Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เตรียมตัว...หรือยัง? ก่อนสอบ Admission อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
พระมหาสุรศักดิ์ สุรเมธี
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2006, 5:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เตรียมตัว...หรือยัง? ก่อนสอบ Admission
โดย พระมหาสุรศักดิ์ สุรเมธี (ชะมารัมย์)
นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
3 rd Year Student of Dhammakaya Open University, California, USA
………………………………………..


ช่วงเวลาก่อนการสอบในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการสอบกลางภาค สอบปลายภาค หรือแม้แต่การสอบวัดผลความรู้ความสามารถอื่นๆ ผมเชื่อเลยว่าเพื่อนนักเรียนทุกคน ย่อมตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือกันอย่างใจจดใจจ่อ หรือไม่ก็พากันนั่งทบทวนบทเรียน บางคนทบทวนคนเดียว*****ง บางคนก็ทบทวนกันเป็นกลุ่ม*****ง ทั้งนี้ เพื่อหวังว่าตนเองจะสอบได้คะแนนดีๆ เพื่อให้มีโอกาสในการเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา (ระดับปริญญา) ตามความปรารถนากัน
การสอบ Admission ก็เช่นเดียวกัน จะสอบให้ผ่านนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่ยากกว่านั้นคือว่า เราเตรียมตัวพร้อมแล้วหรือยัง เคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า....
………….เรามีความถนัดด้านใดมากที่สุด?
. ..........เราอยากเรียนอะไรมากที่สุด?
………….เราอยากเรียนคณะไหนมากที่สุด?
...........เราอยากเรียนที่มหาวิทยาลัยไหนมากที่สุด?
...........เราอยากเป็นอะไรมากที่สุด หลังจากที่เรียนจบแล้ว?
ฯลฯ

เมื่อเราตั้งคำถามแล้วก็อยากให้ลองตอบดูว่าตัวเราน่าจะไปทางไหนได้ สาขาอะไรถึงจะเหมาะสมกับตัวเรา หรือมีความเป็นตัวเรามากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น เรามีความถนัดด้านการแพทย์ ก็แสดงว่าสาขาทางการแพทย์น่าจะเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด เป็นต้น
ในทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านได้เสนอหลักการเรียนให้เก่ง ไปให้ถึงดวงดาวหรือจุดหมายปลายทางนั้น และประสบความสำเร็จทุกประการหากปฏิบัติตาม หลักการนี้ เรียกว่า หลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย

1. ฉันทะ (ความพอใจ) ความพอใจเป็นบันไดก้าวแรกที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จ ในที่นี้ก็คือการทำความพอใจหรือรักในวิชาที่ชื่นชอบ เช่น เรารักวิชาใด เราก็จะมีฉันทะเกิดขึ้นกับวิชานั้นมากที่สุด เราก็จะทำคะแนนในรายวิชานั้นได้มากที่สุด ส่วนวิชาที่เหลือก็จะได้คะแนนลดหลั่งตามกันมา ตามความชอบ
2. วิริยะ (ความเพียร) ก้าวที่สองของกุญแจไขความสำเร็จคือ ความเพียร พูดสั้นๆก็คือขยันนั่นเอง เมื่อใดก็ตามที่เรามีความชอบ ความขยันก็จะตามมา กล่าวคือเมื่อเราชอบวิชาใด เราก็จะมีความขยันอ่าน ขยันทบทวนในรายวิชานั้นเป็นพิเศษ และถ้าหากว่าเราใช้ความเพียรในการอ่านทบทวนวิชาอื่นด้วยละก็ มันก็จะทำให้เรารักวิชานั้นด้วยก็ได้ หรือไม่ก็รักพอๆกันกับวิชาที่ชอบมากที่สุด
3. จิตตะ (ความเอาใจจดจ่อ) ก้าวที่สามนี้ เป็นก้าวที่สำคัญ ที่ว่าสำคัญก็เพราะ ความเอาใจจดจ่อเป็นสิ่งที่จะคอยควบคุมเราเวลาเราอ่านหรือทบทวนตำราเรียน หากว่าเรามีแต่ ฉันทะ และ วิริยะ ก็ไม่สามารถทำให้เราเข้าใจในเนื้อหาได้อย่างละเอียด เพราะบางทีในขณะที่เราอ่านนั้น ใจเราอาจล่องลอยไปอยู่ตามที่ต่างๆ สุดแล้วแต่ใจจะไขว่คว้า ฉะนั้น เราจึงตั้งอาศัยจิตตะ (ความเอาใจจดจ่อ) มากำกับด้วยเสมอ จะสามารถช่วยทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่อ่านหรือทบทวนได้
4. วิมังสา (การตรวจความเข้าใจ) ก้าวนี้เป็นก้าวสุดท้ายและเป็นก้าวที่สำคัญมากๆ เพราะว่าเป็นหลักการสุดท้ายเมื่อเราอ่านหรือทบทวนเนื้อหาจบก็ต้องมานั่งคิดตรวจสอบความเข้าใจของเราว่าเรามีความเข้าใจมากน้อยขนาดไหน ต้องปรับหรือเสริมส่วนใดเข้าไป*****งจึงจะสมบูรณ์มากขึ้น หรือว่า หลักใด*****งที่เราควรจำ ก็ควรท่องจำ หลักใดที่ควรทำความเข้าใจก็ควรทำความเข้าใจ พยายามตรวจสอบความเข้าใจของเราหลายรอบ ยิ่งมากยิ่งดี เพราการตรวจสอบความเข้าใจหลายๆรอบจะทำให้ลดความผิดพลาดลงได้ คนที่ฉลาดนั้น เขาจะพยายามตรวจสอบความเข้าใจในเนื้อหาที่ตนได้อ่านทบทวนนั้นหลายๆรอบ

หลักการทั้ง 4 ข้อนี้ ผมอยากจะฝากไว้ให้กับเพื่อนๆนักเรียนทุกคนให้ลองนำไปประยุกต์ใช้ดูกับการเรียน ในช่วงก่อนการสอบ Admission เพื่อที่เราจะได้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนการผจญภัยที่แสนจะสาหัสในอนาคตอันใกล้นี้ และหลักการทั้ง 4 ข้อนี้ยังเป็นเครื่องวัดความสามารถในด้านการเรียนของเราและยิ่งกว่านั้น ยังช่วยให้เราค้นหาตัวเองเจอ และสามารถช่วยเราตัดสินใจว่าเราน่าจะเรียนสาขาวิชาใดจึงจะเหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ลดความเสี่ยงภัยในความลังเลใจในการตัดสินใจเลือกสอบเข้าเรียนในสาขาวิชาที่ตนถนัดได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว........เราก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จ และก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้ชนะในที่สุด.............
 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง