Home
•
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทาน
•
หนังสือ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
•
แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้
ค้นหา
สมัครสมาชิก
รายชื่อสมาชิก
กลุ่มผู้ใช้
ข้อมูลส่วนตัว
เช็คข้อความส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ(Log in)
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
ประวัติศาสตร์สำคัญไฉน ทำไมต้องเรียน?
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ผู้ตั้ง
ข้อความ
PhramahaSurasak Suramedhi
ผู้เยี่ยมชม
ตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2006, 5:10 am
ประวัติศาสตร์สำคัญไฉน ทำไมต้องเรียน?
.............................
โดย พระมหาสุรศักดิ์ สุรเมธี (ชะมารัมย์)
นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
3 rd Year Student of Dhammakaya Open University, California, USA
........................................................................
บทนำ
เคยสงสัยไหมว่า.....
.....มนุษย์เมื่อ 1,000 ปีที่แล้ว มีการตั้งถิ่นฐานและความเป็นอยู่อย่างไร
.....เรื่องราวของกรีกสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นอย่างไร มี
อาณาเขตกว้างขวางมากน้อยเพียงใด
.....ปิรามิดถูกสร้างขึ้นในสมัยใด ทำไมต้องสร้างขึ้นด้วย และสร้างขึ้นที่
ไหน
.....บรรพบุรุษของคนไทยมีการอพยพย้ายถิ่นฐานมากจากที่ใด
.....หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่สองให้แก่พม่าแล้วสภาพบ้านเมือง
เป็นอย่างไร
.....พระพุทธศาสนาในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างไร เจริญรุ่งเรืองหรือเสื่อมถอย
ลง
ฯลฯ
จากตัวอย่างคำถามเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ออกมาจากความคิดของเรา เมื่อเรามีความสงสัยเกิดขึ้น ทำให้เราพยายามคิด เสาะแสวงหาคำตอบให้แก่คำถามเหล่านี้ หากเป็นเช่นนี้แล้วละก็ เราจะแสวงหาข้อมูลจากแหล่งใดเล่า เนื่องจากข้อมูลที่มีปรากฏอยู่ในศาสตร์และวิชาการในยุคสมัยปัจจุบันนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ ข้อมูลเกี่ยวข้องกับเรื่อง วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้ เราจะต้องมีการกลั่นกรอง พิจารณาใคร่ครวญ ให้ดีเสียก่อนว่าข้อมูลเรื่องนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับศาสตร์หรือวิชาการแขนงใด หากทำเช่นนี้ ก็จะทำให้เราทราบและสามารถนำความรู้จากศาสตร์หรือวิชาการแขนงนั้นมาตอบข้อสงสัยของเราได้ และก็จะทำให้เราได้รับคำตอบที่ถูกต้องในที่สุด
ดังนั้น เมื่อเราพิจารณาจากตัวอย่างคำถามข้างต้นแล้ว ก็จะพบว่าคำถามดังกล่าว ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้วในอดีตทั้งสิ้น กล่าวคือเป็นเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นและก็สิ้นสุดลงไปนานแล้ว บางเหตุการณ์ก็เกิดขึ้นหลายพันปีผ่านมาแล้ว บางเหตุการณ์ก็เกิดเมื่อไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง และเมื่อเราคิดถึงหรือเกิดการจินตนาการถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ก็จะทำให้เราคิดหาคำตอบ และเมื่อทราบว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้ว ก็จะทำให้เราเกิดความคิดย้อนหลังไปตามระยะเวลาของเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เมื่อมาถึงตรงจุดนี้ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าศาสตร์หรือวิชาการที่เรากำลังเสาะแสวงหานี้คืออะไร มีประโยชน์และความสำคัญต่อเราอย่างไร ช่วยคลายความสงสัยที่เกิดขึ้นกับตัวอย่างคำถามข้างต้นมากน้อยเพียงใด หากว่าไม่มีศาสตร์นี้แล้วอะไรจะเกิดขึ้น .
