4. พยายามส่งใจไปตามกระแส ระลึกตาม และเข้าใจ
ถ้าไม่เข้าใจ .. ท่านจะไม่สามารถดำเนินไปต่อได้
5. วางความใจร้อนเสีย .. ศึกษาอย่างต่อเนื่อง (ไม่ทิ้งกลางคัน ...)
5.1 ปกรณ์เจ็ดที่จัดลำดับไว้สำหรับศึกษาแบบชั้นบันใด
เริ่มตั้งแต่พระสังคณีว่า กุศล อกุศล ... อะไร /แบบไหน
ที่เรียกว่า กุศล /อกุศล ฯลฯ แล้วท่านก็แจง /ขยายลักษณะ
ของธรรม (กุศล/อกุศล) ไปเรื่อย .. จนถึงมหาปัฏฐาน ว่า
เหตุ เป็นปัจจัย ฯลฯ แจงต้นตอหรือกุศลว่าเกิดมาได้อย่างไร ฯลฯ
มหาปัฏฐาน เป็นปกรณ์ใหญ่นัก (สมชื่อ) รังสีทั้งหกวรรณะ
(ฉัพพรรณรังสี) ได้แผ่ซ่านแล้วจากพระวรกาย
เมื่อพระองค์พิจารณาธรรมมาถึงจุดนี้
(อรรถกถา พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 34)
5.2 ควรรู้ภาษาบาลี ยิ่งมากยิ่งทำให้เข้าใจง่ายได้มาก
เช่นเดียวเรียนแพทย์ เรียน IT ซึ่งต้องใช้
ศัพท์เฉพาะของตัว ไม่สามารถจะขยายได้ (ซ้ำๆ) ถ้าขยาย ก็จะขยายอยู่
อย่างนั้น ไปไหนไม่ได้ สำหรับท่านที่ทำหน้าที่อาจารย์ก็ต้องถึง
ภาวะลำบากกายใจอย่างหนัก กับการที่ต้องขยายให้แก่ศิษย์
ถ้าไม่รู้ภาษาเลย ก็ค่อยๆ ทำความเข้าใจไปทีละหน่อย ทีละข้อ ก็สามารถเดิน
ไปได้ พยายามพยุงศรัทธาให้มั่น
---------------------------------------------------
มาถึงตรงนี้ ขอตั้งคำถามครับ .. ทำไมต้องอภิธรรม ?
_________________
เตือนตัวเองแค่ว่า
* ต้องเข้าถึงพุทธธรรมด้วยสติเท่านั้น ไม่เพียงแค่เรียนรู้
* อย่าให้ตัวเองตำหนิตัวเองได้ว่า รู้ทางแล้วไม่บอกใคร
สํโยคปรมาเตฺวว ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
เสียง พระอภิธรรม
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th