ความหมายของประวัติศาสตร์
เมื่อใดก็ตามที่เราคิดถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้วในอดีต เราจะเรียกเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นๆ ว่า ประวัติศาสตร์
หากจะแยกตามรูปศัพท์แล้ว คำว่า ประวัติศาสตร์ มาจากคำว่า ประวัติ ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไปเป็นมา กับคำว่า ศาสตร์ หมายถึง ความรู้หรือ วิชาที่ว่าด้วยความรู้ เมื่อรวมกันเข้า ก็จะมีความหมายว่า ประวัติศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นไปเป็นมา ซึ่งก็ตรงกับภาษาอังกฤษว่า History ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า Histeriai เป็นศัพท์ที่ เฮโรโดตัส (Herodotus) ซึ่งเป็นชาวกรีกได้ใช้ในงานเขียนของเขาชื่อว่า สงครามเพโรเซียน เป็นครั้งแรก และต่อมาเขาก็ได้รับการยอมรับว่า เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ก็ได้ให้คำนิยามความหมายของประวัติศาสตร์ไว้ว่า ประวัติศาสตร์ คือ วิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติเป็นต้นตามที่บันทึกไว้เป็นหลักฐาน
นอกจากนั้นแล้วก็ได้มีผู้รู้ได้ให้คำจำกัดความคำว่า ประวัติศาสตร์ ไว้นัยด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์ก็จะมุ่งเน้นที่จะศึกษาเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผ่านมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์ จะว่าด้วยเรื่องอะไรก็ตาม โดยคำนึงถึงมิติของเวลาเป็นสำคัญ หากว่าเกิดขึ้นผ่านมาแล้ว ก็ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น ในที่นี้จะไม่พูดรายละเอียดอะไรมากนัก จะกล่าวเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจเท่านั้น
การศึกษาประวัติศาสตร์
ตามที่กล่าวมาแล้วว่า ประวัติศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์เป็นวิชาอดีตก็ว่าได้ แต่การที่เราจะศึกษาประวัติศาสตร์นั้น เราจำเป็นต้องมีวิธีการ หรือหลักการ กฎเกณฑ์หลายๆอย่างมาประกอบการศึกษา เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง และข้อมูลที่นำมาอ้างอิงนั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริง และสามารถพิสูจน์ได้ มิใช่เป็นเพียงการจินตนาการนึกคิดเอาตามความรู้สึกของเราเอง เสมือนกับนิยายที่เราจะนึกวาดฝันจินตนาการเอาอย่างไรก็ได้ และ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการอ้างอิงนั้น ท่านเรียกว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งจะมีประโยชน์มากในการศึกษาประวัติศาสตร์ .............
ประโยชน์และความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์
เราทุกคนไม่มีคนไหนเลยที่ไม่อยากรู้เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดในอดีต ไม่ว่าจะเป็นอดีตของตนเอง อดีตของบรรพบุรุษ อดีตของถิ่นอาศัยของเรา เป็นต้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เราปรารถนา ใคร่รู้แทบทั้งสิ้น เพราะอดีตสามารถบ่งบอกสถานะภาพหรือความเป็นอยู่ของเราในปัจจุบันได้ บางคนเป็นมหาเศรษฐี ก็พยายามมองอดีตของตนเองว่า ตนเองได้ทำมาหากินอย่างไร จึงได้กลายมาเป็นมหาเศรษฐีได้ เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์โดยละเอียดอย่างถ่องแท้ ก็จะทำให้เป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องราวที่ผ่านมาในอดีตเป็นอย่างดี กว่าคนที่ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์เสียอีก ตามที่กล่าวแล้ว..........
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:
แสดงทั้งหมด
1 วัน
7 วัน
2 สัปดาห์
1 เดือน
3 เดือน
6 เดือน
1 ปี
เรียงจากเก่า-ใหม่
เรียงจากใหม่-เก่า
:: ลานธรรมจักร ::
»
บทความธรรมะ
ไปที่:
เลือกกลุ่ม บอร์ด
กลุ่มสนทนา
----------------
สนทนาธรรมทั่วไป
แนะนำตัว
กฎแห่งกรรม
สมาธิ
ฝึกสติ
การสวดมนต์
การรักษาศีล-การบวช
ความรัก-ผูกพัน-พลัดพลาก
กลุ่มข่าวสาร-ติดต่อ
----------------
ข่าวประชาสัมพันธ์
ธรรมทาน
รูปภาพ-ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ขอความรู้ทำรายงาน
แจ้งปัญหา
รูปภาพในบอร์ด
กลุ่มสาระธรรม
----------------
หนังสือธรรมะ
บทความธรรมะ
นิทาน-การ์ตูน
กวีธรรม
นานาสาระ
ต้นไม้ในพุทธประวัติ
วิทยุธรรมะ
ศาสนสถานและศาสนพิธี
----------------
สถานที่ปฏิบัติธรรม
วัดและศาสนสถาน
พิธีกรรมทางศาสนา
พุทธศาสนบุคคล
----------------
พระพุทธเจ้า
ประวัติพระอสีติมหาสาวก
ประวัติเอตทัคคะ (ภิกษุณี, อุบาสก, อุบาสิกา)
สมเด็จพระสังฆราชไทย
ประวัติและปฏิปทาของครูบาอาจารย์
ในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณ
ไม่สามารถ
สร้างหัวข้อใหม่
คุณ
ไม่สามารถ
พิมพ์ตอบ
คุณ
ไม่สามารถ
แก้ไขข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลบข้อความของคุณ
คุณ
ไม่สามารถ
ลงคะแนน
คุณ
สามารถ
แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ
สามารถ
ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้
เลือกบอร์ด •
กระดานสนทนา
•
สมาธิ
•
สติปัฏฐาน
•
กฎแห่งกรรม
•
นิทานธรรมะ
•
หนังสือธรรมะ
•
บทความ
•
กวีธรรม
•
สถานที่ปฏิบัติธรรม
•
ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ
•
วิทยุธรรมะ
•
เสียงธรรม
•
เสียงสวดมนต์
•
ประวัติพระพุทธเจ้า
•
ประวัติมหาสาวก
•
ประวัติเอตทัคคะ
•
ประวัติพระสงฆ์
•
ธรรมทาน
•
แจ้งปัญหา
จัดทำโดย กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ
webmaster@dhammajak.net
Powered by
phpBB
© 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
www.Stats.in.th